Blognone Full Coverage
จบไปเรียบร้อยกับงาน Bangkok Ingress Meetup #1 เมื่อวานนี้ ผมก็มาเล่าบรรยากาศผ่านภาพและวิดีโอสำหรับคนที่ไม่ได้ไปนะครับ
งานนี้มีผู้เข้าร่วมประมาณ 60 คน มีทั้งฝ่าย Enlightened และ Resistance จำนวนใกล้เคียงกัน (แต่ฝั่ง Enlightened มีเลเวล 8 มาร่วมงานหลายคน ส่วน Resistance มี 2 คน เป็นฝรั่งที่มาเมืองไทยช่วงนี้พอดีหนึ่งคน)
หลังงานเปิดตัว Samsung Galaxy S4 ผู้สืบทอดของสมาร์ทโฟนระดับเรือธงตระกูล Galaxy S ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาเป็นอย่างมากทั้งในแง่บวกและแง่ลบ
ในฐานะที่ผมมีโอกาสมาร่วมงานเปิดตัว Galaxy S4 ได้ลองจับของจริง และพูดคุยกับผู้บริหารของซัมซุงอยู่บ้าง ก็อยากวิเคราะห์-วิจารณ์ทิศทางและท่าทีของซัมซุงต่อการเปิดตัว S4 ครั้งนี้ด้วยครับ
ตามที่เคยประกาศไว้ว่าผมได้รับคำเชิญมาร่วมงานเปิดตัว Galaxy S4 ที่นิวยอร์ก ตอนนี้งานแถลงข่าวเสร็จสิ้นไปแล้ว รายละเอียดต่างๆ ติดตามได้จากข่าว ซัมซุงเปิดตัว Galaxy S4 สมาร์ทโฟนตัวท็อปปี 2013, ใช้ซีพียูแปดคอร์ตัวแรกของโลก นะครับ
ตอนนี้ก็ได้เวลา hand-on หรือ "ลองจับ" เครื่องจริงที่มีให้ทดสอบหลังงาน อย่างไรก็ตามเครื่องมีจำกัดและคนเยอะมาก (เท่าที่ทราบคือเชิญแขกสามพัน) ต้องตบตีกับสื่อต่างชาติอยู่พอสมควรกว่าจะได้ทดสอบเป็นเวลาสั้นๆ ครับ นั่นแปลว่าหลายๆ คำถามที่ฝากเอาไว้ก็ยังไม่ได้คำตอบ ต้องรอทดสอบตอนเครื่องรีวิวอีกทีหนึ่ง
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้รับเชิญจากซัมซุงประเทศไทยไปร่วมงาน Samsung Forum 2013 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งก็ลงข่าวด่วนอย่าง ทดลองจับ Samsung Galaxy Note 8.0 ไปบ้างแล้ว
งาน Samsung Forum 2013 เน้นการอธิบายข้อมูลของสินค้าใหม่ๆ ประจำปีนี้ให้กับสื่อและตัวแทนจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก ไม่ได้เป็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่สุดๆ แบบเดียวกับงาน CES/MWC หรืองานแถลงข่าวเฉพาะกิจของซัมซุงเอง
อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์หลายตัวที่โชว์ในงานก็น่าสนใจ และเป็นตัวสะท้อนทิศทางของซัมซุง (ซึ่งตอนนี้กลายเป็นยักษ์ใหญ่ของโลกไอทีไปแล้ว) ในระยะยาวได้เป็นอย่างดีครับ โพสต์นี้ก็ขอสรุปประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจับตาดังนี้
เดิมที Java มักถูกวิจารณ์ในแง่ของแนวทางในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความซับซ้อน และซอฟต์แวร์ที่ได้ใช้ทรัพยากรระบบมาก แต่ก็ยังเป็นแพลตฟอร์มได้รับความนิยมเนื่องเพราะ จำนวน ความหลากหลาย และขีดความสามารถของไลบรารี จำนวนผู้ใช้งาน ความปลอดภัย ค่าใช้จ่าย (ฟรี) ฯลฯ แต่หลังจากที่ Oracle ได้ซื้อ Java ไปจาก Sun ข่าวไม่ดีต่าง ๆ ได้ออกมาจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัย (เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, แอปเปิล, ไมโครซอฟท์) การฟ้องร้อง และ
