Ubuntu ประกาศขาย Ubuntu Pro Images for AWS อิมเมจ Ubuntu รุ่น LTS 3 รุ่น ได้แก่ 14.04, 16.04, และ 18.04 โดยเพิ่มฟีเจอร์ความปลอดภัยเพิ่มเติม ได้แก่
Ubuntu 19.10 โค้ดเนม Eoan Ermine ได้ออกรุ่นจริงแล้ว โดยฟีเจอร์ใหม่ที่มาพร้อมกับอัพเดตครั้งนี้ได้แก่
อะไรก็เกิดขึ้นได้กับไมโครซอฟท์ยุคนี้ ล่าสุดเราจะได้เห็นงานสัมมนาด้านลินุกซ์ WSLconf ไปจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของไมโครซอฟท์ที่เมือง Redmond ช่วงเดือนมีนาคม 2020
งานสัมมนา WSLconf เป็นงานที่จัดขึ้นโดยชุมชน (ไม่ใช่งานของไมโครซอฟท์เอง) แต่ก็มีพนักงานของไมโครซอฟท์เข้าร่วมด้วย โดยเนื้อหาหลักเกี่ยวกับ Windows Subsystem for Linux (WSL) ของไมโครซอฟท์
จากกำหนดการเบื้องต้นของงานมีการนำเสนอจากทีม WSL, ดิสโทร Pengwin ซึ่งเป็นการนำ Debian มารันบน WSL และการนำเสนอจากทีม Ubuntu ด้วย
งานเข้าฟังได้ฟรี ใครสนใจไปร่วมงานสามารถดูรายละเอียดได้จาก เว็บเพจ
หลังจาก Ubuntu ยอมถอยเรื่องการซัพพอร์ตไลบรารี 32 บิต ล่าสุด Valve ก็ออกมาตอบรับแล้วว่าจะซัพพอร์ต Ubuntu ต่อไป
Valve อธิบายว่าต้องใช้ไลบรารี 32 บิตกับทั้งตัว Steam client และเกมอีกจำนวนมากที่รองรับเฉพาะ 32 บิตเท่านั้น สำหรับคนที่สงสัยว่าทำไม Valve ไม่ทำ Steam client แบบ 64 บิตล้วนๆ คำตอบคือทำได้ในทางเทคนิค แต่จะทำให้เกมจำนวนมากใช้งานไม่ได้ ซึ่งขัดแย้งกับหลักการของ Valve ที่พยายามทำให้คนที่ซื้อเกมไปแล้ว สามารถเล่นเกมของตัวเองให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้
ต่อเนื่องจากประเด็น Ubuntu 19.10 หยุดซัพพอร์ตสถาปัตยกรรม x86 แบบ 32 บิต (i386) จนเป็นเหตุให้ Steam เตรียมเปลี่ยนดิสโทรที่ซัพพอร์ตเวอร์ชันลินุกซ์
ล่าสุด Canonical ยอมถอยแล้ว โดย Ubuntu อีก 2 เวอร์ชันถัดไปคือ 19.10 และ 20.04 LTS จะยังซัพพอร์ต 32 บิต โดยออกแพ็กเกจซอฟต์แวร์ 32 บิต "บางส่วน" เพื่อรองรับซอฟต์แวร์เก่าที่ยังใช้งานอยู่ ส่วนกระบวนการคัดเลือกว่าจะมีแพ็กเกจอะไรบ้างนั้น เป็นกระบวนการของชุมชนในการหารือกันต่อไป และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
จากประเด็น Ubuntu 19.10 หยุดซัพพอร์ตสถาปัตยกรรม x86 แบบ 32 บิต (i386)
Pierre-Loup Griffais นักพัฒนาของ Valve ประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่า Steam จะไม่ซัพพอร์ต Ubuntu 19.10 เป็นต้นไป รวมถึง Valve จะไม่แนะนำให้ลูกค้า Steam ใช้งานด้วย โดยทางออกของ Valve จะหันไปโฟกัสที่การทำงานบนลินุกซ์ดิสโทรอื่นแทน
