ซัมซุงประกาศลงทุนวิจัยด้าน IoT ในสหรัฐอเมริกาเป็นเงิน 1.2 พันล้านดอลลาร์ในอีก 4 ปีข้างหน้า โดยจะกระจายงานไปยังศูนย์วิจัยของซัมซุง 3 แห่งคือ Samsung Strategy and Innovation Center, Global Innovation Center, Samsung Research America
Wall Street Journal รายงานว่าเงินก้อนนี้จะถูกแบ่งไปใช้ลงทุนวิจัยภายในบริษัท และการลงทุนในสตาร์ตอัพอื่นอย่างละครึ่งเท่าๆ กัน (อีกสักพักเราคงเห็นซัมซุงไล่ลงทุนในบริษัท IoT มากขึ้น) Oh-Hyun Kwon รองประธานและซีอีโอของซัมซุงบอกว่าบริษัทกำลังผลักดัน IoT เข้ามาเป็นแกนกลางของยุทธศาสตร์ด้วย
ในขณะที่โครงการทำรถยนต์อัตโนมัติของ Apple ยังคลุมเครือ กลุ่มอดีตวิศวกรที่มีส่วนสำคัญในการผลิต iPod และ iPhone ของ Apple ออกมาเปิดบริษัทชื่อว่า Pearl Automation Inc. เพื่อเดินหน้าเรื่องนี้โดยเฉพาะ เป้าหมายของบริษัทคือผลิตอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อรถไร้คนขับ โดยผลิตภัณฑ์แรกจะเป็นกล้องติดด้านหลังรถ เปิดขายเต็มที่ในสหรัฐฯช่วงเดือนกันยายน ตอนนี้เปิดให้พรีออเดอร์แล้ว
ดร.ทักษิณ ชินวัตร เข้านั่งตำแหน่งผู้อำนวยการบริษัท Scentrics Information Security Technologies Limited ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว และตอนนี้บริษัทนี้กำลังหาทุนเพิ่มเติม
Scentrics ระบุว่ามีเทคโนโลยีเข้ารหัสสำหรับการส่งต่อข้อความที่ปลอดภัย แต่ยังสามารถถอดรหัสได้เมื่อได้รับคำร้องขอจากเจ้าหน้าที่ โดยตอนนี้มีรายงานว่าลูกค้ารายแรกของบริษัทคือผู้ให้บริการสื่อสารรายหนึ่งในสิงคโปร์ ที่ซื้อเทคโนโลยีนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Smart Nation ของรัฐบาล
เมื่อวานนี้ Mark Zuckerberg โพสต์ Facebook ประกาศว่ามูลนิธิใหม่ที่ก่อตั้งโดยเขาและ Priscilla Chan ภรรยา ลงทุนในสตาร์ทอัพจากแอฟริการายหนึ่งชื่อว่า Andela ที่สร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ สร้างโปรแกรมเมอร์ชาวแอฟริกาให้มีโอกาสทางการงานในบริษัทไอทีรายใหญ่ ส่วนเม็ดเงินลงทุนมีรายงานข่าวว่าสูงถึง 24 ล้านดอลล่าร์
Capsules เป็นสตาร์ทอัพขายเสื้อผ้าออนไลน์ ที่มีเป้าหมายลดปริมาณเสื้อผ้าต่อคน ให้ลูกค้าซื้อเสื้อผ้าน้อยกว่าที่เคยซื้อ หวังช่วยลดการใช้แรงงานผลิตเสื้อผ้าที่ผิดกฎหมาย
วิธีการทำงานของ Capsules เริ่มจากมีพาเลทสี แบบเสื้อผ้าให้ผู้ใช้เลือกผ่านแอพพลิเคชั่น จากนั้นโปรแกรมจะทำการ mix and match ให้ลูกค้าดูก่อนจะกดสั่งซื้อ เพื่อให้ลูกค้าแน่ใจว่า เสื้อผ้าชิ้นนี้สามารถนำไปจับคู่ใส่กับอีกหลายชิ้นได้หลายแบบ ใส่ได้หลายโอกาส นอกจากนี้ ทาง Capsules ยังรับบริจาคเสื้อผ้าจากผู้ใช้ เพื่อลดจำนวนเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วอีกด้วย
