สหภาพยุโรปหรือ EU ออกระเบียบใหม่ให้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ต้องติดฉลากพลังงาน มีผลสำหรับสินค้าที่ขายตั้งแต่ 20 มิถุนายน เป็นต้นไป
รูปแบบฉลากนั้นคล้ายกับฉลากประหยัดพลังงานในเครื่องใช้ไฟฟ้า มีข้อมูลคะแนนประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (มีคะแนนเป็น A-G), ตัวเลขระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรีต่อหนึ่งรอบการชาร์จ, คะแนนทนต่อการตกกระแทก, ความทนทานของแบตเตอรีแต่ละรอบ, คะแนนการซ่อมแซมอุปกรณ์ และระดับการป้องกันฝุ่น-น้ำ
EU ยังกำหนดเงื่อนไข Ecodesign ให้เป็นพื้นฐานของอุปกรณ์ที่เป็นขั้นต่ำ เช่น ทนต่อการตก, มีความสามารถป้องกันฝุ่น-น้ำ, แบตเตอรีรองรับการชาร์จอย่างน้อย 800 รอบ ไปจนถึงมีอัปเดตซอฟต์แวร์สนับสนุนอย่างน้อย 5 ปี เป็นต้น
Comments
ไอ้อัพเดทสนับสนุน5ปีนี้นับตัวแอนด๋อย หรือ ของค่ายมือถือเอง ? (ออกแพทง่อยๆก็ถือว่านับสินะ)
ของยี่ห้อมือถือนั้นๆ ต้องมีอัพเดทให้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี
ข่าวเก่า EU เตรียมออกกฎ ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนต้องอัพเดตแพตช์-อะไหล่นาน 5 ปี เยอรมนีอาจกำหนด 7 ปี
อย่างนี้อัพเดทแอพเงินกู้ฝังใน System ก็นับใช่ไหมเนี่ย
คือไม่ว่าจะ iOS (Apple) หรือ Android (พวก Samsung, Sony) แต่ละยี่ห้อต้องออกอัพเดทต่อไปอีกอย่างน้อย 5 ปี และอัพเดทที่ว่าคือ "operating system upgrades"
อ้างอิงจากที่มา "availability of operating system upgrades for longer periods (at least 5 years from the date of the end of placement on the market of the last unit of a product model)"
ซึ่งเค้าใช้คำว่า "the end of placement on the market of the last unit of a product model" คือหมายถึงสิ้นสุดการวางจำหน่ายไปแล้ว ไม่ได้มองที่วันแรกที่จำหน่าย โดยมุ่งรักษาผลประโยชน์ประชาชน บางคนซื้อมาตอนช่วงท้ายๆ ของรุ่นนั้นๆ อาจจะได้ไม่ครบ 5 ปีเลยใช้การนับที่ unit ที่ขาย unit สุดท้ายของ model นั้นๆ
ต้นทาง EU ระบุว่า OS upgrade เลยครับ แล้วต้นทาง The Verge ก็เพิ่มเติมว่าต้อง OS Update ภายใน 6 เดือนหลังจาก Source Code เผยแพร่แล้วด้วย (แต่ในต้นทาง EU ผมหาอันนี้ไม่เจอแฮะ)
เพราะงั้นเท่าที่เข้าใจคือน่าจะต้องตัว Android เลยครับ
HMD ไม่ถูกใจสิ่งนี้ (3 ปี made in EU)
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
HMD 3 ปีหลังเปิดตัววางขาย แต่ 5 ปีของ EU รอบนี้คือหลังเลิกขายด้วยนะครับ วางขายลากยาวก็บวกไป
