Visa ผู้ให้บริการชำระเงินผ่านบัตรรายใหญ่ ประกาศเข้าซื้อกิจการสตาร์ทอัพ Plaid ด้วยมูลค่าถึง 5,300 ล้านดอลลาร์ หรือราว 160,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากการเพิ่มทุนรอบล่าสุดในปี 2018 ที่บริษัทมีมูลค่ากิจการราว 2,700 ล้านดอลลาร์
Plaid เป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ API สำหรับเชื่อมต่อข้อมูลบัญชีธนาคารของผู้ใช้งาน เข้ากับแอปบริการทางการเงินต่าง ๆ ตัวอย่างลูกค้าอาทิ Venmo แอปโอนเงินหากัน, Robinhood แอปสำหรับซื้อขายหุ้น, Coinbase บริการซื้อขายเงินคริปโต เป็นต้น โดย Plaid ระบุว่าผู้มีบัญชีธนาคารในอเมริกาถึง 1 ใน 4 ที่ใช้บริการ Plaid เชื่อมต่อสู่บริการแอปฟินเทคต่าง ๆ
รายชื่อนักลงทุนใน Plaid นั้นมีทั้ง Visa, คู่แข่งอย่าง Mastercard, Citi, American Express ไปจนถึง Goldman Sachs
Veeam บริษัทด้านโซลูชันแบ็คอัพและสำรองข้อมูลผ่านคลาวด์ เปลี่ยนเจ้าของโดยขายให้บริษัทลงทุน Insight Partners ด้วยมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์
Veeam ก่อตั้งในปี 2006 โดยมีสำนักงานใหญ่ในสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนหน้านี้ถือหุ้นโดยกลุ่มผู้ก่อตั้งและนักลงทุน แต่ยังไม่ได้ขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ ตอนนี้ Insight Partners เข้ามาถือหุ้นทั้งหมด 100% โดยสองผู้ก่อตั้ง Ratmir Timashev และ Andrei Baronov จะลาออกจากบอร์ด แต่ทีมบริหารของบริษัทยังเป็นชุดเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
Insight Partners ให้เหตุผลของการซื้อ Veeam ว่าเป็นบริษัทผู้นำตลาดด้านแบ็คอัพมาตลอด 10 กว่าปี มีลูกค้ามากกว่า 3.6 แสนราย และต้องการยกระดับ Veeam เข้าสู่ยุคที่สอง (Act II) ในยุคของไฮบริดคลาวด์
เมื่อปลายปีที่แล้วเราเพิ่งเห็นข่าว Symantec ขายธุรกิจความปลอดภัยฝั่งองค์กรให้ Broadcom โดยบริษัท Symantec เดิมจะเหลือแต่ธุรกิจฝั่งคอนซูเมอร์ และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น NortonLifeLock (มาจากแอนตี้ไวรัส Norton และบริการป้องกันข้อมูลส่วนตัว LifeLock)
เวลาผ่านมาเพียงไม่กี่เดือน Broadcom ก็ขายธุรกิจ (บางส่วน) ของ Symantec เดิมต่อไปให้ Accenture อีกทอด
ธุรกิจที่ว่าคือฝ่าย Cyber Security Services ที่เน้นเรื่องบริการด้านความปลอดภัยให้กับลูกค้าองค์กร การวิเคราะห์ข้อมูลและเฝ้าระวังภัยคุกคาม ซึ่งครอบคลุมศูนย์ปฏิบัติการ 6 แห่งทั่วโลก รวมพนักงานประมาณ 300 คน จะย้ายมาอยู่ภายใต้ร่มของ Accenture Security แทน
Snap บริษัทเจ้าของแอปแชทชื่อดัง Snapchat ได้เข้าซื้อ AI Factory บริษัทสตาร์ทอัพด้าน computer vision แล้ว
สำหรับ AI Factory นี้ เป็นสตาร์ทอัพที่เน้นการทำงานด้าน computer vision โดยผลงานเด่นอย่างหนึ่งของบริษัทก็คือฟีเจอร์ Cameos ซึ่งเป็นฟีเจอร์ถ่ายรูปเซลฟี่ จากนั้น Snapchat ก็จะนำไปใส่ในวิดีโอขนาดสั้น ซึ่งเป็นวิดีโอตลก ๆ ที่ Snapchat ทำขึ้นมาเอง
