เมื่อต้นปี ไมโครซอฟท์ประกาศคืนชีพ PowerToys ชุดโปรแกรมอรรถประโยชน์ กลับมาสู่ยุค Windows 10
วันนี้โปรแกรม 2 ตัวแรกในชุด PowerToys เปิดให้ทดสอบแล้ว และตัวโปรแกรมทั้งหมดก็โอเพนซอร์สบน GitHub ด้วย
เดิมที Windows 10 มีฟีเจอร์ Reset this PC ที่ช่วยคืนค่าของพีซีกลับเป็นเหมือนใหม่ ด้วยการติดตั้งตัวระบบปฏิบัติการ Windows ใหม่อีกครั้ง (เริ่มใช้ใน Windows 10 v1507)
ข้อจำกัดของฟีเจอร์นี้คือมันจะติดตั้ง Windows ใหม่จากพาร์ทิชันอื่นของเครื่องเดียวกันเท่านั้น
ล่าสุดไมโครซอฟท์ปรับปรุงฟีเจอร์นี้ใน Windows 10 (20H1) Build 18970 ให้สามารถดาวน์โหลดไฟล์ระบบปฏิบัติการ Windows จากอินเทอร์เน็ตได้ด้วย (Cloud Download) เพื่อให้ผู้ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงยังมีทางเลือกในการติดตั้ง Windows ใหม่อีกทางหนึ่ง
การดาวน์โหลดไฟล์ Windows จะทำผ่านเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ให้อัตโนมัติ โดยเราจะได้ Windows เวอร์ชันเดิม ตัวเดียวกับที่ใช้อยู่เป๊ะๆ
ไมโครซอฟท์เพิ่มอินเทอร์เฟซแบบเต็มหน้าจอสำหรับแท็บเล็ตมาตั้งแต่ Windows 8 และตกทอดมาเรื่อยๆ จนถึงยุค Windows 10 แต่ล่าสุดมันกำลังจะถูกเปลี่ยนแปลง หากใช้อุปกรณ์แบบ 2-in-1
ใน Windows 10 (20H1) Build 18970 ไมโครซอฟท์ปรับหน้าจอแท็บเล็ต (เมื่อพับหรือถอดคีย์บอร์ดของอุปกรณ์ 2-in-1) เสียใหม่ จากเดิมที่เป็นโหมดเต็มจอ กลายมาเป็นโหมดเดสก์ท็อปที่เราคุ้นเคยกันดี โดยเปลี่ยนรายละเอียดในจุดเล็กๆ น้อยๆ ดังนี้
อีกข่าวของ Windows 10 Insider Preview Build 18963 (20H1) คือการปรับปรุง UI ของหน้าตัวเลือก Optional Features ที่ให้เราติดตั้งฟีเจอร์บางส่วนของ Windows เพิ่มเอง (เช่น Windows Media Player, IE11, หรือชุดภาษา) ซึ่งถือเป็นการปรับปรุง UI ให้ใช้งานง่ายขึ้น
แต่มีคนไปพบว่าหน้า Optional Features มี "ฟีเจอร์" ใหม่ถูกเพิ่มเข้ามาด้วย นั่นคือ โปรแกรม Microsoft Paint และ WordPad ที่ตอนนี้ยังกดติดตั้งไม่ได้ แต่แสดงว่าในอนาคต สองโปรแกรมนี้จะไม่ถูกติดตั้งมาเป็นดีฟอลต์ และเปิดให้ผู้ใช้ติดตั้งเองได้เหมือน Windows Media Player
ของใหม่อีกอย่างใน Windows 10 Insider Preview Build 18963 (20H1) นอกเหนือจาก Settings รองรับการปรับความเร็วเคอร์เซอร์เมาส์ และ อัพเดต Notepad ผ่าน Store คือ Task Manager แสดงอุณหภูมิของ GPU ได้แล้ว
ก่อนหน้านี้ Task Manager มีแท็บ Performance ที่สามารถดูอัตราการทำงานของฮาร์ดแวร์ชิ้นต่างๆ ในเครื่องได้ กรณีของ GPU สามารถดูอัตราการทำงาน (utilization) และปริมาณหน่วยความจำที่ใช้อยู่
ไมโครซอฟท์ขยันเพิ่มฟีเจอร์ให้ Notepad อย่างมากในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เช่น ตัดบรรทัดแบบยูนิกซ์, ปุ่มลัดขยายฟอนต์, ปุ่มลัดเปิดหน้าต่างใหม่
เพื่อตอบสนองต่อการอัพเดตฟีเจอร์ใหม่ๆ โดยไม่ต้องรอรอบอัพเกรดของระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์จึงประกาศนำ Notepad ขึ้นไปบน Microsoft Store เพื่อให้สามารถอัพเดตเวอร์ชันได้อัตโนมัติ การเปลี่ยนแปลงนี้จะเริ่มมีผลกับ Windows 10 (20H1) ที่จะออกตัวจริงในปีหน้า
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 18963 (20H1) ที่มีฟีเจอร์สำคัญคือหน้าจอตั้งค่าเมาส์ใน Settings สามารถปรับความเร็วของเคอร์เซอร์ได้แล้ว!