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ตั้งบริษัทลูกชื่อ Digital Ventures ทำ FinTech วันนี้ Digital Ventures ประกาศลงทุนครั้งแรก โดยเข้าไปลงทุนในกองทุน Golden Gate Ventures (GGV) ของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในสตาร์ตอัพภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่ผ่านมา GGV ลงทุนในสตาร์ตอัพไทยหลายราย เช่น Claim Di, Omise, Orami, Stamp, Noonswoon, ServisHero เป็นต้น โมเดลของกองทุน GGV คือบริหารเงินจากกองทุนหรือบริษัทยักษ์ใหญ่อีกทอดหนึ่ง ที่ผ่านมา GGV ได้เงินลงทุนจาก Temasek, Naver รวมถึง Eduardo Saverin หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Facebook ด้วย (ขนาดของกองทุนตอนนี้มากกว่า 60 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ก็ไม่เปิดเผยว่า SCB ลงทุนเท่าไรใน GGV)
Anna Fang ซีอีโอของ ZhenFund บริษัท Venture Capital ของจีน ขึ้นเวทีงานสัมมนา Converge ของหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ที่ฮ่องกง
พิธีกรถามเธอว่าถ้ารัฐบาลจีนอยากให้นวัตกรรมเติบโตขึ้น 10 เท่า และสามารถทำได้เรื่องเดียว รัฐบาลควรทำอย่างไร คำตอบของ Anna คือขอให้รัฐบาลอยู่เฉยๆ (stay away) จะดีที่สุด
เธอยกตัวอย่างกรณีการกู้เงินแบบ P2P (P2P lending) ซึ่งรัฐบาลไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวหรือกำกับดูแลเป็นระยะเวลาหนึ่ง ผลออกมาดีเพราะปล่อยให้ตลาดจัดการตัวเอง
ไมโครซอฟท์ประกาศตั้งทีมลงทุนชื่อ Microsoft Ventures เพื่อลงทุนในสตาร์ตอัพระยะแรก ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์มีเอี่ยวกับสตาร์ตอัพอยู่ 2 ทางคือการลงทุนในบริษัทสตาร์ตอัพที่เปิดมาระยะหนึ่งแล้ว กับโครงการ Microsoft Accelerator ที่ช่วยบ่มเพาะบริษัทเกิดใหม่ ยังขาดเครื่องมือสำหรับสนับสนุนสตาร์ตอัพระยะที่อยู่ตรงกลาง ซึ่ง Microsoft Ventures เข้ามาเติมเต็มช่องว่างตรงนี้
เบื้องต้น Microsoft Ventures จะโฟกัสไปที่เมืองซานฟรานซิสโก ซีแอทเทิล นครนิวยอร์ก และกรุงเทลอาวีฟของอิสราเอล ก่อนจะขยายไปยังภูมิภาคอื่นๆ ในอนาคต ส่วนธุรกิจที่ไมโครซอฟท์สนใจก็สอดคล้องกับตัวธุรกิจหลัก ตั้งแต่คลาวด์ที่ต่อยอด Azure, ต่อยอด Windows/HoloLens หรือสร้างผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับ Office 365
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ร่วมมือกับ RISE ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (corporate accelerator) เปิดตัวโครงการบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ตอัพด้าน FinTech ในชื่อว่า Krungsri RISE
โครงการจะเปิดรับสมัครสตาร์ตอัพสาย FinTech จำนวน 10 ราย เข้าร่วมแคมป์บ่มเพาะธุรกิจนาน 8 สัปดาห์ เพื่อเร่งสปีดการเติบโตของสตาร์ตอัพ ก่อนช่วยหานักลงทุนทั้งในไทยและต่างประเทศมาช่วยลงทุนต่อไป
