Josh Bloch อดีตพนักงานของซันผู้เขียน Java Collections Framework, หนังสือ Effective Java Programming ไบเบิลของคนเขียนจาวา และคลาสสำคัญๆ หลายตัว (ปัจจุบันทำงานที่กูเกิล) ให้ความเห็นเกี่ยวกับอนาคตของจาวาว่า ความแข็งแกร่งของจาวากำลังสั่นคลอน จากปัญหาความสับสนในทิศทางของบริษัทนับตั้งแต่การเข้าซื้อของออราเคิล
Bloch ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เคยเป็นที่สนใจอย่างมากในอดีตอย่าง J2ME ทั้งที่เป็นระบบเปิด แต่ในปัจจุบันแทบจะไม่มีใครพูดถึงและล้าหลังระบบปิดอย่างไอโฟน โดยประเด็นอื่นๆ ที่ Bloch ยกขึ้นมาพูดถึงจาวา เช่น
การวัดความนิยมของภาษาเขียนโปรแกรมนั้นมีวิธีต่างๆ กันไป เช่นค่าย O'Reilly นั้นใช้ยอดขายหนังสือวัดความนิยม ส่วนค่าย TIOBE ที่เป็นข่าวนี้อาศัยเสิร์ชเอนจิน เช่น Google Search, MSN, Wikipedia และเว็บอื่นๆ ในการวัดความนิยม จุดที่น่าสนใจคือภาษา Java นั้นมีค่าดัชนีตกต่ำลงอย่างรวดเร็วในปีที่ผ่านมา จนทำให้ภาษา C กลับมาเป็นที่หนึ่งอีกครั้งหลังจากที่ภาษา Java ครองอันดับหนึ่งมาได้ตั้งแต่ปี 2000
สิบปีที่แล้วเราทุกคนต่างต้องกังวลกับบั๊ก Y2K กันจนทำให้อินเดียบุกตลาดโลกมาได้ แต่บั๊กล่าสุดเมื่อต้นปีที่ผ่านมาอาจจะมีมูลค่าความเสียหายมากที่สุดบั๊กหนึ่งในประวัติศาสตร์ เมื่อผู้ใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตประมาณ 30 ล้านคนทั่วเยอรมันไม่สามารถถอนเงินได้เพราะบั๊กในตัวการ์ด
ผู้ผลิตการ์ดเหล่านี้เป็นบริษัทจากฝรั่งเศสที่ชื่อว่า Gemalto ได้ออกมายอมรับปัญหานี้ และบริษัทกำลังพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยการอัพเดตซอฟต์แวร์บนตัวการ์ด แต่มีความเป็นไปได้ว่าจะต้องเปลี่ยนการ์ดให้กับผู้ใช้ทั้งหมด ซึ่งจะมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 300 ล้านยูโร หรือกว่า 14,000 ล้านบาท
เคยมีคนบอกผมว่าเป็นโปรแกรมเมอร์ให้ดีใจเมื่อเทสเตอร์เจอบั๊ก เจอข่าวนี้แล้วก็ต้องยอมรับว่ามันน่าดีใจจริงๆ
แม้ว่าภายในกูเกิลนั้นจะใช้งานภาษา C++ และ Python อย่างหนักก็ตาม แต่ทั้งสองภาษาก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บางส่วน ภาษา C++ นั้นต้องเสียเวลาในการคอมไพล์นานในการแก้ไขแต่ละครั้ง ส่วนภาษา Python นั้นมีปัญหาเรื้อรังในการรองรับมัลติคอร์ เพื่อแก้ปัญหานี้กูเกิลจึงเสนอ "ทางสายกลาง" ให้กับเราๆ ท่านๆ ด้วยภาษา Go
ภาษา Go เป็นภาษาที่ต้องการการคอมไพล์ เช่นเดียวกับภาษา C++ แต่มีข้อดีกว่าหลายประการคือ
