สภานิติบัญญัติแห่งชาติเริ่มพิจารณาพ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ วาระที่สอง หลังจากผ่านวาระแรกเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
แม้จะมีการปรับเปลี่ยนไปมาก ตัวร่างพ.ร.บ. ยาวขึ้นกว่าร่างแรกมาก แต่ใจความหนึ่งที่คงอยู่จากร่างแรกถึงร่างปัจจุบันคือการให้อำนาจดักฟังและยึดอุปกรณ์ได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล
สามารถฟังการพิจารณาได้ทางเว็บรัฐสภา
ภาพจาก สนช.
Comments
สนช. ใช่"เจ้าหน้าที่รัฐ" รึเปล่า
ชักไม่มั่นใจกับความรู้ที่เรียนมา
เป็นเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อต้องใช้อำนาจ และไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐเมื่อโดนตรวจสอบทรัพย์สินครับ วางใจได้ ( ° ͜ʖ °)
เดี๋ยวนะ
เปลี่ยนเป็นบุคคลสาธารณะ ได้ด้วยเหรอ
แค่บอกว่ายืมเพื่อนมาก็จบแล้ว
เมื่อวันที่ 27 ก.ย. ที่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ นายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา เจ้าของสำนวนคดีจำนำข้าว พร้อมองค์คณะรวม 9 คน ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำ อม.22/2558 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อายุ 49 ปี อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ และเป็น >>>เจ้าหน้าที่ของรัฐ<<< ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใด ในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157และความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 กรณีละเลยไม่ดำเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท
เปลี่ยนอาชีพไม่ทันเลยโดนไป ลุงแกไปวิหารดาม่าทัน
** แล้วฉันเลือกอะไรได้ไหม เลือกให้เธอไม่ทำได้รึเปล่า
หากไม่ยอมให้ทำ จะตามใจฉันหรือเธอ
ฉันจะเลือกให้เธอเลือกฉัน ไม่ให้ทำออกมาได้รึเปล่า
สิ่งที่เธอทำมา ให้ตอบอย่างไรได้ล่ะเธอ ก็ไม่มีทางให้เลือกเลย...
ผ่านแล้ว
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติในวาระที่ 3 เห็นสมควรประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 133 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง 16 เสียง
.
ฉบับล่าสุด สอดส่องโดยไม่ต้องมีหมายศาลเช่นเดิม
ข้อแตกต่างสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับปัจจุบัน จากฉบับปี 2560 คืออำนาจในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนเป็นหน้าที่ของเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ โดยเลขาธิการมาจาการแต่งตั้งของ คณะกรรมการกำกับสำนักงาน ซึ่งประกอบไปด้วย ประธานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อธิบดีกรมบัญชีกลาง เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการ ก.พ.ร. และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินหกคน
มาตรา 58 เป็นหนึ่งในมาตราที่ถูกตั้งคำถามเป็นอย่างมาก โดยระบุว่า "ในกรณีที่ 'มีเหตุอันควรสงสัย' ... สามารถเข้าถึง ทำสำเนา สกัดกรองข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งสามารถยึดคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใด ๆ ได้ไม่เกิน 30 วัน หากเกินกว่านั้นต้องให้ศาลแพ่งพิจารณา
จะเห็นได้ว่าเป็นกระบวนการที่คล้ายกันกับร่างฉบับที่แล้วซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการไปก่อนแล้วค่อยรายงานต่อศาลได้ภายหลัง
https://www.bbc.com/thai/international-47371101