ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ย้ำในงานแถลงข่าว “ปีแห่งความปลอดภัยไซเบอร์” ว่ารัฐบาลยังเดินหน้ารับมือกับภัยไซเบอร์ โดยเฉพาะแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่สร้างความเสียหายให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง
โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ เดินหน้ากำหนดนโยบาย พัฒนากฎหมาย ร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงดีอี, กสทช., AIS, และธนาคารภาคเอกชน เพื่อยกระดับความมั่นคงของประเทศ และจัดการกับอาชญากรรมข้ามชาติ และแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้ได้มากที่สุด
ภูมิธรรม ยังบอกว่าความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่ประเทศใดประเทศหนึ่งแก้เองไม่ได้ ต้องร่วมมือกับหลายประเทศ หรือแม้แต่ภายในประเทศเอง ที่ต้องพึ่งพาหลาย ๆ ภาคส่วน เช่นเดียวกับในไทย ที่จะให้รัฐทำหน้าที่แก้ปัญหาอย่างเดียวไม่ได้
ภาคเอกชนก็มีความจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหมือนกัน เพราะมีทั้งเครื่องมือ และข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยรัฐบาลได้ และส่วนสำคัญที่สุดคือ “ประชาชน” ที่จะต้องเข้ามาร่วมมือช่วยแก้ปัญหาเหมือนกัน เพราะนี่คือวาระแห่งชาติ ที่ทุกคนในประเทศมีส่วนร่วม
รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ มีการจัดอบรมให้ความรู้ประชาชน เพื่อให้รู้เท่าทันกับภัยรูปแบบใหม่ ๆ ที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา โดยขอให้ทุกคนร่วมมือกันผลักดันให้ปี 2568 เป็น "ปีแห่งความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" ปีแห่งการสร้างประเทศไทยให้ปลอดภัยในโลกดิจิทัลอย่างจริงจัง
ด้าน พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บอกว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 - 30 เมษายน 2568 มีคดีออนไลน์ที่แจ้งความมา 887,315 เรื่อง สร้างความเสียหายรวมกว่า 8.9 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ยวันละ 77 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่มาจากการถูกหลอกให้โอนเงินผ่านแอปปลอม ถูกดูดเงินจากบัญชีโดยไม่รู้ตัว และถูกดูดข้อมูลส่วนตัวไปใช้
ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดตั้งศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) เพื่อรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และปฏิบัติการเชิงรุก ด้วย AI และระบบวิเคราะห์ธุรกรรม เพื่อติดตามเส้นทางการเงินของขบวนการอาชญากรด้วย
ส่วน สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS บอกว่าบริษัทได้เสริมทักษะความรู้ไซเบอร์ผ่านโครงการ “Cyber Wellness for THAIs” และยังร่วมมือกับตำรวจลงพื้นที่ปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเสริมความปลอดภัยทางไซเบอร์
ที่มา: งานแถลงข่าว “ปีแห่งความปลอดภัยไซเบอร์” โดย AIS
Comments
นโบาย => นโยบาย
เคครับพี่
ถ้าประชาชนจะต้องไม่คาดหวังว่ารัฐจะพึ่งพาได้ แล้วรัฐบาลจะมีไว้เพื่ออะไร
