สืบเนื่องจากปัญหาข่าวปลอมและการโฆษณาชวนเชื่อ Youtube ได้ริเริ่มที่จะเพิ่มคำเตือนในช่องที่รับเงินจากรัฐบาล ซึ่งมาตรการนี้เป็นมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ชมคิดก่อนเชื่อข้อมูลข่าวสาร และต่อต้านนโยบายการควบคุมแนวคิดของสังคมผ่านสื่อที่เหมือนว่าจะดูเป็นกลาง แต่ก็มีเสียงกังวลถึงการเลือกปฏิบัติและการเซ็นเซอร์เนื้อหาผ่านการลดอันดับในผลค้นหา อีกทั้งนิยามของคำว่ารับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลนั้นไม่ใช้เจน เนื่องจากหลายๆ ครั้ง รัฐบาลก็ไม่ได้ให้เงินช่องเหล่านี้ตรงๆ
(รายชื่อช่องและตัวอย่างคำเตือนอยู่ด้านใน)
YouTube ออกนโยบายใหม่เพื่อสู้ข่าวปลอมและโฆษณาชวนเชื่อ โดยจะแสดงข้อความอธิบายด้านล่างคลิปข่าวหากสื่อผู้ผลิตข่าวนั้นได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และจะแทรกลิงก์ไปยังวิกิพีเดียเพื่อให้คนเสพข่าวสารได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสื่อนั้นๆ เพิ่มเติม โดยฟีเจอร์ใหม่นี้เปิดใช้งานแล้วในสหรัฐฯ
The Wall Street Journal รายงานว่านโยบายใหม่ของ YouTube ครอบคลุมสื่อของสหรัฐฯอย่าง Public Broadcasting Service (PBS) โดยข้อความใต้คลิปอธิบายว่า "PBS เป็นสื่ออเมริกันที่ได้รับเงินทุนจากภาครัฐ" นอกจากนี้ยังครอบคลุม RT หรือสื่อจากรัสเซียด้วย โดยข้อความใต้คลิปอธิบายว่า "RT ได้รับเงินทุนทั้งหมดหรือบางส่วนจากรัฐบาลรัสเซีย"
Neal Mohan หัวหน้าผลิตภัณฑ์ YouTube บอกกับ The Wall Street Journal ว่า หลักเกณฑ์ของนโยบายนี้คือให้ข้อมูลของแหล่งข่าวเพิ่มเติม และให้ผู้ใช้ตัดสินความน่าเชื่อถือด้วยตัวเอง
Twitter อัพเดตข้อมูลผู้ใช้งานที่มีส่วนร่วมหรือ engagement ต่อโพสต์บัญชีปลอมจากรัสเซียช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดี 2016 เป็น 1.4 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากที่รายงานครั้งที่แล้วกว่าสองเท่า
ก่อนหน้านี้ช่วงต้นเดือนมกราคม Twitter เผยระบุบอทหรือบัญชีอัตโนมัติที่ทำขึ้นโดยรัสเซียและทำการทวีตเกี่ยวกับการเลือกตั้งในช่วงการลงคะแนนเสียงของชาวอเมริกันเป็นจำนวน 13,612 บอท รวมกับของเดิมที่เคยพบในปี 2017 ประมาณ 36,000 บอท รวมเป็น 50,258 บอท และมีประชาชน 677,000 คนในสหรัฐฯ ที่ได้ติดตามบัญชีที่ต้องสงสัย, รีทวิต หรือไลค์ทวิตเหล่านี้ ซึ่งล่าสุดตรวจพบเพิ่มเป็น 1.4 ล้านคน
ในแถลงการณ์ล่าสุดของ Twitter ระบุว่า ทางบริษัทได้ส่งอีเมลไปยังผู้ใช้ที่เข้าข่ายดังต่อไปนี้
กูเกิลเปิดตัวแอพและบริการใหม่ชื่อ Bulletin โดยให้ผู้ใช้งานแชร์ข่าวสารเรื่องราวในชุมชนท้องถิ่น เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการรับรู้เรื่องราวที่น่าสนใจ แต่ผู้คนยังไม่ค่อยรู้กัน
