คนที่อ่านเว็บข่าวทั้งในและต่างประเทศ คงคุ้นกับโฆษณาที่อยู่ด้านท้ายบทความ มักมีรูปแบบเป็นการ "แนะนำ" บทความอื่นที่แทรกโฆษณาลงไปด้วย โฆษณาแบบนี้มีชื่อเรียกว่า Content Discovery หรือ Native Advertising (โฆษณาที่ "ดูเหมือน" บทความ)
เมื่อวานนี้ Taboola ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ Content Discovery Network รายใหญ่ ประกาศซื้อกิจการคู่แข่งชื่อดังอีกรายคือ Outbrain โดยจะควบรวมทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกัน (ทั้งสองบริษัทมาจากอิสราเอลเหมือนกัน)
มูลค่าการซื้อกิจการครั้งนี้แบ่งเป็นเงินสด 250 ล้านดอลลาร์ และหุ้นของ Taboola อีก 30% ตอนนี้บอร์ดบริหารของทั้งสองบริษัทอนุมัติการควบกิจการแล้ว
มีรายงานว่า Tesla ได้เข้าซื้อกิจการของสตาร์ทอัพจาก Silicon Valley ชื่อ DeepScale เพื่อมาเสริมทัพด้านการประมวลผลภาพในรถยนต์ไร้คนขับ
DeepScale เป็นสตาร์ทอัพอายุ 4 ปี ทำธุรกิจพัฒนาการใช้ deep neural network สำหรับการประมวลผลภาพ (computer vision) และข้อมูลจากเซ็นเซอร์รอบรถ ในการตีความ (interpret) และจัดกลุ่ม (classify) สิ่งต่างๆ รอบตัว หรือกล่าวสั้นๆ ได้ว่าเทคโนโลยีของบริษัทนี้จะช่วยให้รถเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ
การจะได้ชื่อว่าเป็นรถยนต์ไร้คนขับ ต้องถูกจัดกลุ่มตามมาตรฐาน SAE ในระดับ 4 หรือ 5 แต่ปัจจุบันฟีเจอร์ Autopilot ของรถ Tesla ยังอยู่ในระดับ 2 เท่านั้น คือเป็นการช่วยขับแต่คนขับยังต้องมองถนนตลอดเวลา
PayPal ได้รับไฟเขียวจากแบงค์ชาติจีนให้เข้าถือหุ้น 70% ในบริษัท Gopay ที่ให้บริการเพย์เมนท์ออนไลน์ลักษณะเดียวกันกับ PayPal ในประเทศจีน ทำให้ PayPal เป็นบริษัทเพย์เมนท์ต่างชาติรายแรกที่เข้ามาทำตลาดในจีน
กระบวนการทั้งหมดคาดว่าน่าจะเสร็จสิ้นในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ โดยที่ผ่านมาแม้รัฐบาลจีนจะเปิดโอกาสให้บริษัทเพย์เมนท์และบัตรเครดิตจากต่างชาติเข้ามาทำตลาดในจีน แต่กระบวนการขอใบอนุญาตค่อนข้างช้ามาก ขณะที่การเข้ามาถือหุ้นใหญ่ใน Gopay ครั้งนี้ของ PayPal ทำให้ได้ใบอนุญาตในการให้บริการไปโดยปริยาย
ปัญหาถัดไปของ PayPal ก็คือการสู้กับเจ้าใหญ่ที่ครองตลาดอยู่อย่าง AliPay และ WeChat Pay ของ Alibaba และ Tencent
Logitech ประกาศเข้าซื้อกิจการ Streamlabs ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์สำหรับการไลฟ์สตรีมเกมไปลงแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยจ่ายเป็นเงินสด 89 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2,700 ล้านบาท และจะจ่ายเป็นหุ้น Logitech เพิ่มอีกมูลค่า 29 ล้านดอลลาร์ หาก Streamlabs สามารถทำรายได้ต่อจากนี้ได้ตามเป้าหมาย
Ujesh Desai รองประธานฝ่ายอุปกรณ์เกมมิ่งของ Logitech บอกว่าซอฟต์แวร์ของ Streamlabs จะเข้ามาเสริมกับสินค้าเกมมิ่งของบริษัทเพื่อเติมเต็มบริการให้มากขึ้น ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เป็นนักสตรีมเกมทั่วโลก
