ไมโครซอฟท์ยืนยันปัญหาของอัปเดต Windows 11 24H2 ว่าอาจทำให้เกมค่าย Ubisoft บางเกมไม่สามารถเปิดเล่นได้ตามปกติ หรือบางกรณีเกมอาจค้างในระหว่างการเล่น
เกมของ Ubisoft ที่ไมโครซอฟท์ยืนยันว่าจะพบปัญหานี้ได้แก่ Assassin's Creed Valhalla, Assassin's Creed Origins, Assassin's Creed Odyssey, Star Wars Outlaws และ Avatar: Frontiers of Pandora อย่างไรก็ตามเฉพาะ Star Wars Outlaws ทาง Ubisoft ได้ออกแพตช์ฉุกเฉินแก้ไขปัญหานี้เวอร์ชัน 1.4.0 เพื่อให้สามารถเล่นได้ก่อนชั่วคราว
ไมโครซอฟท์เปิดเผยว่าจะออกฟีเจอร์ Quick Machine Recovery ให้แอดมินไอทีสามารถซ่อมพีซีที่เจอปัญหา Windows Update ได้จากระยะไกล แม้ว่าพีซีบูทไม่ขึ้นก็ตาม
David Weston หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ อธิบายผ่าน The Verge ว่า Quick Machine Recovery พัฒนาต่อจาก Windows Recovery Environment (Windows RE) โหมดการรันเพื่อกู้ระบบวินโดวส์ ให้สามารถลบไฟล์เจ้าปัญหา (แบบเดียวกับกรณี CrowdStrike) ออกได้ หากเกิดปัญหาแบบเดียวกันอีก Windows RE จะลบไฟล์นี้ออกจากทุกเครื่องให้ได้เลย
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Edge Game Assist เวอร์ชันย่อยของ Microsoft Edge สำหรับเปิดเบราว์เซอร์ตอนกำลังเล่นเกมบนพีซี
ไมโครซอฟท์บอกว่าเกมเมอร์บนพีซี 88% นิยมเปิดเบราว์เซอร์ควบคู่ไปด้วยตอนเล่นเกม เพื่ออ่านวิธีเล่น หรือทำงานอื่นๆ เช่น ฟังเพลง-แชทคุยกับเพื่อน ความไม่สะดวกของการเปิดเบราว์เซอร์แบบดั้งเดิมคือต้องกด Alt+Tab สลับแอพไปมา หากมีหน้าจอมอนิเตอร์เพียงจอเดียว
ปัญหายอดนิยมของระบบปฏิบัติการ Windows เรื่องการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยประจำเดือน แล้วบังคับต้องรีบูตเครื่องใหม่ เป็นสิ่งที่ผู้ใช้บ่นกันมายาวนาน
ฝั่งของ Windows Server เริ่มนำระบบ Hotpatching หรือการออกแพตช์ประเภทที่ไม่จำเป็นต้องรีบูต ช่วยลดการรีบูตเหลือไตรมาสละ 1 ครั้ง (แพตช์ยังออกทุกเดือน แต่มีแพตช์ที่ต้องรีบูตแค่ 4 เดือน คือเดือนแรกของไตรมาส ได้แก่ มกราคม เมษายน กรกฎาคม ตุลาคม)
ล่าสุดในงาน Ignite 2024 ไมโครซอฟท์ประกาศว่า Windows 11 Enterprise จะเริ่มนำระบบ Hotpatching มาใช้ด้วยเช่นกัน ลดการบูตเครื่องของฝั่งไคลเอนต์ลงได้
ที่งาน Ignite 2024 ไมโครซอฟท์เปิดตัวชิปใหม่ 2 รุ่น นอกจาก Azure Boost DPU ที่เป็นชิปประมวลผลข้อมูลวิ่งผ่านเครือข่าย ยังมีชิปความปลอดภัยชื่อ Azure Integrated HSM (HSM ย่อมาจาก Hardware Security Module)
หน้าที่ของ Azure Integrated HSM คือเอาไว้เก็บคีย์ต่างๆ ที่ใช้เข้ารหัสข้อมูล ชิปตัวนี้จะป้องกันคีย์ตอนใช้งาน (in-use) ด้วย ไม่ใช่แค่ตอนเก็บอย่างเดียว คีย์จะไม่ถูกส่งออกนอก HSM โดยฮาร์ดแวร์มีตัวช่วยเร่งความเร็วในการถอดรหัส-เข้ารหัสด้วย
