กสทช.
จากที่ AIS จะยื่นขอความคุ้มครองกับ กสทช. เป็นการเพิ่มเติม ล่าสุดคุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เผยว่า ในที่ประชุม กทค. วันนี้ มีมติการออกใบอนุญาตให้ True อย่างเป็นทางการ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2574 และมีมติไม่ขยายระยะเวลาคุ้มครองลูกค้าตามที่ AIS ยื่นจดหมายร้องขอไปตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม ส่งผลให้ลูกค้า AIS 2G ที่คงเหลือกว่า 300,000 ราย ซิมดับในคืนวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559 อย่างแน่นอน
เช้าวันนี้ AIS แถลงข่าวเรื่องการคุ้มครองลูกค้าเก่าที่อยู่บนระบบ 2G 900MHz เดิม โดยมีประเด็นดังนี้
สัปดาห์ที่แล้ว True เข้าไปจ่ายเงินค่าประมูลคลื่น 900MHz กับ กสทช. วันนี้ กสทช. ออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 900MHz ให้กับ True แล้ว
การออกใบอนุญาตนี้มีผลให้ความคุ้มครองชั่วคราวกับผู้ใช้ 2G ระบบเดิมของ AIS สิ้นสุดลง (ตามกฎของ กทค. ที่มีผลเมื่อมอบใบอนุญาตให้ผู้ชนะการประมูลรายใดรายหนึ่ง) แนวทางก่อนหน้านี้ True เสนอให้ AIS เช่าคลื่น แต่ทาง AIS ก็ปฏิเสธ และระบุว่าจะใช้วิธีขอ roaming กับเครือข่าย 2G 1800MHz ของ dtac แทน
ขณะที่เขียนข่าวนี้ AIS กำลังแถลงข่าว เดี๋ยวจะแยกเรื่อง AIS เป็นอีกข่าวนะครับ
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
วันนี้เวลา 13.39 น. บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เข้าไปจ่ายเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900MHz กับ กสทช. แล้ว มูลค่าการจ่ายเงินงวดแรก จำนวน 8,040,000,000 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 อีก 562,800,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,602,800,000 บาท
True ยังนำหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงิน เพื่อค้ำประกันเงินค่าประมูลงวดที่เหลืออีก 73,036,060,000 บาท มามอบให้ กสทช. ด้วย
ลำดับถัดไป สำนักงาน กสทช. จะนำเรื่องเสนอบอร์ด กทค. เพื่อออกใบอนุญาตให้ True ส่วนเงินค่าประมูลจะนำส่งกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
จากข่าว ทรูเตรียมจ่ายค่าใบอนุญาตคลื่น 900 วันที่ 11 มีนาคมนี้ ซึ่งจะมีผลให้มาตรการเยียวยาลูกค้าเก่าของ AIS GSM 900 สิ้นสุดลง
วันนี้ที่ประชุม คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติไม่อนุมัติให้ AIS ขยายมาตรการคุ้มครองชั่วคราวออกไปอีก ตามมติเดิมว่ามาตรการคุ้มครองชั่วคราวจะสิ้นสุดลงเมื่อ กทค. ออกใบอนุญาตให้กับผู้ชนะการประมูลรายใดรายหนึ่ง
ส่วนประเด็นว่า True เสนอให้ AIS สามารถใช้ความถี่ 900MHz จำนวน 10MHz ได้อีก 3 เดือน โดยคิดค่าเช่าใช้งาน 450 ล้านบาทต่อเดือน ทางคณะกรรมการ กทค. รับทราบและมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. เป็นเจ้าภาพเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (True, AIS, AWN, TOT) มาหารือว่าสามารถทำได้หรือไม่
หลังจากกลุ่มทรูจัดพิธีลงนามสัญญาสินเชื่อไปเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เมื่อวานนี้คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ ก็เปิดเผยว่าทางทรูติดต่อจะเข้ามาจ่ายค่าใบอนุญาตแล้วในวันที่ 11 มีนาคม เวลา 13.39 นาฬิกา