Streamlabs ระบุว่าจำนวนผู้ใช้แอป Streamlabs OBS มีมากกว่า 15 ล้านคน และในกลุ่มผู้สตรีมผ่าน Twitch มากกว่า 70% ใช้งานผ่าน Streamlabs
Facebook ประกาศเข้าซื้อกิจการ CTRL-labs สตาร์ทอัพจากนิวยอร์กที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอุปกรณ์สั่งงานด้วยคลื่นสมอง โดยทีมงานทั้งหมดจะเข้าไปร่วมกับทีม Facebook Reality Labs แผนกย่อยที่พัฒนาแว่นตา AR ของ Facebook
มูลค่าดีลนั้นไม่มีการเปิดเผย แต่ CNBC อ้างแหล่งข่าวที่รับทราบข้อมูล เผยว่าดีลอาจสูงถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ แต่ Facebook ไม่แสดงความเห็นต่อข้อมูลดังกล่าว
ผลิตภัณฑ์ของ CTRL-labs ที่เปิดตัวออกมาแล้วคือสายรัดข้อมือที่มีเซ็นเซอร์ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ โดยผู้ใช้เพียงนึกคิดก็จะส่งคลื่นไฟฟ้ามาเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้
มีรายงานว่า Facebook ได้เข้าซื้อกิจการ Servicefriend สตาร์ทอัพจากอิสราเอล ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย
Servicefriend ก่อตั้งในปี 2015 เป็นผู้พัฒนาบอตสำหรับการแชทตอบโต้ลูกค้าด้วย AI ผ่านโปรแกรมส่งข้อความต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถเตือนให้ผู้ใช้งานเข้ามาดูข้อความได้ หากบอตประเมินแล้วว่าไม่สามารถสนทนาโต้ตอบได้ ทำให้ประสบการณ์ลูกค้าดีขึ้นกว่าการโต้ตอบด้วยบอตทั้งหมด
Facebook ยืนยันการซื้อกิจการนี้ แต่ใช้คำชี้แจงคล้ายกับแอปเปิลว่า Facebook มีการซื้อกิจการขนาดเล็กอยู่เป็นระยะอยู่แล้ว บริษัทจะไม่ออกความเห็นเกี่ยวกับแผนงานดังกล่าว
HP Inc. ประกาศซื้อกิจการบริษัทความปลอดภัย Bromium โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
Bromium เป็นบริษัทด้านความปลอดภัยที่เน้นเรื่องอุปกรณ์ปลายทาง (endpoint) โดยใช้เทคนิคการสร้าง virtual machine ขนาดเล็กขึ้นมาครอบงานย่อยๆ เช่น การดาวน์โหลดไฟล์ หรือการคลิกลิงก์ เพื่อแยกส่วน (isolate) ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น และปิด VM นั้นไปเมื่องานนั้นเสร็จเรียบร้อย
ที่ผ่านมา HP ซื้อไลเซนส์ซอฟต์แวร์ของ Bromium ไปใช้งานในฟีเจอร์ Sure Click ในโน้ตบุ๊กของตัวเอง (อ่านวิธีการใช้งานใน รีวิว HP EliteBook x360 830 G6) จึงไม่แปลกใจนักที่ HP จะซื้อทั้งบริษัทเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้งานในอุปกรณ์อื่นๆ ด้วย
GitHub ประกาศเข้าซื้อกิจการ Semmle เครื่องมือวิเคราะห์โค้ด ที่ให้นักพัฒนาส่งคำสั่งค้นหารูปแบบในโค้ดเพื่อหาช่องโหว่ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง มูลค่ากิจการที่เข้าซื้อไม่มีการเปิดเผย แต่ Semmle เองนั้น ได้เพิ่มทุนมาแล้วถึงซีรี่ส์ B เงินทุนรวม 31 ล้านดอลลาร์
ปัจจุบันมีองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งใช้งาน Semmle อาทิ Uber, NASA, ไมโครซอฟท์ และกูเกิล มีผลงานรายงานช่องโหว่โครงการโอเพ่นซอร์สใน CVE แล้วมากกว่า 100 ช่องโหว่
เทคโนโลยีของ Semmle จะนำเข้ามารวมเป็นส่วนหนึ่งใน GitHub เพื่อช่วยให้การตรวจสอบหาช่องโหว่ในโค้ดของโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัว ระบุว่าซิสโก้ยื่นเสนอซื้อบริษัท Datadog ผู้ให้บริการเก็บล็อกและวิเคราะห์ระบบ ด้วยมูลค่าสูงกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ หรือกว่า 210,000 ล้านบาท
Datadog อยู่ระหว่างการยื่นเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยคาดว่าบริษัทจะมีมูลค่ารวมสูงกว่า 7,500 ล้านดอลลาร์เมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์
ธุรกิจการมอนิเตอร์แอปพลิเคชั่นมีความสำคัญขึ้นอย่างมากในช่วงหลังที่แอปพลิเคชั่นออกแบบแบบ microservice ที่ต้องเชื่อมต่อระหว่างบริการมากขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้กลุ่มคู่แข่งของ Datadog เช่น New Relic, Zenoss, AppDynamics ที่ซิสโก้เองซื้อไปก่อนหน้านี้, จนถึง Splunk ที่มักใช้งานในความปลอดภัยไซเบอร์
แมคโดนัลด์ประกาศบรรลุข้อตกลง เพื่อซื้อกิจการ Apprente สตาร์ทอัพที่พัฒนาเทคโนโลยีด้านเสียงและบทสนทนา โดยไม่ได้เปิดเผยมูลค่าของดีล ซึ่งเป็นอีกครั้งที่แมคโดนัลด์เข้าซื้อกิจการด้านเทคโนโลยี เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจฟาสต์ฟู้ด
เทคโนโลยีของ Apprente มีการทดสอบใช้งานในร้านแมคโดนัลด์บางสาขาอยู่แล้ว โดยนำมาใช้กับการสั่งอาหารแบบไดรฟ์ทรู ช่วยให้การทำงานง่ายและเร็วมากขึ้น แมคโดนัลด์ยังคาดหวังจะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับการสั่งอาหารที่ตู้คีออสและแอปมือถือด้วย
ก่อนหน้านี้แมคโดนัลด์ก็ซื้อกิจการ Dynamic Yield เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับแต่งหน้าแสดงผลเมนูสำหรับลูกค้าไดรฟ์ทรู ให้แสดงรายการอาหารตามช่วงเวลา สภาพอากาศ ทำให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้น
Alibaba ประกาศอย่างเป็นทางการ ว่าบริษัทจะเข้าซื้อกิจการ Kaola เว็บอีคอมเมิร์ซของจีนที่เน้นการจำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทลูกของ NetEase บริษัทเกมเบอร์สองของจีน ด้วยมูลค่าราว 2 พันล้านดอลลาร์ หรือ 6 หมื่นล้านบาท ตรงกับข่าวลือที่ออกมาก่อนหน้านี้
Daniel Zhang ซีอีโอ Alibaba กล่าวว่าธุรกิจของ Kaola จะเข้ามาเสริมทัพกับระบบนิเวศของ Alibaba เพื่อเพิ่มเติมสินค้านำเข้าจากต่างประเทศให้กับลูกค้าชาวจีน ซึ่งมองว่าตลาดนี้ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก ทั้งนี้ Kaola จะยังคงดำเนินงานแยกแบรนด์อยู่ต่อไปด้วยเช่นกัน
ไมโครซอฟท์ประกาศเข้าซื้อกิจการ Movere (ชื่อเดิม Unified Logic) ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย เพื่อนำมาเสริมผลิตภัณฑ์ของ Azure
