ได้มีการตรวจพบ Trojan ตัวแรกที่แฝงอยู่ในโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android โดย Trojan ตัวนี้จะเป็น Extension สกุล .APK ขนาดเล็ก (เพียง 13 kb) ที่จะคอยทำให้โทรศัพท์นั้นส่ง SMS ไปที่เบอร์ที่ถูกตั้งรหัสไว้โดยเรียกเก็บค่าบริการ
Kaspersky พบว่า Trojan ตัวนี้มีชื่อว่า Trojan-SMS.AndroidOS.FakePlayer.a โดย Kaspersky ให้คำแนะนำว่าผู้ใช้ควรตรวจสอบการเข้าถึงของระบบที่ Android จะถามก่อนการติดตั้งแอพพลิเคชันทุกครั้ง เพราะเมื่อกดอนุญาตสุ่มสี่สุ่มห้าก็อาจสามารถทำให้โทรศัพท์ Android เครื่องนั้นติด Trojan นี้ได้
ช่วงหลังๆ เราเริ่มได้ยินข่าวประเทศต่างๆ ออกกฎห้ามโทรศัพท์-ส่ง SMS ขณะขับรถกันมากขึ้น (ดูข่าวเก่า กรณีของนิวซีแลนด์) รายล่าสุดคือสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะไม่ออกเป็นกฎหมาย แต่ก็ออกมาเป็นกฎสำหรับข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาลแล้ว
กฎใหม่นี้ห้ามลูกจ้างของรัฐบาล (รวมถึงทหารและบุรุษไปรษณีย์) จำนวนทั้งหมด 4.5 ล้านคน ไม่ให้ส่ง SMS ขณะขับรถยนต์ และสถานการณ์เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
ถ้าอยู่นอกเวลางาน ใช้รถยนต์และมือถือของตัวเอง ก็อาจส่ง SMS ขณะขับรถได้ แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะผิดกฎหมายของบางรัฐได้เช่นกัน
โครงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ผ่านทางข้อความนี้ เป็นความร่วมมือของกูเกิล และมูลนิธิเพื่อการกุศลกรามีน โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ยากจน และไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
โดยมีการสำรวจพบว่ามีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือถึงเก้าล้านคนที่ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ กูเกิลจึงจัดตั้งโครงการนี้โดยผู้มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ สามารถส่งข้อความไปยังศูนย์บริการเพื่อสอบถามได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และจะมีการตอบคำถามกลับมาทางข้อความ
รายงานจากสื่อของรัฐบาลจีนได้ออกมาพูดถึงความเป็นไปได้ที่จะจำกัดการส่งข้อความผ่านมือถือในแต่ละวัน เพื่อต่อสู้กับข้อความที่มีลักษณะเข้าข่ายสแปม
การส่งข้อความสแปมนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวมเร็ว และหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และไม่ใช่เรื่องแปลกเลยถ้าหากว่าในวันๆ หนึ่งจะได้รับข้อความสแปมเหล่านี้มากกว่าสิบข้อความ
โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทั้งสามอย่าง China Telecom, China Mobile Ltd และ China Unicom ต่างก็ตกลงในสัญญาที่จะร่วมต่อสู้กับข้อความสแปมเหล่านี้
หากข้อบังคับนี้เริ่มบังคับใช้ จะมีผลทำให้ไม่สามารถส่งข้อความได้มากกว่า 200 ข้อความต่อชั่วโมงในวันธรรมดา 500 ข้อความต่อชั่วโมงในวันหยุด และ 1,000 ข้อความในวันธรรมดา 2,000 ข้อความในวันหยุด
นิวยอร์ค โพสต์ ตีพิมพ์ข่าว เด็กหญิงอายุ 13 ปีในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ส่งข้อความสั้น หรือ เอสเอ็มเอส (SMS) กว่า 484 ข้อความทุกวันตลอดเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หรือโดยเฉลี่ยเธอจะส่งข้อความสั้น 1 ข้อความทุกๆ 2 นาที ซึ่งพ่อของเธอกล่าวว่า มีบิลค่าโทรศัพท์มาเรียกเก็บค่าใช้บริการ SMS ของลูกสาวกว่า 440 หน้า เป็นค่าส่ง 14,528 ข้อความ
ข้อมูลจากบริษัทวิจัย Nielsen ระบุว่า แต่ละเดือนหนุ่มสาวอเมริกันอายุ 13 – 17 ปี มีการส่งข้อความสั้นเฉลี่ยเดือนละ 1,742 ข้อความ