นอกจากการจ่ายค่าใบอนุญาตแล้ว วันนี้ที่ประชุมกทค. จะยังมีการพิจารณาข้อเสนอจากทางทรูให้เข้าคุ้มครองผู้ใช้บริการของ AWN (AIS) เดิมแทน โดยข้อเสนอนี้ทางสำนักงานกสทช. เพิ่งเพิ่มเข้ามา
วันนี้ พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธาน กสท. บรรยายสรุปภาพรวมอุตสาหกรรมโทรทัศน์ปี 2558 และทิศทางของปี 2559 โดยเน้นไปที่ความเปลี่ยนแปลงของทีวีดิจิตอล
ในภาพรวมแล้ว สัดส่วนการรับชมทีวีดิจิตอล 21 ช่องใหม่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ทีวี 6 ช่องดั้งเดิมมีสัดส่วนผู้ชมลดลง ตัวเลขจากการสำรวจของ Nielsen ในเดือนธันวาคม 2558 คือช่องเก่า 62% และช่องใหม่ 38%
วันนี้กสทช. มีจัดงานพบปะบล็อกเกอร์เพื่อพูดคุยถึงงานประชุม World Radiocommunication Conference (WRC) 2015 เมื่อปลายปีที่แล้ว และนำเนื้อหาที่น่าสนใจรวมถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในการจัดสรรคลื่นความถี่ในอนาคต ตั้งแต่แนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อการใช้งานประเภทใหม่ๆ การจัดสรรคลื่นความถี่เพิ่มเติมสำหรับบริการที่ได้รับความนิยมสูงอย่างโทรศัพท์มือถือ
ช่วงหลายปีที่ผ่านมาค่าบริการโทรคมนาคมโดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่การใช้บริการมักเป็นการโทรศัพท์หากันหรือการส่งข้อความสั้น บริการขยายตัวโดยเฉพาะบริการอินเทอร์เน็ต, บริการเนื้อหาราคาพิเศษเช่นหมายเลขพิเศษต่างๆ, หรือบริการเสริมเช่นการซื้อแอปพลิเคชั่น
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ออกมาเตือนเรื่องแพ็กเกจ 4G ของ AIS ที่ไม่มีนโยบาย Fair Usage Policy (FUP) ว่าอาจก่อปัญหา "Bill Shock" ที่ผู้ใช้งานอาจถูกคิดค่าบริการเพิ่มเติม กรณีใช้เน็ตเกินโควต้าที่กำหนดได้
พ.อ. นที ศุกลรัตน์ ประธาน กสท. ได้เผยว่า หลังผ่านมาเกือบสองปี ตนยอมรับว่าธุรกิจทีวีดิจิทัลไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 24 รายไม่ได้ประสบความสำเร็จทั้งหมด โดยตนคาดว่าจะมีผู้เล่นอย่างน้อย 10 รายจากทั้งหมด 24 รายที่ดำเนินธุรกิจรอดและประสบความสำเร็จในการสร้างแรงจูงใจกับผู้ชมในการจดจำช่อง ในขณะที่อีกหลายช่องยังต้องสู้เพื่อความอยู่ในธุรกิจต่อไป ซึ่งก็ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
หลังการลงมติของคณะกรรมการ กสท. เมื่อวันก่อน ล่าสุดก็มีเสียงตอบรับจากฝั่งไทยทีวีแทบจะทันที โดยนายสุชาติ ชมกุล ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท ไทยทีวี จำกัด เผยว่า นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย ประธานกรรมการของไทยทีวี ยังคงยืนยันที่จะเลิกประกอบการธุรกิจทีวีดิจิทัล รวมถึงยืนยันที่จะไม่จ่ายค่าประมูลในส่วนที่เหลือ แม้ว่าจะมีคำสั่งยึดแบงค์การันตีออกมา บริษัทก็พร้อมยื่นขอให้ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินเพื่อขอความคุ้มครองในเรื่องนี้ทันที เมื่อสำนักงาน กสทช. ได้แจ้งแก่ธนาคารกรุงเทพให้ทราบในเรื่องนี้
วันนี้มีประชุมระหว่างกสทช. กับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อเสนอแก้ไขปัญหาการประกอบการของทีวีดิจิตอลที่หลายช่องอาจจะอยู่ในภาวะขาดทุน ไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้
ข้อสำคัญที่สุดคือประเด็นการคืนใบอนุญาตมีข้อเสนอให้สามารถคืนใบอนุญาตได้โดยจ่ายค่าใบอนุญาตเท่าที่จ่ายไปก่อนหน้านี้แล้ว และไม่ควรมีการประมูลใหม่
