Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Amazon ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Metro ของอังกฤษว่า "วัฒนธรรมการฟ้องสิทธิบัตร" ในโลกไอทีกำลังทำลายนวัตกรรมและสังคมลง และเขาเรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ออกกฎหมายเรื่องสิทธิบัตรใหม่ ปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อปิดโอกาสไม่ให้เกิดสงครามสิทธิบัตรขึ้นอีก
เขายังบอกว่าเขารักเทคโนโลยี รักการประดิษฐ์ รักความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของวงการนี้ ตอนนี้ถือเป็นยุคทองของอุปกรณ์พกพาและอุปกรณ์ไร้สาย ไม่ควรมีอะไรขวางกั้นนวัตกรรมเหล่านี้
ที่มา - Metro
ข่าวลือเรื่องโนเกียจะผลิตแท็บเล็ตฟังดูใกล้เคียงความเป็นจริงขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดเว็บไซต์ Nokiapoweruser ได้รายงานว่าพบสิทธิบัตรดีไซน์แท็บเล็ตที่จดโดยโนเกียถึง 2 สิทธิบัตร สำหรับหน้าตาของสิทธิบัตรทั้งสองนั้นคงจะพอกล่าวได้ว่าเป็นการหยิบยืมดีไซน์ยูนิบอดี้ของมือถือ N9 มาปรับแต่งอีกนิดหน่อยแล้วขยายร่างเป็นแท็บเล็ต (ดูภาพได้ที่ท้ายข่าว)
สิทธิบัตรทั้งสองถูกจดไว้ตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2011 ซึ่งในขณะนั้น Windows 8 ยังคงเป็นเพียงแค่ข่าวลืออยู่เลย ทำให้น่าคิดว่านี่อาจจะเป็นแท็บเล็ต MeeGo ที่สุดท้ายก็ล้มเลิกโครงการไปหรืออาจจะเป็นการเตรียมการเพื่อแท็บเล็ต Windows 8 ก็เป็นได้
ITU เชิญตัวแทนจากบริษัทชั้นนำในวงการไอทีเข้ารวมประชุมเพื่อหาแนวทางในการทำธุรกิจโดยหลีกเลี่ยงปัญหาคดีสิทธิบัตร ณ สำนักงานใหญ่ของ ITU ในนครเจนีวา ซึ่งที่มาของการหารือในครั้งนี้ก็มาจากคดีระหว่าง Apple และ Samsung ที่ก่อให้เกิดความตื่นตัวเรื่องสงครามสิทธิบัตรนั่นเอง
งานนี้มีตัวแทนจากบริษัทใหญ่ๆ ตบเท้าเข้ากันพรึ่บ ทั้ง Google, Apple, Microsoft, Samsung, Research in Motion, Intel, Qualcomm, Philips, Huawei, Sony, Cisco, Nokia, HP ฯลฯ
ก่อนหน้านี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้แบนการจัดจำหน่าย Galaxy Nexus ในสหรัฐอเมริกาข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล แต่ล่าสุดในวันนี้ศาลอุทธรณ์สหรัฐฯ ได้ตัดสินยกเลิกการแบนการจำหน่าย Galaxy Nexus เนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าแอปเปิลจะได้รับผลกระทบจากการวางขาย Galaxy Nexus
ศาลอุทธรณ์ ได้ออกมาแถลงการณ์คำตัดสินในครั้งนี้ว่าคุณสมบัติที่แอปเปิลได้ออกมากล่าวหาว่า Galaxy Nexus ละเมิด ไม่ใช่จุดขายที่ทำให้ Galaxy Nexus ประสบความสำเร็จแต่อย่างใด ว่าง่าย ๆ หากไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว Galaxy Nexus ก็จะไม่ได้เสียยอดขายเลยแม้แต่น้อย
หากใครยังจำได้ คุณสมบัติที่ทำให้แอปเปิลฟ้องให้แบน Galaxy Nexus ในครั้งนี้มาจากสิทธิบัตร universal search
แอปเปิลเพิ่งได้รับสิทธิบัตรใหม่ 27 รายการเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2555 โดยมีสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับส่วนติดต่อผู้ใช้งานที่เด่นๆ ดังนี้