สาเหตุของปัญหาเกิดจากเกมจำนวนมากคอมไพล์มาเป็น 32 บิต (โดยเฉพาะเกมที่เก่าหน่อย) และจะไม่ได้รับการอัพเดตใดๆ อีกแล้ว เกมเหล่านี้จำเป็นต้องเรียกใช้ไลบรารี 32 บิตด้วย การที่ Ubuntu จะหยุดซัพพอร์ตไลบรารี 32 บิต (บนระบบปฏิบัติการ 64 บิต) จึงทำให้เกมเหล่านี้ใช้งานไม่ได้ตามไปด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Valve จึงต้องหยุดซัพพอร์ต Ubuntu เช่นกัน
Ubuntu ประกาศหยุดซัพพอร์ตสถาปัตยกรรมซีพียู x86 แบบ 32 บิต (i386) โดยจะมีผลตั้งแต่เวอร์ชันหน้า 19.10 “Eoan Ermine” ที่จะออกในเดือนตุลาคมนี้
ทีมงาน Ubuntu บอกว่าเตรียมตัวเรื่องหยุดซัพพอร์ต i386 มาตั้งแต่ปี 2018 และตอนนี้ถึงเวลาที่เหมาะสมแล้ว จากนี้ไป Ubuntu จะไม่ออกแพ็กเกจซอฟต์แวร์ที่เป็น 32 บิตอีก ส่วนผู้ที่ใช้ Ubuntu เวอร์ชันเก่า เช่น 18.04 LTS แบบ 32 บิต ก็จะไม่สามารถอัพเกรดเป็น Ubuntu เวอร์ชันใหม่ได้อีกเช่นกัน (แต่ 18.04 LTS ยังสามารถใช้ได้จนถึงหมดระยะซัพพอร์ตปี 2023)
Ubuntu ให้สถิติว่าตอนนี้มีผู้ใช้แบบ 32 บิตอยู่ไม่ถึง 1% ของผู้ใช้ทั้งหมด
มีคนตาดีไปเห็นว่า ในบรรดา ThinkPad P Series ที่เพิ่งเปิดตัวปีนี้ สามารถเลือกใส่ระบบปฏิบัติการลินุกซ์มาได้ตั้งแต่โรงงาน โดยเลือกได้ว่าจะเป็น Ubuntu 18.04 LTS (พรีโหลดมาให้จากโรงงาน) หรือถ้าต้องการ Red Hat Linux ก็รองรับอย่างเป็นทางการ (certified)
ThinkPad ที่เข้าข่ายคือ P1 Gen 2, P53, P73, P53s, P43s แต่เนื่องจากตอนนี้บนหน้าเว็บของ Lenovo US ยังไม่เปิดให้สั่งซื้อ จึงไม่สามารถดูราคาได้ว่าถ้าเลือกระบบปฏิบัติการเป็นลินุกซ์ ราคาจะแตกต่างจากวินโดวส์หรือไม่
ปัญหาสำคัญอันหนึ่งของโลกลินุกซ์คือไดรเวอร์จีพียู โดยเฉพาะฝั่ง NVIDIA เป็นไดรเวอร์ที่ไม่โอเพนซอร์ส ทำให้ดิสโทรลินุกซ์หลายค่ายตัดสินใจไม่รวมไดรเวอร์มากับไฟล์ ISO ด้วย ถึงแม้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดไดรเวอร์มาติดตั้งเองในภายหลัง แต่ประสบการณ์ใช้งานตั้งแต่แรกก็ไม่ดีนัก (ปกติแล้วดิสโทรส่วนใหญ่จะติดตั้งไดรเวอร์ Nouveau เวอร์ชันโอเพนซอร์สมาให้แทน แต่ประสิทธิภาพและฟีเจอร์เทียบกับเวอร์ชันของ NVIDIA ไม่ได้)
ล่าสุดโครงการ Ubuntu ปรับนโยบายเรื่องนี้ใหม่ ตั้งแต่ Ubuntu 19.10 เวอร์ชันหน้าเป็นต้นไป จะรวมไดรเวอร์ NVIDIA มาให้ในไฟล์ ISO เลย โดยมีเหตุผลว่าต้องการให้ผู้ใช้ติดตั้งไดรเวอร์ได้แม้ไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และทาง NVIDIA ก็อนุญาตให้ Ubuntu แจกจ่ายไฟล์ไดรเวอร์แล้ว
Canonical บริษัทผู้พัฒนาลินุกซ์ Ubuntu ประกาศความร่วมมือกับ AWS นำบริการ Greengrass มารันบน Ubuntu ผ่านแพ็กเกจแบบ snap โดยได้รับซัพพอร์ตจากทาง AWS เอง
การติดตั้งหลักๆ มีเพียงสองขั้น คือการติดตั้งแพ็กเกจ aws-iot-greengrass
และการคอนฟิกใบรับรองสำหรับ Greengrass จากนั้นก็สามารถสั่ง deploy ฟังก์ชั่น lambda ลงมาจากคลาวด์ของ AWS ได้เลย