องค์กรควบคุมความปลอดภัยของนิวเคลียร์ (Radiation and Nuclear Safety Authority) หรือ STUK ของฟินแลนด์ ออกมาเตือนบรรดาผู้ปกครองว่า ควรควบคุมการใช้งานโทรศัพท์มือถือของเด็กให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ และกล่าวด้วยว่า ถึงแม้ในขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า การใช้โทรศัพท์มือถือบ่อยครั้งและแต่ละครั้งนานเกินควรนั้นจะมีอันตรายต่อมนุษย์หรือไม่ แต่เด็กๆ ก็ไม่ควรใช้งานเกินปกติในขณะที่ยังไม่ทราบผล
STUK เตือนผู้ปกครองด้วยว่า ควรให้คำแนะนำให้เด็กใช้บริการส่งข้อความสั้น (SMS) แทนการพูดคุยโทรศัพท์ และใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรี รวมทั้งควรจำกัดการใช้โทรศัพท์ต่อวันของเด็กด้วยเพื่อความปลอดภัย
บริษัทมือถือในทวีปยุโรปได้รายงานตัวเลขของ SMS ที่ถูกส่งออกไปในช่วงคืนวันสิ้นปีจนถึงวันปีใหม่ ซึ่งปรากฎว่าของปี 2009 นี้ทำลายสถิติของปีก่อนกันถ้วนหน้า
The New York Times ได้รายงานว่าสิ่งหนึ่งที่ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในสหรัฐไม่อยากให้ผู้ใช้รู้เกี่ยวกับการเทกซ์หรือการส่ง SMS ก็คือต้นทุนที่แท้จริง เพื่อที่จะเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดจากความโมโหของผู้ใช้บริการที่ถูกเรียกเก็บเงินค่าบริการ SMS ที่เพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัวในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
The Nation รายงานว่ากรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคได้ออกมากล่าวว่า การส่ง SMS โดยนายกฯ อาจจะเข้าข่ายการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลก็ได้
ภายใต้กฏหมายโทรคมนาคม ผู้ให้โอเปรเตอร์ไม่มีสิทธิที่ให้ข้อมูลและรายชื่อของผู้ใช้ของลูกค้าตัวเอง แก่บุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม โดยไม่มีการได้รับอนุญาตจากผู้ใช้งานเอง
นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะอีกว่า นายกรัฐมนตรีควรเลือกใช้การนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์หรือสื่อสาธารณะอื่น ๆ ในการติดต่อสื่อสารกับประชาชน แทนที่จะเลือกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน
ที่มา - The Nation
พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายกรณ์ จาติกวณิช ได้ส่งหนังสือเชิญผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสามค่ายใหญ่คือ เอไอเอส, ดีแทค, และทรูมูฟ เข้าประชุมเพื่อขอความร่วมมือในการส่ง SMS ที่มีข้อความดังนี้
ผม นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ขอเชิญท่านร่วมนำประเทศไทยออกจากวิกฤติ สนใจได้รับการติดต่อจากผม กรุณาตอบ 1 มาที่เบอร์ 9191 (3 บ.)
หากผู้ใช้ทำตามข้อความใน SMS จะมีเสียงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวว่า
ผม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผมทราบดีกว่า พี่น้องประชาชนกำลังเดือดร้อน เครียด ผมจึงตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะทุ่มเทใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ช่วยเหลือ บ้านเมือง แต่ผมคงจะทำไม่สำเร็จหากคนไทยไม่สามัคคีกัน จึงอยากขอโอกาสจากทุกคน
งานวิจัยจากอาจารย์จิตวิทยาชาวออสเตรเลีย แสดงให้เห็นว่า ภาษาอังกฤษแบบย่นย่อที่ใช้ในการส่งข้อความสั้น ทำให้คนอ่านต้องใช้เวลามากขึ้น
