ผู้ใช้ Facebook บางส่วนในกรุงเทพมหานครแจ้งว่าระบบ Security Checkpoint ซึ่งมีไว้ยืนยันความปลอดภัยของตัวบุคคลเมื่อเกิดเหตุร้ายใดๆ ถูกเปิดใช้งานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแจ้งว่ามีเหตุระเบิดในวันนี้ (27 ธันวาคม 2559)
ณ จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานข่าวระเบิดใดๆ โดยสื่อ จึงเชื่อว่าเป็นการเปิดระบบผิดพลาด (false report)
ทั้งนี้ ผู้ใช้ Facebook ชื่อผู้ใช้ "ว่านน้ำ พันทิป" ตั้งข้อสังเกตว่าที่ระบบถูกทำงาน น่าจะเนื่องจากเว็บไซต์ข่าวบางแห่งนำข่าวเก่าที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วกลับมารายงานซ้ำ ทำให้ระบบเข้าใจผิด
เป็นเรื่องราวต่อเนื่องหลังจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจัดการแถลงข่าวจับกุมแฮกเกอร์ต้องสงสัยเจาะเว็บรัฐบาล 9 ราย โดยหนังสือ Network Security ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ EZ-Genius เป็นหนึ่งในของกลาง ก่อให้เกิดกระแสสังคมต่างๆ นานา
อย่างไรก็ตามไม่ทราบว่าเป็นแผนการตลาดหรือข้อเท็จจริงจากกระแสดังกล่าว ร้านหนังสือ SE-ED Book Center เปิดเผยว่าหนังสือ Network Security ตอนนี้ Out of Stock บนหน้าเว็บของ SE-ED แล้ว ขณะที่ผู้เขียนหนังสือเล่มดังกล่าวได้โพสต์เฟซบุ๊กชี้แจงยืนยันว่า หนังสือ Network Security มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาและเป็นสื่อการสอนเท่านั้น พร้อมเน้นย้ำว่าการทดลองต้องทำในแล็บเท่านั้น ไม่แนะนำให้ทดสอบกับระบบจริง
ซิป้าเดินหน้ายุทธศาสตร์เศรษฐกิจดิจิทัลตามนโยบายกระทรวงดีอี (DE) ผลักดันแพลตฟอร์มท่องเที่ยวหนุนธุรกิจขนาดเล็ก ลดความเสี่ยงในการบริหารจัดการ ขจัดปัญหาขาดโอกาสทางการค้า ด้วยการเชื่อมต่อทุกธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น ที่พัก งานบริการ รถรับส่ง และทัวร์ สู่รูปแบบบริการแบบสากล
จากข่าว ผบ.ตร.แถลงจับกุมแฮกเกอร์ 9 รายพร้อมของกลาง ฮาร์ดดิสก์, ปืนและกระสุน มีการแถลงรายละเอียดคดีผ่าน Facebook ทีมงานโฆษก ตร. สรุปได้ว่า ผู้ต้องหาคือนายณัฐดนัย คงดี อายุ 19 ปี มีพฤติกรรมทำความผิดดังนี้
พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง แถลงข่าวการจับกุมแฮกเกอร์ต้องสงสัย 9 รายที่โจมตีเว็บไซต์ของรัฐบาล โดยผบ.ตร. เป็นผู้ที่สอบสวนหนึ่งในผู้ต้องสงสัยที่มีพฤติกรรมชัดเจนที่สุดด้วยตัวเอง
ในการนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้โชว์ของกลางที่ยึดจากการจับกุม เป็นอุปกรณ์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดดิสก์, แผ่น CD/DVD, สมาร์ทโฟน, ซิม และหนังสือ Network Security พร้อมด้วยอาวุธปืนและกระสุนอีกจำนวนหนึ่ง
ที่มา - Nation
สืบเนื่องจากกระแสการโจมตีเว็บไซต์รัฐบาลเพื่อตอบโต้การผ่านร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ล่าสุดพลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมแฮกเกอร์ได้แล้ว 9 คนพร้อมของกลางเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดำเนินการ
อย่างไรก็ตามรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับคนร้ายและการจับกุม ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีการแถลงข่าวต่อไปภายในวันนี้
ที่มา - ผู้จัดการออนไลน์, VoiceTV
สืบเนื่องจากที่กรมสรรพากรเตรียมจะคืนภาษีในปีหน้าผ่านทาง PromptPay ล่าสุดกรมสรรพากรออกมายืนยันแล้วว่าช่วงทางการคืนผ่าน PromptPay นั้นไม่บังคับ เป็นแค่ทางเลือก และยังคงมีการคืนภาษีผ่านเช็คเหมือนเดิม
อธิบดีกรมสรรพากรให้สัมภาษณ์กับไทยรัฐว่า เป็นความเข้าใจผิดเรื่องการบังคับใช้ PromptPay จากการคืนภาษี โดยชี้แจงว่าจะคืนผ่านช่องทาง PromptPay ก่อน แล้วจึงจะคืนผ่านช่องทางเช็คตามปกติ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์
ที่มา - ไทยรัฐออนไลน์
