Google ซื้อกิจการ Lift Labs บริษัทผู้อยู่เบื้องหลังผลงานช้อนทานข้าวอัจฉริยะถูกออกแบบมาพร้อมระบบลดการสั่นสะเทือนเพื่อช่วยผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โดยมูลค่าการซื้อกิจการในครั้งนี้ไม่เป็นที่เปิดเผย
Lift Labs เป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ใน San Francisco มีผลงานโดดเด่นจากการพัฒนาช้อนทานข้าวที่มีระบบลดการสั่นสะเทือนภายในตัว ช่วยให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (ซึ่งมีอาการมือสั่นแบบไม่สามารถควบคุมได้) สามารถทานข้าวและใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกขึ้น
สำหรับผลงานช้อนอัจฉริยะดังกล่าว เป็นช้อนที่มีแบตเตอรี่อยู่บริเวณด้ามที่ใช้มือจับเชื่อมต่ออยู่กับเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวที่อยู่ภายในด้ามจับของช้อนเช่นกัน บริเวณก้านที่ต่อจากด้ามช้อนไปยังปลายช้อน เป็นข้อต่อที่โยกได้หลายทิศทางซึ่งจะทำงานตอบสนองต่อการสั่นไหวของช้อนที่เซ็นเซอร์ตรวจจับได้ บริเวณปลายช้อนสามารถถอดเปลี่ยนเพื่อนำหัวต่อประเภทอื่นมาใช้งานแทนได้ เช่น ส้อม หรือที่จับกุญแจ (ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันสามารถแทงลูกกุญแจเพื่อไขประตูได้ง่ายขึ้น) เป็นต้น
หลังจากที่ถูก Google ซื้อกิจการไปแล้ว ทีมงานของ Lift Labs จะไปทำงานให้ Google โดยจะอยู่ในทีม Life Sciences ซึ่งเป็นแผนกย่อยของทีม Google X
สำหรับผู้ที่สนใจอยากเห็นว่าช้อนของ Lift Labs มีหน้าตาเช่นไร และทำงานอย่างไร สามารถชมได้จากคลิปท้ายข่าว
ที่มา - 9to5Google
Comments
ชื่นชม .. นวัตกรรม! ;)
my blog
ผมว่ามันแก้ที่ปลายเหตุไปหน่อยนะ ไม่มีใครทำเป็นปลอกแขนหรือถุงมือเพื่อช่วยลดอาการสั่นของมือเลยเหรอเนี่ย แบบนั้นน่าจะใช้งานได้มากกว่าเป็นแค่ช้อนตักข้าว
ระหว่างทำเป็นช้อนแบบนี้ กับทำเป้นปลอกแขน/ถุงมือ ก็คงมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันล่ะครับ
ความสะดวกในการพกพาต่างกัน ความรู้สึกสบายเมื่อสวมใส่หรือหยิบจับก็ต่างกัน ต้นทุนสำหรับการผลิตหรือค่าใช้จ่ายเพื่อการบำรุงรักษาก็ต่างกัน
ผมไม่ได้เจาะลึกหาข้อมูลไปมากกว่าที่เป็นข่าวด้านบน แต่เชื่อว่าทีมพัฒนาก็ทำการบ้านมาระดับนึง จึงได้ตัดสินพัฒนามาในรูปแบบนี้ล่ะครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ถ้าทำปลอกแขนจำกัดการสั่นของมือผมว่ามันน่าจะยากกว่านะครับเพราะมันจะไปกำจัดการเคลื่อนไหวของมือ คือ แขนอยู่นิ่งไปเลยไม่สั่น ทำอะไรไม่ได้