แบบนี้ HMD จะรอดไหมครับนี่ ดูท่าไม่น่ารอดแน่ ๆ ต้นทุนเพิ่ม ทำราคาเพิ่ม สู้ไม่ได้ (จากที่ตอนนี้ก็ไม่ได้อยู่แล้ว) เสียดายเลยครับ ยี่ห้อมือถือตัวสุดท้ายจาก EU ที่ยังบุกตลาดระดับโลก กล้าวางขายทั่วโลก พวก บ. มือถือใหญ่ ๆ นอก EU ไม่ได้เพิ่มทุนอะไรมากอยู่แล้ว 5 ปี + สบาย ๆ
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
นั่นสินะฮะ 🤔 คือจะว่าไปผมว่าผมยังไม่เห็น HMD วางขายเลยนะขนาดอยู่ติดประเทศเค้า จำได้ว่าส่วนมากเห็นแต่ iPhone & Samsung แล้วก็ Pixel (ที่เพิ่งวางไม่ถึงปี) เคยเห็น Sony หนนึง แต่ผมไม่ค่อยได้ใส่ใจดูเลยไม่รู้ว่าวางอยู่หลืบไหนมั้ย แค่แบบตอนยืนรอพนักงานแล้วหยิบๆ ตัวใกล้มือดู กับไม่ได้ใช้ซิมค่ายของฟินแลนด์เลยไม่ได้เข้าศูนย์ทางนั้น อันนี้อาจจะเกี่ยว
กับตอนข้ามไปฝั่งนั้นไม่ได้เข้าพวกร้านที่ขายโทรศัพท์เลย เดี๋ยวถ้าไปคงต้องส่องดูบ้าง
มีรุ่น 2 ปีด้วยนะครับ /พิมพ์ไปกำหมัดไป
กำหมัดจริงครับ แถมไม่ปล่อยทางอนุญาตให้ Unlocking Bootloaders อีกด้วย
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
อันนี้ดี เหมือนมีแต่ EU ที่พยายามปกป้องผู้บริโภคโดยการกดดันผู้ผลิตแบบจริงๆ
+1
แล้วการแบ่งระดับนี่โหดมากพอที่จะเห็นความต่างด้วยนะ พวกตู้เย็น เครื่องล้างจาน เครื่องอบผ้า ได้ C–E วางขายกันเต็มเลย พวก A–B นี่คือราคาแรงไปไกลมากแต่ก็ประหยัดกว่าพอตัว ผมเพิ่งเปลี่ยน[หลอดไฟเป็น TP-Link Tapo L510E ไปยังเจอเกรด F เลย (น่าจะเพราะมันกินไฟกับส่วน smart ต่อ WiFi นี่แหละ)
ของไทยเมื่อก่อนคือแทบจะได้ประหยัดไฟเบอร์ 5 กันเต็มไปหมด จนรีมาใหม่มีเบอร์ 5 + 1–3 ดาวด้วยนี่ถึงพอเห็นความต่างได้บ้าง
เพิ่มต้นทุนไหมนั้นต้องทดสอบเพิ่มเติมอีก
เพิ่มครับ แต่เป็นการ level the playing field ทุกคนในตลาดต้องทำเท่ากันหมด
เทียบกับไทย มีซัมซุงเป็นคนดีอัพเดตยาวอยู่คนเดียว แต่คู่แข่งอัพเดตสั้นกว่า ต้นทุนถูกกว่า ผู้ซื้อไม่ทันตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัย แบบนี้ไม่แฟร์กัน
มาตรการแบบนี้คิดได้เหมือนกันหมด เช่น ความปลอดภัยร้านอาหาร (อาหารสะอาด มาตรการเยอะ คนทำต้องใส่ชุดป้องกัน ต้นทุนแพง), ความปลอดภัยขนส่งมวลผล (คนขับต้องอบรม ต้องเปลี่ยนคนขับทุกกี่ชั่วโมง ต้นทุนแพง)
lewcpe.com, @wasonliw
อ่า ขอบคุณครับ เข้าใจเลย
แต่ถ้ามองเรื่องร้านอาหารนี่บังคับเฉพาะระดับกลางๆ ขึ้นไปเปล่าครับ แบบรายเล็กๆ คงไม่น่ามีอะไรควบคุม ไม่งั้นร้านรายย่อยจิ๋วๆ น่าจะอยู่ยากเลย เปิดกิจคงทำได้ยากขึ้น ส่วนธรุกิจมือถือคงมีแต่คนมีเงินมาลงทุนคงทำได้สบาย
