Advance Info Service
การประมูลทีวีดิจิตอลกำลังเดินหน้าไป แต่ช่วงนี้ก็มีข่าวถึงการใช้ LTE ย่าน 700 ที่ทับซ้อนกันทางด้าน AIS เองก็มีการแถลงข่าวในเรื่องนี้ ทาง Blognone ได้มีโอกาสขอนัดสัมภาษณ์คุณศรัณย์ ผโลประการ (@Saran2530) ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานวางแผนระบบเครือข่ายและบริการของ AIS ถึงที่มาที่ไปรวมถึงความคืบหน้าของเครือข่าย 3G และการทักท้วงของแผนความถี่ในการประมูลคลื่นดิจิตอล ที่ GSMA เพิ่งส่งหนังสือขอให้ทางกสทช. ยืนยันว่าจะมีการเตรียมคลื่นย่าน 700 MHz ไว้ใช้สำหรับ LTE เพื่อให้เข้ากันกับประเทศเพื่อนบ้าน และขอให้มีการทำแผนการปิดคลื่นความถี่อนาล็อกและการจัดคลื่นความถี่ใหม่
จากประเด็นเรื่องค่าบริการ 3G 2100MHz ที่ต้องลดลง 15% ตามคำสั่ง กสทช. ซึ่งทาง กสทช. เองก็ตั้งคณะทำงานตรวจสอบเรื่องนี้เป็นพิเศษ
ผลสอบออกมาแล้วสรุปได้ดังนี้ (กรณีของ dtac ยังไม่เปิดบริการนะครับ)
สำนักงาน กสทช. จะออกหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้ประกอบการทั้งสองรายปฏิบัติตามต่อไป
กสทช. วัดคุณภาพการให้บริการ 3G ในประเทศไทยทั้งระบบเดิมและระบบใหม่ หลังเปิดให้บริการ 3G ใหม่บนคลื่น 2100MHz
กระบวนการทดสอบใช้วิธีวัดความเร็วการดาวน์โหลดข้อมูลวันที่ 12 พ.ค. (ก่อน 3G ใหม่เปิดบริการ) เทียบกับวันที่ 25 พ.ค. (หลัง 3G ใหม่เปิดให้บริการ) โดยพื้นที่ตรวจสอบคือเซ็นทรัลพระราม 9
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. แถลงข่าวผลการหารือกับ 3 ค่ายมือถือใหญ่ในประเด็นปรับลดค่าบริการ 3G 2100MHz ลง 15% ว่ากำหนดแนวทางร่วมกันได้ดังนี้
ผลประกอบการของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในไทยทั้งสามค่ายหลัก ประจำไตรมาสที่หนึ่งของปี 2556 ได้รายงานออกมาครบเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่น่าสนใจนับตั้งแต่ไตรมาสนี้ คือการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานเดิม มาเป็นระบบใบอนุญาตจากการประมูล 3G คลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ในปีที่แล้ว รวมถึงความคาดหวังว่าเมื่อการให้บริการมีลักษณะเป็นอินเทอร์เน็ตมือถือมากขึ้น รายได้ก็น่าจะสูงขึ้นด้วยครับ
เอไอเอส
หลังจาก 3 ค่ายมือถือของไทยเปิดตัวบริการ 3G/4G บนความถี่ 2100MHz กันหมดแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มีคำถามเรื่อง "ค่าบริการลดลง 15%" ตามเงื่อนไขของ กสทช. ที่หลายคนมองว่าค่ายมือถือหลบเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตาม
ไทยรัฐออนไลน์มีบทสัมภาษณ์ผู้บริหารจากค่ายมือถือทั้งสามในเรื่องนี้ ขอคัดเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจมาดังนี้ครับ
นายปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานผลิตภัณฑ์ และบริการดิจิตอล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
ยักษ์เขียว AIS เป็นค่ายแรกที่เปิดบริการ 3G บนคลื่น 2100MHz อย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้ (7 พ.ค.) โดยระยะเริ่มต้นสามารถให้บริการใน 20 จังหวัด ครอบคลุมผู้ใช้ 10 ล้านคน
ตามแผนของ AIS ระบุว่าจะขยายพื้นที่บริการครบทุกจังหวัดภายในสิ้นปีนี้ และครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศในปีหน้า โดยเครือข่ายจะยัง roaming กับระบบ 900MHz เดิมด้วย ส่วนตอนนี้มีผู้ย้ายระบบมาใช้ 3G ใหม่จำนวน 800,000 คนแล้ว - Voice TV