ไมโครซอฟท์ปรับหน้าตาของ Teams เวอร์ชันเดสก์ท็อป โดยจะรวมเอาแท็บ Chat สำหรับคุยส่วนตัว และแท็บ Teams ที่มีห้อง (channel) เข้าด้วยกันเป็นแท็บเดียว โดยภายในจะแยกเซคชั่นย่อยอีกที
ข่าวการควบรวมแท็บ Chat/Teams เริ่มขึ้นมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ด้วยเหตุผลว่าผู้ใช้สับสนระหว่าง Chat/Teams และมักใช้งาน Chat เพียงอย่างเดียว ตอนนี้ Teams แก้ไขเรียบร้อยแล้ว และเปิดทดสอบแบบ public preview
ที่มา - Microsoft
Microsoft Teams มีฟีเจอร์ใหม่จำนวนมากที่ประกาศในงาน Ignite 2024 เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือ Live Transcription หรือการถอดเสียงในห้องประชุมออนไลน์ รองรับการถอดเสียงหลายภาษาพร้อมกันแล้ว
การมาถึงของฟีเจอร์นี้ทำให้ผู้เข้าประชุมสามารถพูดภาษาของตัวเอง ระบบจะถอดเสียงพูดเป็นข้อความ transcript แล้วแปลเป็นภาษาที่ต้องการให้ได้ทันที ฟีเจอร์นี้รองรับการถอดเสียง 51 ภาษา และแปลเป็นภาษาอื่นได้ 31 ภาษา ฟีเจอร์นี้จะเปิดให้ใช้ช่วงต้นปี 2025 ดูตัวอย่างในคลิปประมาณนาทีที่ 4:00
นอกจากนี้ ฟีเจอร์การสรุปประชุม (intelligence meeting recap) ยังสามารถเลือกให้สรุปออกมาเป็นภาษาที่ต้องการได้แล้ว (เช่น ประชุมภาษาอังกฤษ สรุปออกมาเป็นภาษาญี่ปุ่น) ฟีเจอร์นี้จะเปิดให้ใช้ปี 2025
ไมโครซอฟท์ปรับหน้าตาของระบบล็อกอิน Windows Hello ให้ทันสมัย เข้ากับแนวทางออกแบบของ Windows 11 ยุคปัจจุบันมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการปรับไอคอนของวิธีล็อกอินใหม่ ให้รองรับ Passkey ซึ่งเพิ่มเข้ามาได้สักพักแล้ว โดย UI จะรองรับการใช้อุปกรณ์ยืนยันตัวตนได้ง่ายขึ้น และรองรับวิธีการยกระดับสิทธิ Administrator Protection
Windows Hello โฉมใหม่เริ่มใช้แล้วใน Windows 11 Insider Preview Build 27754 (Canary Channel)
ที่มา - Microsoft
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Administrator Protection ระบบขอสิทธิแอดมินแบบใหม่ของ Windows 11 ที่ช่วยให้ผู้ใช้ทั่วไปขอสิทธิแอดมินเพื่อแก้คอนฟิกระบบอย่างปลอดภัยมากขึ้น
ในแง่การใช้งาน Administrator Protection หน้าตาคล้ายระบบ User Account Control (UAC) ในปัจจุบัน แต่จะยืนยันตัวตนของผู้ใช้ผ่าน Windows Hello แทน เช่น ใช้ใบหน้า ลายนิ้วมือ หรือ PIN เฉพาะเครื่องที่ตั้งค่าไว้
Microsoft Azure เปิดตัวเครื่อง VM รุ่นใหม่ Azure HBv5 มีจุดเด่นที่การใช้แรม high bandwidth memory (HBM) อัตราการส่งข้อมูลสูงถึง 6.9 TB/s สูงกว่าตัวเลือกอื่นในตลาดหลายเท่า
เครื่อง VM รุ่นนี้ใช้ซีพียู AMD Epyc 4th Gen แกน Zen 4 รุ่นคัสตอมพิเศษที่ AMD ผลิตให้ไมโครซอฟท์โดยเฉพาะ หากเทียบแบนด์วิดท์กับเครื่อง Azure HBv3 รุ่นก่อนหน้า ที่ใช้ Epyc 3rd Gen (Milan-X) จะสูงกว่ากันเกือบ 20 เท่า