อาจจะสงสัยว่าอะไรแบบนี้ก็มีคนทำอยู่แล้ว กูเกิลเลยบอกว่า Bulletin มีจุดขายคือ ความง่ายในการสมัครใช้ การเชื่อมโยงกับกูเกิล ค้นหาข้อมูลได้สะดวก และการส่งบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ก็ทำได้ง่ายผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยการถ่ายวิดีโอคลิป และส่งข้อความเข้ามา
Bulletin ยังอยู่ในสถานะการทดสอบ จำกัดการใช้งานเพียงสองเมืองคือ Nashville และ Oakland ในอเมริกา
Rupert Murdoch ประธานบริหารของ News Corporation บริษัทโฮลดิ้งของสื่อยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ได้ออกแถลงการณ์ถึง Facebook และ Google ในเรื่องการจ่ายค่าใช้งานข่าวที่โลดแล่นอยู่บนแพลตฟอร์มของทั้งสองบริษัทให้กับสำนักข่าวซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งานข่าวนั้น ๆ
Murdoch กล่าวว่า Facebook และ Google นั้นถือเป็นแหล่งข่าวที่ต่ำช้า (scurrilous) ได้รับความนิยมผ่านอัลกอริทึมที่สร้างผลกำไรให้ทั้งสองบริษัทได้ แต่โดยตัวธรรมชาติแล้วมันไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งตอนนี้สำนักข่าวจะคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงล่าสุดตามแผนการของ Facebook โดยแผนการของบริษัทยังขาดความโปร่งใสที่ทำให้สำนักข่าวกังวล และยังต้องระมัดระวังความลำเอียงด้านการเมืองที่จะเกิดขึ้นด้วย
Carlos Monje ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะของ Twitter กล่าวกับฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐฯ ในการตอบคำถามกับวุฒิสมาชิก Richard Blumenthal ว่าทางบริษัทกำลังพัฒนาระบบเพื่อทำการระบุและแจ้งเตือนผู้ใช้ที่ได้รับคอนเทนต์ที่สร้างโดยบัญชีที่มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีช่วงปี 2016 โดยจะระบุและแจ้งผู้ใช้เป็นรายคน
Mark Warner วุฒิสมาชิกพรรค Democrat ได้กล่าวยินดีกับการประกาศของ Twitter ครั้งนี้ผ่านทาง Twitter ของเขา โดยสนับสนุนการกระทำของบริษัทในครั้งนี้
ก่อนหน้านี้ Facebook ก็เคยประกาศทำเครื่องมือลักษณะเดียวกันมาแล้ว โดยจะเตือนผู้ใช้ว่าเคยไลค์หรือแชร์ข่าวจากบัญชีปลอมโดยรัสเซียบน Facebook หรือ Instagram หรือไม่
เว็บไซต์ Axios เผยแพร่บทความวิเคราะห์แนวทางของ Facebook ในปี 2018 ระบุว่า Mark Zuckerberg จะพยายามแก้ปัญหาเพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่น และพยายามรักษาไว้ซึ่งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีประสิทธิภาพที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์
BuzzFeed News เผยแพร่ 50 ข่าวปลอมบน Facebook ประจำปี 2017 พบว่าบรรดาข่าวปลอมในปีนี้มียอดแชร์ ยอดไลค์ และ engagement รวมกัน 23.5 ล้านครั้ง มากกว่าปี 2016 ที่มียอด engagement 21.5 ล้านครั้ง ก่อให้เกิดคำถามว่า Facebook แก้ปัญหาข่าวปลอมมากเพียงพอหรือไม่