เชื่อหรือไม่ ว่าเมื่อก่อนสตีฟ จ็อบส์ และแอปเปิลไม่ได้เป็นนักเลงสิทธิบัตรเหมือนทุกวันนี้ แต่ว่าก่อนหน้าที่จะมีปัญหาสิทธิบัตรในอุตสาหกรรมมือถือ แอปเปิลเคยโดน Creative Technology ฟ้องกรณี iPod ละเมิดสิทธิบัตรในปี 2006 (ย้อนอ่านข่าวเก่าบน Blognone ได้) โดยจากรายงานของ New York Times สตีฟ จ็อบส์ได้สาบานว่าต่อไปนี้แอปเปิลจะจดสิทธิบัตรทุกสิ่งทุกอย่างให้หมด
กูเกิลเพิ่งได้รับสิทธิบัตรตัวใหม่เกี่ยวกับ smartwatch ที่มีลูกเล่นพิเศษคือกระจกหน้าปัดซึ่งเปิดยกขึ้นได้ทำหน้าที่เป็นจอแสดงผลจอที่ 2 พร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย โดยจุดเด่นอยู่ที่การเอาฟังก์ชันของ Project Glass และ Google Goggles มารวมเข้าไว้ด้วยกัน
Motorola Mobility ถอนฟ้องสิทธิบัตรแอปเปิล ที่เคยยื่นต่อคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ (ITC) โดยไม่ระบุเหตุผล
ในเอกสารของโมโตโรลาระบุแค่ว่าต้องการหยุดคดีนี้ (โมโตโรลาฟ้องแอปเปิลต่อ ITC สองคดี ที่ถอนนี้เฉพาะคดีหลัง) และบอกว่าบริษัทก็ยังไม่บรรลุข้อตกลงใดๆ กับแอปเปิล ซึ่งแอปเปิลเองก็ยืนยันว่าไม่ขัดขวางการถอนฟ้องครั้งนี้
ตามปกติแล้วการถอนฟ้องมักเกิดขึ้นเมื่อคู่กรณีตกลงกันนอกศาลได้ แต่กรณีนี้โมโตโรลาก็ระบุชัดเจนว่ายังไม่บรรลุข้อตกลงใดๆ กับแอปเปิล ที่เหลือก็คงต้องเดากันต่อไปว่าเกิดจากอะไรครับ (เป็นไปได้ทั้งปัญหาเรื่องเอกสาร หรือไม่ก็ตกลงกันได้แล้วแต่ยังไม่เซ็นสัญญาเป็นทางการ)
ข่าวนี้ต่อจากข่าวศาลสหรัฐอาจพิจารณาใหม่ ยกเลิกคำสั่งแบน Galaxy Tab 10.1 โดยตอนนี้ ผู้พิพากษา Lucy Koh ได้ยกเลิกคำสั่งแบนไม่ให้ขาย Galaxy Tab 10.1 ในสหรัฐเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยซัมซุงก็ได้ออกมาแสดงความยินดีกับคำตัดสินนี้แล้วบอกว่านี่เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าซัมซุงไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบของแอปเปิล
จริงๆ แล้วคดีสิทธิบัตรที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ ศาลได้ตัดสินให้แอปเปิลชนะคดีซัมซุงในส่วนของมือถือไปก่อนแล้ว แต่ส่วนของแท็บเล็ตนั้นพบว่าไม่มีความผิด และเกิดปัญหาขึ้น ทำให้ไม่สามารถยกเลิกแบนได้ และเพิ่งจะมายกเลิกได้ในภายหลังครับ (การแบน Galaxy Tab 10.1 ในตอนแรก เป็นการแบนเพื่อรักษาสิทธิของแอปเปิลจนกว่าการพิจารณาคดีจะเสร็จสิ้นครับ)
ถ้ายังจำกันได้ หลังจากที่ iPhone 5 เปิดตัวไปนั้น ซัมซุงมีท่าทีชัดเจนว่าเตรียมตัวที่จะเพิ่มชื่อ iPhone 5 ลงในคดีฟ้องสิทธิบัตรระหว่างแอปเปิลแน่นอน แต่ว่าขอเวลาตรวจสอบก่อน ตอนนี้ซัมซุงได้ทำตามสัญญาด้วยการเพิ่ม iPhone 5 ลงในคดีสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว โดยซัมซุงกล่าวว่า "เรามีทางเลือกไม่มากนักนอกจากปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อปกป้องนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาของเรา"
สิทธิบัตรที่ว่านี้น่าจะเกี่ยวข้องกับเครือข่าย LTE ซึ่งซัมซุงใช้เวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์ในการพิจารณาว่า iPhone 5 นั้นละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุงครับ
ที่มา - The Next Web
แอปเปิลขอสิทธิบัตร "ฟังก์ชันของแท่นวางตามลักษณะการวางอุปกรณ์" (ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Device Orientation Based Docking Functions) ซึ่งเกี่ยวกับแท่นวางอุปกรณ์พกพาที่มีฟังก์ชันให้ใช้งานได้เอนกประสงค์
ฟังก์ชันที่จะนำมารวมไว้ในแท่นวางตัวนี้ มีทั้งการชาร์จไฟแบบไร้สาย, การโอนถ่ายข้อมูล, การซิงค์ข้อมูล, การตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ และอาจมีฟังก์ชันอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกในภายหลัง โดยทำงานตามลักษณะที่ผู้ใช้วางอุปกรณ์พกพาลงไปบนแท่นวาง ว่าจะวางตามแนวยาว, วางตามขวาง หรือวางตะแคง ฯลฯ
สัปดาห์ที่แล้วกูเกิลได้สิทธิบัตรเกี่ยวกับการแสดงผลภาพถ่ายระยะใกล้เมื่อผู้ใช้สมาร์ทโฟนขยายภาพถ่าย (หลังจากยื่นขอไปตั้งแต่ปี 2009)
แนวคิดนี้เกิดจากปัญหาที่เรามักเจอกันบ่อยครั้งเมื่อต้องการขยายภาพที่ถ่ายด้วยสมาร์ทโฟนเพื่อดูอะไรบางอย่างแล้วเจอปัญหาภาพแตก ดูไม่รู้เรื่อง ซึ่งเกิดจากข้อจำกัดของกล้องในสมาร์ทโฟนเอง
กูเกิลจึงผุดไอเดียเสริมฟังก์ชันให้สมาร์ทโฟนแสดงผลการค้นหาภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องมาแสดงผลแทน โดยซอฟต์แวร์จะตรวจสอบพิกัดตำแหน่งและทิศทางของสมาร์ทโฟน รวมไปถึงเวลาขณะถ่ายรูป แล้วดึงข้อมูลภาพถ่ายในทิศทางเดียวกันที่ระยะใกล้กว่าและถูกถ่ายในเวลาใกล้เคียงกัน (ซึ่งจะมีผลต่อความสว่างของภาพ, แสงเงา) มาแสดงผลบนหน้าจอได้เมื่อผู้ใช้ทำการขยายดูรูปที่ใหญ่ขึ้น
สองยักษ์เกาหลีใต้กำลังจะเปิดศึกกันเองแล้ว โดย LG Display อ้างว่าซัมซุงละเมิดสิทธิบัตรการผลิตจอ OLED จำนวน 7 รายการ และยื่นฟ้องค่าเสียหายจากซัมซุงแล้ว แต่ไม่ระบุตัวเลขว่าเป็นเท่าไร
ด้านซัมซุงก็ประกาศว่าเตรียมฟ้องกลับถ้าจำเป็น และบอกว่าการฟ้องร้องจาก LG Display ครั้งนี้เป็นความพยายามแก้ภาพลักษณ์ว่า LG นำเทคโนโลยี OLED ของซัมซุงไปใช้งาน
ก่อนหน้านี้ Samsung Mobile Display เพิ่งฟ้อง LG ว่านำสิทธิบัตร OLED ของซัมซุง 18 รายการไปให้บริษัทอื่น
ที่มา - Korea Herald via The Register
ประธานของกูเกิล Eric Schmidt วันนี้ได้เดินทางไปงานเปิดตัว Nexus 7 ในประเทศเกาหลีใต้ และได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับแอปเปิลว่า แอปเปิลเป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีมากกับกูเกิล และทั้งสองบริษัทก็ยังคุยกันเกี่ยวกับทุกเรื่องทุก ๆ เวลา ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เมื่อหันมาพูดเกี่ยวกับเรื่องสิทธิบัตรของแอปเปิล Schmidt ได้บอกว่า "สิ่งที่ดีที่สุดที่เราบอกได้ตอนนี้ก็คือมันมี prior art มากมาย แต่เราไม่อยากพูดมากไปกว่านี้"
เมื่อ 2 ปีก่อน ทาง Skyhook เคยยื่นฟ้องกูเกิลด้วยข้อหาผูกขาดด้านการให้บริการเทคโนโลยีการระบุตำแหน่งบนอุปกรณ์ Android และละเมิดสิทธิเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าว
ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ที่ผ่านมา ทาง Skyhook ได้ยื่นฟ้องกูเกิลใหม่อีกครั้ง ด้วยข้อกล่าวหาละเมิดสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีการระบุตำแหน่ง รวมทั้งสิ้น 9 รายการ (โดย 8 จาก 9 รายการนี้ เป็นสิทธิบัตรที่ Skyhook เพิ่งได้รับภายหลังการพิจารณาคดีเมื่อ 2 ปีก่อน)
ข้อมูลทางเทคนิคระบุว่า Skyhook ฟ้องเรื่องฟังก์ชันการระบุตำแหน่งใน Google Map ซึ่งมีการอ้างอิงตำแหน่งผู้ใช้งานอุปกรณ์พกพาจากที่ตั้งของเครือข่าย Wi-Fi ในบริเวณนั้น แทนการอ้างอิงด้วยระบบพิกัดดาวเทียมหรือเสาโทรศัพท์
อีกคดีที่แอปเปิลฟ้องซัมซุงในเยอรมนีครับ ศาลเขต Mannheim ตัดสินคดีแล้วว่าซัมซุงไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิลเรื่องจอสัมผัส ตามที่โดนแอปเปิลฟ้อง
โฆษกของซัมซุงให้สัมภาษณ์ว่า ผลการตัดสินคดีนี้แสดงให้เห็นว่า ซัมซุงไม่ได้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของแอปเปิล
นอกจากนี้ศาลเยอรมนียังปฏิเสธคำฟ้องของคดีที่แอปเปิลยื่นฟ้องโมโตโรลา ด้วยสิทธิบัตรใบเดียวกันอีกด้วย
ที่มา - Bloomberg
แม้ว่าโมโตโรลาในเยอรมนีเพิ่งจะบรรลุข้อตกลงกับแอปเปิลในกรณีละเมิดสิทธิบัตร แต่สถานการณ์ที่โมโตโรลาถูกไมโครซอฟท์ยื่นฟ้องในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรที่ว่าด้วย "ระบบและวิธีการป้อนข้อมูล" (soft input panel system and method) กลับมีข้อสรุปที่แตกต่างออกไป
ซัมซุงเตรียมขอยื่นเรื่องต่อศาล เพิ่ม iPhone 5 เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ฟ้องว่าละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุงในเร็วๆ นี้
แถลงการณ์ของซัมซุงระบุว่าแอปเปิลยังใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างหนักหน่วง เพื่อจำกัดการแข่งขันในตลาด ภายใต้สถานการณ์นี้ ซัมซุงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากป้องกันทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมของตัวเอง
ที่มา - Reuters
อ่านก่อนคอมเมนต์: แอปเปิลฟ้องเพิ่ม Galaxy S III, Note และ Note 10.1
เราเห็นข่าวไมโครซอฟท์ไล่เซ็นสัญญาสิทธิบัตรกับผู้ผลิต Android มาแล้วหลายเจ้า คราวนี้เป็นครั้งแรกที่ไมโครซอฟท์เซ็นกับบริษัทฮาร์ดแวร์ที่ไม่ได้ทำ Android
ตัวสิทธิบัตรที่ RIM ขอสิทธิการใช้งานจากไมโครซอฟท์คือระบบไฟล์แบบ exFAT (Extended File Allocation Table) เพื่อนำไปใช้บน BlackBerry รุ่นต่างๆ ข้อดีของมันเหนือ FAT แบบธรรมดาคือรองรับไฟล์ขนาดใหญ่ขึ้นนั่นเอง
ที่มา - Microsoft
เป็นอีกคดีระหว่างแอปเปิลกับซัมซุง ที่ฟ้องกันภายใต้อำนาจของคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ (ITC) ซึ่งมีอำนาจสั่งแบนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายในอเมริกา
คดีนี้ซัมซุงยื่นฟ้องแอปเปิลว่าละเมิดสิทธิบัตร 4 รายการ โดยแบ่งเป็นสิทธิบัตรเกี่ยวกับ 3G 2 รายการ และสิทธิบัตรเกี่ยวกับอินเทอร์เฟซของสมาร์ทโฟนอีก 2 รายการ ผลสรุปคือผู้พิพากษาของ ITC ตัดสินว่าแอปเปิลไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรทั้ง 4 รายการ
