ซัมซุงเปิดตัวไดรฟ์ SSD แบบพกพา Portable Solid State Drive T7 Touch มีจุดเด่นตรงที่อ่านลายนิ้วมือบนตัวไดรฟ์ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล
Samsung Portable SSD T7 Touch มีให้เลือก 3 ความจุคือ 500GB/1TB/2TB, เชื่อมต่อผ่าน USB 3.2 (Gen 2, 10 Gbps), ความเร็วการอ่านข้อมูล 1050MBps, ความเร็วการเขียน 1000Mbps, มีระบบเข้ารหัส AES 256 บิต, น้ำหนักเบาเพียง 58 กรัม, ประกันนาน 3 ปี
ราคาขายอยู่ที่ 129.99 ดอลลาร์สำหรับรุ่น 500GB (ประมาณ 4 พันบาท), 299.99 ดอลลาร์สำหรับรุ่น 1TB และ 399.99 ดอลลาร์สำหรับรุ่น 2TB
เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของระบบไอทีในอนาคต การจัดเก็บข้อมูลที่มหาศาล ให้มีประสิทธิภาพ ระบบ storage จึงนับเป็นหัวใจหลักในการจัดการเงื่อนไขนี้ ทาง Metro Connect ได้จัดโปรโมชั่นส่งท้ายปลายปีให้กับองค์กรธุรกิจ ที่กำลังมองหาระบบจัดเก็บข้อมูล โดยจะแถม Cache ฟรี 2 เท่า มูลค่ากว่า 40,000 บาท เมื่อซื้อ IBM Storwize V5010E โปรโมชันหมดเขตภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2019 นี้เท่านั้น!
ที่งาน Ignite ไมโครซอฟท์โชว์โครงการวิจัย Project Silica สตอเรจถาวรสำหรับเก็บข้อมูลระยะยาว เช่น แสกนฟิล์มต้นฉบับ ที่ต้องการเก็บข้อมูลป้องกันความเสียหายระยะยาว
แผ่นแก้วควอตซ์ขนาด 75x75x2 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ใช้เก็บข้อมูลขนาด 75.6 กิกะไบต์พร้อมข้อมูลแก้ไขความผิดพลาด โดยไมโครซอฟท์หวังว่าจะมันจะทนทานระดับร้อยปี แต่ละบิตจะถูกเข้ารหัสเป็น voxel สามมิติ ที่ความหนา 2 มิลลิเมตรสามารถเก็บ voxel ได้ 100 ชึ้น
การเก็บข้อมูลระยะยาวเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง ฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปต้องการอัพเดตสตอเรจทุกๆ 3-5 ปี หรือเทปแม่เหล็กต้องเปลี่ยนม้วนเทปทุกๆ 5-7 ปี บริษัทภาพยนตร์อย่าง Warner Bros. ระบุว่าบริษัทต้องเปลี่ยนสตอเรจทุกๆ 3 ปีก่อนที่สื่อเก็บข้อมูลจะเสื่อม
เมื่อสองวันก่อนไมโครซอฟท์เปิดตัว Azure Synapse บริการคิวรีข้อมูลขนาดใหญ่ ที่อัพเกรดมาจาก Azure SQL Data Warehouse ที่งาน Ignite ผมมีโอกาสพูดคุยกับ John Macintyre ผู้จัดการกลุ่มสินค้า Azure Synapse ได้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงบริการตัวนี้
ความนิยมในการเก็บข้อมูลแบบ key-value (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระแส NoSQL) เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลัง ตัวอย่างฐานข้อมูลแบบ key-value ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงคือ Redis ที่ถูกนำไปใช้โดยบริการคลาวด์ยักษ์ใหญ่ทั้ง AWS, Azure, GCP
ในฝั่งของกลุ่มอุตสาหกรรมเองก็เกิดความเคลื่อนไหวสร้างมาตรฐานของ key-value ขึ้นมา โดยกลุ่ม Storage Networking Industry Association (SNIA) ออกมาตรฐาน Key Value Storage API Specification เวอร์ชัน 1.0 และกลายเป็นว่าฝั่งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สตอเรจอย่างซัมซุง ได้พัฒนา SSD ที่ออกแบบมาสำหรับเก็บข้อมูล key-value แล้ว
