ถึงแม้ยามปกติสองบริษัทนี้จะรบรากันอยู่เสมอ แต่เมื่อมีศัตรูภายนอกวงการไอทีเข้ามาคุกคาม ก็ได้เวลาจับมือกันต่อสู้
ก่อนหน้านี้ ทั้งไมโครซอฟท์และกูเกิลต่างยื่นฟ้องรัฐบาลสหรัฐให้เปิดเผยข้อมูลการสอดแนมที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย Foreign Intelligence Surveillance Act (FISA) ต่อสาธารณะ แต่เมื่อทั้งสองบริษัทพบว่าจุดยืนตรงกัน ก็เลยหันมาร่วมมือกันดีกว่า
ไมโครซอฟท์ระบุว่าก่อนหน้านี้พยายามเจรจาให้รัฐบาลสหรัฐเปิดเผยข้อมูล ซึ่งรัฐบาลก็ยอมบ้างบางส่วนแต่ยังไม่เยอะอย่างที่ควรจะเป็น ตอนนี้ทั้งสองบริษัทจึงปรับยุทธวิธีมาใช้กลไกทางกฎหมายและศาล เพื่อให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น
Facebook ออกรายงาน Global Government Requests Report เปิดเผยสถิติการขอข้อมูลผู้ใช้จากรัฐบาลทั่วโลก ระหว่างครึ่งแรกของปี 2013
สำหรับกรณีของประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐไทยยื่นขอข้อมูลทั้งหมด 2 ครั้ง นับจำนวนผู้ใช้รวม 5 บัญชี ซึ่งก็ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ (สหรัฐอเมริกาขอ 11,000-12,000 ครั้ง รวม 20,000-21,000 บัญชี)
Facebook เปิดเผยเฉพาะสถิติรวมของแต่ละประเทศเท่านั้น ไม่ได้แยกย่อยว่าหน่วยงานที่ขอคือหน่วยงานใด และขอข้อมูลผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
ที่มา - Facebook
หนังสือพิมพ์ Der Spiegel ของเยอรมนี "อ้าง" ว่าเห็นเอกสารของ NSA ที่นาย Edward Snowden นำออกมา (แต่ยังไม่เปิดเผยเอกสารนี้ต่อสาธารณะ) ที่ระบุว่า NSA เคยเจาะระบบการสื่อสารของสหประชาชาติด้วยเช่นกัน
ตามข่าวบอกว่า NSA เคยแกะข้อมูลจากระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่ใช้ภายในสหประชาชาติ โดยข้อมูลเหล่านี้ถูกเข้ารหัสไว้ การแกะข้อมูลเกิดขึ้นช่วงฤดูร้อนของปี 2012 และจำนวนของข้อมูลที่ถูกแกะคือ 458 ชิ้น
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่า NSA ดักฟังข้อมูลของสถานทูตของสหภาพยุโรปในสหรัฐมาแล้ว สำนักงานของสหภาพยุโรปและสหประชาชาติตั้งอยู่ในเมืองนิวยอร์กทั้งคู่
Groklaw เว็บกฎหมายไซเบอร์ชื่อดัง (มีผลงานโดดเด่นด้านกฎหมายกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส โดยเฉพาะช่วงคดี SCO) ประกาศปิดเว็บหลังจากเปิดมาตั้งแต่ปี 2003
ผู้ก่อตั้งเว็บคือ Pamela Jones หรือ PJ ให้เหตุผลของการปิดเว็บว่าเกิดจากการสอดส่องของ NSA และหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐในช่วงหลัง โดยปัจจัยสำคัญคือเธอเห็นข่าวบริษัท Lavabit ที่ทำธุรกิจด้านการเข้ารหัสอีเมลยังต้องปิดตัว ทำให้เธอรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะใช้อีเมล (ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารหลักของ Groklaw กับแหล่งข่าว) อีกต่อไป และเลือกการปิดเว็บแทนการทำข่าวต่อไปด้วยอีเมลที่ไม่ปลอดภัย
จากประเด็นเรื่อง กองบัญชาการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) กับ LINE ที่เป็นข่าวตลอดทั้งวันนี้ ทางเครือข่ายพลเมืองเน็ต ได้ออกแถลงการณ์ต่อเรื่องนี้ (และการสอดส่องหรือ surveillance ของรัฐไทยในภาพรวม) ทั้งหมด 5 ประเด็น
จากข่าว โครงการ XKeyscore ของ NSA ที่ดักฟังกิจกรรมของผู้ใช้ใดๆ บนอินเทอร์เน็ตที่วิ่งอยู่บน HTTP
ทาง Wikimedia Foundation องค์กรแม่ของ Wikipedia ออกมาแสดงความกังวลในเรื่องนี้ และประกาศแผนการใช้ HTTPS เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้แล้ว
จากข่าวโครงการดักข้อมูล PRISM ของรัฐบาลสหรัฐ (ที่โดนข่าว WWDC กลบมิด) ทางกลุ่มเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิบนอินเทอร์เน็ตนำโดย Mozilla และ Electronic Frontier Foundation (EFF) ก็ออกแคมเปญต่อต้านชื่อ Stop Watching Us มาแล้ว
ข้อเสนอของ Stop Watching Us คือเรียกร้องให้สภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาเปิดเผยรายละเอียดของโครงการ PRISM ต่อสาธารณะ (ซึ่งปัจจุบันถูกปกปิดโดยอ้างประเด็นเรื่องความลับ-ความมั่นคงของชาติ) และเชิญชวนให้องค์กร คนดัง ภาคธุรกิจ นักการเมือง รวมถึงประชาชนทั่วไปร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องครั้งนี้
เรื่องราวทั้งหมดเริ่มจากการเปิดเผยของ The Guardian ถึงคำสั่งลับของศาลที่อนุญาตให้สภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA) และสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI) สามารถเข้าถึงข้อมูลการใช้งานโทรศัพท์ (telephony metadata) ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศจากบริการ Verizon Business Network Services ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเครือข่าย Verizon คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งของศาลซึ่งจัดตั้งภายใต้รัฐบัญญัติสอดส่องข่าวกรองต่างชาติ (FISA) ที่ถูกแก้ไขให้เพิ่มอำนาจการต่อต้านการก่อการร้ายให้มากขึ้นในสมัยของรัฐบาลบุช หลังเหตุการณ์ 9/11
วงการไอทีมีคำอยู่คำหนึ่งคือ Internet of Things ซึ่งหมายถึงโลกในยุคที่สิ่งของและอุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา
วิสัยทัศน์นี้เริ่มเป็นจริงในยุคของ smart device ที่ขายดีขายดิบ แต่นอกเหนือจากคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เราก็มีอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ที่ต่อเชื่อมและทำงานกับเครือข่ายอยู่อีกมาก ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ "กล้องวงจรปิด" ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก
ผมมีโอกาสได้คุยกับผู้บริหารของบริษัท Axis Communications ผู้ขายระบบกล้องวงจรปิดรายใหญ่ที่สุดของโลก เรามาดูกันว่าวงการกล้องวงจรปิดปัจจุบันนี้พัฒนาไปไกลขนาดไหนแล้วครับ
สำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่งรายงานว่า FBI หรือสำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งหน่วยย่อยชื่อ Domestic Communications Assistance Center (DCAC) ขึ้นมาอย่างเงียบๆ โดยภารกิจของหน่วยงานนี้คือ "ดักฟังและถอดรหัส" ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารไร้สาย ตามที่ได้รับการร้องขอจากหน่วยสืบสวนต่างๆ