เนื่องจากเป็นงาน IoT หลังการติดตั้งแล้ว ผู้ใช้อาจจะต้องคอนฟิกเพิ่มเติมเพื่อให้ snap สามารถเข้าถึงพอร์ตต่างๆ เช่น serial หรือ GPIO ได้ โดยทาง Ubuntu มีเอกสารออกมาให้พร้อมกัน
Dell ยังตามออกโน้ตบุ๊กรุ่นที่ใช้ลินุกซ์อย่างต่อเนื่อง (นับจากออกครั้งแรกในปี 2012) หลังจากเปิดตัว Dell XPS 13 (9380) รุ่นปี 2019 ที่ย้ายเว็บแคมกลับมาไว้ด้านบน ไปไม่นาน บริษัทก็ออกรุ่น Developer Edition ตามมาทันที
Dell XPS 13 (9380) Developer Edition ใช้ฮาร์ดแวร์ชุดเดียวกับ 9380 รุ่นวินโดวส์ ซีพียูเป็น Core i3/i5/i7 Whisky Lake U, แรมใส่ได้สูงสุด 16GB, สตอเรจเป็น NVMe ใส่ได้สูงสุด 2TB, จอภาพมีทั้ง Full HD และ Ultra HD, ระบบปฏิบัติการเป็น Ubuntu 18.04 LTS
Max Justicz นักวิจัยความปลอดภัยรายงานถึงบั๊กของโปรแกรม apt (apt-get) ที่อ่านข้อมูล HTTP response ไม่ตรงตามมาตรฐาน ทำให้แฮกเกอร์สามารถส่งข้อมูลหลอก จนกระทั่งยิงไฟล์แพ็กเกจปลอมเข้ามารันบนเครื่องได้ และเนื่องจาก apt มักรันบนสิทธิ์ root ทำให้แพ็กเกจที่ได้รับมารันบนสิทธิ์ root ไปด้วยส่งผลกระทบร้ายแรงถึงระดับยึดเครื่องได้
ปัญหาเกิดจากกระบวนการทำงานของ apt เมื่อผู้ใช้สั่งดาวน์โหลดโปรแกรม ตัวโปรแกรมจะ fork โปรเซสลูกเพื่อเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ (fetcher) ซึ่งอาจจะเป็นโปรโตคอลต่างๆ กันไป ปัญหาคือ fetcher นี้มีบั๊กในการอ่าน HTTP Redirect ที่มันจะเชื่อข้อมูลฟิลด์ Location ใน HTTP Header เสมอ และส่งต่อไปยังโปรเซสแม่เพื่อแจ้งสถานะว่าเกิดการ Redirect โดยไม่ตรวจสอบ
Canonical บริษัทแม่ของ Ubuntu ประกาศข่าวเกี่ยวกับการซัพพอร์ต Kubernetes ชุดใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ของสำคัญคือ MicroK8s เป็นแพ็กเกจ Kubernetes ในฟอร์แมต Snap ที่ Ubuntu และดิสโทรอื่นๆ ใช้งาน ช่วยให้การติดตั้ง Kubernetes บนดิสโทรลินุกซ์ทำได้ง่ายเพียงแค่คำสั่งเดียว และอัพเดตอัตโนมัติเมื่อมีเวอร์ชันใหม่
นอกจากนี้ Canonical ยังประกาศซัพพอร์ต kubeadm เครื่องมือจัดการคลัสเตอร์ Kubernetes ให้ครอบคลุมถึงลูกค้าองค์กรที่จ่ายเงินซื้อผ่านบริการ Ubuntu Advantage
Mark Shuttleworth ผู้ก่อตั้ง Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu ประกาศในในงาน OpenStack Summit ว่า Ubuntu 18.04 จะเป็นรุ่นที่ซัพพอร์ตยาวถึง 10 ปี
ไม่ชัดเจนว่าซัพพอร์ตยาว 10 ปีนี้จะรวมถึงผู้ใช้ฟรีด้วยหรือไม่ โดยปกติแล้ว Ubuntu เวอร์ชั่น LTS (ซัพพอร์ตระยะยาว) จะมีแพตช์ให้ฟรี 5 ปี และหลังจากนั้นจะมีแพตช์ความปลอดภัยระดับร้ายแรงสูงให้สำหรับลูกค้า Ubuntu Advantage ต่อไป โดย Ubuntu 12.04 ที่หมดระยะซัพพอร์ตปกติไปแล้ว จะยังมีแพตช์ให้ลูกค้าต่อไปจนถึงปี 2020 แต่อย่างไรก็ดี การซัพพอร์ตระยะยาวเช่นนี้จะทำให้ Ubuntu มีข้อเสนอที่ใกล้เคียง Red Hat มากขึ้น