Movere เป็นผู้ให้บริการด้านการย้ายแอพพลิเคชั่นและข้อมูลไปยังคลาวด์ ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ระดับ Microsoft Gold Partner Jeremy Winter ผู้บริหารของ Azure กล่าวว่าบริการของ Movere จะนำมารวมกับ Azure Migrate เพื่อพัฒนาโซลูชันให้กับพาร์ทเนอร์ และทำให้ลูกค้าสะดวกมากขึ้นในการย้ายระบบมาทำงานบนคลาวด์ของ Azure
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการเพื่อมาเสริมกับ Azure ได้แก่ BlueTalon และ jClarify
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว VMware ประกาศเจรจาซื้อ Pivotal ซึ่งเคยเป็นบริษัทในเครือเดียวกับ VMware มาก่อน
วันนี้การเจรจาบรรลุผลแล้ว โดย VMware จะซื้อหุ้นของ Pivotal จากผู้ถือหุ้นรายย่อย และใช้วิธีแลกหุ้นของ VMware กับหุ้นของ Pivotal ที่เป็นของ Dell Technologies (ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ VMware เหมือนกัน แปลว่า Dell Technologies จะได้ถือหุ้นใน VMware มากขึ้น แลกกับการที่ Pivotal กลายเป็นบริษัทลูกของ VMware อย่างสมบูรณ์) กระบวนการทั้งหมดทำให้มูลค่าของ Pivotal อยู่ที่ 2.7 พันล้านดอลลาร์
ซอฟต์แวร์ในเครือของ Pivotal ได้แก่ Cloud Foundry, Spring, Greenplum และภายหลังก็ขยายมาทำ Kubernetes ด้วยอีกอย่าง
VMware ประกาศเตรียมเข้าซื้อกิจการทั้งหมดของ Carbon Black ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยจะซื้อหุ้นที่ราคา 26 ดอลลาร์ต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่ากิจการ 2,100 ล้านดอลลาร์
Carbon Black มีลูกค้าปัจจุบันมากกว่า 5,600 ราย และมีพาร์ทเนอร์มากกว่า 500 รายทั่วโลก โซลูชันความปลอดภัยของ Carbon Black จะนำรวมกับระบบความปลอดภัยของ VMware ที่มีอยู่แล้วอาทิ AppDefense, Workspace ONE, NSX และ SecureState เพื่อสร้างระบบความปลอดภัยบนคลาวด์ยุคใหม่ รองรับการทำงานทุกแอพพลิเคชัน ทุกผู้ให้บริการคลาวด์ และทุกอุปกรณ์
ทั้งนี้ดีลดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคมปี 2020
ชื่อ "ไมโครซอฟท์" กับ "Java" อาจดูห่างไกลกันอย่างมากในอดีต แต่อะไรก็เปลี่ยนแปลงได้ ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศซื้อกิจการ jClarify บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการรีดประสิทธิภาพ Java โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
jClarify เป็นผู้พัฒนา AdoptOpenJDK ซึ่งเป็น OpenJDK ที่สามารถใช้แทน Oracle OpenJDK ได้ทันที ตัว AdoptOpenJDK สามารถใช้งานได้ฟรี แต่ jClarify หารายได้จากส่วนเสริมต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นปัญหา memory leak, scalability รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยปรับแต่งประสิทธิภาพของแอพพลิเคชัน Java ขององค์กร