Nenagh Kemp อาจารย์วิชาจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยแทสเมเนีย ได้นำนักศึกษา 55 คนมาทดสอบอ่านข้อความ และพบว่า ถึงแม้การใช้ภาษาเมสเซจจะลดเวลาในการพิมพ์ คนอ่านกลับต้องใช้เวลามากขึ้นเป็นเท่าตัวในการอ่านเมื่อเทียบกับภาษาอังกฤษมาตรฐาน โดยข่าวบอกว่า ใช้เวลา 26 วินาทีในการอ่านข้อความแบบย่อ แต่เพียง 14 วินาทีกับข้อความแบบเต็ม
ภาษาย่นย่อเหล่านี้ โดยทั่วไปใช้การตัดอักษรบางตัวออก มักเป็นสระ หรือใช้การสะกดตามเสียงอ่าน เช่น wld l8 4get 2 แทน would late forget และ to ตามลำดับ
วุฒิสมาชิก Herb Kohl ซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการว่าด้วยการค้าผูกขาดของวุฒิสภาสหรัฐฯ ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกไปยังผู้ให้บริการโทรศัพท์ไร้สายสี่รายใหญ่ทั่วประเทศซึ่งมีส่วนแบ่งรวมกันเกินร้อยละ 90 เพื่อให้อธิบายว่าทำไมค่ารับและส่ง SMS ในสหรัฐฯ จึงมีราคาสูงมาก อีกทั้งยังแพงขึ้นเท่าตัวในช่วงสามปีที่ผ่านมา
จดหมายฉบับดังกล่าวแสดงข้อสังเกตว่าต้นทุนในการส่ง SMS นั้นน่าจะต่ำกว่าการให้บริการในส่วนอื่นๆ เช่นเสียงและข้อมูลอินเทอร์เน็ตมาก แต่กลับมีค่าบริการที่แพงกว่าหลายเท่าตัว และนับแต่มีการรวมตัวของผู้ให้บริการหลายครั้ง Sprint เป็นบริษัทแรกที่เริ่มขึ้นค่าบริการ SMS ไปถึงเท่าตัวตามด้วยบริษัทอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง
นอกจากราคาน้ำมันจะขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์แล้ว ในสหรัฐอเมริกา ราคา SMS ก็เพิ่มขึ้นสูงไม่แพ้กัน นับจากปี 2005 ถึงปัจจุบัน SMS ขึ้นราคามาแล้วอีกหนึ่งเท่าตัว
เดิมที SMS ในสหรัฐคิดข้อความละ 10 เซนต์ หลังจากนั้นขึ้นมาเป็น 15 และเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว เครือข่าย Sprint Nextel เป็นผู้นำการขึ้นราคามาเป็น 20 เซนต์ ซึ่งส่งผลให้ AT&T กับ Verizon Wireless ขึ้นราคาตามมาให้เท่ากัน ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออีกรายที่เหลืออยู่คือ T-Mobile เพิ่งประกาศปรับราคาตาม โดยมีผลสิ้นเดือนสิงหาคมนี้
นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Leicester ได้ลองตรวจสอบถึงต้นทุนของการส่ง SMS เทียบกับค่าใช้จ่ายในการรับภาพจากดาวเทียม Hubble พบว่าการส่งข้อมูลผ่าน SMS แต่ละเมกกะไบต์นั้นจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 374.49 ปอนด์อังกฤษ หลังจากนั้นเขาได้สอบถามข้อมูลไปยังองค์กรนาซ่าว่าค่าใช้จ่ายสำหรับการรับภาพจากดาวเทียม Hubble นั้นเป็นเท่าใหร่ จึงได้รับคำตอบว่าอยู่ที่ 8.5 ปอนด์ต่อเมกกะไบต์
อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายของนาซ่ายังไม่ได้รวมถึงค่าบำรุงรักษา และค่าแรงของผู้ดูแลระบบ ทำให้ต้องมีการประมาณการใหม่เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่ายเหล่านี้เข้าไป แต่จากการประมาณการ ค่าใช้จ่ายรวมนั้นไม่มีทางเกิน 85 ปอนด์ต่อเมกกะไบต์ไปได้ ทำให้ค่าส่ง SMS นั้นแพงกว่าอย่างน้อยๆ สี่เท่าตัว
อาจจะได้เวลาหาทางใหม่ๆ ในการส่ง SMS แล้วสินะ
นักจิตวิทยา จาก University of London รายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับการใช้งาน text messaging และ email ที่มีผลต่อ IQ (สนับสนุนโดย Hewlett Packard) โดยแสดงผลของภาวะ Infomania หรือการหมกมุ่นอยู่กับการส่งข้อความผ่านทางช่องทางอิเล็คทรอนิกส์ต่าง ๆ (Electronics Messaging) ซึ่งมีสิ่งที่ทำให้วอกแวกเข้ามาตลอด กลายเป็นปัญหาสำคัญของคนทำงาน โดยเฉพาะผู้ชาย สมองจึงถูกกำหนดให้เตรียมพร้อมรับหลากหลายเรื่อง ตลอดเวลา (always on) แต่มีสมาธิจดจ่ออยู่กับทางที่อยู่ตรงหน้าลดลง เป็นเหตุให้ IQ ลดลงแบบชั่วคราว