Ubuntu 18.10 โค้ดเนม Cosmic Cuttlefish ออกรุ่นจริงแล้ว ของใหม่มีดังนี้
ไมโครซอฟท์จับมือ Canonical ออกอิมเมจ Ubuntu 18.04.1 LTS เวอร์ชันพิเศษที่ปรับปรุงให้ทำงานร่วมกับ Hyper-V ได้ดีกว่าเดิม เมื่อติดตั้งแล้วจะได้ Ubuntu ที่เป็น Enhanced Session Mode เชื่อมต่อระหว่าง host/guest ได้ดีขึ้น (เช่น แชร์ไฟล์ หรือ คลิปบอร์ด) โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเองเลย
วิธีใช้งานสามารถเรียกจาก Hyper-V Quick Create ได้โดยตรงจากตัว Windows 10 เลย (ต้องเป็น Fall Creators Update ขึ้นไป)
ฟีเจอร์นี้จำเป็นต้องใช้ Hyper-V ซึ่งมีใน Windows 10 เกือบทุกเวอร์ชันยกเว้น Home
หากใครยังจำกันได้ Ubuntu เคยมีระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอยู่ ใช้ชื่อว่า Ubuntu Touch (หรือบางคนอาจจะเรียกว่า Ubuntu Phone) แต่พอ Ubuntu เลิกพัฒนา Unity จึงทำให้โครงการ Ubuntu Touch ต้องยุติลงตามไปด้วย แต่ล่าสุด โครงการ UBports ได้นำ Ubuntu Touch มาพัฒนาต่อ จนกระทั่งเพิ่งออกอัปเดท OTA-4 เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
ไมโครซอฟท์ออก PowerShell เวอร์ชันแมคและลินุกซ์มาตั้งแต่ปี 2016 คราวนี้ไมโครซอฟท์ขยับขยายเพิ่มเติม โดยออกแพ็กเกจ PowerShell Core เวอร์ชัน Snap สำหรับใช้งานบน Ubuntu ด้วย
Snap เป็นระบบแพ็กเกจซอฟต์แวร์แบบใหม่ที่เริ่มใช้ใน Ubuntu 16.04 LTS เป็นต้นมา มันถูกออกแบบด้วยแนวคิดแบบเดียวกับแพ็กเกจซอฟต์แวร์บนสมาร์ทโฟน ติดตั้งง่าย ลบง่าย อัพเดตง่าย ไม่ต้องติดปัญหา dependency และภายหลัง Snap ก็นำไปใช้กับดิสโทรอื่นๆ ได้ด้วย
LG เปิดตัวมอนิเตอร์แบบจอโค้ง ที่มาพร้อมซีพียู AMD Ryzen 3 และสามารถลงระบบปฏิบัติการ Windows / Ubuntu เองได้
มอนิเตอร์รุ่นใหม่นี้ใช้ชื่อว่า ‘LG 38CK900G-B’ จอโค้ง UltraWide IPS ขนาด 38 นิ้ว สัดส่วน 21:9 ความละเอียด 3840 x 1600 มาพร้อมซีพียู AMD Ryzen 3 แบบ dual-core ไร้พัดลมระบายความร้อน มากับ Vega graphics, แรม 8GB DDR4 อัพเกรดได้สูงสุด 16GB, SSD 128GB, สามารถลงระบบปฏิบัติการ Windows 10 / Ubuntu เองได้
ตัวมอนิเตอร์มีความเร็วในการตอบสนอง คือ 5 ms, มี Wireless และ Bluetooth ในตัว, มี webcam, ลำโพงสเตอริโอขนาด 10 วัตต์ นอกจากนี้ยังรองรับการเชื่อมต่อกับพอร์ท HDMI, USB 3 พอร์ท, USB Type-C 2 พอร์ท, mic และ ethernet
Ubuntu 18.04 LTS โค้ดเนม "Bionic Beaver" ออกแล้ว เวอร์ชันนี้ถือเป็น LTS ตัวแรกที่เปลี่ยนกลับมาใช้ GNOME หลังการเปลี่ยนแปลงใน Ubuntu 17.10 เมื่อปีที่แล้ว
ของใหม่ใน Ubuntu 18.04 LTS