จริงๆ มาตรการกำกับพวกนี้ก็ควรเพิ่มขึ้นเฉพาะเมื่อใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ ล่ะครับ
มือถือถ้าขายไม่กี่เครื่องเฉพาะทางอาจจะไม่ต้อง แต่ถ้าขายในไทยครบแสนเครื่องก็ควรถูกบังคับ ร้านค้าเล็กมากๆ ก็อาจจะเป็น self certify มีข้อบังคับ check list ให้ไปตรวจตัวเอง ฯลฯ
lewcpe.com, @wasonliw
👏
เรื่องความปลอดภัยร้านอาหารนี่ทางผมไม่ทันคิดเพราะอยู่ไทยใครๆ ก็เปิด อยากเปิดเมื่อไหร่ก็เปิด ได้ยินมาว่าต้องมีส่งตรวจคุณภาพน้ำในร้านเลยติดต่อไป เค้าถามว่าเอ ไม่เห็นข้อมูลร้านลงทะเบียนอยู่ในระบบ ขอเปิดร้าน+ผ่านการตรวจสอบ (ที่ไม่ได้มีแค่คุณภาพน้ำ) หรือยัง มันต้องขอไม่เกิน 3 เดือนหลังเริ่มขายนะ
ละผมขายมาแล้ว 5 เดือน แต่เค้าก็ถือว่าเราไม่รู้และเราเป็นฝั่ง approach ไปหาเค้าเค้าเลยไม่ว่าอะไร ก็แนะนำมาว่าต้องทำอะไรบ้างขาดอะไรบ้าง แต่ก็เร่งให้ทำด่วนหน่อย
คือติดต่อกับหน่วยงานรัฐก็เยอะทำเรื่องนู่นนี่เยอะแต่ลืมเรื่องนี้ไปเรื่องเดียวจริงๆ orz แล้วเค้ามาตรวจนี่คือตรวจแบบวัตถุดิบชนิดไหนเก็บแบบไหนปลอดภัยมั้ย อุณหภูมิตู้แช่แต่ละชนิดอยู่ที่เท่าไหร่ถึงเกณฑ์มั้ย มีอุปกรณ์วัดอุณหภูมิกับระบบตรวจสอบพร้อมหรือเปล่ากรณีมันเสียหรือผิดปกติไป ซึ่งมันก็ดูเป็นเรื่องปกติที่น่าจะต้องมีแต่ที่ไทยไม่ได้บังคับให้เสมอกัน
ความทนทานของแบตเตอรีแต่ละรอบ .. คืออะไรยังไง ?
คงหมายถึงแบตไม่หมดเร็วมั้งครับ ไม่ใช่ใช้แปปๆแบตหมด
อันนี้อยุ่ในข้อก่อนหน้า , แล้วรึป่าว ? .. ที่บอกว่า , ตัวเลขระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรีต่อหนึ่งรอบการชาร์จ
ในที่อ้างอิงก็บอกไว้
อันนี้ , แปลย่อได้เป็น .. ความทนทานของแบตเตอรีแต่ละรอบ ?
ผมยกมาให้ดูว่าเค้าลงแบบนี้ คุณลองทำความเข้าใจดูนะ
เนื้อหาต้นทาง .. ผมว่าผมอ่านเข้าใจนะ
แต่พอมาเจอภาษาไทย , ความทนทานของแบตเตอรีแต่ละรอบ .. อันนี้ไม่เข้าใจ
เลยไม่แน่ใจ , ว่าผมเข้าใจต้นทางผิด รึอ่านตกหล่นอะไรไป .. เพราะ ข้อความที่ผมงุนงงสงสัย เนี่ย , ผมไม่สามารถ match มันกับต้นทาง
ก่อนอื่นเลย , ข้อความนี้มีในต้นทางมั้ย คือข้อความไหน .. ถ้ามีข้อความที่ match กับต้นทาง , ผมว่าผมก็อาจจะพอทำความเข้าใจต่อได้ ( เพราะอย่างที่บอกในตอนแรก ว่าผมคิดว่าผมก็เข้าใจเนื้อหาต้นทางอยู่นะ , คือรู้สึกว่า พึ่งจะมางงตอนย้อนอ่านภาษาไทย นี่แหละ )
รึว่ามี ประเด็นที่ความหมายของข้อความนี้ .. เพราะมีคนช่วยตอบผมสองหน แต่เหมือนจะตอบไม่ตรงกัน , หนนึงเอ่ยถึงชั่วโมงการใช้งาน อีกหนเอ่ยถึงจำนวนรอบการชาร์จ ( จากที่ช่วยตอบกันมา ผมเข้าใจแบบนี้ , ซึ่งถ้าข้อความมีความหมายชัดเจน ทั้งสองหนก็น่าจะเข้าใจและตอบตรงกัน )