BuzzFeed สอบถามไปยัง Facebook โดยโฆษก Facebook บอกว่า บริษัทกำลังพัฒนาเครื่องมือจัดการข่าวปลอมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าการป้องกันดังกล่าวได้เริ่มทำตั้งแต่ต้นปีต้นปี 2017 เชื่อว่าตัวเลขข่าวปลอมบน Facebook จะน้อยกว่านี้ ยอด engagement ก็จะลดลงด้วย ตอนนี้เรามีระบบที่มีประสิทธิภาพมากกว่าแต่ก่อน มันอาจไม่สมบูรณ์แต่ดีกว่าเมื่อก่อนมาก
Farhad Manjoo คอลัมนิสต์ด้านเทคโนโลยี และผู้เขียนหนังสือ "True Enough: Learning to Live in a Post-Fact Society" ว่าด้วยความพยายามครอบโลกธุรกิจของ Apple, Amazon, Facebook และ Google โดย Farhad Manjoo เขียนบทความว่าปี 2017 เป็นปีแห่งจุดเปลี่ยนของบริษัทเทคโนโลยี โดยปี 2017 มีหลายเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีต้องมีส่วนรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกออฟไลน์ ไม่ว่าบริษัทจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม
Facebook ประกาศว่าจะทำช่องทางให้ผู้ใช้งาน Facebook เข้าไปตรวจสอบได้ว่าตนได้เผลอไลค์หรือแชร์ข่าวจากบัญชีปลอมรัสเซียในช่วงเดือนสิงหาคม 2015 ถึงมกราคม 2017 ทั้งใน Facebook และ Instagram หรือไม่ Facebook ระบุว่า ช่องทางดังกล่าวจะพร้อมใช้ในสิ้นปีนี้
The Wall Street Journal ระบุว่ามีผู้ใช้ Facebook ประมาณ 100 ล้านราย ที่เห็นข่าวจากบัญชีปลอมรัสเซียปรากฏบนแพลตฟอร์ม
ก่อนหน้านี้ Facebook ถูกกดดันให้สร้างเครื่องมือแจ้งให้ผู้ใช้รู้ว่าได้เข้าไปมี engagement กับคอนเทนต์ดังกล่าวหรือไม่ ทั้งถูกกดดันจากภาครัฐและประชาชน ถึงกับมีแคมเปญผ่านเว็บไซต์ Change.org ด้วย
Freedom House องค์กรสิทธิมนุษยชนในสหรัฐฯ ทำรายงานเสรีภาพสื่อออกมาเป็นประจำทุกปี ส่วนหนึ่งของรายงานในปี 2017 มีพูดถึงเรื่องข่าวปลอมออนไลน์ โดยชี้ให้เห็นว่าข่าวปลอมไม่ได้มีเพียงสหรัฐฯ เท่านั้นที่เจอปัญหา แต่มีอีกหลายประเทศ
ข่าวปลอมฝั่งสหรัฐฯ มีความเป็นไปได้สูงว่าเป็นการแทรกแซงจากภายนอก แต่ในหลายประเทศพบว่าเป็นข้อมูลปลอมที่เกิดขึ้นจากการจัดทำภายในประเทศเอง หรือแม้แต่เป้นข้อมูลที่ทำขึ้นโดยกลุ่มสนับสนุนรัฐบาล โดยปี 2017 มีถึง 30 ประเทศ (นับจาก 65 ประเทศที่มีเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต) สูงที่สุดนับตั้งแต่ทำรายงานมา
แม้ทวิตเตอร์จะเจอปัญหาหลายด้าน แต่ Bloomberg ก็ยังมีความหวังบนแพลตฟอร์มนี้ โดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ 6 แห่ง คือ Goldman Sachs, Infiniti, TD Ameritrade, CA Technologies, AT&T และ CME Group ทำสถานีข่าว 24 ชั่วโมงผ่านทวิตเตอร์
Google เพิ่มฟีเจอร์หวังลดข่าวปลอมอีกขั้น ตามปกติเมื่อผู้ใช้ค้นหาชื่อบริษัทสื่อหรือสำนักข่าวบน Google ระบบจะแสดงข้อมูลทั่วไปของบริษัทนั้นๆ ล่าสุด Google เพิ่มข้อมูลรางวัลที่บริษัทสื่อนั้นๆ ได้รับ และแนวทางการเสนอเนื้อหาของสื่อนั้นว่าออกไปในแนวทางใด เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจโทนการเขียนและธรรมชาติของเนื้อหาที่สื่อนั้นนำเสนอมากขึ้น