ผลการตัดสินของ ITC ยังไม่สิ้นสุด เพราะคณะกรรมการชุดใหญ่ของ ITC จะต้องพิจารณาคำตัดสินของผู้พิพากษาอีกรอบหนึ่ง ว่าตกลงแล้วจะยึดตามคำตัดสินนี้หรือไม่
Steve Wozniak ผู้ร่วมก่อตั้งแอปเปิล ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg หลายประเด็นที่น่าสนใจ
แม้ว่าโนเกียจะมีเทคโนโลยีกล้องบนสมาร์ทโฟนที่ล้ำหน้าผู้ผลิตเจ้าอื่นอย่าง PureView แต่ดูเหมือนโนเกียจะไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้และอาจจะกำลังพัฒนาสิ่งที่อาจยกระดับเทคโนโลยีการถ่ายภาพไปสู่อีกระดับหนึ่งเลยทีเดียว
โนเกียได้จดสิทธิบัตรการจับโฟตอนด้วยเทคโนโลยีกราฟีนเพื่อนำไปใช้กับเซ็นเซอร์รับภาพ และด้วยคุณสมบัติของกราฟีนนี่เองที่ทำให้การผลิตเซ็นเซอร์รับภาพที่มีขนาดเล็กและถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้ดีกว่าเซ็นเซอร์ CMOS ในปัจจุบันมีความเป็นไปได้
ที่ผ่านมาเราได้เห็นภาพหลุดของ iPhone ตัวใหม่หลายต่อหลายครั้ง ซึ่งก็ทำให้เราพอจะเห็นภาพได้ชัดว่า iPhone ตัวต่อไปที่จะเปิดตัวในวันที่ 12 กันยายนนี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
ล่าสุดบริษัทในจีนแห่งหนึ่งได้เปิดตัวโทรศัพท์ที่มีรูปลักษณ์เหมือนกันแทบทุกประการในชื่อ Goophone I5 พร้อมทั้งอ้างว่าได้จดสิทธิบัตรการออกแบบในประเทศจีนเป็นที่เรียบร้อย และยังเตรียมที่จะฟ้องร้องหากแอปเปิลนำ iPhone รุ่นใหม่มาขายในประเทศจีน ซึ่งหากมีผลจริงอาจส่งผลกระทบถึงการเจาะตลาดสมาร์ทโฟนในจีนของแอปเปิล รวมทั้งยังอาจส่งผลต่อการส่งออกสินค้าจากโรงงานในประเทศจีนอีกด้วย
คดีสิทธิบัตรจาวามูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์ของออราเคิลกลายเป็นค่าใช้จ่ายของออราเคิลเองเมื่อมาถึงช่วงเคลียร์ค่าใช้จ่ายในคดี โดยกูเกิลเรียกค่าใช้จ่ายในคดีเป็นเงิน 4.03 ล้านดอลลาร์ แต่ผู้พิพากษาตัดสินให้ออราเคิลจ่ายให้กูเกิล 1.13 ล้านดอลลาร์
ผู้พิพากษา Alsup ให้เหตุผลที่ออราเคิลต้องรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายของกูเกิลว่าออราเคิลตั้งค่าเสียหายเริ่มต้นไว้ไกลจากความเป็นจริงเกินไป แม้จะชนะคดีในส่วนของลิขสิทธิ์ (ซึ่งออราเคิลไม่เรียกค่าเสียหาย) แต่ความเสียหายเหล่านั้นก็ไม่ใช่ความเสียหายที่ออราเคิลเรียกร้องเป็นหลักแต่แรก ทำให้สุดท้ายออราเคิลต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในคดีนี้
นี่เป็นอีกหนึ่งคดีที่สองบริษัทนี้ฟ้องกันไปมาในหลายประเทศทั่วโลก เมื่อปีที่แล้ว แอปเปิลยื่นฟ้องต่อศาลเขตโตเกียวว่าซัมซุงละเมิดสิทธิบัตรด้านการซิงก์ข้อมูลระหว่างอุปกรณ์พกพากับคอมพิวเตอร์ (Kies นั่นเอง) โดยแอปเปิลเรียกค่าเสียหาย 100 ล้านเยน (ประมาณ 40 ล้านบาท)
วันนี้ศาลญี่ปุ่นตัดสินแล้วว่าซัมซุงไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรชิ้นนี้ เพราะ Kies ใช้วิธีการแยกแยะไฟล์ที่จะซิงก์แตกต่างไปจาก iTunes ของแอปเปิล และผู้พิพากษา Tamotsu Shoji ยังสั่งให้แอปเปิลเป็นฝ่ายจ่ายค่าดำเนินการของคดีนี้
ตัวแทนของซัมซุงออกมาแสดงความยินดีกับผลการตัดสิน (แน่นอนว่าหุ้นขึ้น) ส่วนแอปเปิลก็ปฏิเสธการแสดงความเห็นตามที่คาดกันได้