กูเกิลประกาศโครงการแข่งขันเขียนโปรแกรม Google Code Jam จะกลับมาอีกครั้งและเริ่มรับสมัครในกลางเดือนสิงหาคมนี้ โดยในปีนี้จะมีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์การแข่งขันเล็กน้อย คือการแข่งขันทุกรอบจะแข่งแบบออนไลน์ทั้งหมด จากนั้นจะนำ 25 คนสุดท้ายไปแข่งที่กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่เมาน์เทนวิว สหรัฐอเมริกา โดยการเปลี่ยนกฎครั้งนี้คาดว่าอาจจะเป็นเหตุผลเรื่องของการประหยัดงบประมาณ เนื่องจากเมื่อปีที่แล้วรอบก่อนชิงชนะเลิศจะได้ไปแข่งกันที่สำนักงานกูเกิลในทวีปต่างๆ
แนวโน้มฮาร์ดแวร์ที่กำลังต้องการการประมวลผลแบบขนานมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวันนี้มีปัญหาอย่างหนึ่งคือเครื่องมีที่ใช้พัฒนานั้นยังแย่อยู่มาก และนักพัฒนาเองก็บ่นกันเสมอว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบขนานนั้นยากเกินไป ไมโครซอฟท์ก็ปล่อยภาษา Axum ที่ทำงานอยู่บน .NET Framework มาเป็นทางเลือกให้นักพัฒนากัน
ภาษา Axum นั้นโดยสรุปแล้วเป็นภาษาที่ฝังเอาโครงสร้างการส่งข้อมูลระหว่าง Thread ที่ในภาษานี้เรียกว่า Agent เข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของตัวภาษาทำให้การติดต่อระหว่างกันทำได้ค่อนข้างเป็นธรรมชาติกว่าการใช้ไลบรารีเสริมเช่นภาษาอื่นๆ
บางคนอาจจะเคยเห็นชื่อ Parrot ผ่านตากันมาบ้าง แต่ข่าวคราวของโครงการนี้ค่อนข้างเงียบเชียบ ทำให้เราไม่ค่อยทราบความเคลื่อนไหวเท่าไหร่นัก จนกระทั่งไม่กี่วันมานี้ Parrot เวอร์ชัน 1.0.0 รหัส "Haru Tatsu" ก็ได้ออกมาแล้ว
ในเว็บไซต์ของ Parrot ให้คำจำกัดความของ Parrot ไว้ว่า "เวอร์ชวลแมชชีนที่ออกแบบมาให้คอมไพล์และรันไบต์โค้ดของภาษาไดนามิคได้อย่างมีประสิทธิภาพ" โดยมีเป้าหมายให้สนับสนุนภาษา Perl 6, Python, Ruby, Lua, Tcl หรือถ้าพูดให้ง่ายๆ เทียบกับ .NET ก็คือเป็น CLR ของภาษาไดนามิคทั้งหลายนั่นเอง
สำหรับเวอร์ชัน 1.0.0 นี้ สามารถคอมไพล์และรันภาษาแอสเซมบลีของ Parrot และ PIR (Parrot Immediate Representation) ได้แล้ว ส่วนภาษาอื่นๆ ยังอยู่ในช่วงการพัฒนา
อินเทล (Intel) เปิดตัวนิตยสารนำเสนอข้อมูลด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในชื่อ Intel Visual Adrenaline โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์
เนื้อหาจะครอบคุลมเรื่องการใช้ multi-threading และ code optimization ในการเรนเดอร์ภาพกราฟิกส์ในเกมและโปรแกรม และข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการพัฒนา
นิตยสาร Intel Visual Adrenaline เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีในรูปแบบ PDF และออกเผยแพร่เป็นรายไตรมาส (3 เดือน)
ที่มา - Intel Software Dispatch ผ่าน Develop