Western Digital ประกาศความพร้อมในการผลิตฮาร์ดดิสก์ Ultrastar DC HC550 ความจุ 18TB และ Ultrastar DC HC650 ความจุ 20TB โดยจะเริ่มส่งมอบให้กับลูกค้าบางรายภายในสิ้นปีนี้
ตอนนี้สายการผลิตฮาร์ดดิสก์ระดับองค์กรของ Western Digital ประกอบไปด้วย
Amazon เข้าซื้อบริษัท E8 Storage สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลจากอิสราเอล เพื่อนำคนของบริษัทมาช่วยพัฒนาเทคโนโลยีให้กับบริการคลาวด์ AWS
E8 Storage จะเน้นพัฒนาฮาร์ดแวร์แบบแฟลชสตอเรจสำหรับองค์กรและ software-defined cloud ซึ่ง E8 ระบุว่าฮาร์ดแวร์ของบริษัทให้ประสิทธิภาพสูงกว่า all-flash-arrays อื่น ๆ สูงสุดถึง 10 เท่า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ให้ประสิทธิภาพที่แน่นอนรวมถึงมี latency ต่ำ
บริษัท E8 Storage เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งในปี 2014 และในปี 2016 บริษัทระดมทุนได้ถึง 12 ล้านดอลลาร์ โดยมีผู้ลงทุนได้แก่ Accel, Magma Venture Partners และ Vertex Ventures
หลังการเข้าซื้อบริษัท Amazon จะนำทีมและเทคโนโลยีไปรวมกับศูนย์พัฒนาของ AWS ที่ Tel Aviv
ในโลกยุคคลาวด์ อาจเหลือพื้นที่ให้กับผู้ขายฮาร์ดแวร์ฝั่งองค์กรน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งทางออกที่พบเห็นบ่อยๆ คือสู้ไม่ได้ก็เข้าร่วมมันซะเลย
NetApp ผู้ขายอุปกรณ์สตอเรจชื่อดัง ก็เริ่มผันตัวมาในทิศทางนี้เช่นกัน (นอกจากการขยายไปยังบริการด้านอื่น เช่น Kubernetes) โดยอาศัยจุดเด่นด้านสตอเรจความเร็วสูง ที่มีฟีเจอร์ด้านองค์กรครบครัน เยอะกว่าที่บริการสตอเรจทั่วไปที่ผู้ให้บริการคลาวด์มีให้ (เช่น ฟีเจอร์ด้าน disater recovery, data tiering, snapshot, provisioning)
NetApp จึงจับมือกับผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ทั้ง 3 เจ้า ออกสตอเรจเกรด NetApp เวอร์ชันคลาวด์ในชื่อ NetApp Cloud Volumes ให้เช่าใช้งานกับบนคลาวด์ได้โดยตรง
จากข่าวเก่าเมื่อเดือนเมษายนที่ไมโครซอฟท์ได้แจ้งการปรับพื้นที่ว่างขั้นต่ำของ Windows 10 May 2019 Update (v1903) เพิ่มเป็น 32 GB ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ Windows เดิมที่มีสตอเรจไม่เพียงพอ โดยไม่ได้การชี้แจงในประเด็นนี้แต่อย่างใด
ล่าสุดได้มีประกาศจากไมโครซอฟท์ที่ให้ความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยได้ระบุว่า
เราเห็น Toshiba เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ความจุ 16TB สำหรับตลาดองค์กรไปตั้งแต่ช่วงต้นปี (แต่สินค้ายังไม่วางขายเป็นการทั่วไป) ฝั่งของ Seagate ก็ไล่ตามมาด้วยฮาร์ดดิสก์ 16TB ที่พร้อมวางขายทันที
ฮาร์ดดิสก์ 16TB ของ Seagate แบ่งออกเป็น 2 รุ่นคือ
ช้ากว่าที่สัญญาไว้เล็กน้อย แต่ SanDisk เริ่มวางขาย microSD ขนาด 1TB ที่เปิดตัวตั้งแต่ต้นปีในสหรัฐอเมริกาแล้ว (ผมเช็คกับหน้าเว็บของ SanDisk Thailand ตอนนี้ยังไม่มีรุ่นความจุ 512GB/1TB วางขาย)