บทความโดย จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์บางฉบับวิพากษ์วิจารณ์การพิจารณาอนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมให้แก่บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไปในทางที่ว่า กสทช. อนุมัติใบอนุญาตให้แก่บริษัทไทยคมฯ โดยไม่ได้มีการประมูลคลื่นความถี่ ทั้งมิได้ประมูลวงโคจรให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 แต่ประการใด
แอพลิเคชันในปัจจุบัน โดยเฉพาะแอพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพานั้น จำเป็นต้องอ่านและเขียนข้อมูลกับเซิฟเวอร์มากขึ้นด้วยหลายๆ เหตุผล เช่น เพื่อให้แอพลิเคชันแสดงข้อมูลข่าวสารล่าสุดได้ตลอดเวลา เพื่อให้ข้อมูลของผู้ใช้จัดเก็บบนกลุ่มเมฆ สามารถเรียกใช้ได้ไม่ว่าจากเครื่องใดๆ เป็นต้น นั่นหมายความว่า นอกจากนักพัฒนาจะต้องพัฒนาแอพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ แล้ว ยังต้องพัฒนาแอพลิเคชันสำหรับเซิฟเวอร์เพื่อติดต่อกับอุปกรณ์ รวมถึงต้องดูแลระบบให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
ในตอนนี้เราจะแนะนำวิธีการใช้งาน Microsoft Azure Mobile Service ที่ช่วยให้เราสร้างระบบที่จำเป็นสำหรับการจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ รวมถึงระบบ push notification ได้ง่าย รวดเร็ว และไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลระบบ หรือการรองรับผู้ใช้ปริมาณมากๆ อีกด้วย
เมื่อปลายปีที่แล้ว ทีมผลิตภัณฑ์ทีมหนึ่งของกูเกิลที่ชื่อ NianticLabs ได้เปิดตัวเกมพกพา Ingress สู่สาธารณะ (ข่าวเก่า: Ingress เกมยึดโลกจาก Google) และได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง
Ingress เป็น "เกม" ลูกผสมระหว่างแนวคิดเรื่อง location-based service, augmented reality และ massively multiplayer online ที่ใช้อุปกรณ์พกพา (ปัจจุบันยังมีแค่ Android) เป็นอุปกรณ์ในการเล่น (แนวคิดของตัวเกมไม่ซับซ้อนแต่อธิบายลำบากหน่อย ซึ่งจะกล่าวต่อไป)
ความเปลี่ยนแปลงหลังจากการเปลี่ยนผ่านไปยังโลกแห่ง IPv6 หากสำเร็จลงได้ จะนำฟีเจอร์สำคัญของระบบไอพีที่มีมาแต่ต้น คือ เครื่องทุกเครื่องสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายแบบใดๆ เพราะมีชั้นของไอพีครอบไว้ให้ทำงานเหมือนกันทั้งหมด
ด้วยแอดเดรสที่มีมากถึง 2^128 หมายเลขไอพีจะไม่ใช่สิ่งที่ต้องแจกจ่ายอย่างจำกัดอีกต่อไป ตัวอย่างของการจำกัดการใช้งานไอพีทุกวันนี้ เช่น บริการบรอดแบนด์ตามบ้าน ที่จะจ่ายหมายเลขไอพีมาให้เพียงทีละหมายเลขเท่านั้น ทั้งที่ภายในบ้านมักมีอุปกรณ์เป็นจำนวนมากเชื่อมต่ออยู่พร้อมกัน
ในตอนที่ผ่านมา เราได้สร้างหน้าตาของแอพลิเคชัน Text Editor กันแล้ว ในตอนนี้เราจะทำความเข้าใจ Lifecycle ของแอพลิเคชันบน Windows 8 App Store กันให้มากขึ้น ก่อนจะเพิ่มความสามารถหลักของแอพลิเคชันนี้ นั่นคือ อ่านและเขียนไฟล์นั่นเอง
เดิมทีเมื่อเราพัฒนาแอพลิเคชันสำหรับพีซี แอพลิเคชันของเราจะเริ่มทำงานเมื่อผู้ใช้ (หรือระบบ) เรียกมันขึ้นมา จากนั้นแอพลิเคชันก็จะทำงานไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้ใช้จะปิดแอพลิเคชัน หรือปิดเครื่องไป