จุดเด่นของ Krungsri RISE นอกจากเน้นสตาร์ตอัพด้าน FinTech ยังมีเรื่องโปรแกรมการบ่มเพาะที่ไม่ตายตัว แต่ปรับตามความต้องการของผู้เข้าร่วม, เชิญผู้เชี่ยวชาญและสตาร์ตอัพรุ่นพี่มาแนะนำและให้ประสบการณ์, พื้นที่ทำงานที่อาคารอัมรินทร์พลาซ่า (ชิดลม) อีกทั้งไม่มีข้อกำหนดเรื่องการถือหุ้นของสตาร์ตอัพที่เข้าร่วมโครงการด้วย
สัญญาณว่าวงการสตาร์ตอัพในสหรัฐเริ่มหยุดความร้อนแรงลง เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดบริษัท Agari เจ้าของเทคโนโลยีตรวจสอบอีเมลปลอม (phishing) ประกาศระดมทุนรอบใหม่ Series D อีก 22 ล้านดอลลาร์ จากนักลงทุน 7 บริษัท (รวมแล้วระดมทุนมาทั้งหมด 45 ล้านดอลลาร์)
สตาร์ตอัพกลุ่มความปลอดภัยไซเบอร์ เป็นกลุ่มบริษัทที่นักลงทุนให้ความสนใจมากอยู่ช่วงหนึ่ง (ปีที่แล้ว มียอดเงินระดมทุนรวมถึง 3.3 พันล้านดอลลาร์) แต่ในปีนี้ สถานการณ์ด้านการระดมทุนถดถอยลงมาก และ Agari ถือเป็นบริษัทล่าสุดที่ระดมทุนได้สำเร็จ (บริษัทเปิดมาตั้งแต่ปี 2009) ซึ่งซีอีโอ Pat Peterson ก็ยอมรับว่าการระดมทุนรอบนี้ยากขึ้นมาก
ปัจจุบันกระแสความนิยมในการเป็นเจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ในยุคดิจิตอล หรือการทำสตาร์ทอัพกำลังมาแรงเป็นกระแส ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และบริษัท ดิจิตัล เวนเจอร์ส จำกัด ก็เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว และได้เข้าร่วมจัดกิจกรรมในงาน Startup Thailand 2016 ที่ผ่านมา
โดยไฮไลท์สำคัญคือกิจกรรม Exclusive Mentoring Session from SCB ที่มีเหล่ากูรูสตาร์ทอัพถึง 18 คน มาเผยเคล็ดลับต่างๆ ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์สำหรับนักธุรกิจสตาร์ทอัพเป็นอย่างมาก โดย Blognone ขอเสนอเคล็ดลับเด็ดจาก 4 กูรูสตาร์ทอัพ ดังนี้
ยุคนี้ใครก็ทำสตาร์ทอัพ แม้แต่ Sundar Pichai ซีอีโอของ Google ก็ออกมายอมรับว่า บริษัทมีแผนจะตั้งศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพให้กับพนักงานในชื่อ Area 120
ซีอีโอ Google ระบุว่าโครงการนี้ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างมากนัก โดยเหตุผลในการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะ ก็เพื่อต้องการสนับสนุนและผลักดันให้พนักงานคิดโปรเจ็คใหม่ๆ รวมถึงผลักดันพนักงานที่อยากจะกลายเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งปกติ Google เองก็จะอนุญาตให้พนักงานใช้เวลาประมาณ 20% ของเวลางานในแต่ละวัน ไปกับโปรเจ็คอื่นๆ ที่ไม่ใช่งานหลักอยู่แล้ว
ที่มา - Forbes
ช่วงนี้อะไรๆ ก็สตาร์ตอัพ แม้กระทั่งแพ็กเกจโทรศัพท์ก็มีเวอร์ชันสตาร์ตอัพแล้ว แพ็กเกจนี้เป็นของ AIS ฝั่ง SME ออกโปรโมชั่นชื่อ Startup Package สำหรับลูกค้าธุรกิจ "เพิ่งเริ่มต้น" ราคาเดือนละ 1,299 บาท ในแพ็กเกจประกอบด้วย
