Skip to main content

Main menu

  • Features
  • Interview
  • Forum
  • Jobs
  • Workplace
  • Company Profile
  • Search

You are here

Home » Blogs » sponsored's blog

5 วิธี เพื่อเติบโตสู่ดิจิทัลเอสเอ็มอี

By: sponsored on 29 September 2016 - 18:33 Tags:
Topics: 
Sponsored
SIPA
Node Thumbnail

ปัจจุบันผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของประเทศยังต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายในการก้าวสู่ดิจิทัล การเลือกใช้ซอฟต์แวร์และนวัตกรรม แม้จะเป็นทางเลือกในการพัฒนาธุรกิจ แต่กลับพบว่าเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ยังใช้เวลากับการจัดการการบริหาร ดังนั้นหากเอสเอ็มอีต้องการเปลี่ยนแปลง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึง 5 วิธีดังต่อไปนี้ เพื่อจัดการบริหารในการเลือกใช้เทคโนโลยีด้านไอทีและซอฟต์แวร์

No Description

ปัจจุบันธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากรูปแบบในการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ค่อนข้างฝืดเคือง ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายทางธุรกิจเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการใช้เงินทุนที่เกินจำเป็น ในการประกอบธุรกิจหรือขยับขยายธุรกิจให้เติบโต อีกทั้งด้วยจำนวนคู่แข่งที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น เอสเอ็มอีจึงจำเป็นต้องดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอดในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยมากนัก

ซึ่งผลการศึกษาจากไอดีซีและเอสเอพีพบว่า เกือบ 1 ใน 3 ของผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอีในเอเชียแปซิฟิกพบว่า ผู้ประกอบกิจการมักจะเสียเวลาส่วนมากไปกับการบริหารจัดการ การปฏิบัติงานในแต่ละวัน แทนที่จะวางแผนสำหรับการเติบโตทางธุรกิจ นอกจากนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวยังพบว่า 55% ของผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอีมองเห็นแนวโน้มที่ดีของธุรกิจจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในขณะที่ 47% เชื่อว่าการให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของธุรกิจ ตัวเลขดังกล่าวนั้นแสดงให้เห็นว่า เกินครึ่งของผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลเป็นอับดับแรกในการบริหารธุรกิจ

ดังนั้น ก้าวแรกที่สำคัญของเอสเอ็มอีในการสร้างมูลค่าและสร้างโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจควรมาจากกรอบแนวคิดพื้นฐานด้านดิจิทัล ทั้งนี้ ธุรกิจเอสเอ็มอีควรดำเนินธุรกิจอย่างทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีระดับเดียวกับองค์กรใหญ่ในปัจจุบัน แทนการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่เริ่มตกยุค ยกตัวอย่างเช่น MEMEBOX บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติเกาหลี ที่ใช้ประโยชน์จากโซลูชันของเอสเอพี ในการขยายธุรกิจสู่ประเทศจีน อเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปพร้อม ๆ กับการขยายช่องทางซื้อขายจากออนไลน์มาสู่หน้าร้าน และยังช่วยสร้างความชัดเจนในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ได้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยบริหารในทุก ๆ เครือข่าย

ถึงแม้จะเจอกับสถานการกดดันต่าง ๆ นานา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เอสเอ็มอีเหล่านี้ก็ยังมีโอกาสยกระดับความคล่องตัวและความเร็วเพื่อบุกเข้าสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังใช้ประสบการณ์ที่ตนเองมีเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับบริษัทสตาร์ทอัพต่าง ๆ ได้ โดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวแปรสำคัญที่จะเข้ามาช่วย ทำให้มีข้อได้เปรียบด้านความเร็ว ค่าใช้จ่ายที่ลดลง และความเรียบง่ายในการดำเนินธุรกิจ

กรอบแนวคิดพื้นฐานด้านดิจิทัลถูกออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้เอสเอ็มอีต่าง ๆ สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้นและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม แทนที่จะรอโซลูชันที่สมบูรณ์แบบเพียงอย่างเดียว เอสเอ็มอีควรเริ่มต้นโดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัน ดังนั้นเทคโนโลยีควรมีส่วนช่วยในการผลักดันธุรกิจให้เติบโตขึ้น ไม่ใช่หยุดนิ่งอยู่กับที่ เพราะในปัจจุบันที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่ระบบดิจิทัลไม่ได้เกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมใหม่อีกต่อไป แต่มันคือความจำเป็นต่อการอยู่รอดของแต่ละองค์กร

ดังนั้นเพื่อผลักดันเอสเอ็มอีในยุคดิจิทัลให้เปลี่ยนแปลงตนเองและกลายเป็นดิจิทัลอย่างแท้จริงได้นั้น มีสิ่งที่ต้องทำอยู่ 5 ประการ