หมายเหตุ: บทความนี้เป็นเวอร์ชันปรับปรุงของบทความเดียวกันในไทยรัฐออนไลน์
ช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผมมีโอกาสไปเที่ยวประเทศพม่าหรือเมียนมาร์ เพื่อนบ้านทางทิศตะวันตกของเราที่กำลังเนื้อหอมมาก เลยถือโอกาสเก็บประเด็นในแง่สถานการณ์การใช้งานไอทีในพม่ามารายงานครับ
ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่า ผมไปเที่ยวครั้งนี้ในฐานะ “ทัวริสต์” ไปกับทัวร์เต็มรูปแบบ ไม่ได้แบกเป้ไปเที่ยวเองแต่อย่างใด ดังนั้นข้อมูลที่ได้จึงมาจากการสังเกตป้ายโฆษณาตามท้องถนน และสอบถามจากไกด์ท้องถิ่นเป็นหลัก อาจจะไม่ถูกต้อง 100% กับสถานการณ์จริงในประเทศพม่า
หลังจากเราติดตั้งซอฟต์แวร์ที่จำเป็นเรียบร้อยแล้ว ในตอนนี้เราจะทดลองสร้างแอพลิเคชันให้ผู้ใช้สร้างและแก้ไขไฟล์ข้อความกัน โดยในตอนนี้เราจะเริ่มสร้างหน้าจอหลักๆ กันก่อน
แอพลิเคชันส่วนใหญ่มักจะมีหลายหน้าจอ รวมถึงแอพลิเคชันที่เรากำลังจะสร้างด้วย เพื่อความง่ายเราจะสร้างแอพลิเคชันจากเทมเพลตที่ Visual Studio เตรียมไว้ให้เลย ดังนี้
บทความชุดนี้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเริ่มต้นสำหรับผู้ที่สนใจพัฒนาแอพบน Windows 8 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบใหม่ที่เพิ่งเผยแพร่สู่ตลาดพร้อมกับ Windows 8 และยังขาดเอกสารหรือคู่มือภาษาไทยอีกมาก
บทความชุดนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด แต่เนื้อหาทั้งหมดเขียนโดยทีมงาน Blognone
แอพบน Windows 8 (เดิมทีเรียก Metro app แต่ภายหลังไมโครซอฟท์เปลี่ยนคำเรียกเป็น Windows Store app) ต่างไปจากแอพบนวินโดวส์แบบเดิมๆ มาก โดยมีลักษณะคล้ายกับแอพบนอุปกรณ์พกพามากกว่า
เทคโนโลยีเบื้องหลังของแอพเหล่านี้คือ WinRT ซึ่งเป็น API ชุดใหม่ที่เพิ่งมีใน Windows 8 และเทียบได้ใกล้เคียงกับ Win32 API ในวินโดวส์รุ่นก่อนๆ
หากย้อนเวลากลับไปก่อนหน้าเดือนมิถุนายนของปีนี้ ความคิดที่ว่าไมโครซอฟท์จะทำคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งแท็บเล็ตนั้น อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด และแน่นอนว่าการเปิดตัวแท็บเล็ตของไมโครซอฟท์ย่อมสร้างความฮือฮาให้กับอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และผู้ใช้งานโดยทั่วไป ดังจะเห็นได้จากทั้งเสียงในเชิงลบและเชิงบวก แต่ในเวลานั้น ยังไม่เคยมีใครได้เห็นแท็บเล็ตตัวนี้ นอกเหนือไปจากที่งานเปิดตัว จนกระทั่งวางขายพร้อมกับการเปิดตัว Windows 8 ในราคาที่เริ่มต้นเท่ากับเจ้าตลาดอย่าง Apple iPad เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
เกริ่นก่อน: ผมเป็นแค่ผู้เข้าร่วมงานนะครับ แต่ประทับใจงาน เลยอยากบันทึกไว้เฉยๆ :)
งาน "Business on the Move: เทคนิคการทำงานแบบเคลื่อนที่ ทุกที่ ทุกเวลา" จัดโดย GBG Bangkok ที่ K-SME Knowledge Center อาคารจามจุรีสแควร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมาครับ ในงานนี้ ทุกคนเข้าร่วมได้ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีเงื่อนไขเพียงข้อเดียวคือ "ต้องติดขนมมาแบ่งคนอื่นด้วย!"