นับวันยิ่งเหมือนรัฐบาลเผด็จการเข้าไปทุกที มีรัฐบาลเพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้อง ไม่ได้มีรัฐบาลไว้เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน
รึเป็น สมาชิก ใน ฝูงหมาป่า .. แต่แยกมา หาชุดลูกแกะใส่ , แล้วก็ แทรกตัวเข้ามา ใน ฝูงแกะ 🤔
จริงๆ ก็ถูกระดับนึงนะฮะ คือหวังรัฐอย่างเดียวไม่ได้ ต้องไปกันทุกฝ่ายนั่นแหละ
แต่คือรัฐต้อง lead ไง ได้ผลแค่ไหนก็อยู่ที่การนำและแนวทางที่จะไป
ถูกครึ่งนึง รัฐบาลไม่ต้องมาคอยแก้ปัญหาทุกอย่าง แต่สำคัญคือรบ.ควรสร้างความตระหนักรู้เยอะๆ
"ย้ำอย่าพึ่งรัฐแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ฝ่ายเดียว เอกชน-ประชาชนต้องร่วมมือกัน"
แต่ทุกวันนี้เวลาโดนหลอกเนี่ยมันอ้างหน่วยงานรัฐเป็นส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีแก้ให้หน่วยงานรัฐต่างๆที่โดนอ้างโดนหลอกทำให้มันอ้างไม่ได้บ้างเหรอ
พูดเหมือนลุงทหารคนนึงเลย ถ้าไม่บอกนึกว่ารัฐบาลเดียวกัน
WE ARE THE 99%
เอกชนน่ะตัวดี ถ้าไม่ให้ความร่วมมือก็ออกกฏบังคับไปซิ สิงค์โปรบังคับเลย กลัวมองหน้าเจ้าสัวไม่ติดหรือไง อำนาจในมือในฐานะรัฐมนตรีมันมากพอจะจบปัญหาได้อยู่แล้ว
ไทยก็บังคับแทบไม่ต่างจากสิงคโปร์แล้วนะครับ
และจริงๆเอกชนไทยก็ทำไป"ก่อนหน้า"มีการบังคับด้วยซ้ำ
ไม่ว่าไทยหรือสิงคโปร์ ถ้าโอนออกไปเอง ก็โทษเอกชนหรือระบบไม่ได้ แค่ระบบต้องแจ้งเตือนกรณีเข้าเงื่อนไขwarning เท่านั้น ไม่ใช่ว่าต้องห้ามทุกกรณี
ไม่รู้ประชาชนต้องพึ่งกันเองขนาดไหน
แล้วอำนาจที่ตระบัติสัตย์เพื่อได้มา เอามาสั่งเรื่องที่ทำให้ชีวิตประชาชนง่ายขึ้นได้มั้ย
ถ้าไม่ทำ คุณพยายามขึ้นสู่อำนาจไปเพื่ออะไร ถ้าไม่ใช้มันเพื่อคนที่เลือกคุณ??
เอาแค่เคสโดนโกงซื้อขายของออนไลน์
ผมต้องพาน้องผมไปโรงพัก 6 ครั้งใน 3 เดือน ยังไม่แจ้งข้อหาใครเลย ทั้งๆที่มีข้อมูลครบ ปริ้นทุกอย่างใส่ A4 ให้
คนนู้นให้ไปแจ้งคนนั้น คนนั้นให้โทรไปเบอร์นู้น
เบอร์นู้นบอกให้ไป สภ โน้น สภ โน้นบอกต้องแจ้งห้องนี้
ห้องนี้บอกคนรับผิดชอบไปอบรม ต้องมาอาทิตย์หน้า
อาทิตย์หน้ามาแล้วบอกคนรับแจ้งลา
เหนื่อย
เหลือเวลาอีก 6 เดือน...
Call center ได้ข้อมูลเราไปได้ยังไงก่อน
และผมคิดว่ารัฐควรออกแบบระบบที่ให้ประชาชนตรวจสอบด้วยตีวเองได้ว่าเรื่องจริงไหม
และควรทำให้ประชาชนควรตระหนักรู้ ว่าถ้ามีตำรวจโทรมา ให้ไปตรวจสอบกับ สน ใกล้บ้านได้ (ไม่รู้ตรวจสอบได้ไหม ถ้าไม่ได้ต้องทำระบบให้ตรวจสอบได้ด้วย)
ประชาชนพร้อมร่วมมืออยู่แล้ว แต่ต้องมีแนวทางปฏิบัติมาก่อน
เอาจริง ๆ ผมไม่ค่อยรู้มุก call center เท่าไหร่เพราะไม่ได้โดนบ่อย แต่มีตำรวจติกต่อมารอบนึง กับกรมที่ดิน (อันนี้เกือบเชื่อ จนมาบอกให้แอดไลน์ไปลง app เนี่ยแหละ)
ไม่มีพวกนี้โทรมาหลายเดือนแล้ว
แก้ยาก หลังๆโทรมาขู่เรื่องคดีความ แลกให้จ่ายสินบน(เหยื่อมักจะบอกสื่่อว่าโดนหลอกให้โอนเงินไปพักเงิน แต่ฟังดูแล้วคือจ่ายสินบนนั่นแหละแลกกับไม่โดนคดี) กับหลอกให้ไปลงทุน ให้ผลตอบแทนสูงเว่อๆ(ลองคิดมุมกลับใครจะเชื่อว่าจนท.ฝ่ายปกครองมาชวนไปลงทุน?)