แขนนิ่ง แต่ตัวจะสั่นแทน ปากจะไม่อยู่นิ่งแทน ดูที่อายุผู้ป่วยด้วยครับ
ผมว่าถุงมือมันก็ปลายเหตุนะครับ
ต้นเหตุก็ต้องหมายถึงการรักษาโรคสิ
พวกนวัตกรรมปลอกแขนมีมานานแล้วครับ แต่จะติดปัญหาที่ 1.แต่ละคนมือและแขนไม่เท่ากัน 2.ความอึดอัด,ความร้อนในตอนใส่ 3.ทำความสะอาดยากเป็นคราบขี้มือง่าย 4.สำคัญสุดคือเชื้อโรคหลังใส่ไปนานๆแล้วครับ ดีไม่ดีผู้ป่วยได้รับเชื้อโรคใหม่ๆจากปลอกแขนนี้อีก
กินข้าวผมว่าเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับผู้ป่วยหลายๆโรค การกินข้าวเนี่ยเป็นความสุขอย่างหนึ่งของมนุษยชาติเลยก็ว่าได้
การที่ผู้ป่วยสามารถกินได้เองโดยไม่ต้องพึ่งคนอืน ผมว่าคงจะรู้สึกดีขึ้นมากๆ เพราะคนเราคงไม่อยากรู้สึกว่าเป็นภาระให้คนอื่นอยู่แล้ว น่าชื่นชมนวัตรกรรมดีๆแบบนี้มากครับ
คงเอาไปทำมือถือ เพื่อที่ป้องกันการถ่ายรูป
เอาไปทำไรหว่า หรือกูเกิลจะลองทำผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพมั่ง O_o
ปล. ในวิกิฯ ไม่มีอ้างอิงเลย น่าจะลิงก์ไปที่ ศิริราช หรือ ร.พ.บำรุงราษฎ์ ดีกว่านะครับ
โรคพาร์กินสันท => โรคพาร์กินสัน
ดังกล่าว ช้อน => ดังกล่าวคือช้อน / ดังกล่าวเป็นช้อน
ด้านจับ => ด้ามจับ
ตั้งแต่อยู่ Blognone มา ทำไมผมอ่านข่าวนี้แล้ว น้ำตาปริมๆ ไงไม่รู้นะ (จริงๆ)
คือ ผมคิดว่า ผมเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้นะครับ ที่เวลาจะตักหรือทานอาหารอะไรก็ตามมือจะสั่น
แต่พอมีนวัตกรรมนี้เข้ามาช่วยเสริมพวกเขา ผมคิดว่า คนป่วยคงจะมีความรู้สึกที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน หนึ่งล่ะคือ ไม่เป็นภาระของผู้ดูแลของเรา
ดีใจครับที่ Google เล็งเห็นความสำคัญของผู้ป่วยแบบนี้ หวังว่าหากอยู่ในความดูแลของ Google แล้ว อะไรก็คงจะดีขึ้นตามมา
ขอบคุณสำหรับข่าวครับ
ปล. เห็นความลำบากของผู้ป่วยแบบนี้ยิ่งน่าสงสาร
ปปล. รู้สึกวันนี้ตัวเองเซ็นซิทีฟไงไม่รู้แหะ
มันน่าจะเอาไปประยุกต์อย่างอื่นได้ด้วย แต่ผมยอมรับว่าการที่กูเกิ้ลสนับสนุนโปรเจ็คนี้ ได้ทั้งนวัฒกรรมแล้วเรื่องสังคมไปด้วยกันเลย
ผมนึกถึงสิ่งนี้ มันน่าจะใช้ดัดแปลงได้
May the Force Close be with you. || @nuttyi
เทคโนโลยี ลอกเลียนแบบการทำงาน Gyroscope มาจากไก่ชัวร์
สุดท้ายแล้วผู้ป่วยก็มือสั่น เอาช้อนหรือกุญแจไปติดที่ด้ามไม่ได้ ……
คงไม่ถึงขนาดนั้น แต่ชอบไอเดียมากครับ นึกไม่ถึงจริงๆ
แก้การสั่นด้วยการสั่น พึ่งจะรู้เนี่ยแหละ