update: สรรพากรยืนยันไม่บังคับคืนภาษีผ่าน PromptPay เป็นแค่ทางเลือก ยังมีจ่ายเป็นเช็คตามปกติ
กรมสรรพากรแถลงประชาชนยื่นภาษีผ่านเน็ต และผู้ที่จ่ายเกินสามารถรับเงินคืนได้ผ่านระบบ PromptPay
วันนี้ (22 ธันวาคม 2559) กรมสรรพากรออกมาแถลงให้ประชาชนยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2559 รวมถึงสิทธิลดหย่อนต่างๆ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 มี.ค. 2560 ผ่านอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือยื่นผ่าน RD Smart Tax Application และผู้ที่จ่ายภาษีเกิน กรมสรรพากรจะคืนภาษีให้ผ่านระบบ PromptPay
นอกจากนี้ยังระบุอีกว่าคนที่ยังไม่ผูกบัญชี PromptPay ให้ทำการลงทะเบียนด้วยหมายเลขบัตรประชาชนกับธนาคารที่ใช้บริการอยู่ อย่างไรก็ตาม จากการโทรศัพท์สอบถามกับกรมสรรพากร ยังไม่มีรายละเอียดแน่ชัดว่าถ้าคนที่ไม่มีบัญชี PromptPay จะคืนภาษีช่องทางใด
Facebook เปิดเผยรายงาน Global Government Requests Report ว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2016 มีรัฐบาลของประเทศไหนขอข้อมูลของผู้ใช้บ้าง
ในภาพรวม รัฐบาลทั่วโลกขอข้อมูลจาก Facebook จำนวน 59,229 ครั้ง เพิ่มขึ้น 27% จากครึ่งหลังของปี 2015 โดยส่วนใหญ่ (56%) มาจากหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่การขอให้บล็อคข้อมูลบน Facebook ลดลงถึง 83% จากครึ่งหลังของปี 2015 เหตุผลเป็นเพราะตัวเลขของปี 2015 เยอะผิดปกติ เนื่องจากทางการฝรั่งเศสขอให้ Facebook บล็อครูปภาพจากเหตุการณ์ก่อการร้ายเมื่อปีที่แล้ว
พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์นักข่าวและกล่าวถึงประเด็นที่มีผู้ไม่เห็นด้วยเรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ว่า อย่าไปเชื่อโซเชียลมาก เพราะอันตราย เชื่อแล้วมาเป็นแนวร่วมต่อต้านทำลายชาติ
โดยเนื้อหาในคลิปเสียงของ พล.อ.เฉลิมชัย จากทวิตเตอร์ของคุณวาสนา นาน่วม ระบุว่า "หลายๆ ฝ่าย ที่พูดถึงซิงเกิ้ลเกตเวย์ต่างๆ มันก็คลี่คลายไปแล้ว แต่มีมุมอื่นที่กลุ่มเห็นต่างพยายามจับมาเป็นประเด็น โซเชียลมีเดียต้องระวัง เพราะจริงบ้างเท็จบ้าง และเวลาเราเชื่อก็กลายเป็นแนวร่วม แล้วก็มาร่วมมือกันทำลายชาติบ้านเมืองของตัวเอง"
กสทช. ประกาศความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำความร่วมมือเปิดช่องทางส่งข้อมูลผู้ใช้โทรศัพท์มือถือให้กับสถาบันทางการเงินโดยได้รับความยินยอมจากผู้ใช้
กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ผู้ให้บริการโทรศัพท์จะขอคำยินยอมจากเจ้าหมายเลขในการส่งความเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปยังสถาบันการเงิน โดยกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลจะพร้อมในไตรมาสแรกของปีหน้า
ความร่วมมือนอกจากนี้คือการขอคืนเงินค่าบริการหลังเลิกใช้บริการ หลังจากนี้จะเปิดทางคืนเงินเป็น e-wallet หรือโอนทาง PromptPay อีกสองทาง
นอกจากการใช้ ม.44 ระงับการสรรหา กสทช. คนใหม่ วันนี้ คสช. ยังออกคำสั่งอีกฉบับที่อาศัยอำนาจตาม ม.44 เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล-หน่วยงานรัฐที่ถือครองคลื่นความถี่ โดยแบ่งเป็นประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้
พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ผ่านการโหวตของ สนช. ไปเรียบร้อยแล้ว แต่กฎหมาย "ชุด" นี้ยังไม่จบ เพราะมีร่าง พ.ร.บ. อีกฉบับที่ใช้ควบคู่กัน นั่นคือ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ ที่อาจน่ากลัวกว่า พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ
เครือข่ายพลเมืองเน็ตออกมารายงานว่าได้รับการติดต่อจากสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ โดยเข้าใจว่าเครือข่ายพลเมืองเน็ตเป็นผู้นัดหมายให้มีการชุมนุม แต่ทางเครือข่ายพลเมืองเน็ตระบุว่าไม่ได้เป็นผู้จัดการชุมนุมทั้งสองจุด