ในงานมีคนเมพๆ มาร่วมวงเสวนา เปิดเผยข้อมูล และแชร์วิถีการทำงานกันอย่างคับคั่ง ทั้งคุณ @iPattt @iMenn @ripmilla และคุณ @pawoot ครับ
วันนี้ RIM จัดงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนาในระดับเอเชีย BlackBerry Jam Asia 2012 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
บทความนี้สรุปเนื้อหาจากงานส่วน keynote ช่วงเช้าวันเปิดงาน ซึ่งก็มีข้อมูลใหม่ๆ ของแพลตฟอร์ม BB10 เพิ่มเติมมาอีกบางส่วน เช่น การเปลี่ยนชื่อ BlackBerry App World เป็น BlackBerry World และโชว์คีย์บอร์ดภาษาไทยบน BB10
เมื่อวานนี้ (27 พฤศจิกายน) ผมได้มีโอกาสไปร่วมอบรมการพัฒนาโปรแกรมโดย HTML 5 บน BlackBerry 10 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน BlackBerry Jam Asia 2012 ในงานมีการให้นักพัฒนาที่ไปอบรมได้ "ยืมเครื่อง" ตัวต้นแบบ (prototype) ที่เรียกว่า BlackBerry Dev Alpha B สำหรับทำการทดลองโปรแกรมที่สอนเขียนกันในวันนั้นทั้งวัน โดยต้องคืนหลังเสร็จงาน (ไม่มียืมแบบหิ้วกลับบ้าน)
ผมจึงถือโอกาส "รีวิว" เครื่อง BlackBerry Dev Alpha B ไปในตัวครั้งเดียว พร้อมๆ กับการรีวิว BlackBerry 10 Beta เพื่อที่จะได้เห็นถึงแนวทางของ BlackBerry ที่กำลังดำเนินไปอยู่ โดยจะปูพื้นหลังคร่าวๆ จากนั้นจึงไปส่วนตัวเครื่อง ซอฟต์แวร์ และจบที่ความเห็นสรุปปิดท้าย
ผู้อ่าน Blognone คงเคยได้ยินชื่อของ ITU หรือชื่อเต็มๆ คือ International Telecommunication Union กันมาบ้าง เพียงแต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าหน่วยงานนี้ตั้งขึ้นมาทำไม และมีเป้าหมายอย่างไร
ช่วงนี้เราเห็นข่าวเรื่อง "ข้อตกลงการสื่อสารระหว่างประเทศ" (ITR) กันพอสมควร เนื่องจากใกล้งานประชุมเพื่อแก้ไข ITR ในเดือนธันวาคมเข้ามาเรื่อยๆ และตัวร่างของ ITR ที่เสนอเข้ามาก็มีประเด็นขัดแย้งหลายจุด (ข่าวเก่า สหรัฐฯ ประกาศคว่ำข้อตกลงการสื่อสารระหว่างประเทศฉบับใหม่ และ สรุปประเด็นเรื่องการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตของ ITU)
เพื่อความเข้าใจอันดี บทความชิ้นนี้จะแนะนำประวัติความเป็นมาและบทบาทหน้าที่ของ ITU ในเบื้องต้นก่อน จากนั้นเราจะเข้าสู่รายละเอียดของ ITR ในบทความตอนต่อไปครับ
หมายเหตุ: บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Mozilla Foundation เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับข้อตกลง ITR แก่ชุมชนผู้ใช้ไอทีในประเทศไทย
ในคืนนี้หลังจากแอปเปิลเปิดตัวสินค้าชิ้นใหม่อย่าง iPad 4 และ iPad Mini ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในหลายๆ แง่ ดังนั้นผมเลยขอนำมาเขียนเป็นบทความวิเคราะห์ให้อ่านกันครับ
ขอชี้แจงให้ทราบว่าบทความนี้เขียนจากมุมมอง ข้อคิดเห็น และความคิดส่วนตัวเท่านั้นครับ