การที่เครื่อง Azure HBv5 มีแบนด์วิดท์หน่วยความจำเยอะขนาดนี้ จึงเหมาะกับงานคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (HPC) ที่ต้องส่งข้อมูลจำนวนมากๆ โดยผู้เช่าเครื่อง VM สามารถเลือกเช่าซีพียูได้สูงสุด 352 คอร์ และอัดแรมได้สูงสุด 9GB ต่อคอร์
ไมโครซอฟท์เปิดตัวฐานข้อมูล SQL Server 2025 มีฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญคือรองรับ vector search สำหรับใช้ข้อมูลในงานด้าน AI
SQL Server 2025 เก็บข้อมูลเวกเตอร์และดัชนีด้วยเทคโนโลยี DiskANN สำหรับค้นหาความเชื่อมโยงของเวกเตอร์ได้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังรองรับการเชื่อมต่อกับโมเดล AI ภายนอกผ่าน T-SQL และ REST API นอกจากนี้ยังรองรับ GraphQL ผ่าน Data API Builder และรองรับ JSON แบบเนทีฟด้วย
บริการเล่นเกมผ่านคลาวด์ Xbox Cloud Gaming ประกาศรองรับการเล่นเกมที่เราเองเป็นเจ้าของได้แล้ว
นับตั้งแต่เปิดตัวมาหลายปี Xbox Cloud Gaming รองรับเฉพาะคลังเกมใน Game Pass เท่าที่ไมโครซอฟท์กำหนดเท่านั้น หากเราซื้อเกมที่อยู่นอกคลังเหล่านี้มาเล่นแบบปกติบนคอนโซล จะไม่สามารถเล่นผ่านคลาวด์ได้เลย ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ผู้เล่นเรียกร้องกันมานานมาก และตอนนี้ไมโครซอฟท์เพิ่งยอมให้ทำได้
ไมโครซอฟท์เปิดตัวชิป DPU (Data Processing Unit) ตัวแรกของตัวเองในชื่อ Azure Boost DPU
วงการ DPU หรือชิปช่วยประมวลผลข้อมูลที่วิ่งเข้าเซิร์ฟเวอร์ เพื่อลดภาระงานของซีพียู เริ่มได้รับความนิยมเรื่อยๆ ตัวอย่างชิปในวงการได้แก่ NVIDIA BlueField DPU, AMD Pansando, Intel IPU
ไมโครซอฟท์เริ่มบุกตลาดนี้ด้วยการซื้อบริษัท Fungible ในปี 2023 เวลาผ่านมาเกือบ 2 ปีก็ออกมาเป็น Azure Boost DPU ที่ออกแบบมาสำหรับศูนย์ข้อมูล Azure โดยเฉพาะ
ไมโครซอฟท์ประกาศแนวทาง Windows Resiliency Initiative เพื่อเพิ่มความทนทานให้วินโดวส์ไม่ให้เกิดเหตุล่มเป็นวงกว้างแบบเดียวกับเหตุการณ์ CrowdStrike เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยวาง 4 แนวทาง ได้แก่
Red Hat ประกาศรับรอง Red Hat Enterprise Linux (RHEL) เป็นดิสโทรอย่างเป็นทางการบน Windows Subsystem for Linux (WSL)
ที่ผ่านมา เราสามารถนำดิสโทรใดๆ ก็ได้ไปรันบน WSL ได้เองอยู่แล้ว โดยไมโครซอฟท์มีความร่วมมือกับดิสโทรบางราย เช่น Ubuntu, Debian, Fedora ให้รองรับ WSL อย่างเป็นทางการ และมีแพ็กเกจของดิสโทรเหล่านี้ให้กดคลิกดาวน์โหลดจาก Microsoft Store ได้เลย
ประกาศนี้คือ Red Hat ประกาศรองรับ RHEL บน WSL อย่างเป็นทางการ ในแง่การใช้งานคงไม่ต่างอะไรกับการดาวน์โหลด RHEL มาติดตั้งเอง แต่สำหรับลูกค้าองค์กร การที่มี RHEL อย่างเป็นทางการให้ใช้งานบน WSL จะช่วยให้รันแอพพลิเคชันองค์กรข้ามไปมาระหว่าง RHEL ปกติกับ RHEL WSL ได้ง่ายขึ้นมาก