เป็นอย่างที่หลายๆ คนชอบบอกเอาไว้ , รึป่าวนะ ? .. ว่า อียุ ชอบตั้งเกณฑ์หยุมหยิมแปลกๆ มาใช้อ้างปรับบริษัทต่างๆ เพื่อหารายได้เข้าตัว , ทั้งที่บริษัทเค้าก็ดำเนินกิจการเพื่อลุกค้ากันตามปกติ กำไรของบริษัทแทบไม่มีอยู่แล้วแต่ยังต้องมารับต้นทุนเพิ่มจากสารพัดเกณฑ์อีก ทำให้ลุกค้าต้องจ่ายแพงโดยไม่จำเปนในส่วนที่ไม่ต้องการไม่มีประโยชน 🤔
ผมเห็นต่างนะอย่างกฏนี้มันเพื่อผู้บริโภคแล้วก็ช่วยลดขยะด้วย สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบันมันซ่อมยาก หลายๆอย่างก็ใช้กาวในการประกอบทำให้เสื่ยงพังมากกว่าเดิมที่จะซ่อมเอง อย่างระบบคะแนนในข่าวนี่เห็นด้วยมากจะได้เลือกได้ง่ายขึ้นกับความต้องการ
ถ้ากำไรไม่มีเค้าคงถอนตัวกันไปนานละครับไม่ยอมมาขายขายทุนหรอก คนพวกนี้คือเห็นคนอื่นได้ดีไม่ได้EUสามารถรักษาผลประโยชน์ให้ประชาชนเค้าได้ก็คงอิจฉาตาร้อนเพราะมันไม่ใช่ผลประโยชน์ของตัวเองไงเลยไม่พอใจเลยไปว่าเค้าว่าขูดรีดบ้านเราเคยรักษาผลประโยชน์อะไรให้ประชาชนได้บ้างละจนทุนจีนมายึดคอนโดยึดร้านค้าเต็มไปหมดแย่งงานคนไทยทำทัวร์0เหรียญแล้วยังชิวกันอยู่ ประเทศไหนๆสิ่งที่รัฐบาลควรทำก็คือรักษาผลประโยชน์ของประชาชนตนไม่ใช่มารักษาผลประโยชน์ของนายทุน แบบที่EUหรืออินโดเค้าทำกันไม่ใช่ให้บริษัทใหญ่มาหากินผูกขาดอิ่มหมีพลีมันกันง่ายๆแล้วรับเงินใต้โต๊ะเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง
ปัญหาคือประโยคนี้แหละครับ ในความเป็นจริงหลายๆบริษัทเขาไม่ได้ทำเพื่อลูกค้าเป็นหลักหรอกครับ (แต่มักจะชอบอ้างกัน) ถึงได้ต้องมีกฎหมายปกป้องผู้บริโภค เพื่อการันตีสิ่งที่ลูกค้าควรจะได้รับเป็นอย่างน้อย
แต่เยอะหรือหยุมหยิมไปไหมนี่ก็อีกเรื่องนึงนะ
เสริมๆ
ไม่มีบริษัทฯใดตั้งมาเพื่อลูกค้าครับ
ทำมาเพื่อสนอง want/need ตัวเองทั้งนั้น
ลูกค้ามันแค่เป็นตัวแปรหนึ่งในสมการ want เท่านั้นเอง
เหมือนกับ รบ. รบ. ต้องเป็นตัวแทนประชาชน
เพื่อสนอง need/want ในฐานะตัวแทนที่ได้รับเลือกมา
เหมือนที่เค้ากล่าวว่าคุณภาพของผู้แทนสะท้อนคุณภาพประชาชน
🤔🤦🙄
ให้ผมซื้อ Security Update ผมก็ยอมนะ อย่างมือถือ 3,000 จ่ายปีละ 1,200 (เดือนละ 100 บาท) มันก็ฟังขึ้นอยู่ เหตุผลส่วนหนึ่งที่ผมอยากจ่ายก็เพราะว่าฮาร์ดแวร์ที่ใช้ Mainline Kernel ได้ก็มีน้อยเหลือเกิน
อนาคตเราจะตาม EU ละได้เห็นมือถือแปะฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ไหมนะ ถถถ