Sony ประกาศว่าได้เข้าร่วมลงทุนกับ Cogitai บริษัทสตาร์ทอัพด้านปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถเรียนรู้ได้เองจากประสบการณ์จริงของสหรัฐอเมริกา เป็นจำนวนเงินที่ไม่เปิดเผย
Dr. Satinder Singh ผู้ร่วมก่อตั้ง Cogitai ระบุว่าการสร้างปัญญาประดิษฐ์ให้เรียนรู้ได้ด้วยตัวเองถือเป็นความท้าทายสำคัญ และการที่ปัญญาประดิษฐ์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองนั้นถือเป็นก้าวต่อไป โดยบทบาทของ Sony นอกจากจะเป็นผู้ร่วมลงทุนแล้ว ยังจะทำงานร่วมกับทาง Cogitai ด้วย
บรรดานักลงทุน Venture Capital (VC) จะพิจารณาตัวชี้วัดหลายอย่างก่อนเลือกลงทุนในสตาร์ทอัพใดๆ ซึ่งที่ผ่านมาตัววัดที่นิยมกันมากก็คือ จำนวนผู้ใช้งาน (users), ยอดดาวน์โหลด, อัตราการเติบโตของรายได้ แต่ปัญหาคือตัวชี้วัดเหล่านี้บ่งบอกว่าธุรกิจเติบโตก็จริง แต่ไม่ได้รับประกันว่าจะมีกำไร ทำให้เหล่า VC ตอนนี้เริ่มให้ความสำคัญว่าสตาร์ทอัพนั้นมีความสามารถกำไรได้หรือไม่ เป็นตัววัดแรก
เรื่องนี้จึงทำให้เหล่าสตาร์ทอัพในอเมริกาโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ On-Demand (Uber for X) ต้องกำหนดนิยามคำว่า มีกำไร กันใหม่ เพื่อให้ธุรกิจตนยังอยู่ในความสนใจของ VC ต่อไป
ในงานนำเสนอล่าสุดของ Y Combinator ประโยคทองหนึ่งที่เหล่าสตาร์ทอัพล้วนใช้กันจึงกลายเป็นคำว่า "เรามีกำไรแล้ว" ซึ่งก็เหมือนกับ Uber เองที่ระบุว่าธุรกิจของตนมีกำไรแล้วในอเมริกาและแคนาดา เพียงแต่คำว่ามีกำไรของสตาร์ทอัพเหล่านี้อาจไม่ใช่กำไรแบบที่คนรู้จักกัน
เว็บไซต์ข่าวเศรษฐกิจ Financial Review รายงานข่าวที่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่า ASX หรือตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาระเบียบใหม่ โดยจะเข้มงวดในด้านเกณฑ์ทางการเงินกับบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนที่ ASX ซึ่งอาจมีผลต่อการระดมทุนของสตาร์ทอัพได้ (ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียเปิดให้บริษัทต่างชาติมาจดได้ด้วย)
ตามข่าวลือดังกล่าวนี้ ASX อาจจะพิจารณาปรับเพิ่มเกณฑ์ทรัพย์สินที่จับต้องได้ (tangible asset) สำหรับบริษัทที่จะจดทะเบียน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท PEAK Asset Management ให้ความเห็นว่าอาจจะกำหนดมูลค่าสูงถึง 10 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 250 ล้านบาท) ซึ่งทำให้บริษัทสายสตาร์ทอัพบางส่วนอาจจะไม่สามารถจดทะเบียนได้นั่นเอง
เว็บไซต์ Business Insider รายงานว่าสตาร์ตอัพในสหรัฐอเมริกา เริ่มลดผลประโยชน์หลายอย่างของพนักงานลง เพื่อปรับลดค่าใช้จ่ายของบริษัท เช่น
