หลายครั้งที่เราอาจจะคิดว่าอัลกอริทึมเบื้องหลังของ News Feed บน Facebook ทำให้เราเลือกที่จะรับข่าวสารภายในเครือข่ายสังคม (social network) ของตัวเองมากกว่าที่จะเป็นตัวเราเลือก แต่บทความวิชาการล่าสุดที่ตีพิมพ์โดยนักวิจัยของ Facebook ในวารสารวิชาการ Science กลับระบุว่าแท้ที่จริงแล้ว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวอัลกอริทึมแต่อย่างใด หากแต่เป็นที่ตัวผู้ใช้เองที่เลือกรับข้อมูล
การแข่งขันระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถจดจำและจำแนกประเภทของภาพได้อย่างแม่นยำในปีนี้แข่งขันกันอย่างดุเดือด โดย ไป่ตู้, ไมโคซอฟท์, และกูเกิลล้วนตีพิมพ์ผลสำเร็จใหม่ออกมาห่างกันไม่กี่เดืือน ล่าสุดเดือนนี้ไป่ตู้ก็ตีพิมพ์ผลงานล่าสุดมีความแม่นยำสูงกว่าคู่แข่งทั้งหมดแล้ว โดยมีความผิดพลาดเพียง 4.58% เทียบกับมนุษย์ทั่วไปที่จำแนกภาพได้ความผิดพลาด 5.1% และผลที่ดีที่สุดของกูเกิลก่อนหน้านี้อยู่ที่ 4.82%
การแข่งขันระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถจดจำและจำแนกประเภทของภาพได้อย่างแม่นยำในปีนี้แข่งขันกันอย่างดุเดือด โดย ไป่ตู้, ไมโครซอฟท์, และกูเกิลล้วนตีพิมพ์ผลสำเร็จใหม่ออกมาห่างกันไม่กี่เดือน ล่าสุดเดือนนี้ไป่ตู้ก็ตีพิมพ์ผลงานล่าสุดมีความแม่นยำสูงกว่าคู่แข่งทั้งหมดแล้ว โดยมีความผิดพลาดเพียง 4.58% เทียบกับมนุษย์ทั่วไปที่จำแนกภาพได้ความผิดพลาด 5.1% และผลที่ดีที่สุดของกูเกิลก่อนหน้านี้อยู่ที่ 4.82%
ทีมนักวิจัยจาก IBM Research ประกาศความสำเร็จด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์ใน 2 ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกัน
อย่างแรกคือเทคนิคการตรวจจับความผิดพลาดของควอนตัม แนวคิดของควอนตัมคอมพิวเตอร์มาจากทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ ที่เราไม่สามารถฟันธง "สถานะ" ของอนุภาคได้ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ (ทุกอย่างคือความน่าจะเป็น) เมื่อนำอนุภาคมาทำเป็นบิต (หรือคิวบิต qubit ในภาษาของควอนตัม) จึงต้องมีวิธีตรวจสอบให้ชัดเจนว่าคิวบิตนั้นเป็น 0 หรือ 1
เทคนิคที่ใช้กันในวงการแต่เดิมสามารถตรวจจับข้อผิดพลาดแบบ bit-flip (สถานะผิดจาก 0 เป็น 1 หรือกลับกัน) เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีข้อผิดพลาดอีกแบบที่เรียกว่า phase flip (มุมการหมุนของคิวบิตเพี้ยนไป) ซึ่งเทคนิคใหม่ของ IBM สามารถตรวจจับได้ทั้งสองแบบ
กลุ่มนักวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท็กซัสออกมาเผยผลงานวิจัยที่ได้รับเงินทุนจากซัมซุงด้วยการสร้างระบบระบุตำแหน่งผ่าน GPS สำหรับสมาร์ทโฟนที่เคลมว่าคลาดเคลื่อนในระดับเซนติเมตรเท่านั้น
