เงียบหายไปนานสำหรับซีรีส์ ThinkPad ของ Lenovo ที่วันนี้เปิดตัวรวดเดียวสองรุ่นโมเดล P ที่จับตลาดเวิร์คสเตชันโดยเฉพาะอย่าง P50 และ P70
ThinkPad P50/P70 มาพร้อมกับซีพียู Xeon รหัส M ตัวแรกของอินเทลที่เพิ่งประกาศไปไม่นาน และฟีเจอร์ทรงพลังอื่นๆ ตั้งแต่หน้าจอหน้าจอ 15.6" ความละเอียด 4K พร้อมเครื่องมือ calibrate รวมถึงการ์ดจอรุ่นใหญ่อย่าง NVIDIA Quadro
การใช้ซีพียู Xeon ทำให้สามารถรองรับแรมได้สูงสุดถึง 64GB มีถาดใส่ฮาร์ดดิสก์ได้สูงสุด 3 ลูก และรองรับ Thunderbolt 3 ทั้งหมดนี้ใส่อยู่ในตัวเครื่องหนักราว 2.5 กก. เท่านั้น
อินเทลมาแหวกแนวอีกครั้งด้วยการเปิดตัว Xeon E3-1500M v5 ซีพียูตระกูล Xeon ตัวแรกที่ออกแบบมาสำหรับ "โน้ตบุ๊ก"
กลุ่มเป้าหมายของ Xeon ตัวนี้คือโน้ตบุ๊กกลุ่มเวิร์คสเตชันที่ต้องการฟีเจอร์ของซีพียูเกรด enterprise อย่าง error-correcting code memory (แก้ปัญหา data corruption) อัตโนมัติ, ระบบความปลอดภัยที่อิงกับฮาร์ดแวร์, รวมถึงฟีเจอร์บริหารจัดการ Intel vPro
Xeon E3-1500M v5 ใช้สถาปัตยกรรม Skylake รุ่นล่าสุด รายละเอียดอื่นๆ ยังไม่เปิดเผยและจะแถลงเพิ่มในภายหลัง
ที่มา - Intel
ทิ้งช่วงมาพักใหญ่ๆ จาก Xeon E3 v3 และ Xeon E5 v3 วันนี้อินเทลเปิดตัวพี่ใหญ่ Xeon E7 v3 รุ่นที่สามแล้ว
Xeon E7 v3 ใช้รหัสรุ่น 8800 หรือ 4800 มีรุ่นย่อยทั้งหมด 12 รุ่น รุ่นใหญ่สุดมีคอร์มากถึง 18 คอร์ โดยอินเทลคุยว่ามีประสิทธิภาพดีขึ้นได้สูงสุด 6 เท่าในบางแอพพลิเคชัน สามารถนำมาต่อกันได้มากที่สุด 32 ซ็อคเก็ต โดยชุด 8 ซ็อคเก็ตสามารถใส่แรมได้ 12TB
ฟีเจอร์อื่นๆ คือโมดูลการถอดรหัส Advanced Encryption Standard New Instructions (AES-NI) และฟีเจอร์ช่วยปรับปรุงความน่าเชื่อถือของระบบให้ทำงานระดับ 99.999% (five nines) ได้
โครงการ Open Compute ของ Facebook เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์แนวคิดใหม่ชื่อ "Yosemite" (ไม่เกี่ยวอะไรกับแอปเปิลเลยสักนิด) รูปแบบคือเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ SoC แทนที่จะแยกชิ้นส่วนอุปกรณ์แบบเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป
Yosemite ออกแบบตัวโครงมาเป็นพิเศษ เซิร์ฟเวอร์หนึ่งตัวสามารถใส่ SoC ได้ 4 หน่วย โดย Soc หนึ่งหน่วยประกอบด้วยซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ (จับมือกับอินเทลใช้ Xeon D ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อวาน), หน่วยความจำ, อินเทอร์เฟซสำหรับ SSD, คอนโทรลเลอร์สำหรับบริหารจัดการ
อินเทลเปิดตัวซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ Xeon D เน้นสำหรับงานที่ต้องการการประมวลผลจำนวนมากในพื้นที่น้อยๆ, สตอเรจ, หรืองานเครือข่าย โดยตัวเปรียบเทียบของอินเทลก่อนหน้านี้คือ Atom Avoton ที่ออกมาสำหรับเซิร์ฟเวอร์และแนวทางการใช้งานใกล้เคียงกัน
ช่วงเปิดตัวมีสองรุ่น คือ 4 คอร์ 8 เธรด แคช 6MB และ 8 คอร์ 16 เธรด แคช 12MB ตัวคอร์ดเป็น Broadwell ใช้กระบวนการผลิต 14 นาโนเมตร ทั้งสองรุ่นรองรับแรม DDR4 128GB แบบ ECC ส่วนของ I/O ความเร็วต่ำจะแยกอยู่บนซิลิกอนคนละแผ่นแต่บรรจุมาในชิปเดียวกัน ตัวชิปปล่อยความร้อนสูงสุด 45 วัตต์ โดย I/O ทั้งหมดได้แก่
Brian Krzanich ซีอีโออินเทลให้สัมภาษณ์ถึงซีพียูรุ่นถัดไปรหัส Skylake โดยเขาบอกว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้แกน Skylake จะมีตั้งแต่ชิปสำหรับอุปกรณ์พกพาระดับ Core M ไล่ไปยัง Core i3/i5/i7 จนถึงชิปสำหรับเซิร์ฟเวอร์อย่าง Xeon เลยทีเดียว (ก่อนหน้านี้อินเทลเคยประกาศแค่ว่าจะมี Core M Skylake แต่ไม่เคยพูดถึงชิประดับอื่นๆ)
Krzanich ยอมรับว่าบริษัทมีปัญหากับการผลิต Broadwell จนต้องเลื่อนมานานพอสมควร พอถึงรอบของ Skylake บริษัทจึงตัดสินใจไม่เลื่อนมันออกไปอีก ซึ่งก็ได้รับเสียงสนับสนุนเป็นอย่างดีจากผู้ผลิตพีซีทุกราย
ตอนนี้กำหนดการของ Skylake ที่อินเทลประกาศไว้คือ "ครึ่งหลังของปี 2015" และคาดว่าจะแถลงรายละเอียดในงาน Computex ที่ไต้หวันในเดือนมิถุนายน
อินเทลเดินหน้าบุกตลาดซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องจากการ์ด Xeon Phi ในงาน SC14 อินเทลก็เปิดตัวการ์ดรุ่นต่อไปชื่อรหัสว่า Knight Hill ที่ยังไม่มีรายละเอียดอย่างอื่นนอกจากมันจะผลิตด้วยเทคโนโลยี 10 นาโนเมตร และรองรับการเชื่อมต่อภายนอก Omni-Path
Omni-Path เป็นการเชื่อมต่อแบบใหม่ที่รองรับแบนวิดท์ได้สูงสุด 100 Gbps และทำ latency ต่ำกว่า Infiniband ลง 56% ตัวสวิตช์ของ Omni-Path จะมีพอร์ตถึง 48 พอร์ตต่อสวิตช์ทำให้เครื่องมีความหนาแน่นกว่าเดิม
ความได้เปรียบสำคัญอีกอย่างหนึ่งของ Omni-Path คือการที่ Xeon Phi จะมีอินเทอร์เฟซโดยตรง ทำให้หน่วยประมวลผลสามารถสื่อสารข้ามเครื่องกันได้โดยตรง
อินเทลเปิดตัวซีพียูเซิร์ฟเวอร์ระดับกลาง Xeon E5 รุ่นที่สาม (v3) โดยเปลี่ยนมาใช้สถาปัตยกรรม Haswell ตาม Xeon E3 v3 ที่เปิดตัวไปแล้ว และแบ่งเป็น 2 รุ่นคือ Xeon E5-2600 v3 กับ Xeon E5-1600 v3
Xeon E5-2600 v3 รหัส Grantley ถือเป็นซีพียูสายเซิร์ฟเวอร์ของอินเทลที่แรงที่สุดในปัจจุบัน (เพราะยังไม่มี Xeon E7 v3 ออกวางขาย) ออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบ 2 ซีพียู (dual processor)