AI Factory มีสำนักงานอยู่ที่ซานฟรานซิสโก แต่ทีมงานหลักของบริษัทส่วนใหญ่ราว 70% อยู่ในยูเครน โดยโปรไฟล์ของบริษัทใน LinkedIn ระบุว่า AI Factory เป็นบริษัทที่จัดหาโซลูชั่นสำหรับธุรกิจด้าน AI โดยใช้การจำแนก, วิเคราะห์ และประมวลผลภาพและวิดีโอ
Mastercard ประกาศเข้าซื้อบริษัท RiskRecon สตาร์ทอัพด้านความปลอดภัยจาก Salt Lake City เพื่อเสริมความแข็งแกร่งด้านระบบความปลอดภัยในบริษัท
RiskRecon เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2015 ระดมทุนไปแล้วทั้งหมด 40 ล้านดอลลาร์ แนวคิดของบริษัทคือการนำเอาข้อมูลที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ตเข้ามารวมกันเพื่อประเมินความเสี่ยงโดยรวมขององค์กร
Kelly White ซีอีโอของ RiskRecon มองว่าการเข้าร่วมกับ Mastercard นั้นถือเป็นโอกาสดีที่จะได้มีส่วนร่วมในองค์กรขนาดใหญ่ สามารถทำการขยายโซลูชั่นของบริษัทและช่วยบริษัทในกลุ่มธุรกิจใหม่ ๆ ในแต่ละภูมิภาคให้จัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ได้ดียิ่งขึ้น
Facebook ยังคงมุ่งมั่นในธุรกิจเกมต่อเนื่อง ล่าสุดได้เข้าซื้อกิจการทั้งหมดของ PlayGiga สตาร์ทอัพที่เชี่ยวชาญด้านระบบคลาวด์เกมมิ่งจากสเปน โดยมีรายงานว่ามูลค่าดีลอยู่ราว 70 ล้านยูโร หรือประมาณ 2,300 ล้านบาท
ตัวแทนของ Facebook ยืนยันข่าวดังกล่าว โดยบอกว่า Facebook รู้สึกตื่นเต้นที่ได้ PlayGiga มาร่วมกับทีม Facebook Gaming โดยปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับมูลค่ากิจการที่เข้าซื้อ
PlayGiga ก่อตั้งในปี 2013 โดยมีลูกค้าหลักคือกลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเกมสตรีมมิ่งให้รองรับ 5G รวมทั้งพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับให้บริการเกมต่าง ๆ กับลูกค้าเครือข่าย
F5 Networks บริษัทด้านเครือข่ายที่มีผลิตภัณฑ์หลักเป็น load balancer และ application firewall ประกาศเข้าซื้อบริษัทสตาร์ทอัพ Shape Security ด้วยมูลค่าราว 1 พันล้านดอลลาร์ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยของบริษัท
Shape เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 2011 ระดมทุนไปแล้ว 183 ล้านดอลลาร์ มีสำนักงานอยู่ที่ Santa Clara รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเน้นที่การขายผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยที่เน้นกลุ่มลูกค้าองค์กร เช่น ธนาคาร, สายการบิน, ค้าปลีก, เชนโรงแรม, หน่วยงานภาครัฐ และอื่น ๆ โดยเน้นที่การป้องกันการหลอกลวงและการคุกคามแบบอัตโนมัติในส่วนของเว็บหรือแอปมือถือที่ผู้บริโภคใช้งานโดยตรง
กูเกิลประกาศซื้อกิจการ Typhoon Studios สตูดิโอพัฒนาเกมอิสระจากแคนาดา เพื่อเข้ามาทำเกมให้แพลตฟอร์ม Stadia ตามที่เคยประกาศไว้
Typhoon Studios ก่อตั้งในปี 2017 โดยอดีตทีมงานของ Ubisoft, EA และ Warner Bros. Games โดยเพิ่งมีผลงานเกมแรกคือ Journey to the Savage Planet ที่กำลังจะวางขายเดือนมกราคม 2020 บนแพลตฟอร์ม PS4, Xbox One, PC