แม้ว่า GPS ที่สามารถระบุตำแหน่งได้แม่นยำระดับเซนติเมตรจะไม่ใช่ของใหม่ (ใช้ทางการทหาร ภูมิศาสตร์ และทำแผนที่มานานแล้ว) แต่ตัวอุปกรณ์ที่ใช้นั้นขนาดใหญ่ และแพงเกินกว่าจะนำมาใช้ในสมาร์ทโฟน วิธีการที่นักวิจัยกลุ่มนี้ใช้คือการรวมข้อมูล GPS เข้ากับเสาสัญญาณที่มีในสมาร์ทโฟนอยู่แล้ว และจากการที่ได้ตำแหน่งแม่นยำระดับนั้น จึงทำให้สามารถบอกข้อมูลความเอียงแม่นยำระดับ 1 องศาด้วยกัน
หลังจากเปิดตัวแพลตฟอร์ม ResearchKit ไปเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา วันนี้ทาง Apple ได้เปิดให้นักวิจัยทางการแพทย์ สามารถเข้าใช้งาน ResearchKit ได้อย่างเป็นทางการแล้ว โดยนักวิจัยสามารถสร้างแอพหรือโปรแกรม เพื่อนำข้อมูลจากแพลตฟอร์มดังกล่าว มาใช้ประกอบการวิจัยได้แล้ว
ทั้งนี้ Apple ยังเปิดเผยตัวเลขว่าสำหรับแอพชุดแรก ที่เปิดตัวไปพร้อมๆ กับการเปิดตัว ResearchKit มีการใช้งานกับ iPhone แล้วกว่า 60,000 เครื่องทั่วโลก
แม้ว่าชิ้นส่วนของสมาร์ทโฟนจะเล็กลงทุกวันๆ เพื่อหนุนให้สามารถทำสมาร์ทโฟนที่ใช้เนื้อที่ได้คุ้มค่ามากขึ้นเรื่อยๆ แต่หนึ่งในชิ้นส่วนหลักอย่างสายอากาศกลับยังมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ เนื่องจากสายอากาศต้องการพื้นที่มากพอที่จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อติดต่อสื่อสารได้ แต่ดูเหมือนในอนาคตนี้ ข้อจำกัดที่ว่ากำลังจะหายไป ด้วยการนำสายอากาศไปใส่ไว้ในชิปเสียเลย
แนวคิดดังกล่าวเป็นผลงานของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งถูกตีพิมพ์ในบทความวิชาการของ Physical Review ว่าด้วยทฤษฎีการสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในแบบที่ต่างออกไปจากแบบเดิม โดยเรียกวิธีการนี้ว่าการทำลายสมมาตร (symmetry breaking) ของสนามไฟฟ้าให้ประจุไฟฟ้าเริ่มเคลื่อนที่จากการเข้าทำลายสมมาตรเพื่อสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐฯ ตีพิมพ์งานวิจัยแบตเตอรี่ที่ใช้อะลูมิเนียมเป็นขั้ว anode และกราไฟต์เป็นขั้ว cathode
ทีมวิจัยกล่าวว่าแบตเตอรี่นี้จะไม่มีโอกาสระเบิดหรือร้อนจนผิดปกติ (overheating) ได้เลยเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน ถึงแม้จะถูกทำให้เสียหายก็ตาม แบตเตอรี่ที่มีคุณสมบัติไม่ไวต่อปฏิกิริยา (low reactivity) นี้ยังช่วยให้มันสามารถถูกขึ้นรูปบิดงอเข้ากับอุปกรณ์ที่มีรูปร่างที่ยืดหยุ่นได้
นอกจากความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น แบตเตอรี่นี้ยังรองรับการชาร์จไฟเต็มในเวลาเพียงหนึ่งนาที และรองรับการชาร์จซ้ำกว่าหลายพันถึงหลายหมื่นครั้งโดยไม่สูญเสียความสามารถในการเก็บประจุเลย ส่วนต้นทุนการผลิตแบตเตอรี่ก็ถูกลงด้วยการใช้อะลูมิเนียมแทนลิเทียม