ล่าสุดหลอกเด็กวัยรุ่น/เด็กวัยเรียนให้โทรไปหลอกพ่อแม่ตัวเองว่าโดนเรียกค่าไถ่ แต่เคสเรียกค่าไถ่อันนี้ก็มีข้อสงสัยว่าเจ้าตัวร่วมมือโดยเต็มใจด้วยหรือไม่ กรณีทำไปเพื่อแลกกับหนี้พนันออนไลน์?(อันนี้รู้เพราะเคสไม่นานมานี้เกิดใกล้ๆ เลยได้ข่าวจากคนรู้จักมา)
แต่เห็นด้วยกับคคห.บนๆเรื่องควรมีระบบกลาง ให้เช็คได้ว่าจนท.โทรมาจริงๆไหม(เช่นให้จนท.โทรจากเบอร์กลาง call centerหลักเท่านั้น) หรือมีคดีความจริงๆไหม แต่ต่อให้มีจริงก็มีช่องโหว่ตรงที่คนคิดจ่ายสินบนเพื่อแลกกับการไม่เป็นคดี ก็จะไม่ใช้ช่องทางปกติอยู่ดี
สังคมไทยเคยชินกับการจ่ายสินบน ก็โดนหลอกง่ายเป็นธรรมดา ที่น่าแปลกคือออกข่าวทุกวัน แต่ก็ยังมีคนหลงเชื่อ ก็ต้องกลับมาคิดว่าการออกข่าวทุกวันนี้แทบไม่ช่วย ถ้าคนคิดว่าโดนคดีจริงๆแล้วพยายามหาทางออกด้วยการ"ลัด"ขั้นตอนแบบการจ่ายสินบนหรือให้จนท.ช่วยด้วยวิธีพิเศษหรือเปล่า? แทนที่จะบอกให้ออกหมายเรียกตามขั้นตอน แล้วปรึกษาทนายเรื่องข้อกฎหมาย ดันรีบไปโอนเงินให้จนท.(ตัวปลอม)กันตรงๆ?
บางทีเราต้องจะต้องเสริมการรณรงค์ให้เรียนรู้สิทธิทางกฎหมายและขั้นตอนที่ถูกต้อง แต่ก็เชื่อว่าคนจำนวนมากรู้ แต่ไม่อยากทำ เหมือนๆที่พยายามจ่ายสินบนตอนโดนคดีจราจรกันนั่นแหละ
ป.ล. จริงๆอยากให้แจ้งข่าวสารหรือมีเวบกลางที่รวมรวมการตรวจสอบเอกสารทางกฎหมาย เช่นหมายเรียก หมายศาล อย่างง่ายๆ(แต่ก็เสี่ยงเรื่องข้อมูลส่วนตัวหลุดกรณีเอกสารจริง?)
บางทีสอนกันผิดมาแต่ต้น ไม่ยอมบอกกันว่า มิจฉาชีพมันรู้ข้อมูลส่วนตัวของเรา
พอไม่บอกกันอย่างนี้ มิจฉาชีพ รู้ข้อมูลเชิงลึก ไปทำนั่นทำนี่มา ก็หลงเชื่อโดนหลอกจนได้
บางกรณี เงินเข้าธนาคารล้านนึง อีกวันมิจฉาชีพโทรมาแล้ว ปลอมเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร
ที่โดนโกงกันเยอะ มันไม่ต้องกลัวว่า รัฐจะทำอะไรไงครับ
ตำรวจถ้าคดีไม่ใหญ่ ไม่เป็นข่าว ก็ไม่ทำหน้าที่ สืบตามเรื่อง
เจ้าหน้าที้รัฐ กับส่วย เหมือนจะคนละเรื่อง แต่มันเกี่ยว
ข้อมูลหลุด รู้ชื่อ เบอร์ อายุ เจาะจงเป้าหมายได้ มีแต่ข้อมูลของรัฐที่ทำได้
ผมให้ปัญหานี้เป็นของรัฐ 90% เลย เอาแค่ ถ้าไม่มีข้อมูลหลุด แก๊ง call center จะเอาเบอร์ที่ไหนไปโทร
แล้วคนที่เอาข้อมูลไปปล่อย พวกเอกสารราชการ โฉนดที่ดิน ไม่คิดจะตรวจสอบต้นตอบ้างเหรอครับ ?
That is the way things are.