ผู้ร่วมก่อตั้ง Reid Schneider เคยทำงานเป็นโปรดิวเซอร์ของ Splinter Cell (Ubisoft) และ Battlefield Vietnam, Army of Two (EA) ก่อนมาเป็นหัวหน้าสตูดิโอของ Warner Brothers Games Montreal
Cisco ประกาศแสดงเจตจำนงในการเข้าซื้อกิจการ Exablaze บริษัทจากออสเตรเลียที่เชี่ยวชาญการออกแบบ และผลิตอุปกรณ์เครือข่าย ซึ่งเน้นไปที่การลด latency ในระดับต่ำมาก และปรับปรุงประสิทธิภาพเครือข่าย โดย Cisco จะนำเทคโนโลยีของ Exablaze มาไว้ในผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้ Cisco บอกว่า สิ่งที่ท้าทายในโลกสมัยใหม่คือการสร้างเครือข่ายที่สามารถรองรับปริมาณข้อมูลมหาศาล โดยมาพร้อมกับความเร็ว ซึ่งมีหลายอุตสาหกรรม-ตลาดที่ต้องการ เช่น ระบบการซื้อขายด้วยความเร็วสูง (HFT - high-frequency trading), ระบบประมวลผลระดับสูง ไปจนถึง AI/ML
Cisco คาดว่าดีลซื้อกิจการนี้จะเสร็จสิ้นภายในไตรมาสที่ 3 ปี 2020
ที่มา: Cisco
อินเทลประกาศเข้าซื้อกิจการบริษัท Habana Labs ผู้ผลิตชิปทั้งสำหรับการฝึกโมเดลปัญญาประดิษฐ์และการรันโมเดล มูลค่าการซื้อขาย 2,000 ล้านดอลลาร์หรือ 60,000 ล้านบาท
Habana Labs มีสินค้าหลักสองตัว คือ Gaudi ชิปฝึกโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่ขยายระบบได้มาก และบริษัทระบุว่าประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ชิปกราฟิกถึง 4 เท่าตัว อีกตัวคือ Goya ชิปรันโมเดล (inference) ประสิทธิภาพสูง รันโมเดล ResNet-50 ได้ที่ 15,453 ภาพต่อวินาที
Waymo เข้าซื้อบริษัท Latent Logic ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบจำลองเสมือนจริงเพื่อพัฒนาระบบรถยนต์ไร้คนขับจากสหราชอาณาจักร
Latent Logic เป็นบริษัทที่แยกตัวออกมาจากภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย Oxford ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการทำระบบจำลองที่สมจริงผ่านการใช้ machine learning ที่ชื่อว่า imitation learning เพื่อให้ Waymo สามารถเก็บข้อมูลผ่านการขับรถในระบบจำลองได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
การทำ imitation learning จะทำโมเดลพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมที่เป็นมนุษย์ เช่น คนขับมอเตอร์ไซต์, จักรยาน หรือคนเดินเท้า ซึ่งตามทฤษฎีแล้วคาดว่าจะสามารถทำให้การพัฒนาระบบรถยนต์ไร้คนขับผ่านการจำลองสถานการณ์จริงสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
มีรายงานว่าแอปเปิลได้ซื้อกิจการสตาร์ทอัพจากอังกฤษ Spectral Edge ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย อย่างไรก็ตามแอปเปิลไม่ได้ออกมายืนยันถึงดีลดังกล่าวแบบในอดีต แต่สำนักข่าว Bloomberg ยืนยันแหล่งข่าวและเอกสารว่าดีลนี้เกิดขึ้นแล้ว
Spectral Edge เป็นผู้พัฒนาอัลกอริทึมสำหรับปรับปรุงภาพถ่ายให้มีความคมชัดมากขึ้น มีสีที่ถูกต้องมากขึ้น ในระดับเรียลไทม์ คาดว่าแอปเปิลจะนำเทคนิคนี้มาใช้กับกล้องของ iPhone