การมาถึงของฟีเจอร์นี้ถือว่าน่าสนใจ เพราะไมโครซอฟท์ทยอยเปลี่ยนผ่าน Control Panel เดิมมายัง Settings เป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่กลับไม่เคยสนใจทำฟีเจอร์พื้นฐานสุดๆ อย่างการปรับความเร็วของเคอร์เซอร์เลย ทำให้ผู้ใช้ต้องกดเข้าไปปรับใน Control Panel กันตลอดมา
คนที่รอฟีเจอร์นี้อยู่และไม่ต้องการใช้ Windows Insider จำเป็นต้องรอกันจนถึงเดือนเมษายน/พฤษภาคมปีหน้า ถึงจะได้ใช้กันเมื่อ Windows 10 20H1 ออกตัวจริง
เส้นทางของไมโครซอฟท์ในการถ่ายโอน Control Panel ไปเป็นหน้าจอ Settings ตัวใหม่ของ Windows 10 ยังดำเนินไปเรื่อยๆ
ล่าสุดใน Windows 10 Insider Preview Build 18956 (20H1) ไมโครซอฟท์โชว์หน้าจอ Network Status ใน Settings เวอร์ชันใหม่ ที่มีข้อมูลชัดเจนกว่าของเดิม แสดงอินเทอร์เฟซของเครือข่ายทุกตัวที่มีในหน้าจอเดียว (ทั้งแบบมีสายและไร้สาย) พร้อมแสดงปริมาณข้อมูลที่แต่ละอินเทอร์เฟซใช้งานไปพร้อมกันเลย
ผู้ใช้ Windows แทบทุกคนคงเคยเจอปัญหาว่าต้องการคิดเลขโดยที่มีหลายๆ หน้าต่างเปิดอยู่ แต่เครื่องคิดเลขก็ถูกหน้าต่างอื่นบังจนต้องเสียเวลามาจัดหน้าเพื่อให้ใช้งานได้สะดวก
ต่อไปนี้ปัญหาน่ารำคาญนี้จะหมดไปเพราะโปรแกรมเครื่องคิดเลขใน Windows 10 กำลังจะได้อัพเดตใหม่เป็นโหมด Always-on-Top คือเป็นการบังคับให้หน้าต่างโปรแกรมเครื่องคิดเลขอยู่เหนือหน้าต่างอื่นๆ ตลอดเวลา
Windows Subsystem for Linux หรือ WSL เวอร์ชัน 2 ถือเป็นฟีเจอร์ใหญ่ของ Windows 10 รุ่นล่าสุด (จะมาในเวอร์ชัน 20H1) การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือมันเป็นลินุกซ์ที่ใช้เคอร์เนลตัวเต็ม ทำให้ได้ฟีเจอร์ต่างๆ เทียบเท่ากับดิสโทรลินุกซ์จริงๆ ที่รันอยู่ใน Windows 10 อีกทีผ่าน VM
ล่าสุดไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์ให้ WSL 2 ใน Build 18945 ให้ฝั่ง Windows สามารถเข้าถึง WSL 2 ภายในเครื่องเดียวกัน ด้วยการเรียก localhost แทนการระบุ IP แบบเดิม นั่นแปลว่าเราสามารถโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ใน WSL 2 แล้วใช้เบราว์เซอร์พิมพ์ localhost เพื่อเข้าใช้งานได้ทันที โดยที่ไม่ต้องตั้งค่าอะไรเพิ่มเลย
หลังจาก ไมโครซอฟท์จับแยก Cortana ออกจาก Search บน Windows 10 ล่าสุดก็ออก Windows 10 Insider Preview Build 18945 (20H1) ที่มี Cortana เวอร์ชันยกเครื่องใหม่ เน้นการแชทมากกว่าการสนทนาด้วยเสียง
หน้าตา UI ของ Cortana ตัวใหม่จะคล้ายๆ Google Assistant บนสมาร์ทโฟน ที่เน้นการแชทคุยด้วยข้อความเป็นหลัก แต่ก็ยังรองรับการสนทนาด้วยเสียงเช่นเดิม
ไมโครซอฟท์ยอมรับว่า Cortana เวอร์ชันใหม่ยังมีฟีเจอร์บางอย่างน้อยกว่า Cortana ตัวเดิม (แต่ฟีเจอร์หลักๆ อย่างการสั่งงานด้วยเสียงเพื่อเปิดแอพ ถามคำถาม ตั้งเวลา ยังอยู่กันครบ) และจะค่อยๆ เพิ่มฟีเจอร์อื่นเข้ามาในอนาคต โดยจะเป็นการอัพเดตผ่าน Microsoft Store ไม่ต้องรอรอบการอัพเดตของ Windows อีกต่อไป