  1. แกนหลักแบบดิจิทัล ด้วยแกนการทำงานหลักแบบดิจิทัล เอสเอ็มอีสามารถดำเนินธุรกิจได้แบบเรียลไทม์ และต่อยอดข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจเพื่อคาดการณ์และพัฒนาการตัดสินใจ การเพิ่มผลผลิต และการเพิ่มกำไรได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
  2. ประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า การพัฒนาประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าผ่านการบริการช่องทางที่หลากหลาย ผ่านการผสมผสานการตลาด การขาย การให้บริการ และการค้า ไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน
  3. การมีส่วนร่วมของบุคลากร ทุกวันนี้ ผู้คนทำงานหนักขึ้น แต่ประสบความสำเร็จน้อยลง เนื่องมาจากความซับซ้อนภายในองค์กร เอสเอ็มอีจำเป็นต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของบุคลากรและมีการวิเคราะห์ที่ลึกขึ้น เพื่อช่วยค้นหาและรักษาบุคลากรที่ดีที่สุดให้อยู่กับองค์กรไปในระยะยาว
  4. เครือข่ายธุรกิจและการร่วมมือกับซัพพลายเออร์ การร่วมมือกันระหว่างตลาดต่าง ๆ คือกุญแจสำคัญสู่การสร้างมูลค่าให้กับองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเอสเอ็มอีที่กำลังก้าวสู่การเป็นสากลมากขึ้น ความท้าทายและโอกาสที่ใหญ่ที่สุดในการเชื่อมต่อ Ecosystem ต่าง ๆ เป็นวงกว้าง คือจำนวนข้อมูลที่เพิ่มขึ้นแบบยกกำลังและสูญหายไปในเครือข่าย การใช้โซลูชันที่เหมาะสมจะช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถส่งต่อข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งมอบข้อมูลเชิงลึกและเพิ่มประสิทธิภาพของวิธีการที่บริษัทต่าง ๆ แลกเปลี่ยน นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น
  5. สินทรัพย์และอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) เอสเอ็มอีสามารถต่อยอดพัฒนาไอโอทีเพื่อสร้างมูลค่าที่มากขึ้นให้แก่ลูกค้าได้ พร้อม ๆ ไปกับการพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ และรูปแบบรายได้ใหม่ ผ่านการสร้างพันธมิตรรูปแบบต่าง ๆ ด้วยการใช้ดิจิทัลเข้ามาช่วยในการทำงานขั้นพื้นฐาน เอสเอ็มอีจะสามารถรองรับการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ได้ดียิ่งขึ้น และสามารถกลายเป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้เช่นกัน

การที่ธุรกิจเอสเอ็มอีจะสามารถจากธุรกิจดั้งเดิมไปสู่ธุรกิจรูปแบบใหม่ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือเป็นสิ่งจำเป็นและต้องให้ความสำคัญอย่างมาก อีกทั้งยังต้องแสวงหาหน่วยงานที่จะสามารถช่วยผลักดันให้เติบโตก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันนอกเหนือจากการผลักดันของภาคเอกชนแล้ว หน่วยงานภาครัฐเองก็ได้มีส่วนเข้ามาผลักดันเพิ่มมากขึ้น ทั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society : MDE ) และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA เองก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและส่งเสริมให้เอสเอ็มอีก้าวสู่ดิจิทัลผ่านศูนย์ให้ความช่วยเหลือ เช่น One Stop Service และการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ ซึ่งจะช่วยให้เอสเอ็มอีมีโอกาสอยู่รอดและประสบความสำเร็จทางธุรกิจมากขึ้น

LINE it!
FB Share
Get latest news from Blognone Follow @twitterapi

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน

sign in

  • ลงทะเบียน
  • ลืมรหัสผ่าน

Cloudnone

  • AWS มาไทย ย้ายเลยดีไหม อะไรยังมาไม่ครบบ้าง? | Cloudnone Ep. 23
  • NVIDIA จะไปหยุดที่ตรงไหน ทำไมครองโลกดาต้าเซ็นเตอร์ | Cloudnone EP.22
  • ถึงคลาวด์เคราะห์: ทำอย่างไรเมื่อบริการคลาวด์ที่ใช้ถูกยกเลิก | Cloudnone EP. 21
  • รู้จักอาชีพ Site Reliability Engineer สำคัญยังไง? | Cloudnone EP. 20
  • อธิบาย CrowdStrike ทางเทคนิค ทำไมถึงทำพีซีจอฟ้าเป็นล้านๆ เครื่อง | Cloudnone EP.19
More

Future of Work

  • Google พบ พนักงานสามารถลดเวลาได้ 122 ชั่วโมงต่อปี หลังนำ AI มาใช้ในงานธุรการ
  • 5 ประโยคอันตรายช่วงสัมภาษณ์งานที่ควรระวังไว้ก่อนตกลงเข้าทำงานที่ใหม่
  • 5 วิธีปลุกไฟในการทำงาน แก้อาการ Burnout Syndrome
  • 4 ทักษะจำเป็นสำหรับการทำงานยุคใหม่
  • รู้หรือไม่ว่าการเรียนคอร์สออนไลน์ มีส่วนช่วยให้ได้งานง่ายขึ้น

Forum

  • ปิดบางฟังก์ชั่นเพื่อ migrate เว็บครับ
  • มีใครทราบวิธีการแบ่งตัวหนังสือยาว ๆ เป็นย่อหน้าด้วยเอไอไหมครับ
  • ตามหาบริษัทรับทำแอปมืออาชีพครับ
  • Barcamp Songkhla ครั้งที่ 9 ขยายเวลารับสมัครแล้วนะ !
  • มีใครเป็นบ้าง ต่อ android auto kplus ฟ้อง เป็นแอพจับภาพหน้าจอ
  • แอพธนาคารที่ยังไม่ล็อค USB Debugging
  • Android แท็บเล็ต 8 นิ้วแบบมีปากกาหายไปไหนหมด?
  • Best Performance บน Windows 11 ใช้แทน high performance ของ Windows 10 ได้ไหมครับ?
  • 9800x3d จะวางขายในไทยเมื่อไรครับ
  • แชร์ Nerd Font ทีใช้กันครับ

About Blognone

  • About Us, History
  • Careers
  • Statistics
  • Become Member
  • Writing Guideline, Glossary
  • Contact Us
  • Privacy Policy

Other Version

  • RSS Feed
  • Apps
  • Twitter, Facebook, YouTube

Blognone in Other Forms

Copyright Notice

Creative Commons Attribution 3.0
©2004-2024

Blognone.com is owned and operated by Blognone Co., Ltd. (LinkedIn Profile)

Blognone is a subsidiary company of wongnai.com