Tags:
Node Thumbnail

ผู้พิพากษา Vince Chhabria แห่งศาลชั้นต้นรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (US District Court) แสดงความเห็นระหว่างขั้นตอนการไต่สวน คดี Meta นำข้อมูลหนังสือไปฝึกปัญญาประดิษฐ์ ว่า เขาไม่เข้าใจว่าทำไมการใช้งานของ Meta จะเป็นการใช้งานเป็นธรรมได้อย่างไร

การใช้งานที่เป็นธรรม (fair use) เป็นแนวทางการใช้งานอย่างจำกัดที่เปิดให้ผู้อื่นสามารถนำงานที่มีลิขสิทธิ์ไปใช้งานต่อได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ เช่น การวิจารณ์หนังสือหรือภาพยนตร์, การใช้งานเพื่อการวิจัย, หรือการรายงานข่าว

คคีนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2023 โดยกลุ่มนักเขียนฟ้องร้องทั้ง OpenAI และ Meta ว่านำหนังสือไปใช้งานฝึกปัญญาประดิษฐ์โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยอาศัยการดาวน์โหลดข้อมูลจากบริการห้องสมุดแชร์ไฟล์ เช่น LibGen

ทางฝั่ง Meta นั้นยืนยันว่าการใช้งานของตัวเองเข้าข่ายการใช้งานที่เป็นธรรม แต่ผู้พิพากษา Chhabria ก็แสดงความเห็นระหว่างการพิจารณาคดีว่า การสร้างปัญญาประดิษฐ์ของ Meta จะเปลี่ยนตลาด[หนังสือ] หรือแม้กระทั่งอาจจะทำลายตลาด โดยไม่ได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ ทำให้เขาไม่เข้าใจว่าเป็นการใช้งานที่เป็นธรรมได้อย่างไร

อย่างไรก็ดี Chhabria ระบุว่าเป็นภาระของฝ่ายนักเขียนที่ต้องพิสูจน์ว่าปัญญาประดิษฐ์ของ Meta สร้างเนื้อหาคล้ายกับโจทก์ และต้องแสดงให้เห็นว่า Meta ทำเงินจากข้อมูลหนังสือ ตลอดจนปัญญาประดิษฐ์ของ Meta กระทบยอดขายหนังสือ ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ยาก

ที่มา - Wired

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: N Pack on 5 May 2025 - 18:49 #1339456
N Pack's picture

ทุกประเทศใช่มั้ยครับ ที่โจทก์ต้องหาหลักฐานฟ้องจำเลยเอง

By: nat3738
ContributorAndroidRed HatUbuntu
on 5 May 2025 - 21:51 #1339462 Reply to:1339456

ใช่ครับ คดีแพ่งเอาง่ายๆ คือฟ้องความเสียหายทางการเงิน ฝ่ายฟ้องต้องแสดงหลักฐานว่าเสียหายยังไง เท่าไร

By: schanon
Android
on 5 May 2025 - 19:53 #1339460
schanon's picture

“…และต้องแสดงให้เห็นว่า Meta ทำเงินจากข้อมูลหนังสือ”

งานหยาบเลย งานเขียนมันเป็นตัวหนังสือ ไม่เหมือนสไตล์ภาพแบบ Ghibli ที่ชำเลืองมองก็รู้ว่าเป็นสไตล์ของใคร

By: shub on 6 May 2025 - 14:02 #1339500

ก็ถูกแล้วแหละที่ต้องไปหาหลักฐานว่ามีผลกระทบอย่างที่โจทก์กล่าวอ้างจริง ไม่งั้นจะให้metaเค้าคายออกมาเสริฟให้เหรอโดนฟ้องเองแล้วก็หาหลักฐานมามัดตัวเองไรงี้อ่อ

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 6 May 2025 - 14:39 #1339506

กลุ่มศิลปิน นักเขียน ต้องเรียกร้องให้รัฐออกกฎหมายบังคับให้เจ้าของ AI ต้องแสดงถึงที่มาของ source ในการ train ทั้งหมด ไม่งั้นเป็นภาระพิสูจน์ผีแบบนี้ มันไม่มีทางพิสูจน์ได้ง่ายๆว่าAIนี้ถูกเทรนจากต้นฉบับไหนบ้างโดยดูแค่ปลายทางของการ generate

กลับกัน ผู้เทรน(เจ้าของ AI) ต้องสำแดงตะหากว่าใช้source ที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ สัญญาจ้าง มาใช้งานหรือเปล่า?

ประเด็นน่าจะอยู่ตรงนี้ ไม่ใช่ว่า gen ออกมาแล้วคล้ายใครหรือลอกใคร แต่เอามาเทรนแต่แรกแบบถูกต้องหรือเปล่าตะหาก?

ผมเชื่อว่าอีกหน่อยต้องมีกฎหมายบังคับ ไม่งั้นถ้าลามไปถึงเรื่อง reverse engineering ที่กระทบเรื่องสิทธิบัตรซึ่งเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯเอง ก็คงเรื่องใหญ่(แต่เรื่องสิทธิบัตรอาจจะพิสูจน์ง่ายกว่าเพราะถ้าเหมือนก็คือผิดแม้ว่าจะคิดเองจริงๆแล้วบังเอิญเหมือน)

ป.ล.เคส ghibli นี่น่าเกลียดมากถึงจะอ้างว่าแค่คล้าย แต่ก็มีคนตั้งคำถามกลับ กล้าgenลายเส้นแบบ disney ออกมาไหม? โดยเฉพาะตัวละครสำคัญ?