สำนักงาน กสทช. เผยสถิติการติดตั้งสถานีฐานสำหรับเปิดบริการ 3G บนคลื่น 2.1GHz ว่าผู้ประกอบการทั้งสามรายติดตั้งสถานีฐานไปแล้วทั้งหมด 3,650 สถานี แบ่งเป็น
หลังจากที่รอคอยกันมานาน ในที่สุดผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั้งเอไอเอสและดีแทคก็ได้เปิดหน้าเว็บให้สั่งซื้อ Galaxy S4 ได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยทั้งสองค่ายก็เปิดราคามาที่ 21,900 บาทเท่ากันสำหรับเครื่องเปล่า รายละเอียดแต่ละค่ายติดตามได้หลังเบรคครับ
สำหรับดีแทค หากสั่งซื้อในเว็บ dtac Online Store เป็น 100 คนแรก จะได้ของแถมเป็นเพาเวอร์แบงค์มูลค่า 990 บาท ส่วนเอไอเอสนั้นมีโปรโมชั่นผ่อน 0% นาน 10 เดือนพร้อมโปรโมชั่นเพิ่มเติมจากบัตรเครดิตแต่ละค่ายครับ หากสั่งซื้อตั้งแต่วันนี้ เครื่องจะสามารถทยอยส่งได้ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. นี้ทั้งสองค่ายครับ
เมื่อเช้านี้ ผมเชื่อว่าคนที่ได้ลงทะเบียนระบบ 3G ใหม่ของ AIS จะได้รับ SMS ยืนยันการอัพเกรดบริการเดิมเป็น AIS 3G ตัวใหม่ และช่วง 17.55 นาฬิกา ผมก็ได้รับ SMS ยืนยันการอัพเกรดสู่ระบบใหม่
แต่ทว่าเมื่อเวลา 19.51 นาฬิกา ตัวผมได้รับ SMS เพื่อบอกยกเลิกการอัพเกรดสู่ระบบใหม่ไปอย่างไม่มีกำหนด พร้อมทั้งบอกว่าถ้าหากพร้อมอัพเกรดจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
ส่วนตัวสันนิษฐานไว้ว่า น่าจะเกิดจากระบบ 3G ในคลื่นความถี่ 2100 MHz เกิดอาการ "ล่ม" ทำให้ระบบยังไม่พร้อมที่จะอัพเกรดกับลูกค้าขนานใหญ่ (ซึ่งผมได้รับผลกระทบโดยตรง)
ทั้งนี้ AIS ยังไม่ได้แถลงผ่าน Facebook หรือ Twitter แต่อย่างใด โดยภาพประกอบของตัว SMS อยู่ท้ายเบรกครับ
โครงการ AIS The Startup Weekends 2013 ไม่ใช่แค่การประกวดโชว์ไอเดียแต่ที่นี่คือการประกวดที่สามารถนำไอเอียนั้นไปพัฒนาและสร้างธุรกิจในโลกยุคดิจิตอลได้จริง และทีมที่ผ่านการคัดเลือกในรอบ Weekends จำนวน 5 ทีมจะได้เข้าร่วม Boot Camp พร้อมเงินสดทีมละ 200,000 บาทจาก AIS และใช้ Microsoft Azure ฟรี 1 ปี
ซึ่งกิจกรรมใน Boot Camp นี้ ล้วนแล้วแต่จัดเพื่อฝึกทุกขั้นตอนของการทำธุรกิจได้จริงพร้อมสนับสนุนให้เหล่านักพัฒนาทั้งหลายมีโอกาสสร้างธุรกิจแบบยั่งยืนบนในยุคดิจิทัลไม่ใช่แค่กับ AIS แต่รวมถึงการทำธุรกิจระดับสากลกับผู้ให้ บริการเครือข่ายของ Regional Seed Networking (RSN) ภายใต้ SingTel
Boot camp อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาและกิจกรรมที่ทั้ง 5 ทีมจะได้ลงมือทำกันจริงๆ เช่น
นายศิริศักดิ์ ศุภมนตรี อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมเปิดเผยว่า เอไอเอสได้ทำหนังสือมายังคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือกทค. เพื่อขอความเห็นชอบเพิ่มเติมในการเก็บค่าบริหารจัดการเลขหมายในระบบสำหรับโทรศัพท์ระบบเติมเงินหรือพรีเพด กรณีผู้ใช้บริการยังมีเงินคงเหลือแต่ไม่มีการใช้บริการใดๆ ภายในระยะเวลา 30 วัน โดยขอจัดเก็บในอัตราวันละ 1 บาท จนกว่าจะมีการใช้บริการ โดยผู้ใช้บริการจะถูกยกเลิกหมายเลขหากไม่มีเงินคงเหลืออยู่ตามระยะเวลาที่กำหนดต่อไป
ประวัติศาสตร์ของวงการไอทีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นชัดเจนว่าโลกไอทีหมุนตาม startup เสมอ เราเห็นบริษัทอย่างเอชพี แอปเปิล ไมโครซอฟท์ กูเกิล ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก โผล่ขึ้นมาจากโรงรถหรือห้องใต้ดินแล้วเปลี่ยนโลกในไม่กี่อึดใจ บริษัทหน้าใหม่เหล่านี้สร้างนวัตกรรมให้โลก ในขณะเดียวกันก็สร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ก่อตั้ง พนักงาน และนักลงทุน