เครือข่ายพลเมืองเน็ตเป็นกลุ่มหลักที่จัดแคมเปญแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างพรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ และเป็นกลุ่มที่เข้ารัฐสภาเพื่อยื่นรายชื่อจาก Change.org ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
นอกจากความเข้าใจผิดว่าเครือข่ายพลเมืองเน็ตเป็นผู้จัดงานในวันนี้แล้ว ยังมีความเข้าใจผิดว่าเครือพลเมืองเน็ตเป็นกลุ่มเดียวกับ "พลเมืองต่อต้าน Single Gateway" ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปีที่แล้วเมื่อมีข่าว Single Gateway
ผู้ใช้ทวิตเตอร์ @blackplans เปิดเผยฐานข้อมูลโดยระบุว่ามาจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไทย เพื่อประท้วงกรณีที่พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ผ่านออกมาเป็นกฎหมาย
ช่วงหัวค่ำวันนี้ มีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ (นับเป็นคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 4) การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือเรามี "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" คนแรกแล้วคือ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ถูกโยกมานั่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลฯ แทน
ส่วนรัฐมนตรีกระทรวงวิทย์ฯ คนใหม่คือนางอรรชกา สีบุญเรือง ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีเดิม (และถือเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีคนสุดท้าย ก่อนเปลี่ยนเป็นกระทรวงดิจิทัลฯ) มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (rotate กัน 3 คน 3 ตำแหน่ง)
ประเด็นที่หลายคนติดตามในวันนี้คือ ร่าง พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ที่เข้าพิจารณาวาระ 3 ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ล่าสุด ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ผ่านการโหวตของสมาชิก สนช. เรียบร้อยแล้ว โดยมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 172 คน โหวตเห็นด้วย 167 คน งดออกเสียง 5 คน และไม่มีใครโหวตคัดค้านเลย
สมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย (Thai FinTech Association) นำโดยนายกรณ์ จาติกวณิช ประธานสมาคม ออกมาแสดงความกังวลต่อร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ที่จะเข้าพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันนี้
นายกรณ์ โพสต์แสดงความเห็นใน Facebook ว่าประเด็นที่กังวลที่สุดคือการให้อำนาจคณะกรรมการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของประชาชนได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรมปกติ และไม่ต้องมีการบันทึกการปฏิบัติหน้าที่โดยเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ในภายหลัง
ในโพสต์ยังมองว่ากฎหมายฉบับนี้สวนทางกับนโยบายเศรษฐกิจ Thailand 4.0 ที่ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลกำลังผลักดันอยู่ และจะบีบให้ผู้ประกอบการ FinTech ต้องออกไปทำธุรกิจที่ต่างประเทศแทนประเทศไทย
เว็บไซต์สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไม่สามารถเข้าใช้งานได้ชั่วคราว ณ ขณะนี้ โดยคาดว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากกรณี สนช. เดินหน้าพิจารณา พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับปี 2559 แม้จะมีการยื่นรายชื่อคัดค้านกว่าสามแสนรายชื่อไปแล้ว ทำให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทย เกิดเป็นการแสดงออกถึงความไม่พอใจที่นำโดยเพจเฟซบุ๊ก “พลเมืองต่อต้าน Single Gateway” ที่ตั้งเป้าหมายการแสดงออกครั้งนี้ไปที่เว็บไซต์ของสภาฯ