การตั้งพาสเวิร์ดของผู้ใช้น่าจะเป็นหนึ่งในปัญหาที่น่าปวดหัว สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องไอทีด้านความปลอดภัย ล่าสุดไมโครซอฟท์เลยกำลังแพลนจะยกเลิกการล็อกอิน Windows 10 ด้วยพาสเวิร์ดและอาศัย Windows Hello หรือ PIN แทน
ไมโครซอฟท์เคยแย้งเอาไว้ด้วยว่า PIN มีความปลอดภัยมากกว่า เพราะความเป็นตัวเลข (ไม่ใช่ตัวหนังสือที่รวมเป็นคำ) รวมถึงตัว PIN จะถูกเก็บอยู่ใน TPM บนเครื่องด้วย
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 18932 (20H1) รุ่นทดสอบที่จะออกตัวจริงในปีหน้า (รุ่น 19H2 ที่จะออกปลายปีนี้จะไม่มีฟีเจอร์ใหม่มากนัก เน้นปรับปรุงประสิทธิภาพ)
ของใหม่ใน Build 18932 คือฟีเจอร์ Eye Control ใช้นัยน์ตาควบคุมและสั่งงาน (ต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์ eye tracking) ซึ่งไมโครซอฟท์เริ่มรองรับมาตั้งแต่ปี 2017 แต่เพิ่มความสามารถขึ้นจากเดิม โดยเฉพาะการทำ drag-and-drop ใช้นัยน์ตาลากวัตถุแล้วมาวางได้แบบเดียวกับการใช้เมาส์ (ผู้ใช้สามารถกดปุ่ม Ctrl/Shift บนคีย์บอร์ดช่วยได้ด้วย)
หลังจากไมโครซอฟท์แพ้สงครามสมาร์ทโฟน ทางออกเดียวที่เหลืออยู่คือ "เข้าร่วม" และใน Windows 10 v1809 เมื่อปีที่แล้ว ก็เพิ่มฟีเจอร์ Your Phone ให้พีซีสามารถซิงก์ข้อมูล (บางอย่าง) กับสมาร์ทโฟนได้
Your Phone เวอร์ชันแรกยังมีความสามารถน้อย รองรับเฉพาะการซิงก์รูปภาพและ SMS เท่านั้น แต่หลังจากเวลาผ่านมาเกือบปี ไมโครซอฟท์ก็เพิ่มฟีเจอร์ให้ Your Phone สามารถซิงก์ข้อความ notification จากสมาร์ทโฟน (รองรับเฉพาะ Android) มาดูบนพีซีได้แล้ว และถ้าปัดทิ้งบนพีซี ข้อความแจ้งเตือนบนสมาร์ทโฟนก็จะหายไปด้วย
ฟีเจอร์นี้ต้องใช้กับ Windows 10 v1803 เป็นต้นไป และอัพเดตแอพ Your Phone เป็นเวอร์ชันล่าสุด
ไมโครซอฟท์เงียบหายไม่ยอมพูดถึง Windows 10 อัพเดตตัวถัดไปที่จะออกปลายปีนี้ (19H2) มาสักพักใหญ่ๆ โดยข้ามไปออกรุ่นทดสอบของปีหน้า (20H1) มาได้สักระยะแล้ว ปล่อยให้คนสงสัยกันว่า ตกลงแล้วเราจะได้เห็น 19H2 กันหรือไม่
วันนี้ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศแล้วว่า เราจะยังได้เห็น Windows 10 19H2 อยู่ แต่จะไม่มีฟีเจอร์ใหม่ใหญ่ๆ เลย เน้นไปที่การปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพเป็นหลัก โดยอาจมีฟีเจอร์ใหม่เฉพาะฝั่งองค์กรเท่านั้น (ตอนนี้ยังไม่บอกว่ามีอะไรบ้าง)
จากข่าวเก่าเมื่อเดือนเมษายนที่ไมโครซอฟท์ได้แจ้งการปรับพื้นที่ว่างขั้นต่ำของ Windows 10 May 2019 Update (v1903) เพิ่มเป็น 32 GB ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ Windows เดิมที่มีสตอเรจไม่เพียงพอ โดยไม่ได้การชี้แจงในประเด็นนี้แต่อย่างใด