นี่จึงไม่น่าแปลกใจนักว่าทำไมกระแส startup ถึงมาแรงทั้งในตลาดโลกและตลาดบ้านเรา เพราะมันเป็นการลงทุนที่สร้างคน สร้างเทคโนโลยี และสร้างธุรกิจไปพร้อมๆ กัน
ช่วงหลังๆ ในประเทศไทยเองก็มีโครงการสนับสนุน startup เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งยักษ์ใหญ่รายล่าสุดที่เข้ามาร่วมวงการคือโอเปอเรเตอร์หมายเลขหนึ่งของไทยอย่าง AIS กับโครงการ AIS The Startup
หลังจากการประมูลคลื่น 2.1GHz ของ กสทช. เสร็จสิ้น ก็มีเสียงวิจารณ์มากมาย แต่เรากลับแทบไม่เห็นมุมมองของผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมที่เข้าร่วมประมูลเลย ที่ผ่านมาเราเลยไม่ได้รับทราบว่าผู้ประกอบการคิดอย่างไรกับการประมูลบ้าง
วันนี้ (22 ต.ค. 55) ทางรายการ "เจาะข่าวเด่น" ของคุณสรยุทธ สุทัศนจินดา ทางช่อง 3 ได้เชิญคุณวิเชียร เมฆตระการ ซีอีโอของ AIS มาสัมภาษณ์ในรายการ ซึ่งคุณวิเชียรได้ตอบคำถามหลายอย่างเกี่ยวกับการประมูลที่ผมคิดว่าน่าสนใจ เลยสรุปประเด็นจากการสัมภาษณ์ได้ดังนี้ (คลิปสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ดูได้จากลิงก์ที่มา)
ขั้นตอนการประมูล
และในที่สุดการประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ก็ได้เกิดขึ้นเป็นที่เรียบร้อย หลังการประมูลสิ้นสุดลงราว 16:00 ผลปรากฏว่ามูลค่าเงินประมูลรวม 41,625 ล้านบาท โดยเอไอเอสให้ราคาสูงสุด คือ 14,625 ล้านบาท จึงได้เลือกชุดคลื่นความถี่เป็นลำดับแรก และเอไอเอสได้เลือกชุดความถี่ย่านที่ 7, 8, 9 (ช่วงคลื่นความถี่ติดกับทีโอที)
สำหรับดีแทคและทรู ประมูลราคาได้ที่ 13,500 ล้านบาท เนื่องจากทั้งสองบริษัทเสนอเงินมาเท่ากัน ทาง กสทช. จึงทำการจับฉลาก และทรูได้สิทธิเลือกก่อน โดยเลือกชุดย่านความถี่ 4, 5, 6 ส่วนดีแทคเลือกย่านความถี่ชุดที่ 1, 2, 3
หลังจากนี้ กทค. จะทำการรับรองการประมูล เพื่อออกใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ให้กับผู้ที่ชนะการประมูลทั้ง 3 รายต่อไป
LINE แอพสนทนาข้ามแพลตฟอร์มยอดนิยมในตอนนี้ได้ออกรุ่นสำหรับ BlackBerry เป็นที่เรียบร้อยแล้วตามที่มีรายงานข่าวก่อนหน้า โดยคุณสมบัติเพิ่มเติมสำหรับบน BlackBerry ก็คือความสามารถในการทำงานร่วมกับ BBM นั่นเอง ผู้ใช้งานต้องมี BlackBerry OS 5.0 เป็นขั้นต่ำ และต้องลง BBM เป็นรุ่นล่าสุดด้วย
แต่ข่าวร้ายในตอนนี้คือใน App World ได้กำหนดประเทศที่สามารถดาวน์โหลดได้ซึ่งมีแทบทุกประเทศในโลก ยกเว้นไทย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งน่าจะมาจากการที่เอไอเอสประกาศเปิดตัว LINE เป็นแอพพิเศษเฉพาะลูกค้าเอไอเอสเท่านั้น (แต่ถึงที่สุด ก็น่าจะลงกันได้หมดอยู่ดีไม่ว่าเครือข่ายไหน)
คนไทยก็รอไปก่อนนะครับ
บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั้ง 3 รายในไทยได้รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ไปเรียบร้อยแล้ว ที่ผ่านมาเราได้นำเสนอว่าเหล่าผู้ให้บริการเริ่มมีรายได้จากบริการข้อมูล (data, non-voice) แทนที่บริการเสียง (voice) มากขึ้น รวมทั้งบริษัทเหล่านี้ยังมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ iPhone 4S ส่วนในไตรมาสนี้ผลการดำเนินงานของแต่ละค่ายก็ออกมาดังนี้ครับ