ข้อมูลรางวัลและแนวการเขียนจะอยู่ด้านล่างข้อมูลทั่วไป ผู้ใช้สามารถกดและเลื่อนปัดขวาดูรายละเอียดเพิ่มได้ ประโยชน์คือผู้รับข่าวสารจะมีช่องทางตรวจสอบแหล่งข่าวเพิ่มขึ้นอีกชั้น แต่ผู้ใช้จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อพิมพ์ค้นหาชื่อสำนักข่าวบน Google ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากรับข่าวสารนั้นไปแล้วระยะหนึ่ง
ปัจจุบันมีช่องทางรับข่าวสารมากมาย แต่เมื่อพูดถึงบทวิเคราะห์เจาะลึก ก็ยังเป็นสำนักข่าวใหญ่อย่าง The Guardian, The New York Times, The Washington Post ก็ยังเป็นช่องทางที่คนใช้เสพบทความเจาะลึก และแต่ละสำนักข่าวก็จะมีผู้เขียน ผู้เชี่ยวชาญอธิบายสถานการณ์โลกด้วยมุมมองของพวกเขา
Washington Post เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ให้คนอ่านได้รับมุมมองจากบทความอื่นที่ขัดแย้งกันกับบทความที่ผู้อ่านกำลังอ่านอยู่คือ Counterpoint วิธีการทำงานคือ เมื่อคนอ่านกำลังอ่านบทความหนึ่งชื่อ "Democrats can keep winning: Just copy (Bill) Clinton." เมื่อผู้อ่านอ่านจนจบ ตรงด้านล่างบทความจะเจอฟังก์ชั่น Counterpoint และมีข้อความล้อมกรอบที่เป็นมุมมองจากคนเขียนอีกคนที่แสดงความเห็นขัดแย้งจากเนื้อหาข้างต้น
Facebook เตรียมทดสอบระบบการบอกรับสมาชิกภายใน Instant Articles กับพาร์ทเนอร์จำนวนหนึ่งในสหรัฐฯ และยุโรป เช่น Bild, The Boston Globe, The Economist, Hearst, La Repubblica, Le Parisien, Spiegel, The Telegraph, tronc (The Baltimore Sun, The Los Angeles Times, and The San Diego Union-Tribune) และ The Washington Post ซึ่งจะเริ่มทดสอบกับแอพบน Android ก่อน
แม้การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯผ่านไปแล้ว แต่ปัญหาข่าวปลอมยังกดดัน Facebook อยู่ และ Facebook ก็ให้สัญญาว่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้แพลตฟอร์มสะอาดปราศจากข่าวปลอม ก่อนหน้านี้Facebook จ้างคนเพิ่มเป็นพันรายเพื่อตรวจสอบข่าวและโฆษณาจากบัญชีน่าสงสัย ล่าสุดออกมาเผยว่ากำลังทำฟีเจอร์ที่คาดว่าจะเป็นไม้ตายสู้กับข่าวปลอมได้
Facebook กำลังทดลองฟีเจอร์ให้ผู้ใช้ตรวจสอบข่าวสารบน News Feed ได้โดยไม่ต้องออกจาก Facebook เลย คือเพิ่มปุ่ม Information หรือปุ่ม i ขึ้นมาใต้ลิงก์ข่าว เมื่อผู้ใช้กดที่ปุ่มนั้นระบบจะแสดงข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้น เช่น มาจากสำนักข่าวอะไร ข้อมูลเกี่ยวกับสำนักข่าวนั้นๆ รวมถึงข่าวนี้มีเว็บไซต์ข่าวไหนนำเสนออีกบ้าง ระบบยังแสดงโลเคชั่นด้วยว่าข่าวนี้มีการแชร์ที่พื้นที่ใดบ้าง และหากในกรณีที่มีข่าวไม่น่าเชื่อถือปรากฏบน News Feed ระบบก็จะไม่แสดงลิงก์ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง
จากเหตุโศกนาฏกรรมมือปืนกราดยิงที่ลาสเวกัสเมื่อวานนี้ (2 ตุลาคม 2017) พบข่าวปลอมจากแหล่งข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือถูกโปรโมทบนแพลตฟอร์มทั้ง Facebook และ Google แถมยังเผยแพร่นานเป็นชั่วโมง กว่าจะถูกนำออกจากแพลตฟอร์ม
Facebook มีฟีเจอร์ Safety Check และ Crisis Response ผู้ใช้สามารถระบุความปลอดภัยของตัวเองได้ระหว่างเกิดเหตุการณ์อันตรายหรือภัยธรรมชาติ รวมถึงเหตุกราดยิงเมื่อวานนี้ด้วย โดยในหน้า Safety Check ซึ่งนอกจากผู้ใช้จะแสดงตัวว่าปลอดภัยแล้ว ระบบยังแสดงข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ด้วย
Google ได้ปรับนโยบายสนับสนุนการสมัครสมาชิกกับสำนักข่าวต่าง ๆ ใหม่ โดยมีรายละเอียดที่สนใจอยู่สองอย่าง คือ First Click Free จะเปลี่ยนเป็น Flexible Sampling และรองรับการสมัครสมาชิกผ่านระบบของ Google
สำหรับ First Click Free เป็นนโยบายที่ Google ทำขึ้นมาเพื่อให้สำนักข่าวให้ผู้ใช้ทดลองอ่านข่าวครั้งแรกฟรีผ่านบริการของ Google ทั้งการค้นหาและ Google News เป็นการดึงดูดให้ผู้ใช้อยากจะสมัครสมาชิกเพื่ออ่านข่าวของสำนักข่าวต่อไป นโยบายนี้ได้ถูกยกเลิกและเปลี่ยนเป็น Flexible Sampling แทน
จากประเด็นบัญชีปลอมจากรัสเซียซื้อโฆษณาเพื่อการเมืองบน Facebook ช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 ซีอีโอ Mark Zuckerberg ต้องออกมาประกาศว่าจะจัดการแพลตฟอร์มโฆษณาของตัวเองให้ดีขึ้น หาโซลูชั่นยืนยันตัวตนบุคคลและกลุ่มคนที่มาซื้อโฆษณา ขณะเดียวกันฝ่ายการเมืองก็ออกมาเรียกร้องว่าให้มีการเปิดเผยข้อมูลการซื้อโฆษณาของ Facebook โดยเฉพาะโฆษณาที่มีเป้าหมายทางการเมือง
The Washington Post รายงานว่า หลังจากผลการเลือกตั้งปี 2016 ออกมาเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าโดนัลด์ ทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดี อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา ถึงกับมาพูดคุยกับ Zuckerberg ด้วยตัวเอง เพื่อให้เขาตระหนักว่าปัญหาข่าวปลอมบน Facebook สร้างผลกระทบแย่กว่าที่คิด
ทวิตเตอร์ทำฟีเจอร์ใหม่ ปรากฏบทความยอดนิยม หรือ Popular Articles โดยอ้างอิงจากยอดรีทวิตและกดหัวใจจากบุคคลที่ผู้ใช้ติดตาม เปิดให้ใช้ได้ทั้ง iOS และแอนดรอยด์แล้ว
ทางทวิตเตอร์ระบุว่าทดลองใช้ฟีเจอร์นี้มาระยะหนึ่งแล้ว Popular Articles จะแสดงเวลาผู้ใช้กดตรงช่องค้นหาในทวิตเตอร์ ในระยะหลังมานี้ ทวิตเตอร์พยายามทำฟีเจอร์ใหม่ให้แพลตฟอร์มมีประโยชน์มากขึ้นสำหรับผู้ใช้ใหม่ และผู้ใช้ทั่วไป ล่าสุดคือ ฟีเจอร์ใหม่นี้คล้ายกับฟีเจอร์ไฮไลต์ว่าคนที่เราติดตามอยู่โพสต์อะไรบ้าง แต่ Popular Articles มาในรูปแบบลิงก์บทความ
เรื่องข่าวปลอมไม่ใช่ประเด็นที่ Google และ Facebook ต้องจัดการเพียงลำพังอีกต่อไป เพราะล่าสุด Mozilla ผู้สร้างเว็บบราวเซอร์ Mozilla Firefox ก็กระโดดเข้าร่วมด้วย โดยเปิดตัว MITI (Mozilla Information Trust Initiative) ทำเทคโนโลยี วิจัยแก้ปัญหาข่าวปลอมและข้อมูลผิดๆ บนโลกออนไลน์