ล่าสุดได้มีประกาศจากไมโครซอฟท์ที่ให้ความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยได้ระบุว่า
เมื่อเดือนมีนาคม ไมโครซอฟท์ประกาศโอเพนซอร์ส Windows Calculator เปิดให้คนนอกเข้ามาช่วยพัฒนา และได้ฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างการวาดกราฟ
การเปิดซอร์สครั้งนี้ทำให้นักพัฒนารายอื่นสามารถนำ Windows Calculator ไปต่อยอดได้ทันที และมีบริษัท Uno Platform ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือพัฒนาสาย .NET (แนวเดียวกับ Xamarin) สามารถพอร์ตโค้ดของ Calculator (ในชื่อใหม่คือ Uno Calculator) ไปรันบน Android, iOS รวมถึงเวอร์ชันเว็บด้วย
Microsoft พยายามรวมระบบผู้ช่วยส่วนตัว Cortana เข้ากับ Windows 10 เพื่อผลักดันการใช้งานมาโดยตลอด แต่ความพยายามดูเหมือนจะไม่เป็นผล จนทำให้ Microsoft ถอด Cortana ออกจากกล่องค้นหาบน Windows 10 แล้ว
มีรายงานว่าพบบั๊กแปลกๆ ใน Windows 10 เวอร์ชัน 1809 (October 2018 Update) ว่าหากเสียบหรือถอดอุปกรณ์ USB-C ระหว่างชัตดาวน์หรือเข้าโหมดสลีป อาจกินเวลานานกว่าปกติ
ไมโครซอฟท์ระบุในบล็อกว่าบั๊กดังกล่าวเกิดจากซอฟต์แวร์ USB Type-C Connector System Software Interface (UCSI) ของอินเทลใน Windows 10 เวอร์ชัน 1809 ว่าหากผู้ใช้เสียบหรือถอดอุปกรณ์ที่พอร์ต USB-C เช่น docking station หรือสายชาร์จ ระหว่างการชัตดาวน์หรือสลีป อาจทำให้ขั้นตอนนี้กินเวลานานขึ้นถึง 60 วินาที
อย่างไรก็ตามไมโครซอฟท์ยืนยันว่าบั๊กนี้ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านการใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ แต่อย่างใด และพีซีกับอุปกรณ์นั้นๆ ควรทำงานได้ตามปกติเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมา
ของใหม่อีกอย่างใน Windows 10 May 2019 Update (v1903) คือปรับปรุงให้ทำงานกับซีพียู AMD Ryzen ให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น
สาเหตุของปัญหาเกิดจาก Windows ไม่ได้รองรับโครงสร้างซีพียูสถาปัตยกรรม Zen ที่จัดกลุ่มคอร์ 4 คอร์เป็น CPU Complex (CCX) ได้ดีนัก, ปรับปรุงเรื่องการปรับจังหวะคล็อค (clock ramping) ให้ดีขึ้น (ของเดิมต้องรอ 30ms ของใหม่ใช้เวลาเพียง 1-2ms)
ปัญหาเหล่านี้แก้ไขแล้วใน v1903 ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของ Ryzen ดีขึ้นประมาณ 6-15% จากเบนช์มาร์คของ AMD เอง ที่สำคัญคือผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเลย เพียงแค่อัพเกรด Windows 10 เท่านั้น