ท่ามกลางกระแสความนิยมของแท็บเล็ตขนาดจอ 7" ที่ได้รับความนิยมด้วยเหตุผลของความสะดวกในการพกพา ผมคาดว่าแอปเปิลน่าจะเล็งเห็นความสำคัญของตลาดลูกค้าที่ต้องการแท็บเล็ตขนาดพอดีมือที่สามารถทำงานทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันสตีฟ จ็อบส์ก็เชื่อมาโดยตลอดว่าแท็บเล็ตขนาด 7" มีขนาดเล็กไป และมนุษย์จำเป็นต้องมีนิ้วมือที่เล็กลงเพื่อที่จะสามารถสั่งงานบนหน้าจอขนาดนั้นได้
BlackBerry Playbook จัดเป็นหนึ่งในอุปกรณ์พวกแท็บเล็ตรุ่นแรกๆ ของกระแสความนิยมแท็บเล็ตในตลาดยุคปัจจุบัน (iPad เปิดตัวครั้งแรกเมื่อมกราคมปี 2010 ส่วน Playbook
เนื่องจากผมได้เห็นหลาย ๆ คนได้พูดถึงประเด็นเรื่องของผลกระทบจากการที่ Apple เปลี่ยนพอร์ตเชื่อมต่อจากแบบ 30-pin เป็น Lightning จึงขอนำบทความที่เขียนลงในบล็อกของผม ซึ่งเป็นการมองการเปลี่ยนแปลงนี้ในมุมของทางผู้ผลิตอุปกรณ์เสริม มาแชร์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ
หลายคนคงไม่ปฎิเสธว่า iPhone คือสมาร์ทโฟนที่มีอุปกรณ์เสริมเยอะและหลากหลายที่สุด เรามักจะเจออุปกรณ์เสริมแปลก ๆ ที่เพิ่มความสามารถที่คาดไม่ถึงให้กับ iPhone อยู่เสมอ
และแล้ววันเวลาก็วนมาครบรอบปีอีกครั้ง แอปเปิลเปิดตัว iPhone 5 ซึ่งก็มีทั้งคนผิดหวังและสมหวัง (ดูผลโหวตจากโพล)
Blognone ลงข่าวเกี่ยวกับคดีนี้ไปเยอะมากๆ แล้ว (ขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมเขียนด้วย) รายละเอียดย้อนกลับไปอ่านกันเองในข่าวเก่านะครับ
บทความนี้จะเน้นไปที่ผลกระทบถัดจากนี้ต่อทั้งสองบริษัท และวงการไอทีในภาพรวมครับ เนื่องจากประเด็นมีเยอะ ผมจะใช้วิธีเขียนแบบ bullet เพื่อไม่ให้ประเด็นตีกัน
โลกการเงินทุกวันนี้ถูกควบคุมด้วยธนาคารชาติต่างๆ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารชาติต่างๆ มีอำนาจในการกำหนดค่าเงินของตัวเองด้วยกระบวนการต่างๆ เช่น การกำหนดระดับดอกเบี้ย, เงินสำรองของธนาคาร, หรือการพิมพ์เงินออกมาสู่ตลาด นอกจากการกำหนดค่าเงินแล้ว หน่วยงานเหล่านี้ยังมีอำนาจในการตามรอยการเงินของผู้ใช้ผ่านทางการควบคุมธนาคาร รัฐบาลประเทศต่างๆ มีอำนาจในการหยุดธุรกรรมทางการเงินของบุคคลได้ หรือการกระทำอย่างสุดโต่งเช่นในปี 1987 ที่รัฐบาลพม่าประกาศยกเลิกธนบัตร 25, 35, และ 75 จ๊าด โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้าทำให้เงินหายไปจากระบบถึง 75%
หลังจาก กสทช. เคาะราคาการประมูล 3G แล้ว เริ่มต้น 4,500 ล้านบาทต่อ 5 MHz ก็เปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะต่อหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่น 2.1GHz สำหรับการประมูล 3G (ฉบับร่าง) เป็นเวลา 30 วัน (จนถึงวันที่ 28 กรกฎาคมนี้)
ในโอกาสนี้ผมก็ขอมาสรุปเนื้อหาสำคัญในร่างประกาศชุดนี้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามได้ง่ายขึ้นครับ