รุ่นที่วางขายแล้ววันนี้คือ SanDisk Extreme microSDXC ความเร็วในการอ่านสูงสุด 160 MB/s ความเร็วในการเขียนสูงสุด 90 MB/s โดยความจุใหม่ที่วางขายคือ
SanDisk ยังมีการ์ด microSD เกรดที่เหนือกว่าคือ Extreme Plus และ Extreme Pro ที่มีความเร็วในการอ่านสูงกว่า (เป็น 170 MB/s) แต่รุ่นความจุ 512GB/1TB ยังไม่มีสินค้าวางขายในตอนนี้
ในงาน Dell Technologies World 2019 ที่ลาสเวกัส วันที่ 2 นอกจากการเปิดตัวโน้ตบุ๊คชุดใหญ่ ยังมีการเปิดตัวโซลูชันสำหรับจัดการด้านข้อมูล และโครงสร้างพื้นฐานอีกชุดใหญ่เช่นกัน
สตอเรจมิดเรนจ์รุ่นใหม่ โดย Dell EMC Unity XT มีความเร็วเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากรุ่นก่อนหน้า ทำ Data Reduction ได้ถึงระดับ 5:1 และประสิทธิภาพระบบดีขึ้น 85% รวมทั้งเป็นการออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานคลาวด์จากหลายผู้ให้บริการ (Multi-Cloud) สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลไปยังพับลิกคลาวด์ได้ผ่าน Dell EMC Cloud Storage Services และสร้างบล็อกได้สำหรับ Dell Technologies Cloud เริ่มจำหน่ายเดือนกรกฎาคม 2019
ไมโครซอฟท์ปรับสเปกขั้นต่ำของ Windows 10 May 2019 Update (v1903) จากเดิมที่ต้องการพื้นที่ว่าง 16GB (32 บิท) หรือ 20GB (64 บิท) เพิ่มมาเป็น 32GB ในทั้งสองเวอร์ชัน
สาเหตุที่ Windows 10 v1903 ต้องการพื้นที่สตอเรจมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการจองพื้นที่ว่างอีกประมาณ 7GB เพื่อเก็บไฟล์อัพเดตหรือไฟล์ชั่วคราวอื่นๆ แต่ไมโครซอฟท์ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดมากนักว่าทำไมถึงต้องเป็น 32GB ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก 16GB ในเวอร์ชันก่อน (v1809 หรือเก่ากว่านั้น)
Western Digital บริษัทด้านสื่อการเก็บข้อมูลชื่อดัง ประกาศเปิดตัว Blue SSD รุ่นใหม่ในวันนี้ มีรหัสรุ่นว่า SN500
ของสำคัญได้แก่ การขยับขึ้นไปใช้ NVMe ที่เป็น interface เชื่อมต่อและรับส่งข้อมูลสำหรับ SSD สมัยใหม่ ทำให้ส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิมถึง 3 เท่า จากมาตรฐานการเชื่อมต่อของ SATA ผลิตโดยใช้เทคโนโลยี 3D NAND สามารถทำความเร็วในการอ่านได้สูงสุด 1,700 MB ต่อวินาที และเขียน 1,450 MB ต่อวินาที (สำหรับโมเดลที่ความจุ 500 GB) ในขณะที่ยังกินพลังงานเพียง 2.7 วัตต์เท่านั้น
หลังจากให้ผู้ใช้งานในสหรัฐฯได้อัพเกรดจาก Google Drive เป็น Google One ไปเมื่อเดือนพฤกษาคมปีที่แล้ว ล่าสุด ผู้ใช้งาน Google Drive ในไทย สามารถอัพเกรดใช้งานแพ็กเกจ Google One ได้แล้ววันนี้ โดยเพิ่มแพ็กเกจใหม่ ราคา 99 บาท ได้พื้นที่ใช้งานถึง 200 GB
หลังจากอัพเกรดเป็น Google One ผู้ใช้สามารถแชร์พื้นที่ใช้งานให้กับครอบครัวได้ 5 คน โทรหรือแชทพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยตอบคำถามปัญหาต่างๆ และยังเพิ่มสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เช่น ส่วนลดโรงแรม Hostel ต่างๆ ได้อีกด้วย
อัพเกรดเป็น Google One โดยมีราคาแพ็กเกจต่างๆ ดังนี้,
SanDisk เปิดตัวการ์ด SanDisk Extreme UHS-I microSDXC ขนาด 1TB ที่เร็วที่สุดในตลาดตอนนี้