หน้าจอตั้งค่าภาษาและภูมิภาคของ Windows ถูกเปลี่ยนแปลงมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังคงมีปัญหาสำคัญคือ ผู้ใช้ต้องแยกไปตั้งค่าภาษาในเรื่องต่างๆ (เช่น คีย์บอร์ด, ภาษาแสดงผล, หน่วยแสดงผล) ในหน้าจอที่แตกต่างกันไป สร้างความสับสนว่าจะต้องไปตรงไหนกันแน่
ล่าสุดใน Windows 10 Insider Build 18922 (20H1) ไมโครซอฟท์จึงปรับหน้าตาของ Language Settings ใหม่เล็กน้อย แสดงหมวดหมู่ของการตั้งค่าภาษา 5 อย่างคือ Windows displays, Apps & websites, Regional format, Keyboard, Speech รวมกันไว้ที่หน้าเดียว พร้อมแสดงให้เห็นด้วยว่าแต่ละหมวดตอนนี้ตั้งค่าเป็นภาษาอะไรบ้าง
การเปลี่ยนแปลงนี้จะเริ่มใช้ใน Windows 10 เวอร์ชัน 20H1 ที่จะออกช่วงต้นปีหน้า 2020
ไมโครซอฟท์เพิ่งประกาศยกเครื่อง Windows Terminal ครั้งใหญ่ไปเมื่อเดือนที่แล้ว เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างระบบธีมและส่วนขยาย, รองรับการเปิดหลายแท็บ รองรับ Unicode
ล่าสุดทีมงานไมโครซอฟท์ยังโพสต์ภาพไอคอนใหม่ของ Windows Terminal ให้ดูกัน โดยเป็นไอคอนที่ใช้แนวทางออกแบบ Fluent Design ลักษณะเดียวกับไอคอนใหม่ของ Microsoft Office ที่เริ่มใช้ให้เห็นกันแล้ว
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 18917 ซึ่งเป็นรุ่นทดสอบของ Windows 10 20H1 ที่จะออกในปีหน้า
ของใหม่ที่สำคัญคือ Windows Subsystem for Linux 2 ที่ประกาศตอนงาน Build 2019 ถูกผนวกเข้ามาใน Insider แล้ว
จุดเด่นของ WSL2 เหนือ WSL1 คือมันใช้เคอร์เนลลินุกซ์ตัวเต็ม แล้วรันอยู่ใน VM ขนาดเบา (lightweight) ที่ทำงานได้เร็วและกินทรัพยากรน้อย ผลคือมันเข้ากันได้กับลินุกซ์เต็มรูปแบบ (รัน Docker ได้, ใช้ระบบไฟล์เสมือนได้) และมีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่ารุ่นแรกถึง 20 เท่า
เมื่อปลายเดือนทีเพิ่งผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ออกอัพเดตใหม่ให้กับ Xbox Game Bar แอพที่เกมเมอร์สามารถใช้เข้าถึงฟังก์ชั่นต่างๆ ที่ Windows 10 มีให้ใช้งานขณะกำลังเล่นเกมผ่านการกดคีย์ลัด Windows + G เพื่อยกเครื่องตัวแอพครั้งใหญ่
โดยได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ซึ่งน่าจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การเล่นเกมเข้ามาหลายอย่าง จากเดิมที่สามารถใช้ประโยชน์ได้เพียงแค่การจับภาพสกรีนช็อต/อัดวิดีโอ, แคสต์เกม หรือเช็กแบตเตอรี่จอย Xbox เท่านั้น
ที่ผ่านมามีข่าวของ Windows Core OS ระบบปฏิบัติการตัวแกนหลักของไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นการนำแกนของ Windows 10 ไปรันบนอุปกรณ์หลายๆ ประเภท (รวมถึง Surface Phone หรืออุปกรณ์พกพาชนิดใหม่ที่ลือกันมานาน)
ไมโครซอฟท์ไม่เคยพูดถึงชื่อ Windows Core OS ออกมาตรงๆ แต่ประกาศของไมโครซอฟท์ในงาน Computex 2019 ก็ได้เอ่ยถึง "ระบบปฏิบัติการยุคใหม่" (ใช้คำว่า modern OS) ที่ต้องมีคุณสมบัติดังนี้