Big Hit ค่ายเพลงเกาหลี ผู้ปั้นวง BTS วงไอดอลเกาหลีจนโด่งดังทั่วโลก แตกไลน์ธุรกิจเข้าซื้อบริษัท Superb บริษัทพัฒนาเกมที่ใช้เพลงเป็นพื้นฐาน
บังชีฮยอก ซีอีโอบริษัท Big Hit บอกว่า เชื่อว่าอุตสาหกรรมเกมกับดนตรี จะสามารถสร้างความร่วมมือกันและส่งเสริมกันและกันได้อย่างแข็งแกร่ง และบริษัทจะยังคงเป็นพันธมิตรที่ดีกับบริษัทเกม Netmarble ต่อไป
ปัจจุบันวง BTS มีเกมเป็นของตัวเองอยู่แล้วคือ BTS World ที่ให้ผู้เล่นสวมบทเป็นผู้จัดการวงและสะสมการ์ดเพื่อผ่านด่านแต่ละด่าน โดยบริษัทที่พัฒนาเกมคือ Netmarble
มีรายงานว่า Alibaba ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซของจีน ได้บรรลุข้อตกลงเพื่อซื้อกิจการทั้งหมดของ Kaola อีคอมเมิร์ซจีนที่จำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ NetEase บริษัทเกมเบอร์สองของจีน โดยมูลค่าที่ตกลงกันสูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 6 หมื่นล้านบาท
ปัจจุบัน Kaola มีส่วนแบ่งการตลาดของอีคอมเมิร์ซสินค้านำเข้าจากต่างประเทศในจีนสูงสุดที่ 27.7% ขณะที่ Alibaba อยู่ในอันดับสองที่ 25% ดีลซื้อกิจการนี้ของ Alibaba จึงสมเหตุสมผลทีเดียว
ข่าวเซอร์ไพร์สของวงการไอทีในช่วงนี้คือ Automattic เจ้าของ Wordpress ซื้อกิจการ Tumblr ต่อจาก Verizon ถือว่าเป็นเรื่องน่าแปลกใจพอสมควร
Matt Mullenweg ผู้ก่อตั้ง WordPress และซีอีโอของ Automattic จึงให้สัมภาษณ์ในประเด็นนี้กับ The Verge
เบื้องหลังการซื้อกิจการ
VMware ประกาศเจรจากับบริษัทซอฟต์แวร์ Pivotal เพื่อขอซื้อหุ้นทั้งหมด
ข่าวการซื้อกิจการครั้งนี้ถือเป็นสายสัมพันธ์เครือญาติของบริษัทในสังกัด Dell Technologies ด้วยกันเอง เพราะ Pivotal เป็นบริษัทที่แยกตัวออกมาจาก EMC (ชื่อในตอนนั้น) และ VMware (ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดย EMC) ในปี 2012 โดยซีอีโอคนแรกของ Pivotal คือ Paul Maritz อดีตซีอีโอของ VMware (ปัจจุบัน Maritz ยังเป็นประธานของ Pivotal แต่ไม่ได้เป็นซีอีโอแล้ว)
Automattic เจ้าของ Wordpress ได้ตกลงที่จะซื้อกิจการทั้งหมดของ Tumblr ต่อจาก Verizon เจ้าของปัจจุบัน ทั้งนี้ไม่มีการเปิดเผยมูลค่าของดีล แต่ข้อมูลจากหลายสื่อบอกว่า มูลค่าที่ตกลงซื้อขายกันนั้นน้อยกว่า 10-20 ล้านดอลลาร์
Yahoo! ซื้อกิจการ Tumblr เมื่อปี 2013 ด้วยมูลค่าที่สูงถึง 1,100 ล้านดอลลาร์ ต่อมาเมื่อ Yahoo! ขายกิจการให้ Verizon ทำให้ Tumblr เปลี่ยนเจ้าของมาเป็น Verizon ด้วยนั่นเอง
Cisco ประกาศซื้อกิจการ Voicea เจ้าของเทคโนโลยีแปลงเสียงพูดเป็นข้อความแบบเรียลไทม์ เพื่อนำมาใช้กับโซลูชันการประชุม WebEx ให้สามารถสรุปข้อความจากเสียงสนทนาระหว่างการประชุม ไฮไลท์ประเด็นสำคัญ และค้นหาในภายหลังได้
เป้าหมายของ Cisco คือแปลงการประชุมในระบบ WebEx ให้เป็นบันทึกการประชุมดิจิทัล เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถต่อยอดงานต่างๆ จากการประชุมได้ทันที