ตัวการ์ดออกมาพร้อมกันสองรุ่น คือ 512GB และ 1TB โดยรุ่น 1TB มีความเร็วในการอ่าน 160MB/s ความเร็วในการเขียน 90MB/s ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงกว่าเสปค UHS-I ที่กำหนดความเร็วในการอ่าน 100MB/s การ์ดทั้งสองรุ่นทำ IOP ได้ตามสเปค A2 หรือ อ่าน 4000 IOPS และเขียน 2000 IOPS
เริ่มวางขายเดือนเมษายนนี้ รุ่น 1TB ราคา 449.99 ดอลลาร์ หรือประมาณ 14,000 บาท และรุ่น 512GB ราคา 199 ดอลลาร์หรือประมาณ 6,200 บาท
ซัมซุงประกาศเริ่มผลิตหน่วยความจำแบบฝัง eUFS 2.1 ขนาดความจุ 1TB สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยจะใช้ชิป V-NAND แบบ 16 เลเยอร์ อัตราการอ่านข้อมูลแบบ sequential read อยู่ที่ 1000 MB/s เร็วกว่า eUFS ความจุ 512GB ที่มี sequential read ที่ 860 MB/s และเร็วกว่า SSD ขนาด 2.5 นิ้ว สองเท่า
Western Digital ผู้ผลิตสตอเรจเปิดตัว SSD รุ่นใหม่ในไลน์ WD Black ชื่อรุ่น Black SN750 ที่มากับสปีดตามโฆษณาที่ 3,470MB/s สำหรับการเล่นเกมโดยเฉพาะ
ตัว SSD เป็นแบบการ์ดเสียบบนสล็อต M.2 2280 มีชิปด้านเดียว ทำงานบนบัส PCI-E Gen 3 x4 ความจุสูงสุด 2TB แปะมาพร้อมฮีตซิงค์ระบายความร้อนที่ร่วมดีไซน์กับ EKWB แบรนด์ชุดระบายความร้อนด้วยน้ำชื่อดังรายหนึ่ง (ส่วนตัวมองว่าสวยดี, มีแบบไม่มีฮีตซิงค์ขายด้วย)
WB Black SN750 มีตั้งแต่ความจุ 250GB ไล่ระดับขึ้นไปถึง 2TB ความเร็วอ่านสูงสุดอยู่ที่ 3,470MB/s ตามโฆษณา ส่วนความเร็วเขียนอยู่ที่ 1,600-3,000MB/s แล้วแต่รุ่น ราคาเริ่มต้นที่ 79.99 เหรียญสหรัฐ ถึง 499.99 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,540 บาท ถึง 15,870 บาท)
ที่มา - WD
IDC รายงานภาพรวมของตลาดสินค้าโครงสร้างพื้นฐานไอที (IT Infrastructure) สำหรับคลาวด์ ได้แก่ เซิร์ฟเวอร์, สตอเรจระดับองค์กร และสวิตช์อีเธอร์เน็ต ของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 พบว่ามีการเติบโต 47.2% จากช่วงเดียวกันในปี 2017 มีรายได้รวมมากกว่า 16,800 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวรวมทั้งการขายอุปกรณ์สำหรับคลาวด์แบบ Public และ Private หากคิดตัวเลขรวมไปถึงระดับผู้ให้บริการคลาวด์ รายได้รวมจะอยู่ที่ 65,200 ล้านดอลลาร์
คลาวด์แบบ Public เป็นรายได้ส่วนใหญ่ของตลาดอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐาน คิดเป็น 68.8%
Toshiba เปิดตัวฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ MG08 Series ที่มีความจุถึง 16TB ถือว่าใหญ่ที่สุดในวงการ ณ ตอนนี้ (ใหญ่ที่สุดก่อนหน้านี้คือ 12TB และ 14TB ในซีรีส์ MG07)
ฮาร์ดดิสก์รุ่นนี้ใช้เทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์อัดก๊าซฮีเลียม (เพื่อลดแรงเสียดทานของจานหมุน) เป็นรุ่นที่สอง ภายในมีจานหมุนทั้งหมด 9 จาน ที่ความเร็ว 7,200 rpm ในขนาด 3.5 นิ้วมาตรฐาน เลือกเชื่อมต่อได้ทั้ง SATA และ SAS
ฮาร์ดดิสก์ซีรีส์ MG ถือเป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับลูกค้าองค์กร และเน้นความจุมากกว่าความเร็ว (Enterprise Capacity HDD)