วันสองวันนี้โลกออนไลน์กำลังตื่นตัวถึงกระแสฟองสบู่ของสตาร์ตอัพ ที่ถูกปั่นมูลค่าให้เกินจริงและถูกขายทิ้งจนเหลือตัวจริงไม่กี่ราย ซึ่งดัชนีหนึ่งที่ชี้วัดเหตุการณ์นี้ได้คือยอดขาย "โต๊ะปิงปอง" ที่เหล่าองค์กรสตาร์ตอัพมักมีประจำสำนักงาน
Wall Street Journal มีรายงานนี้ ซึ่งไปสัมภาษณ์ Simon Ng เจ้าของร้าน Billiard Wholesale ที่ Twitter มักสั่งโต๊ะปิงปองบ่อยๆ จนถึงช่วงปลายปี 2014 ยอดสั่งซื้อก็หายไป ซึ่งในปีที่ผ่านมาเจ้าของร้านรายนี้โชว์ตัวเลขยอดขายโต๊ะปิงปองตกลงกว่าครึ่งเมื่อไตรมาสที่ผ่านมา ทิศทางเดียวกับจำนวนดีลของการลงทุนในสตาร์ตอัพที่หดลงเหลือแค่ 1 ใน 4 ของไตรมาสแรกในปีที่แล้ว ดูกราฟนี้ได้ในที่มาครับ
ที่มา - WSJ
Wall Street Journal ออกมาเตือนว่าฟองสบู่สตาร์ตอัพในสหรัฐ กำลังจะแตกในเร็วๆ นี้ แถมตอนนี้ยังมีบริษัทระดับ Unicorn (มูลค่าเกิน 1 พันล้านดอลลาร์) หลายแห่งเริ่มทยอยปลดคนออกแล้ว
WSJ พูดถึงกรณี ไตรมาสแรกปี 2016 ไม่มีบริษัทขายหุ้น IPO เลย แต่ในช่วงไตรมาสเดียวกัน การระดมทุนจาก venture capital กลับเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ โดยอ้างมุมมองของ Keith Rabois นักลงทุนจาก Khosla Ventures ที่เคยผ่านฟองสบู่ดอทคอมปี 2000 มาก่อน (สมัยนั้นเขาเป็นผู้บริหารของ PayPal) ว่าสภาพการณ์คล้ายกัน คือนักลงทุนจะมีช่วง "ปฏิเสธความจริง" อยู่ประมาณ 3-4 เดือน เมื่อหมดช่วงนี้แล้ว ภาวะตลาดแตกจะเริ่มต้นขึ้น
Rabois ยังบอกว่าภาวะการระดมทุนนอกตลาดครั้งใหญ่ในช่วงนี้ เป็นสัญญาณเตือนภัยว่าบริษัทสตาร์ตอัพกำลังเร่งระดมทุนครั้งสุดท้ายก่อนฟองสบู่แตก (เขาใช้คำว่า Winter is coming) เพื่อถือครองเงินสดเอาไว้ก่อน ก่อนที่ฟองสบู่จะแตกและหาเงินลำบาก ตัวอย่างคือบริษัท Mixpanel เจ้าของระบบเก็บสถิติแอพ ระดมทุนมาได้ 77 ล้านดอลลาร์ แต่ใช้ไปเพียง 10% เท่านั้น เงินที่เหลือยังกองอยู่ในธนาคารด้วยซ้ำ
สัปดาห์ที่ผ่านมาเรามีงาน Startup Thailand 2016 ซึ่งถือเป็นงานด้านสตาร์ตอัพงานใหญ่งานแรก ที่ภาครัฐไทยลงมาเป็นเจ้าภาพอย่างเต็มตัว ผลการจัดงานประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในแง่ผู้เข้าชม (ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการที่ผมทราบมาคือ "มากกว่า 3 หมื่นคน") และในแง่ความรับรู้ของคนทั่วไป
ผมมีโอกาสไปเดินดูงานในวันสุดท้ายคือวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พบว่าคนเยอะมาก บางช่วงถึงกับเดินฝ่าเข้าไปไม่ได้เลย จากการเดินชมงานก็มีความเห็นและข้อสังเกตดังนี้
กองทุน 500 TukTuks ประกาศลงทุนในสตาร์ตอัพwไทยชุดที่ 2 (Batch 2) อีก 10 บริษัท ส่งผลให้ตอนนี้มีบริษัทที่ลงทุนรวมแล้ว 20 บริษัท (ข่าวเก่าของ 10 บริษัทแรก)
บริษัท 10 รายที่อยู่ใน Batch 2 ได้แก่