Cisco ไม่ได้เปิดเผยมูลค่าการซื้อกิจการครั้งนี้ แต่หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการซื้อกิจการแล้ว พนักงานของ Voicea จะเข้ามาทำงานในทีม WebEx
ที่มา - Cisco
หลังมีข่าวลือ ว่า Broadcom เจรจาซื้อ Symantec วันนี้ข่าวอย่างเป็นทางการออกมาแล้วว่า Broadcom ประกาศซื้อกิจการ Symantec ครึ่งบริษัท
บริษัท Symantec จะขายกิจการฝั่งลูกค้าองค์กร (Enterprise Security) พร้อมสิทธิการใช้แบรนด์ "Symantec" รวมมูลค่า 10.7 พันล้านดอลลาร์ (3.3 แสนล้านบาท) ให้กับ Broadcom โดยจ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด
Salesforce ประกาศบรรลุข้อตกลงในการเข้าซื้อกิจการ ClickSoftware ด้วยมูลค่า 1,350 ล้านดอลลาร์ โดยดีลนี้จะจ่ายเป็นเงินสดและหุ้นของบริษัท
ClickSoftware เป็นบริษัทซอฟต์แวร์งานบริการภาคสนาม (Field Service) เช่น งานเจ้าหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์ในพื้นที่ลูกค้า ปัจจุบัน Saelsforce เองก็มีเครื่องมือประเภทนี้อยู่ โดยการซื้อกิจการ ClickSoftware จะช่วยเสริมส่วนของ Service Cloud ให้เติบโตมากขึ้น
ข้อมูลที่น่าสนในจาก Salesforce บอกว่าเนื่องจากอุปกรณ์รอบตัวมีการเชื่อมต่อมากขึ้น ฉลาดขึ้น และคาดเดาได้ง่ายขึ้น ความคาดหวังลูกค้าจึงต้องการการตอบสนองที่เร็วขึ้นกว่าเดิม งานบริการลูกค้าแบบลงพื้นที่จึงต้องเปลี่ยนแปลง เพื่อมอบประสบการณ์ที่ทันต่อลูกค้าขึ้นด้วยเช่นกัน
เราได้เห็นข่าวบริษัทขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่สายเทคโนโลยี ซื้อกิจการบริษัทด้านเทคโนโลยีกันอยู่เรื่อย ๆ ล่าสุด Nike ก็ได้ประกาศซื้อกิจการ Celect สตาร์ทอัพด้าน Predictive Analytics สำหรับธุรกิจค้าปลีกจากบอสตัน โดย Nike บอกว่าเทคโนโลยีของ Celect จะนำมาเสริมกลยุทธ์การขายสินค้าให้ตรงใจลูกค้าแต่ละคนมากขึ้น
Eric Sprunk ซีโอโอของ Nike กล่าวว่าเมื่อความต้องการสินค้าของ Nike เพิ่มมากขึ้น เราก็ต้องเป็นบริษัทที่เข้าในความต้องการเชิงลึกของลูกค้า ปรับปรุงข้อมูล และโฟกัสที่พฤติกรรมของลูกค้า โดยยังสามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าในขนาดใหญ่ได้ด้วย
ชะตาชีวิตของ MapR บริษัทสาย Big Data/Hadoop ที่กำลังตกที่นั่งลำบาก ลงเอยด้วยการขายกิจการให้กับยักษ์ใหญ่ Hewlett Packard Enterprise (HPE) โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
การซื้อกิจการ MapR ของ HPE ครั้งนี้ไม่ได้เป็นการซื้อบริษัทตรงๆ แต่เป็นการซื้อทรัพย์สิน (business assets) ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยี, สิทธิบัตร, ทรัพย์สินทางปัญญา และบุคลากรบางส่วน เข้าไปอยู่ภายใต้ธุรกิจด้านข้อมูลของ HPE ที่ใช้ชื่อว่า Intelligent Data Platform
Antonio Neri ซีอีโอของ HPE ระบุว่าซื้อทรัพย์สินของ MapR เพราะมีเทคโนโลยีด้านระบบไฟล์ขนาดใหญ่ ซึ่งนำไปต่อยอดเป็นธุรกิจด้านวิเคราะห์ข้อมูลได้