กรมทางหลวง (ทล.) ได้เริ่มเปิดใช้งานเซนเซอร์สำหรับการตรวจสอบและอัพเดตสภาพการจราจรแบบเรียลไทม์บนถนน โดยใช้การตรวจจับสัญญาณ Bluetooth หรือ Wi-Fi บนรถยนต์
เซนเซอร์นี้มีชื่อเรียกว่า BlipTrack ผลิตโดยบริษัทสัญชาติเดนมาร์ก และเรียกระบบที่ใช้งานว่า Blip System ซึ่งหลังจากเริ่มทดลองใช้ไปได้สักระยะหนึ่ง พบว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นที่น่าพอใจ มีการติดตั้งที่รวดเร็ว, ปรับแต่งได้ง่าย และน่าเชื่อถือสูง โดยฝ่ายผู้ขับขี่รถยนต์สามารถรับข้อมูลการจราจรแบบเรียลไทม์จากโทรศัพท์ เพื่อช่วยในการคำนวณเส้นทางที่จะใช้ในการเดินทางได้
คุณทรงฤทธิ์ ชยานันท์ ผู้อำนวยการแขวงการทางสมุทรสาครกล่าวว่า "BlipTrack ช่วยประชาชนในการเดินทางจากบ้านให้เร็วขึ้นในช่วงเทศกาลสำคัญสองเทศกาลหลัก คือ สงกรานต์ และปีใหม่ โดยระบบจะไม่ใช่แค่ช่วยให้ผู้ใช้ถนนตัดสินใจเลือกเส้นทางด้วยการใช้ข้อมูลจากออนไลน์เท่านั้น แต่ตำรวจทางหลวงก็ยังสามารถใช้เพื่อจัดการการจราจรในแบบเรียลไทม์ได้ด้วย"
กรมทางหลวงวางแผนจะใช้ข้อมูลจาก BlipTrack เพื่อช่วยปรับปรุงลักษณะการไหลของจราจรให้ดีขึ้น เช่นการเปิดเส้นทางใหม่ หรือปรับเปลี่ยนเส้นทางในชั่วโมงเร่งด่วน โดยระบบแสดงการจราจรแบบเรียลไทม์นั้นถือว่าสำคัญมากสำหรับประเทศ เพราะช่วยลดการแออัดของจราจรและมลภาวะในในกลางเมือง ทั้งยังช่วยให้ธุรกิจด้านการรับและส่งพัสดุในการปรับปรุงความคล่องตัวในการทำงานด้วย
ระบบ Blip System มีการใช้งานมาแล้วทั้งในออสเตรเลีย, แคนาดา, สหราชอาณาจักร แต่ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศกำลังพัฒนาที่ระบบ Blip System ได้นำไปติดตั้งและใช้งาน
กรมทางหลวงพบว่า หลังจากติดตั้งและทดลองใช้งานระบบ Blip System เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พบว่าโครงการนี้สามารถช่วยลดความหนาแน่นการจราจรได้อย่างมีนัยยะสำคัญ โดยแผนหลังจากนี้คือจะติดตั้งเซนเซอร์ให้ครอบคลุมทางหลวงแผ่นดินให้ได้ 250 กิโลเมตรด้วยเซนเซอร์จำนวนมากกว่า 100 ตัว
ที่มา - Readwrite
Comments
ดูคุณสมบัติแล้ว มันต่างจาก Google map ยังไงอ่ะ
ดูเผินๆ เหมือน google map ก็ทำได้หมดนะ
สงสัยเหมือนผมเลย....
Google map คงฟรีมั้งครับ อันนี้น่าจะแพง
ไปเจอคลิปที่อธิบายการทำงานของระบบนี้มา
Blip Track: Part I "How it works"
Blip Track: Part II "Advantages"
Blip Track: Part III "Business Cases"
ดูแล้วก็เหมือนว่ามันดีตรงตรวจจับได้หลายๆ คันพร้อมกันและก็สามารถรู้ความเร็วรถด้วยจากการวัดว่าตำแหน่งที่ตรวจเจอครั้งแรกกับครั้งต่อไปห่างกันแค่ไหนทำให้คำนวณความเร็วในการเดินทางได้
ถ้าจำไม่ผิด Google Map มันจะได้ข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจราจรเช่น จส.100 ข้อมูลที่ได้คงไม่ได้ละเอียดขนาดว่ารถแต่ละคันวิ่งด้วยความเร็วเท่าไหร่แน่ จากข้อมูลตรงนี้ก็คงจะเอาไปใช้ในการวางแผนการจราจรได้ละเอียดขึ้น
คุ้นๆว่า Google Map นี้ได้ข้อมูลจากคนใช้ส่งกลับเข้าserverด้วย
google maps เดี๋ยวนี้ใช้ข้อมูลจากมือถือเข้าไปร่วมด้วยแล้วครับ ในเมืองหรือเส้นที่มีคนหน่อยแม่นมาก บอกรถติดตรงเป๊ะๆ เลย บางทีแนะนำให้วิ่งเส้นปกติไม่ขึ้นทางด่วนด้วย ลองไปตามแล้วไม่ติด เพื่อนที่ขึ้นทางด่วนถึงช้ากว่า
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ถ้าใครเปิด gps นี่กลายเป็นข้อมมูลชั้นดีให้ google ไปใช้เลยใช่ไหมครับ
น่าสนใจแฮะ
ที่นึกออกก็คงเป็นความแม่นยำครับ Google Map อาศัยข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ (พวกกล้องวงจรปิด) และข้อมูลที่ผู้ใช้ส่งกลับมา (ซึ่งคาวมถูกต้องขึ้นอยู่กับ GPS ของมือถือ)
ซึ่งผมก็ยังนึกไม่ออกว่า ถ้าระบบนี้มันติดไม่ทั่ว มันจะไปแก้ปัญหารถติดได้ยังไง? (วางแผนที่นึงมั้นต้องรู้ข้อมูลทั้งหมดไม่ใช่เหรอ รู้เฉพาะบางจุดมันวางแผนได้ด้วยเหรอ?)
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
คำถามคือ ข้อมูลที่ประมวลผลได้จะถึงมือผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างเราอย่างไร?
ข้อมูลที่ได้ จะส่งแชร์กับ google map ไหม? (ตามคลิปมีการอ้างอิง google map
แต่ไม่แน่ใจว่า เป็นแค่การแสดงผล ให้ศูนย์รับข้อมูลทราบเท่าัน้น หรือมีการแบ่งปันข้อมูลกับ google map ด้วย) เพราะถ้าไม่มีการแชร์ข้อมูล มันจะต่างอะไรกับ การให้คนไปนั่งตาม 4 แยกแล้วนับจำนวนรถ!
ถ้าเจอรถติดทางลงสะพาน ทางใกล้แยก ไม่ต้องสงสัย มีด่านข้างหน้าแน่นอน