อีกสามข้อเป็นประเด็นของการเรียงช่องที่ยังมีบางเครือข่ายไม่เรียงตามประกาศ, การสนับสนุนเงินเพื่อการจัดเรตติ้ง, และประกาศมัสแครี่ที่ช่องทีวีเห็นว่ากสทช. ควรเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ผลการประชุมนี้เป็นเพียงข้อเสนอจากการหารือกับผู้ประกอบการ หลังจากนี้จะต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุมกสทช. และเสนอต่อหัวหน้าคสช. ต่อไป
เว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีมติเมื่อเช้ากำหนดหลักเกณฑ์ หากมีกรณีที่จะต้องจัดการประมูลคลื่น 900 MHz ใหม่อีกครั้งหนึ่ง
เกณฑ์โดยสรุปคือ ราคาจะเริ่มต้นที่ราคาสุดท้ายจากการประมูลครั้งก่อน, ผู้ชนะรอบที่แล้วและจ่ายเงินประมูลแล้ว มีสิทธิร่วมประมูลใหม่ได้อีก, หากไม่มีบริษัทใดร่วมประมูล จะชลอการประมูลไปอีก 1 ปี โดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เชื่อว่า หากต้องมีการประมูลใหม่ จะสามารถดำเนินการได้ภายในเวลา 3 เดือน
ทรูเตรียมส่งหนังสือขอความชัดเจนกับกสทช. ในกรณีที่ต้องมีการจัดประมูลคลื่น 900 ใหม่อีกครั้ง โดยนายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน ระบุว่าทางทรูจะยื่นหนังสือภายในสัปดาห์นี้สอบถามถึงเงื่อนไขการประมูลใหม่ก่อนที่จะจ่ายค่าใบอนุญาต โดยหวังว่าแนวทางจะเป็นธรรมกับทางทรูเอง
อย่างไรก็ดี ทางทรูหวังว่าทางกลุ่มจัสมินจะสามารถจ่ายค่าใบอนุญาตได้ เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
แนวทางนี้ออกมาจากการประชุมทางไกลระหว่างผู้บริหารร่วมกับผู้ถือหุ้น, ธนาคารเพื่อการลงทุน, และนักวิเคราะห์ โดยทางทรูระบุว่าได้รับอนุมัติหนังสือค้ำประกันจากธนาคาร 4-5 ธนาคารแล้ว และพร้อมจะจ่ายค่าใบอนุญาตหากมีความชัดเจน
พ.อ. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค. และรองประธาน กสทช. เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์แนวหน้าว่า ที่ผ่านมา ทรู-กลุ่มจัสมิน ยังไม่ได้เดินทางมาจำหน่ายค่าใบอนุญาตงวดแรกแต่อย่างใด ส่วนตัวก็เข้าใจว่าที่สามารถดำเนินการได้ช้าเพราะสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการออกเงินกู้ แต่ตนเชื่อว่าทุกอย่างจะเรียบร้อยก่อนวันครบกำหนด
หลังจากที่ช่องไทยทีวีและโลกาถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา ในวันนี้คณะกรรมการ กสท. ได้ลงมติรอบพิเศษ ให้สำนักงาน กสทช. แจ้งแก่ธนาคารกรุงเทพเพื่อให้เข้ามาจ่ายเงินค่าประมูลที่เหลือด้วยหลักทรัพย์ค้ำประกันของไทยทีวีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ประเด็นการประมูลคลื่น 900 MHz ที่จนตอนนี้ยังไม่มีผู้ชนะเข้ามาจ่ายค่าประมูลจนมีกระแสว่าอาจจะต้องจัดประมูลใหม่ ตอนนี้นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ก็ออกมาระบุว่าโอกาสที่ผู้ชนะไม่เข้ามาจ่ายเงินประมูลนั้นมีน้อย
ผู้ชนะประมูลทั้งสองรายยังมีเวลาถึงวันที่ 21 มีนาคมนี้
สำหรับผู้ที่ไม่มาชำระค่าประมูล จะถูกยึดเงินประกันก่อนเป็นอย่างแรก เป็นเงิน 644 ล้านบาท และจะต้องชดใช้ค่าเสียหายและค่าจัดการประมูลใหม่ ไม่รวมถึงชื่อเสียงที่จะเสียหาย การไม่มาชำระค่าประมูลจึงน่าจะเป็นไปได้ยาก
ระหว่างที่ผู้ชนะยังไม่มาจ่ายเงินประมูล ใครเชียร์ค่ายไหนก็ลุ้นกันต่อไปครับ