สิ่งที่ Mozilla ระบุจะทำคือ
ไม่เพียง Facebook ที่เจอปัญหาข่าวปลอม WhatsApp ก็เจอปัญหาหนักไม่แพ้กัน แต่ดูเหมือนจะหนักกว่าเพราะข่าวปลอมที่แพร่ใน WhatsApp ส่งผลต่อสถานการณ์จริงด้วย
รายละเอียดคือมีคอนเทนต์หนึ่งเผยแพร่ใน WhatsApp ประเทศบราซิล ว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งอายุราว 20 ปี กับผู้ชายสูงอายุประมาณ 60 ปี ลักพาตัวเด็กๆ ไปค้ามนุษย์ จนกระทั่งมีคนหนึ่งสังเกตุเห็นว่ามีบุคคลตรงตามข่าวลือที่แพร่ใน WhatsApp ในเขต Lake District กรุงริโอ เดอจาเนโร ทั้งคู่ขับรถสีขาว 1989 Ford Escort มีคนถ่ายภาพทั้งคู่ได้และภาพก็แพร่ไปใน WhatsApp ทำให้มีฝูงชนเข้าไปล้อมทั้งคู่และทำร้ายร่างกายพวกเขา แต่โชคดีที่ไม่ถึงแก่ชีวิต เพราะเพื่อนของฝ่ายหญิงเข้าไปช่วยไว้ และระบุว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลักพาตัวเด็ก
ข่าวปลอมเป็นประเด็นที่ทำให้ Facebook ถูกโจมตีอย่างหนักตั้งแต่ช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และดูเหมือนว่าการปรับปรุงฟีเจอร์ อัลกอริทึมให้ความสำคัญกับข่าวปลอมน้อยลงจะยังไม่เพียงพอ Facebook จึงอัดแคมเปญสร้างความรับรู้แยกแยะข่าวปลอมลงหน้าโฆษณาหนังสือพิมพ์ในอังกฤษด้วย เช่น The Times, The Guardian และ Daily Telegraph
เนื้อหาแคมเปญเป็นการแนะนำ 10 วิธีแยกแยะข่าวปลอม เช่น ตั้งข้อสงสัยพาดหัวข่าวไว้ก่อนเสมอ ดูที่ลิงก์ URL ให้ดีว่ามีสัญลักษณ์อะไรแปลกๆ ดูที่มาข่าว รูปแบบข่าว ภาพข่าว วันที่ เป็นต้น
Jimmy Wales ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิพีเดีย ประกาศเปิดตัวเว็บไซต์แหล่งข่าวและข้อมูลใหม่อีกเว็บคือ Wikitribune เพื่อสู้กับปัญหาข่าวปลอม Wikitribune จะเป็นเว็บไซต์อิสระไม่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดีย เป็นการรวมตัวกันของนักข่าวมืออาชีพและคนตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวมาทำงานร่วมกันบนเว็บไซต์
หลังจาก "ข่าวปลอม" (fake news) กลายเป็นปัญหาใหญ่ในยุคข้อมูลข่าวสารออนไลน์ไหลบ่า ล่าสุด Google Search และ Google News เปิดใช้ระบบช่วยเช็คข้อมูลกรณีข่าวปลอมให้กับผู้ใช้ทั่วโลกแล้ว
ระบบของกูเกิลจะทำงานอัตโนมัติ เมื่อเราค้นหาข้อมูลที่มีโอกาสเกี่ยวข้องกับข่าวที่น่าจะปลอม กูเกิลจะขึ้นป้ายเตือนว่า "Fact Check" หรือข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบมาแล้วว่าข่าวนั้นถูกต้องแค่ไหน ผ่านความร่วมมือกับสำนักข่าวที่มีชื่อเสียง และหน่วยงานด้านการตรวจสอบข่าวปลอมหลายแห่ง
ข้อจำกัดของระบบ Fact Check คือมันไม่สามารถทำงานได้กับทุกคีย์เวิร์ด และบางครั้งแต่ละสำนักข่าวก็มีมุมมองต่อข่าวนั้นแตกต่างกันว่าจริงหรือไม่