ทั้งนี้ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด หากแต่เป็นเพียงการคาดการณ์จากสถานการณ์แวดล้อมเท่านั้น
หลังเครือข่ายพลเมืองเน็ตและองค์กรนิรโทษกรรมสากล ประเทศไทย ยื่นรายชื่อกว่าสามแสนรายที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้สภาลงมติไม่รับร่างพ.ร.บ. ในวาระ 2 และวาระ 3 นั้น
ล่าสุด พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ สมาชิก สนช. และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ยืนยันว่าคณะกรรมาธิการจะพิจารณาแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ให้รัดกุมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น พร้อมยืนยันว่าไม่มีการนำเรื่องซิงเกิลเกตเวย์เข้ามาปนอย่างที่เข้าใจผิดกัน เนื่องจากเป็นกฎหมายอีกฉบับ ไม่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
วันนี้มีผู้สื่อข่าวเข้าสัมภาษณ์พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่จะประชุมพิจารณาวาระสุดท้ายในวันพรุ่งนี้ โดยนายกฯ ยังยืนกรานว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์มีความจำเป็น โดยเฉพาะสกัดเว็บหมิ่นสถาบันเบื้องสูง
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวถึงซิงเกิ้ลเกตเวย์ว่าจะไม่นำมาใช้ แต่จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะมีข้อมูลด้านลบมาจากต่างประเทศ ซึ่งป้องกันยาก โดยเฉพาะการหมิ่นสถาบัน
ช่วงเช้าวันนี้ เครือข่ายพลเมืองเน็ตและแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้เข้ายื่นรายชื่อกว่าสามแสนรายที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว
วันนี้มีผู้สื่อข่าวจากมติชน เข้าสัมภาษณ์ พล.ต.ฤทธี อินทราวุธ ผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์ของกองทัพบก ถึงร่าง พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรง โดยพล.ต.ฤทธี ยืนยันว่า พ.ร.บ. คอมฯมีประโยชน์ เหมาะกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี
"ขอเรียนประชาชนทุกท่านควรอ่านข้อกฎหมายให้ครบถ้วน และไม่ควรหลงเชื่อกระแสบิดเบือนข้อมูลจนทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ ซึ่งเป็นเวลาที่คนไทยทั้งชาติอยู่ในความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งต้องการความรัก สามัคคี และกำลังใจในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กลับคืนมาโดยเร็ว" พล.ต.ฤทธี กล่าว
พล.ต.ฤทธี กล่าวเพิ่มเติมว่า วอนอย่าเชื่อคนสร้างกระแสบิดเบือน เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกในสังคม
ประเด็นที่ถกเถียงกันมากใน ร่าง พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ คือ มาตรา 20 เรื่อง "การระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์" ที่เป็นความผิด, อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง, เป็นความผิดตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา, มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ออกจากระบบคอมพิวเตอร์
ในมาตรา 20 ของ พ.ร.บ. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ ประกาศหลักเกณฑ์ ระยะเวลา และวิธีการปฏิบัติสำหรับการระงับทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูล ของเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการ โดยในกฎหมายไม่ได้ให้รายละเอียดว่าประกาศฉบับนี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
กูเกิลประเทศไทย ประกาศรายชื่อคำค้น (keyword) ยอดนิยมประจำปี 2016 ดังนี้
ความเคลื่อนไหวล่าสุดเรื่องการต่อต้านร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือมีผู้มาลงชื่อไม่เห็นด้วยใน Change.org กว่า 1.8 แสนรายแล้ว ด้านพล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ประธาน กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ สภานิติบัญญ