ดีแทค
หลังข่าวกสทช. เตรียมปรับเงินประมูลขั้นต่ำ เมื่อวานนี้ผู้เข้ารวมประมูลรายสำคัญ คือเอไอเอสก็ออกมาเปิดเผยการลงทุนหากมีการเปิดประมูลเป็นผลสำเร็จว่าเอไอเอสเตรียมเงินลงทุนไว้ทั้งหมดถึง 80,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินลงทุนวางเครือข่าย 50,000 ล้านบาทและเงินค่าประมูลอีก 30,000 ล้านบาท
เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ได้ยื่นฟ้องบริษัท DTAC และ AIS ต่อศาลแพ่งรัชดา เรียกค่าเสียหายในกรณีที่ทั้งสองบริษัทไม่ปฏิบัติตามคำสั่งตามข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 กันยายน 2549
ซึ่ง ข้อ 11 ของประกาศกสทช. ระบุไว้ว่า
สามค่ายผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในไทยได้รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรกของปี 2555 เรียบร้อยแล้ว มาดูกันครับว่าแนวโน้มทิศทางแต่ละบริษัทเป็นอย่างไรบ้าง (ข่าวของไตรมาสที่แล้ว)
เอไอเอส
เอไอเอสในไตรมาสแรกมีรายได้รวม 35,178 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 13% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และเพิ่มขึ้น 6.1% จากไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้ว โดยมีกำไรสุทธิถึง 8,926 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34% จากปีก่อนหากไม่รวมรายการพิเศษ และมีผู้ใช้บริการในระบบ 34.1 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้นมาอีก 7 แสนเลขหมาย
ในยุคที่การเทคโนโลยีพร้อมที่จะเชื่อมการติดต่อทุกคนเข้าด้วยกันตลอดเวลา สิ่งสำคัญที่ช่วยให้เทคโนโลยีนั้นทำงานได้เต็มประสิทธิภาพคงหนีไม่พ้นอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็ว เครือข่ายมีคุณภาพ และพื้นที่การให้บริการครอบคลุม สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ทุกวินาที
ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในไทยทั้งสามค่ายได้รายงานผลประกอบการประจำปี 2554 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในรายงานของแต่ละบริษัทได้สะท้อนทิศทางเดียวกัน คือการใช้บริการข้อมูลผ่านเครือข่ายมีอัตราการเติบโตที่สูงมากเมื่อเทียบกับการใช้งานเสียงแบบเดิม เป็นทิศทางเดียวกับในต่างประเทศ
เอไอเอส
เอไอเอสรายงานผลประกอบการปี 2554 มีรายได้รวม 126,437 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.6% เมื่อเทียบกับปี 2553 และมีกำไรสุทธิ 22,218 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.3% มีผู้ใช้บริการในระบบรวมทั้งหมด 33.5 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้น 2.3 ล้านเลขหมายจากปี 2553
ข่าวเก่าไปนิดนึงครับ แต่คิดว่ายังน่าสนใจอยู่ เพราะมือถือแบรนด์จีนอย่าง ZTE เข้ามาบุกตลาดเมืองไทยอย่างเป็นทางการแล้ว โดยใช้ตัวแทนจำหน่ายคือ บริษัทไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำกัด (WDS - Wireless Device Supply) ในเครือ AIS
เบื้องต้น ZTE นำมือถือเข้ามาทำตลาด 2 รุ่น และแท็บเล็ตอีก 1 รุ่น ขายผ่านร้าน Telewiz และตัวแทนจำหน่ายของ WDS
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา หนึ่งในคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ซึ่งเป็นกสทช. ในส่วนของโทรคมนาคม (ข่าวเก่า: แผนการทำงานปี 2555 ของกทค.) เปิดเผยว่าคณะกรรมการกทค. ได้หารือถึงร่างประกาศกสทช.