ตามปกติแล้ว ซีพียูสายเซิร์ฟเวอร์ของอินเทล (Xeon) จะตามหลังซีพียูสายเดสก์ท็อปในเรื่องรุ่นของสถาปัตยกรรมอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น อินเทลเปิดตัว Core ที่ใช้แกน Haswell ตั้งแต่ต้นปี แต่เพิ่งอัพเกรด Xeon E3 ให้เป็น Haswell เมื่อเดือนที่แล้ว
ล่าสุดเป็นคิวของ Xeon E5 โดยอินเทลเริ่มส่ง Xeon E5 รหัส "Grantley" ที่ใช้แกน Haswell ให้ผู้ผลิตเครื่องเซิร์ฟเวอร์แล้ว และสินค้าจริงจะเริ่มขายภายในไตรมาสที่สามนี้
ฟีเจอร์ของ Grantley นอกจากการเปลี่ยนมาใช้แกน Haswell ยังมีการรองรับแรม DDR4 และมีจำนวนคอร์มากขึ้นกว่า Xeon E5 รุ่นก่อน
Xeon Phi การ์ดเสริมสำหรับการประมวลผลขนานประสิทธิภาพสูงจากอินเทลเปิดตัวรุ่นต่อไป โดยมีจุดขายหลักที่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกว่ารุ่นเดิม 3 เท่าตัว เป็น 3 TFLOPS ที่การคำนวณ double precision
ความเปลี่ยนแปลงของ Phi รุ่นใหม่มีตั้งแต่ กระบวนการผลิตที่กำลังย้ายไปใช้เทคโนโลยี 14 นาโนเมตร, เพิ่มทางเชื่อมต่อจาก PCIe มาเป็นซ็อกเก็ตพิเศษ, รองรับการเขื่อมต่อระหว่างเครื่องด้วย Omni Scale Fabric โดยช่วงแรกจะขายการ์ดแยก และรวมเข้าไว้ในชิปภายหลัง, สุดท้ายคือเปลี่ยนไปใช้แรม HMC ของ Micron ตัวใหม่
Xeon Phi ตัวใหม่นี้จะวางตลาดครึ่งปีหลังของปีหน้า
ตลาดซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ยังมีความเคลื่อนไหวอยู่เรื่อยๆ ล่าสุดอินเทลได้เปิดตัว Xeon E7 v2 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ (32 ซ็อคเก็ต) ที่เน้นงานด้าน big data โดยเฉพาะ
Xeon E7 v2 จะยังใช้สถาปัตยกรรม Ivy Bridge (ตามชื่อห้อย v2, ถ้า v3 ถึงจะเป็น Haswell) โดยแบ่งเป็น 3 รุ่นย่อยคือ 8800/4800/2800
จุดเด่นของมันคือการรองรับหน่วยความจำปริมาณมากๆ (ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากๆ ในการทำ in-memory analytics) ซึ่ง Xeon E7 v2 รองรับหน่วยความจำสูงถึง 1.5TB ต่อซ็อคเก็ต, นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ด้าน I/O คือ Intel Data Direct I/O ช่วยให้การอ่านเขียนข้อมูลจากดิสก์ดีขึ้นถึง 4 เท่าเมื่อเทียบกับ Xeon E7 รุ่นแรก
เพียงไม่กี่วันหลังการเปิดตัวซีพียูเดสก์ทอป อินเทลก็อัพเดรดซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ตามมาติดๆ ทันทีด้วย E3-1200 v3 (เลขตระกูลเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนเลขเวอร์ชั่น) ประเด็นสำคัญของการเปิดตัวครั้งนี้มีสองประเด็น คือ อัพเกรดแกนซีพียูไปใช้ Haswell และการเปิดสายการผลิตซีพียูกินไฟต่ำสำหรับไมโครเซิร์ฟเวอร์
ซีพียู E3-1220L สองคอร์ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 1.1GHz และปล่อยความร้อนเพียง 13 วัตต์ ซีพียูอีกหลายรุ่นมีกราฟิก P4600 และ P4700 สำหรับการใช้งานแบบเวิร์คสเตชั่นและการใช้งานในศูนย์ข้อมูลที่ต้องการกราฟิก