ในยุคของคลาวด์ที่ระบบปฏิบัติการต้องแข่งกันเล็กเพื่อความคล่องตัว ล่าสุดทีมงาน Ubuntu ระบุว่าไฟล์อิมเมจขนาดเล็กที่สุด (Ubuntu Base) ของ Ubuntu 18.04 LTS ที่กำลังจะออกในเดือนหน้า ถูกลดขนาดลงเหลือเพียง 28MB เท่านั้น
ขนาดอิมเมจของ Ubuntu Base LTS ลดลงเรื่อยๆ ตามกาลเวลา จาก 65MB ในเวอร์ชัน 14.04 มาเหลือ 37MB ในเวอร์ชัน 16.04 และล่าสุด 28MB ในเวอร์ชัน 18.04 (เป็นไฟล์ที่บีบอัดเรียบร้อยแล้ว)
Ubuntu Base ถูกนำไปใช้ปรับแต่งเป็นอิมเมจสำหรับดิสโทรเฉพาะงาน ความสามารถของมันมีแค่ rootfs และสามารถติดตั้งแพ็กเกจเพิ่มเติมจาก repository ได้ นักพัฒนาอาจนำ Ubuntu Base เพิ่มแพ็กเกจบางตัวเฉพาะที่ต้องใช้ แล้วสร้างเป็นอิมเมจใหม่สำหรับใช้ในงานด้าน embedded หรือ container
Red Hat เผยผลสำรวจการใช้งานลินุกซ์บน public cloud โดยสอบถามไปยังผู้รับผิดชอบด้านไอทีของบริษัทขนาดใหญ่ในอเมริกาเหนือและยุโรป 500 ราย การสำรวจเกิดขึ้นช่วงกลางปี 2017
ถึงแม้ผลออกมาเป็น Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ได้รับความนิยมสูงสุด (ตามคาด) แต่ข้อมูลอื่นๆ ในรายงานก็ช่วยให้เราเข้าใจภาพรวมของลินุกซ์บนคลาวด์ได้มากขึ้น
คนส่วนใหญ่ทราบว่าพนักงานของกูเกิลส่วนใหญ่ใช้แมค แต่ก็มีพนักงานบางส่วนที่ใช้ลินุกซ์ด้วย โดยพนักงานของกูเกิลใช้ดิสโทรของบริษัทเองชื่อ Goobuntu ที่พัฒนาอยู่บนฐานของ Ubuntu
อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม 2017 กูเกิลก็เปิดเผยว่าเปลี่ยนจาก Goobuntu มาเป็นดิสโทรตัวใหม่ชื่อ gLinux ที่พัฒนาเองเช่นกัน และเปลี่ยนฐานจาก Ubuntu มาเป็น Debian (ใช้ Debian testing หรือ "buster" ที่จะนับเป็น Debian 10)
กูเกิลไม่ได้อธิบายเหตุผลที่เปลี่ยนจาก Ubuntu มาเป็น Debian แต่ระบุแค่ว่ามีระบบย้ายจาก Ubuntu 14.04 LTS มาเป็น Debian buster แล้ว
จากปัญหา Ubuntu 17.10 ทำให้ BIOS ของโน้ตบุ๊ก Lenovo, Acer และ Toshiba บางรุ่นเสียหาย ล่าสุดทาง Ubuntu กำลังจะออกอิมเมจ ISO ของ Ubuntu 17.10 ใหม่ทั้งหมด ที่แก้บั๊กนี้แล้ว
เป้าหมายของทีมงานคือออกในวันพฤหัสนี้ (11 มกราคม) แต่อาจเลื่อนออกไปได้ถ้าทดสอบแล้วยังเจอปัญหา
อย่างไรก็ตาม อิมเมจตัวใหม่นี้ถูกพัฒนาขึ้นก่อนข่าว Spectre/Meltdown ทำให้มันไม่รวมแพตช์ป้องกันมาด้วย ผู้ที่ดาวน์โหลดอิมเมจไปใช้งานต้องอัพเดตแพตช์กันเองหลังติดตั้งเสร็จแล้ว
เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผู้ใช้เริ่มรายงานถึงอาการแปลกๆ เมื่อติดตั้ง Ubuntu 17.10 แล้วพบว่าไบออสไม่สามารถแก้ไขค่าอะไรได้ และยังไม่สามารถบูตเครื่องผ่าน USB ได้
ทาง Canonical พบว่าปัญหาเกิดจากบั๊กในไดรเวอร์ intel-spi-*
อย่างไรก็ตาม เครื่องที่ได้รับผลกระทบมีเพียงบางรุ่น ส่วนใหญ่เป็น Lenovo โดยตอนนี้ที่มีการรายงานปัญหาแล้ว ได้แก่