เท้าความย้อนถึงงานวิจัยด้านการตัดต่อวิดีโอชื่อ Hyperlaps ผลงานของ Microsoft ที่เผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อราวครึ่งปีก่อน มันคือระบบซอฟต์แวร์ที่ช่วยปรับปรุงคลิปภาพวิดีโอที่ถ่ายด้วยกล้อง action camera ให้ได้เป็นภาพต่อเนื่องที่ลื่นไหล อีกไม่นานมันจะกลายเป็นแอพสำหรับ Windows Phone แล้ว
รายงานข่าวระบุว่าตอนนี้แอพ Hyperlapse ได้รับการพัฒนาและเข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบเป็นการภายในแล้ว แฟนๆ Windows Phone อดใจรอกันอีกนิดก็น่าจะได้เล่นแอพตบแต่งวิดีโอสุดเนียนอันนี้
Facebook โชว์ผลงานวิจัยล่าสุดจากทีมปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) สองอย่างดังนี้
เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ DARPA (Defense Advance Research Project Agency) หรือองค์กรโครงการวิจัยทางความมั่นคงระดับสูง สังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ออกมาระบุว่าได้จัดตั้งโครงการ Brandeis เพื่อวิจัยเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ให้ดียิ่งขึ้น
DARPA ระบุว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้การปกป้องข้อมูลส่วนตัวนั้นไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งฝั่งผู้บริโภคที่ไม่มีกลไกที่ดีพอ และฝั่งผู้ให้บริการที่อาจจะไม่ได้ออกมาตรการคุ้มครองที่ดีพอ ซึ่งทาง DARPA ระบุว่า โครงการนี้จะช่วยทำให้ความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ดีขึ้น และทุกคนจะได้ใช้เทคโนโลยีนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา บริษัท หรือหน่วยงานรัฐของสหรัฐอเมริกา
เมื่อคืนนี้ Apple ได้เปิดตัว Research Kit โดยโฆษณาว่ามันเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยนักวิจัยด้านการแพทย์ (Medical Research -- บางทีเราจะใช้คำว่า Clinical Research ในกรณีที่เก็บคนไข้ที่เป็นคนจริงๆ เพราะ Medical Research นี่รวมทดลองทางการแพทย์ที่ทำในห้องทดลองและสัตว์ทดลองด้วย) เพื่อนำไปในการเก็บข้อมูล และเพิ่มจำนวนคนไข้ที่สมัครใจเข้าร่วมงานวิจัย ผมในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับวงการวิจัยทางการแพทย์ ขอแสดงความเห็นส่วนตัวจากคนที่เคยทำงานวิจัยมาบ้างเล็กน้อยดังนี้ครับ
หนังสือพิมพ์ The New York Times มีบทสัมภาษณ์ Astro Teller หัวหน้าห้องวิจัย Google X ของกูเกิล
จำได้ไหม? พวกเราจำได้ใช่ไหม? ปีที่แล้ว Google เผยแพร่งานวิจัยการใช้โครงข่ายประสาทเทียมที่เรียนรู้จนสามารถแยกแยะวัตถุที่เห็นในภาพต่างๆ ได้ ล่าสุด Microsoft ก็โชว์ผลงานลักษณะเดียวกันนี้ให้เห็นบ้าง โดย Microsoft อ้างว่านี่เป็นครั้งแรกที่ระบบซอฟต์แวร์สามารถเอาชนะมนุษย์ได้สำเร็จในการแยกแยะวัตถุในภาพ