ที่มา: 9to5Mac
Adobe ประกาศเข้าซื้อกิจการ Oculus Medium เครื่องมือสำหรับการขึ้นวัตถุใน VR (sculpting) ซึ่งปัจจุบันเปิดให้ใช้งานฟรีบนแพลตฟอร์มของ Oculus VR โดยส่วนเครื่องมือนี้ปัจจุบันเป็นของ Oculus ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Facebook
Oculus บอกว่าจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ สำหรับ Medium ในตอนนี้ ยังสามารถใช้งานได้ฟรีต่อไป และบอกว่า Adobe จะเข้ามาร่วมสร้างสรรค์และเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ในปี 2020
เหตุผลหลักที่น่าจะทำให้ Adobe ซื้อกิจการ Medium คือกลุ่มผู้ใช้ Medium นั้นมีทั้งนักพัฒนาเกม, นักพัฒนา VR อิสระ, ผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของ Adobe นั่นเอง
Codemasters บริษัทพัฒนาเกมแข่งรถเช่น DiRT Rally 2.0, Formula 1 Series ซื้อกิจการของบริษัท Slightly Mad Studios ที่พัฒนาเกมแข่งรถเช่นกัน เจ้าของ Project CARS ทั้งสองภาค การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้จะทำให้ Codemasters ครองลิขสิทธิ์ทุกเกมของ Slightly Mad Studios รวมถึงเกมฟอร์มใหญ่ที่กำลังพัฒนาอยู่ด้วย
ผลงานที่ผ่านมาของ Slightly Mad Studios นอกจาก Project CARS ทั้งสองภาค ก็มีเกม Need for Speed: Shift (เปิดตัวปี 2009) และ Shift 2: Unleashed (เปิดตัวปี 2011) ที่พัฒนาให้ EA ด้วย
การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ทาง Codemasters ไม่เข้าไปยุ่งกับโครงสร้างองค์กร ทำให้ Ian Bell ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Slightly Mad Studios อยู่ในตำแหน่งตามเดิม
ที่มา: Codemasters via DSOGaming
eBay ประกาศว่าบริษัทได้บรรลุข้อตกลงที่จะขายธุรกิจมาร์เก็ตเพลสบัตรเข้าชมกิจกรรม StubHub ให้กับ Viagogo ซึ่งประกอบธุรกิจเดียวกันจากสวิตเซอร์แลนด์ ที่มูลค่า 4.05 พันล้านดอลลาร์ หรือกว่า 1.2 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ eBay มองว่าการขายธุรกิจ StubHub ออกไป เป็นการตัดสินใจที่สร้างผลประโยชน์ให้กับผู้ถือหุ้นดีที่สุด และดีต่อกับกลยุทธ์ระยะยาวของทั้ง eBay และ StubHub
การรวมธุรกิจกันของ StubHub กับ Viagogo จะทำให้แพลตฟอร์มรองรับใน 70 ประเทศทั่วโลก
เรื่องน่าสนใจคือ Eric Baker ผู้ก่อตั้ง Viagogo นั้น เดิมเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง StubHub ด้วย เมื่อครั้งเรียนมหาวิทยาลัย แต่เขาได้ลาออกจากบริษัทก่อนที่จะขายธุรกิจให้ eBay ด้วยมูลค่า 310 ล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2007
PayPal ประกาศเข้าซื้อกิจการ Honey Science ด้วยมูลค่าราว 4,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 120,000 ล้านบาท เพื่อนำมาต่อยอดในการซื้อสินค้าออนไลน์ให้กับผู้ใช้ PayPal