ในงาน Intel Developer Forum 2013 ที่จัดขึ้น ณ เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน อินเทลได้เปิดตัวซีพียูสำหรับตลาดองค์กรในปีนี้
ภายในปี 2013 อินเทลจะขยายไลน์ที่จับกลุ่มองค์กรมากขึ้นโดยแบ่งเป็นสี่กลุ่มโดยใช้ Atom, Xeon E3, Xeon E5 และ Xeon E7 ไล่ตามลำดับของการใช้งาน โดยส่วนเล็กที่สุดอย่าง Atom จะมีสามรหัส ตัวแรกคือ Briarwood สำหรับสตอเรจที่วางขายไปแล้ว ส่วนอีกสองตัวที่จะตามมาคือ Avoton สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก และ Rangeley สำหรับอุปกรณ์ในกลุ่มเน็ตเวิร์ค โดยทั้งคู่ผลิตในสถาปัตยกรรมขนาด 22 นาโนเมตร และจะเริ่มส่งของในไตรมาสสองของปี
เมื่อปลายปีที่แล้ว อินเทลเผยข้อมูลของซีพียู Itanium รุ่นต่อไปรหัส "Kittson" โดยประกาศว่าจะแชร์ดีไซน์ซ็อคเก็ตระหว่าง Itanium กับ Xeon เข้าด้วยกัน แสดงให้เห็นทิศทางในอนาคตว่า Itanium อาจถูกผนวกรวมกับ Xeon ในที่สุด
แต่ล่าสุดอินเทลเปลี่ยนใจเสียแล้ว บริษัทโพสต์ข้อความเรื่องนี้เงียบๆ บนเว็บไซต์ของตัวเองว่าแผนการแชร์ซ็อคเก็ตกับ Xeon ถูกเลื่อนออกไปในอนาคต ทำให้ Kittson ยังใช้ซ็อคเก็ตแบบเดิมของ Itanium 9300/9500 ในปัจจุบัน
ข่าวร้ายอีกข่าวคือ Kittson จะยังใช้กระบวนการผลิตที่ 32 นาโนเมตรเท่ากับรุ่นก่อนๆ ไม่ได้ลดขนาดลงเหมือนซีพียูตระกูลอื่นๆ ของตัวเองแต่อย่างใด
ตำนานชิป 60 คอร์ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ Larrabee ในปี 2010 จนตอนนี้ก็ยังไม่มีสินค้าให้ซื้อได้จริงจนในที่สุด อินเทลก็ประกาศวางจำหน่าย Xeon Phi ต้นปี 2013 แล้ว โดยราคาการ์ดเริ่มต้น Xeon Phi 3100 จะอยู่ที่ 2,649 ดอลลาร์
Xeon Phi เป็นส่วนเติมเต็มที่เข้ามาเสริมอินเทลให้สามารถขายโซลูชั่นครบวงจรในตลาดซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ได้ จากที่ทุกวันนี้เครื่องส่วนมากจะติดตั้งการ์ดกราฟิกของ NVIDIA หรือ AMD ไว้ในเครื่องเพื่อเร่งความเร็วทั้งสิ้น
อินเทลระบุว่าในเวลานี้เอง มีเครื่องที่ใช้ Xeon Phi อยู่ในรายการ Top500 แล้ว 6 เครื่อง
การ์ดสามรุ่นแรกที่จะวางจำหน่ายคือ Xeon Phi 3100, 3100T (เหมือนกัน แค่รุ่น T ไม่มีพัดลม), และ 5110P
อินเทลเปิดตัวซีพียู Itanium รุ่นที่สี่ Itanium 9500 หรือเดิมรู้จักกันในชื่อ Poulson และเป็นตัวต่อของ Itanium 9300 ที่เปิดตัวในปี 2010
อินเทลเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของชิปฝั่งองค์กร อินเทลประกาศว่ากระบวนการพัฒนาชิปชั้นสูงอย่างตระกูล E7 นั้นใช้เวลานานกว่าชิปทั่วไป ทำให้ต้องข้าม Sandy Bridge ไปเลย กลายเป็น Ivy Bridge-EX แทน โดยจะออกในปีหน้าพร้อมๆ กับ Ivy Bridge-EP ที่เป็นตระกูล E5