นักวิจัยจาก Swiss Federal Institute of Technology ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และ University of California จากสหรัฐอเมริกานำเสนอผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์คอนแทคเลนส์ที่สามารถซูมภาพขยายใหญ่ได้ 2.8 เท่า โดยผู้ใช้เพียงควบคุมการทำงานด้วยการขยิบตา
ไมโครซอฟท์ รีเสิร์ช ได้ทำต้นแบบ AutoCharge ระบบชาร์จไฟไร้สายโดยการส่องลำแสงจากโคมไฟที่มีกล้องตรวจจับตำแหน่งวัตถุไปยังมือถือที่ติดแผงโซลาร์เซลล์ไว้ AutoCharge สามารถชาร์จมือถือที่วางบนโต๊ะหรืออยู่ในห้อง (อาทิ โคมไฟติดเพดาน) ได้เร็วเทียบเท่ากับการชาร์จไฟแบบมีสาย
จำข่าวเรื่องงานวิจัยสร้างอนุภาคนาโนไหลตามกระแสเลือดเพื่อตรวจหามะเร็งที่ทีม Google X กำลังทำอยู่ได้ไหม ตอนนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า Google X ลงทุนทำผิวหนังมนุษย์เทียมเพื่อใช้ทดสอบการทำงานของอนุภาคที่ว่านี้ด้วย
เว็บไซต์ The Atlantic ได้มีโอกาสบุกเข้าไปชมสถานที่ทำงานของ Google X และสัมภาษณ์ทีมงานเกี่ยวกับงานวิจัยที่ว่านี้ ทั้งยังมีโอกาสได้พบกับชิ้นส่วนแขนมนุษย์ที่ Google X ทำเทียมขึ้นมาเพื่อเลียนแบบร่างกายและใช้ทดสอบการทำงานของอนุภาคนาโนสุดมหัศจรรย์ซึ่งจะทำงานควบคู่กับกำไลหามะเร็งที่ Google X พัฒนาขึ้นมาควบคู่กัน
หนึ่งในความท้าทายของการพัฒนาแบตเตอรี่คือการหาทางทำให้แบตเตอรี่สามารถจ่ายไฟได้มากขึ้นด้วยขนาดเท่าเดิม อีกด้านหนึ่งคือเรื่องความปลอดภัยในการใช้งาน ที่ต้องการกำจัดความเสี่ยงจากการระเบิดหรือลุกไหม้ของแบตเตอรี่ออกไป (หรืออย่างน้อยก็ลดความเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหาย ดังเช่นงานวิจัยของ Stanford เรื่องระบบเตือนก่อนแบตเตอรี่ระเบิด) แต่ตอนนี้นักวิจัยแห่ง University of Michigan ได้ทำทั้ง 2 อย่างให้เป็นจริง โดยอาศัยประโยชน์จากคุณสมบัติของเคฟลาร์
Disney Research เผยแพร่ผลงานใหม่ที่พัฒนาร่วมกับวิทยาลัยด้านวิศวกรรม ETH Zurich จากสวิตเซอร์แลนด์ มันคือหุ่นยนต์รูปเต่าหน้าตาน่ารักชื่อ BeachBot ที่สามารถวาดรูปบนผืนทรายริมชายหาดได้ตามแต่ผู้ควบคุมจะป้อนข้อมูลให้มัน
Baidu ประกาศความสำเร็จในการพัฒนา Deep Speech ระบบจดจำเสียงที่ใช้โครงสร้าง deep learning เข้ามาเรียนรู้เสียงจากโลกความเป็นจริงทำได้สามารถจดจำเสียงได้อย่างแม่นยำ
Andrew Ng ระบุว่างานวิจัย Deep Speech นี้สามารถฟังข้อความได้ถูกต้องแม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงรบกวนสูง รวมถึงพื้นที่ที่ระบบจดจำเสียงทุกวันนี้ไม่สามารถฟังข้อความเข้าใจได้ โดยเขาทดสอบกับระบบที่มีอยู่ในตลาด รวมถึง Google API, Apple Dictation, และ Baidu Speech เอง ระบบ Deep Speech นี้สามารถทำงานได้ดีว่าทุกระบบ