เป็นสมการง่ายๆ ที่ว่าโปรแกรมที่มี thread เดียว (single thread application) เมื่อนำไปรันบนโปรเซสเซอร์แบบ multi-core แล้วจะให้ผลลัพธ์ไม่ต่างไปจากนำโปรแกรมไปรันบนโปรเซสเซอร์ที่มี core เดียว หากอยากใช้สมรรถนะของ multi-core ให้เต็มที่ เราจำต้องออกแบบและพัฒนาโปรแกรมนี้ให้ประมวลผลแบบขนานตามไปด้วย อย่างเช่นการพัฒนาโปรแกรมให้มีมากกว่า 1 thread และให้แต่ละ thread ทำงานแยกจากกันอยู่บน core คนละหน่วย
เดวิด เคิร์ค (David Kirk) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ NVIDIA Corporation บริษัทผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกราฟฟิกส์รายใหญ่ได้กล่าวว่า "การประมวลผลแบบขนานกำลังมีบทบาทสำคัญยิ่งในยุคนี้" โดยโปรเซสเซอร์ประเภท GPU และ multi-core เป็นเทคโนโลยีที่ต้องการการพัฒนาโปรแกรมให้สามารถประมวลผลแบบขนาน แม้ว่าเราจะสามารถเป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์แบบ multi-core ได้แล้วก็ตามที แต่โปรแกรมหลายตัวที่ถูกพัฒนาขึ้นมายังไม่สามารถใช้สมรรถนะจาก multi-core ได้เต็มที่เนื่องจากโปรแกรมยังขาดความสามารถในการทำงานแบบขนานนั่นเอง
Intel แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ชื่อ Intel Parallel Studio ชุดพัฒนาโปรแกรมเพื่อการประมวลผลแบบขนาน (parallel programming) โดยเน้นไปที่การพัฒนาโปรแกรมบนโปรเซสเซอร์แบบ multi-core และ many-core สำหรับตัวผลิตภัณฑ์ประกอบไปด้วยเครื่องมือ 4 ชุดด้วยกันคือ Parallel Advisor, Parallel Composer, Parallel Inspector, และ Parallel Amplifier
ข่าวนี้สามสี่วันแล้วแต่ผมเพิ่งมีเวลาอ่าน ต้องเกริ่นยาวสักเล็กน้อย
เชื่อว่าทุกคนคงรู้จัก JavaScript แต่บางคนอาจไม่รู้ว่าอีกชื่อหนึ่งของมันคือ ECMAScript (เป็นชื่ออย่างเป็นทางการตามองค์กรที่ดูแลมาตรฐาน ECMA ซึ่งเดิมย่อมาจาก European Computer Manufacturers Association) ECMAScript มีภาษาย่อยในตระกูลมากมาย (ใช้คำว่า dialect) นอกจาก JavaScript แล้ว ที่พอคุ้นหูคือ JScript, JScript .NET และ ActionScript เป็นต้น
เคยมีคนว่าไว้ว่าภาษาซีไม่เคยตาย มาถึงตอนนี้แล้วดูเหมือนคำกล่าวนี้ยังเป็นจริงอยู่ เมื่อทาง Adobe โดย Scott Petersen ได้ไปนำเสนอเครื่องมือตัวใหม่ที่ทาง Adobe กำลังพ้ฒนาอยู่ภายใน และมีแผนว่าจะโอเพนซอร์สในเร็วๆ นี้ว่าว่าจะเพิ่มความสามารถของบราวเซอร์ให้รองรับภาษาซีได้
เครื่องมือใหม่นี้จะทำงานสามขั้นตอนด้วยกัน คือการคอมไพล์ภาษาซีเป็นโค้ดเฉพาะ คล้าย Java byte code แล้วนำไปรันบน Virtual Machine ที่เขียนขึ้นด้วยภาษา ActionScript สุดท้ายแล้วจึงไปทำงานบนบราวเซอร์ที่มี Tamarin ซึ่งเป็น Virtual Machine ที่ทาง Adobe บริจาคให้กับทาง Mozilla เพื่อรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไฟร์ฟอกซ์ไปก่อนหน้านี้