หนังสือพิมพ์ Bangkok Post รายงานว่าทั้ง แจสโมบาย และทรูมูฟ เอช ผู้ชนะการประมูลคลื่น 900 MHz อาจไม่สามารถชำระเงินค่าใบอนุญาตงวดแรกได้ภายในเดือนนี้ จากที่ก่อนหน้านี้ประธาน กทค. ออกมาให้ข่าวว่าทั้งสองบริษัทจะมาชำระเงินภายในสัปดาห์นี้
หมายเหตุ (lew): ผมมองว่าพาดหัวแรกของข่าวนี้ผิดประเด็นไปมาก กสทช. สุภิญญา แสดงความเห็นไว้ในทวิตเตอร์ หากใครเข้ามาอ่านจากที่มีคนแชร์ไปขอให้อ่านความเห็นประกอบด้วยครับ
ปมคลื่น 2600 MHz เป็นอีกหนึ่งปมที่ยังแก้ไม่หายขาด แต่ล่าสุด พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมหารือกับ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. และ นายศิวะพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อหารือแนวทางที่เป็นไปได้ในการนำคลื่น 2600 MHz ออกมาใช้งานให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ในที่ประชุมคณะกรรมการ กสท. วันนี้ ได้มีมติสั่งปรับ บริษัท ทรูวิชันส์ กรุ๊ป จำกัด เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากยืนกรานไม่เรียงช่องและปล่อยให้ช่องทีวีดิจิทัลอยู่ช่อง 1-10 ตามเดิม
โทษปรับในครั้งนี้จะแยกออกเป็นทั้งหมดสองกรณี ได้แก่ กรณีขัดคำสั่งตาม ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ โดยให้มีโทษปรับวันละ 20,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559 จนถึงวันที่จัดเรียงช่องสำเร็จ หากครบกำหนด 30 วันนับตั้งแต่วันที่ส่งหนังสือแจ้ง จะพิจารณาโทษปรับทางปกครองที่สูงขึ้นต่อไป เช่นอาจจะเพิ่มค่าปรับ หรือสั่งพักใช้ใบอนุญาต
การประมูลคลื่น 900 MHz ได้รับการรับรองผลประมูลอย่างเป็นทางการไปเมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ล่าสุดมีรายงานจาก พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และ ประธาน กทค. ที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน กสทช. ว่า แจสโมบาย-ทรูมูฟ เอช จะเข้ามาจ่ายค่าใบอนุญาตพร้อมวางแบงค์การันตีภายในอาทิตย์นี้ ซึ่งเมื่อการดำเนินการเรียบร้อย คณะกรรมการ กทค. ก็จะจัดการประชุมเพื่อออกใบอนุญาตภายในสัปดาห์หน้า
หลังจากที่มีข่าวว่า กสท. ลงมติให้ กสทช. พิจารณาเงื่อนไขในการ "เช็คบิล" กับ "ทรูวิชันส์" หลังตรวจสอบและพบว่าทรูวิชันส์ยังเป็นรายเดียวที่ไม่มีการปรับเรียงช่องตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่มติของ กสท. ในครั้งนั้น ก็สร้างความแปลกใจให้กับผู้ที่ติดตามข่าวสารในเรื่องของวันเวลาที่กำหนดกันพอสมควร ล่าสุดก็เลยมีการชี้แจงจากคุณสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสท. ในเรื่องนี้ออกมาแล้ว
โดยคุณสุภิญญากล่าวว่า ประเด็นที่ทรูวิชันส์ยังคงขัดประกาศ กสทช. นั้น คาบเกี่ยวอยู่ด้วยกันทั้งหมดสองประเด็นดังต่อไปนี้
เมื่อวานนี้มีข่าวทางโทรทัศน์ชวนลุ้นให้แฟนๆ ดีแทคได้ชื่นใจ เมื่อ กสท โทรคมนาคม ออกมาประกาศว่าจะขยายอายุสัมปทานดีแทคจากเดิมที่จะหมดลงใน พ.ศ. 2561 เป็น พ.ศ. 2568 (เนชันทีวี) เพื่อให้ดีแทคสามารถแข่งขันกับรายอื่นๆ ไปได้อีกระยะหนึ่ง
ในที่ประชุมคณะกรรมการ กทค. เมื่อวานนี้ (21 ธันวาคม) มีการลงมติใหญ่ทั้งหมดสองมติ คือการรับรองผลการประมูลคลื่น 900 MHz ที่จบลงเมื่อคืนวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และเรื่องการเยียวยาผู้ใช้ AIS 2G ที่ขยายระยะเวลาเพิ่มจากวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เวลา 0.00 น. ออกไปอีก