งานวิจัยใหม่จาก Disney Research เผยวิธีสร้างลูกตาที่สมจริงให้ตัวละคร ด้วยการจับลูกตาของคนเป็นมาใส่ให้ตัวละครเสียเลย
"จับ" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการควักลูกตาสดๆ ออกมา แต่หมายถึงการเอากล้องหลายตัวจับภาพลูกตาในหลายมุมพร้อมๆ กันในหลายสภาพแสงเพื่อเก็บรายละเอียดของส่วนต่างๆ ของลูกตามาแบบสามมิติ โดยการแยกบันทึกรายละเอียดของตาขาว, กระจกตา และม่านตานั้นทำให้สามารถสร้างลูกตาที่ตอบสนองต่อสภาพแสงได้เหมือนกับลูกตามนุษย์จริงๆ อีกด้วย เมื่อนำลูกตานี้ไปใช้กับตัวละครแล้วก็จะทำให้มีความสมจริงเพิ่มขึ้นมาก
นักวิจัยของ Autonomous University of Madrid ในประเทศสเปน พบว่าการติดตามกระแสของ Twitter อาจทำให้ประเมินอัตราการว่างงานของผู้คนได้ โดยศึกษาข้อมูลเชิงสถิติของความถี่และช่วงเวลาในการทวีตเนื้อหาของผู้ใช้
ผลการวิจัยระบุว่าพฤติกรรมของคนว่างงานส่วนใหญ่จะมีการกล่าวถึงงานหรือตำแหน่งงานบ่อยครั้ง และมีจะมีทวีตข้อความช่วงเช้าเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีการสะกดคำผิดบ่อยครั้ง ด้วยเกณฑ์การคัดกรองข้างต้นก็ทำให้ผู้วิจัยสามารถประเมินจำนวนคนว่างงานในสเปนโดยสังเขปได้
Disney Research เผยแพร่งานวิจัยที่นำเอาเทคโนโลยีสำหรับการชมสื่อบันเทิง 4 มิติ มาสู่อุปกรณ์เพื่อการรับชมสื่อภายในบ้าน ด้วยโครงการ FeelCraft ที่รวบรวมไลบรารีรูปแบบการสร้างระบบสัมผัสตอบสนองต่อผู้ชมที่สามารถนำไปใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลากหลายประเภท
FeelCraft เป็นซอฟต์แวร์ plug-in ที่จะช่วยให้ระบบซอฟต์แวร์อื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลไฟล์รูปแบบการตอบสนองทางสัมผัสที่ Disney จัดไว้เป็นไลบรารีได้สะดวกยิ่งขึ้น ทีมวิจัยระบุว่ามีการทำรูปแบบการตอบสนองทางสัมผัสเอาไว้ถึง 50 รูปแบบ เป็นต้นว่า การตกจากที่สูง, การขี่ม้า, การโดนฟัน, ฝนตก, การเดิน ฯลฯ
ผลของการจับเอางานวิจัยด้านการรู้จำและแยกแยะวัตถุในภาพของ Google มารวมพลังกับงานวิจัยด้านภาษาธรรมชาติของ Stanford ทำให้ได้ระบบซอฟต์แวร์ที่สามารถทำความเข้าใจองค์ประกอบของภาพถ่าย และบรรยายออกมาเป็นประโยคด้วยถ้อยคำที่เป็นธรรมชาติ
Google ลงนามต่อสัญญาเช่าใช้พื้นที่บริเวณลานบิน Moffett ของ NASA ยาวไปอีก 60 ปี เพื่อใช้สถานที่นั้นสร้างศูนย์วิจัยของบริษัท
ในปัจจุบัน Google ได้เช่าใช้พื้นที่ดังกล่าวมานานหลายปีเพื่อใช้งานเป็นที่ขึ้น-ลงสำหรับเครื่องบินเจ็ทส่วนตัวของบริษัท แต่ล่าสุด Google ก็ตัดสินใจต่อสัญญาเช่าใช้พื้นที่นี้ไปอีก 60 ปี โดยจะจ่ายเงินให้แก่ NASA เป็นจำนวน 1.16 พันล้านดอลลาร์ และในขณะเดียวกันการปล่อยให้ Google เช่าใช้พื้นที่ครั้งนี้จะช่วยให้ NASA สามารถลดค่าใช้จ่ายเพื่อบำรุงรักษาสถานที่ได้อีกปีละ 6.3 ล้านดอลลาร์