ฟีเจอร์ใหม่ที่จะมาพร้อมกับ E5/E7 รุ่นใหม่คือ APICv (Advanced Programmable Interrupt Controller) ที่ใช้ประสานงานอินเตอร์รัปต์ระหว่างซ๊อกเก็ตลดค่าโอเวอร์เฮดในการจัดการเครื่องเสมือนลง
ตัว E7 นั้นจะเปลี่ยนซ๊อกเก็ตใหม่หมด และ "อาจจะ" เป็นซ๊อกเก็ตที่ Kittson ชิปตระกูลไอทาเนียมของอินเทลมาใช้งานร่วมกัน
Intel Xeon Phi เปิดตัวมานาน แม้เราจะรู้ว่ามันเป็นชิปในตระกูล MIC แต่ก็ไม่เคยมีรายละเอียดออกมาจริงจังว่าสถาปัตยกรรมภายในเป็นอย่างไร แต่หลังจากงาน Hotchips ปีนี้อินเทลก็เริ่มเปิดเผยรายละเอียดภายในของ Phi แล้ว
George Chrysos หัวหน้าฝ่ายสถาปัตยกรรมของ Phi ระบุว่าการออกแบบทำเพื่อจุดมุ่งหมายสามประการ คือ
อินเทลเปิดตัวการ์ดช่วยประมวลผล Intel® Xeon® Phi™ ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวมีพลังประมวลผล 1 เทราฟลอป คาดว่าการ์ด Phi นั้นคือชื่อทางการของ Knights Ferry และ Knights Corners ที่ประกาศออกมาโดยไม่มีสินค้าวางขาย (แต่ให้กับพาร์ทเนอร์สำคัญไปทดลองเท่านั้น)
หลังจากปล่อยชิป Xeon รุ่นใหญ่ในซีรีส์ E5-2600 ไปได้ซักระยะแล้ว ก็ถึงคราวบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กด้วยการอัพเกรดชิปเดิมในรุ่น E3-1200 เป็น E3-1200v2 ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่ใช้ซีพียูรหัส Ivy Bridge แล้วด้วย โดยสเปคของ E3-1200v2 มีดังนี้
ตารางเปรียบเทียบรายละเอียดกับรุ่นก่อนหน้าอยู่ท้ายข่าวครับ
ที่มา - The Register
หลังอินเทลออกซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ตัวใหม่ Xeon E5 ไปแล้ว เราก็เห็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายรายทยอยเปิดตัวคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Xeon ตัวใหม่นี้กันถ้วนหน้า
นอกจาก Dell PowerEdge 12G และ Cisco UCS M3 ยังมีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์อีกหลายค่าย ร่วมเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ที่ใช้ Xeon E5 ตัวใหม่ กันถ้วนหน้า
Dell บริษัทแม่เพิ่งออกข่าวเบื้องต้นเมื่อไม่กี่วันก่อน วันนี้ Dell ประเทศไทยจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ PowerEdge 12G พร้อมเริ่มวางขายอย่างเป็นทางการแล้ว
เนื่องจากผมไปงานแถลงข่าวมาด้วย ก็ขอเพิ่มข้อมูลที่ยังไม่มีในข่าวเก่านะครับ
เซิร์ฟเวอร์ที่เปิดตัวทำตลาดในประเทศไทย
Rack Server
พร้อมๆ กับที่อินเทลเปิดตัว Xeon รุ่นใหม่ E5-2600 บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์ทั่วโลกก็ทยอยเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ที่ใช้ Xeon ตัวนี้