งาน Startup Thailand 2016 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เปิดตัวธุรกิจสตาร์ทอัพของไทยกว่า 200 ราย พร้อมทั้งหน่วยงานสนับสนุนสตาร์ทอัพจากต่างประเทศ เป้าหมายของงานคือ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้สตาร์ทอัพไทย และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการที่สนใจสร้างสตาร์ทอัพ
จึงเก็บบรรยากาศและตัวอย่างบริษัทสตาร์ทอัพส่วนหนึ่ง (มีเยอะมาก) ในงานวันแรก (28 เมษายน) มาให้ชมกัน
InVent หน่วยลงทุนของบริษัท Intouch ประกาศลงทุนในบริษัท Wongnai สตาร์ตอัพรีวิวร้านอาหารและร้านค้า โดยเป็นการลงทุนระดับ Series B ครั้งแรกของ InVent ด้วย
นายธนพงษ์ ณ ระนอง ผู้บริหาร InVent บอกว่าตลาดสตาร์ตอัพในไทยกำลังเติบโต แต่ส่วนใหญ่ยังเน้นที่ระดับ Seed และ Series A กันเยอะ แต่ยังไม่มีใครลงทุนระดับ Series B ขึ้นไปมากนัก ในปีนี้ InVent จึงพยายามหันมาเน้นที่การลงทุน Series B และกรณีของ Wongnai ก็ถือครั้งแรกที่บริษัทคนไทยลงทุน Series B ในบริษัทคนไทยด้วยกัน ถือเป็นประวัติศาสตร์ของวงการสตาร์ตอัพไทยด้วย
Ant Financial Services บริษัทให้บริการธุรกรรมทางการเงินออนไลน์บน Alibaba ประกาศระดมทุนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์คราวเดียวถึง 4,500 ล้านดอลลาร์ (1.58 แสนล้านบาท) ทำลายสถิติเดิมของ Meituan-Dianping เว็บดีลของประเทศจีนเช่นเดียวกันเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยมูลค่ากิจการของ Ant Financial ล่าสุดอยู่ราว 60,000 ล้านดอลลาร์
ผู้ที่ร่วมลงทุนในครั้งนี้มีทั้งกองทุนรวมขนาดใหญ่ของจีน, บริษัทประกันชีวิต ตลอดจนกลุ่มธนาคาร โดยมีทั้งหุ้นเพิ่มทุนและหุ้นปัจจุบันที่จำหน่ายออกมาโดยผู้บริหารบางส่วน
บริการสำคัญของ Ant Financial ที่หลายคนรู้จักดีก็คือ Alipay ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มชำระเงินบน Alibaba นอกจากนี้ Ant Financial ก็มีบริการทางการเงินอื่นที่ครอบคลุม อาทิ Yu'e Bao กองทุนรวมออนไลน์ และ MYbank ธนาคารออนไลน์
Ant Financial แยกตัวออกมาจาก Alibaba ก่อนที่ Alibaba จะเข้าตลาดหุ้น ซึ่ง Ant Financial เองก็มีแผนจะเข้าตลาดหุ้นภายในปีนี้ โดยยังไม่กำหนดประเทศที่จะจดทะเบียน และน่าจะเป็นไอพีโอครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์อีกหนึ่งรายการ
เว็บไซต์ข่าว The Information รายงานข่าววงในว่ากูเกิลเตรียมแก้ปัญหาพนักงานลาออกไปเปิดสตาร์ตอัพ โดยเปิดศูนย์บ่มเพาะสตาร์ตอัพชื่อ Area 120 ที่พนักงานสามารถเสนอโครงการ 20% ตามเวลาว่าง มาทำแบบเต็มเวลาได้
พนักงานต้องเสนอแผนธุรกิจ และถ้าผ่านการอนุมัติก็สามารถนั่งทำงานโครงการที่ตัวเองสนใจได้แบบเต็มเวลา และไม่ต้องกังวลว่าจะเสียสถานะพนักงานกูเกิลไป หากโครงการไม่ประสบความสำเร็จในภายหลัง