ที่มา - Toshiba, Notebookcheck
Lexar ผู้ผลิตสินค้าหน่วยความจำที่เพิ่งจะย้ายไปอยู่ภายใต้ Longsys ได้เปิดตัวการ์ด SDXC ใหม่ Professional 633x ที่ขนาด 1TB
สเปคของตัวการ์ด SDXC รุ่นใหม่นี้ เป็นการ์ด Class 10 UHS-I ที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด มีความเร็วในการอ่านสูงสุดที่ 95MB/s สามารถอัดวิดีโอ Full HD, 4K และ 3D ได้ รวมถึงรองรับการถ่ายภาพไฟล์ RAW นาน ๆ โดยไม่ต้องเปลี่ยนการ์ด
Lexar วางจำหน่ายที่ 499.99 ดอลลาร์หรือราว 16,000 บาท และทางบริษัทได้จัดแสดงสินค้าชิ้นนี้ในงาน CES 2019 ด้วย
ที่มา - Lexar
วงการสตอเรจถ้านับเฉพาะกลุ่มแฟลชในเพลานี้ก็ดูเหมือนมีผู้เล่นหลายรายเหมือนกัน ล่าสุด Seagate เปิดตัว SSD อีกสองรุ่นย่อยในไลน์เดิมด้วยสเปคน่าสนใจ คือ BarraCuda 510 (ความจุ 256 และ 512GB) และ FireCuda 510 (จุ 1TB และ 2TB) ที่มาในฟอร์มของการ์ดไซส์เสียบในสล็อต M.2 2280 วิ่งที่สปีด PCI-E 3.0 x4 ความเร็วอ่านเขียนคุยกันที่หลักพัน MB/s คือทั้งสี่ความจุอ่านที่ 3400 MB/s และ เขียนที่ 2100MB/s สำหรับ BarraCuda และ 3150MB/s สำหรับ FireCuda
ทั้งคู่ประกัน 5 ปี ใช้ชิปคอนโทรลเลอร์ Phison PS5012-E12, ใช้ชิปแฟลช NAND ของ Toshiba แบบ 3D TLC ราคายังไม่ระบุ กำหนดจำหน่ายเดือนมีนาคมปีนี้
Pure Storage เคยพลิกวงการสตอเรจองค์กรมาแล้วครั้งหนึ่ง จากการเสนอโซลูชันสตอเรจแบบแฟลชล้วน (All-Flash Array) ในปี 2009 ท่ามกลางตลาดที่ยังคงนิยมใช้งานสตอเรจแบบฮาร์ดดิสก์ ทำให้ Pure Storage ประสบความสำเร็จอย่างสูง และขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ไปเมื่อปี 2015
แต่เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนไป สตอเรจแฟลชแบบ NVMe ความเร็วสูงเริ่มมีราคาถูกลง ทำให้การใช้สตอเรจ NVMe ในองค์กรเริ่มใกล้ความจริงขึ้นมาเรื่อยๆ และในที่สุด Pure Storage ก็ออกผลิตภัณฑ์ตระกูล FlashArray//X ที่เป็นแฟลชแบบ NVMe ล้วนมาจับตลาดนี้
บทความนี้จะพาไปรู้จักกับโซลูชัน FlashArray//X ของ Pure Storage ให้มากขึ้น
QNAP เปิดตัวสตอเรจรุ่นใหม่ HS-453DX ใช้ซีพียู Intel J4105 โดยจุดเด่นสำคัญคือช่องสตอเรจมากเป็นพิเศษ ทั้งช่อง 3.5 นิ้วสำหรับฮาร์ดดิสก์หรือ SSD แบบ hotswap 2 ช่อง และช่อง M.2-2280 อีก 2 ช่อง
นอกจากช่องสตอเรจแล้ว ยังมีแลนอีก 2 ช่องแบบ 10Gbps และ 1Gbps อย่างละช่อง, พอร์ต USB-C 3.0, USB 3.0 2 ช่อง, USB 2.0 2 ช่อง, พอร์ต HDMI 1.4b และ 2.0 อย่างละช่อง รองรับรีโมต QNAP RM-IR004
ตัวเครื่องใช้ลินุกซ์ QTS ของทาง QNAP เอง ราคายังไม่แจ้ง
ที่มา - QNAP
ก่อนหน้านี้ AWS มีบริการเก็บข้อมูลบนเครือข่าย network file system (NFS) ชื่อ Amazon EFS ซึ่งเหมาะกับการใช้งานบนลินุกซ์เซิร์ฟเวอร์ทั่วไป เมื่อต้องการแชร์ข้อมูลระหว่างเซิร์ฟเวอร์หลายตัว เพราะใช้โปรโตคอล NFS ที่เป็นมาตรฐานของฝั่งยูนิกซ์อยู่แล้ว
วันนี้ที่งาน AWS re:Invent ทาง AWS ก็ได้เปิดบริการเก็บข้อมูลลักษณะเดียวกันเพิ่มเติม เพื่อเจาะกลุ่มผู้ใช้งานเฉพาะทางมากขึ้น ดังนี้