ข้อมูลจาก Crunchbase ระบุว่า Honey Science เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งเมื่อปี 2012 โดย George Ruan และ Ryan Hudson ได้รับเงินเพิ่มทุนไปแล้วราว 31.8 ล้านดอลลาร์ บริการหลักคือ Honey สำหรับค้นหาดีลส่วนลดอย่างรวดเร็ว
กูเกิลประกาศซื้อกิจการบริษัท CloudSimple ผู้เชี่ยวชาญด้านการย้ายระบบที่เป็น VMware ขึ้นคลาวด์ โดยก่อนหน้านี้ CloudSimple เป็นผู้พัฒนาระบบ VMware Cloud Foundation ไปรันบน Google Cloud Platform (ทำระบบให้เสร็จก็ซื้อซะเลย)
กูเกิลอธิบายว่าองค์กรจำนวนมากรันงานบน VMware อยู่แล้ว และต้องการย้ายงานเหล่านี้ขึ้นคลาวด์ การซื้อ CloudSimple ที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้จึงตอบโจทย์ และทาง VMware ก็ออกมาแสดงความยินดีกับกูเกิลในการซื้อกิจการครั้งนี้ ว่าจะช่วยให้ความร่วมมือระหว่าง Google Cloud กับ VMware แนบแน่นขึ้นไปอีก
จากข่าว Xerox เสนอซื้อกิจการ HP ด้วยมูลค่า 33 พันล้านดอลลาร์ ทั้งที่ Xerox มีมูลค่าบริษัทเล็กกว่า HP ถึง 3 เท่า
บอร์ดของ HP ประชุมกันและมีมติปฏิเสธการซื้อกิจการครั้งนี้ (มติเอกฉันท์) โดยให้เหตุผลว่าราคาที่เสนอต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นของ HP และข้อเสนอนี้ไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นของ HP ในภาพรวม อีกทั้งการที่ Xerox ต้องกู้เงินมาซื้อ HP ก็จะทำให้บริษัทใหม่หลังควบรวมแล้วมีหนี้สะสมเยอะเกินไป
HP ยังระบุว่า Xerox เองก็มีรายได้ลดลงในรอบปีที่ผ่านมา ทำให้ HP เองก็ไม่มั่นใจในอนาคตของ Xerox ว่าสดใสแค่ไหน แต่ก็บอกว่ายังเปิดกว้างสำหรับข้อเสนอรอบใหม่ในอนาคต
Docker Inc. ที่ออกมายอมรับว่าสถานการณ์ของบริษัทกำลังย่ำแย่ ประกาศปรับโครงสร้างบริษัทใหม่, เปลี่ยนตัวซีอีโอ, ขายธุรกิจ Docker Enterprise ออกไป และรับเงินทุนเพิ่มอีก 35 ล้านดอลลาร์
OpenText บริษัทเจ้าของซอฟต์แวร์จัดการเนื้อหาภายในองค์กร (enterprise information management - EIM หรือ enterprise content management - ECM) รายใหญ่จากแคนาดา ประกาศซื้อกิจการบริษัทแบ็คอัพข้อมูลผ่านคลาวด์ Carbonite ในราคา 1.42 พันล้านดอลลาร์
ทั้งสองบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ NASDQ และการซื้อกิจการใช้เงินสดทั้งหมดซื้อหุ้นของ Carbonite จากผู้ถือหุ้นเดิม (tender offer) โดยแพงกว่าราคาหุ้นของ Carbonite ราว 78%
Mark J. Barrenechea ซีอีโอของ OpenText ระบุว่าซื้อ Carbonite มาเพิ่มกำลังของ OpenText ด้านคลาวด์ และเพิ่มโอกาสเข้าถึงกลุ่มลูกค้า SME ที่ Carbonite แข็งแกร่ง แต่ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะเชื่อมโยงบริการของ Carbonite เข้ากับ OpenText ได้อย่างไร
กูเกิลประกาศว่าบริษัทได้ทำข้อตกลงเข้าซื้อ Fitbit โดยไม่ได้แจ้งมูลค่าการซื้อขาย ประกาศครั้งนี้ตรงตามข่าวลือเมื่อไม่กี่วันก่อน
ประกาศฝั่ง Fitbit แจ้งมูลค่าดีลครั้งนี้ไว้ที่ 2,100 ล้านดอลลาร์ โดยซื้อเป็นเงินสดที่ 7.35 ดอลลาร์ต่อหุ้น โดยคาดว่าจะควบรวมสำเร็จในปี 2020 โดยต้องรอการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นและหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง
ตามที่มีข่าวลือก่อนหน้านี้ว่า Fitbit อาจศึกษาแนวทางเพื่อขายกิจการ ล่าสุดสำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องระบุว่า Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล ได้ยื่นข้อเสนอขอซื้อกิจการ Fitbit แล้ว แต่ดีลยังไม่ได้ข้อสรุป
ตัวแทนของกูเกิลและ Fitbit ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อข่าวดังกล่าว
Fitbit ปัจจุบันยังเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะที่มีส่วนแบ่งการตลาดในระดับที่สูง แต่ในตลาดนี้ก็ถูกแย่งส่วนแบ่งและมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะจากผู้ผลิตสำคัญของจีนทั้ง Huawei และ Xiaomi
CNBC รายงานว่า ตอนนี้ Amazon ได้เข้าซื้อกิจการบริษัทด้านสุขภาพ Health Navigator ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีและบริการเกี่ยวกับสุขภาพออนไลน์ ซึ่งดีลนี้ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการ แต่ลูกค้าของ Health Navigator ได้รับแจ้งเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว
Health Navigator เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 โดย David Thompson โดยแพลตฟอร์มของบริษัทจะเน้นที่การให้บริการด้านสุขภาพออนไลน์ เช่น telemedicine และคอลเซ็นเตอร์การแพทย์ ซึ่งตัวแพลตฟอร์มจะมีเทคโนโลยีประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) สำหรับเก็บคำแนะนำต่าง ๆ และอินทิเกรตกับแอปผ่าน API
เมื่อสัปดาห์ก่อน Kik Messenger ประกาศว่าแอปอาจให้บริการต่อไป จากแผนเดิมที่จะปิดตัวแอป เนื่องจากกำลังเจรจากับผู้สนใจซื้อกิจการรายหนึ่ง ล่าสุดบริษัทแม่ Kik Interactive ก็ได้ประกาศทางการแล้วว่า MediaLab บริษัทโฮลดิ้งเจ้าของแอปอย่าง Whisper และ Datpiff จะเป็นผู้ซื้อแอป Kik Messenger ไปดำเนินงานต่อ
โดย MediaLab ระบุว่าภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า Kik Messenger จะมีการปรับปรุงใหญ่ให้แอปทำงานรวดเร็วและเสถียรขึ้น รวมทั้งจะเริ่มแสดงผลโฆษณาโดยที่ไม่รบกวนการใช้งาน
ส่วน Kik Interactive ก็จะไปโฟกัสที่การพัฒนาเงินคริปโต Kin เพียงอย่างเดียวตามที่ซีอีโอ Ted Livingston เคยประกาศก่อนหน้านี้
Atlassian ประกาศเข้าซื้อกิจการ Code Barrel ผู้พัฒนาเครื่องมือ Automation for Jira โดยไม่ได้เปิดเผยมูลค่าของดีลในการซื้อกิจการ
Automation for Jira เป็นเครื่องสำหรับสร้างระบบทำงานที่มีการทำซ้ำอยู่เป็นประจำ โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเพิ่มเติม จึงช่วยลดทั้งเวลาและข้อผิดพลาดได้
Atlassian บอกว่า Automation for Jira นั้นมีการขายโปรแกรมผ่าน Atlassian Marketplace ที่เดียว และมีลูกค้าเป็นองค์กรอยู่แล้วมากกว่า 6,000 แห่ง รวมทั้ง Visa, Cisco, Airbnb และ TripAdvisor มีการเขียน rule ใช้งานแล้วมากกว่า 40 ล้าน rules
ที่มา: Atlassian