ไมโครซอฟท์อัพเดต Azure Stack HCI เดิมเป็นชื่อใหม่ว่า Azure Local ระบบจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับทั้ง virtual machine, เน็ตเวิร์ค, สตอเรจ, และ Kubernetes โดยเชื่อมกับ Azure แล้วสั่งงานผ่านคลาวด์ จัดการอัพเดตตามรอบรายเดือนได้อัตโนมัติโดยเวิร์คโหลดยังทำงานต่อไปไม่ต้องปิดการทำงาน
ความเปลี่ยนแปลงของ Azure Local ในรอบนี้คือมันรองรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กมากๆ ด้วย เริ่มต้นต้องการดิสก์เพียงสองลูก (ดิสก์บูต และดิสก์ข้อมูลแบบ SSD) หากต้องการทำ high availability ก็ต้องการการเชื่อมต่อ 1Gbps เท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งแบบไม่ใช้ Active Directory แต่ยังได้ฟีเจอร์ Live Migration อยู่
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows 365 Link ฮาร์ดแวร์สำหรับการใช้งาน Windows 365 บนคลาวด์โดยเฉพาะ ที่ออกแบบมาให้มีขนาดเล็กเพียง 120 x 120 x 30 มม. ปลอดภัย สำหรับลูกค้าองค์กร
Windows 365 Link รองรับการเชื่อมต่อจอภายนอก 4K สองจอ, สามพอร์ต USB-A 3.2, หนึ่งพอร์ต USB-C 3.2, HDMI, DisplayPort, ช่องหูฟัง 3.5 มม., มี Ethernet, รองรับ Wi-Fi 6E, Bluetooth 5.3 จึงใช้งานได้ทั้งรูปแบบเชื่อมต่อแบบมีสายหรือไร้สาย เนื่องจากฮาร์ดแวร์บูทขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อ Windows 365 ทันที จึงไม่มีการจัดเก็บข้อมูลใดที่อุปกรณ์ ทำให้องค์กรสามารถบริหารจัดการความปลอดภัยได้ง่ายขึ้น
ไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์ GraphRAG Solution Accelerator สำหรับ PostgreSQL บน Azure Database ทำให้ลูกค้าที่ต้องการพัฒนาแอปพลิเคชั่น RAG บน Azure สามารถใช้งานฐานข้อมูลสำเร็จรูปได้
ปกติแล้วการพัฒนาแอปพลิเคชั่น RAG (Retrieval Augmented Generation) จะอาศัยการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหรือคำถามของผู้ใช้เพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์ LLM สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาอ้างอิงในการสร้างคำตอบ แต่ GraphRAG เสนอว่าข้อมูลที่ดึงมาได้ว่าเกี่ยวข้องนั้นหลายครั้งมีข้อมูลที่เชื่อมโยงอยู่ด้วยและควรใช้งานด้วยกัน แม้จะไม่ได้ใกล้เคียงกับคำค้นโดยตรงก็ตาม
ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ WSL ในงาน Microsoft Ignite โดยเพิ่ม Red Hat Enterprise Linux อย่างเป็นทางการ โดยทาง Red Hat จะส่งอิมเมจเข้ามาภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า เพิ่มทางเลือกให้กับนักพัฒนาที่ต้องการใช้ดิสโทรใกล้เคียงกับโปรดักชั่นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นอกจากการรับดิสโทรใหม่ ไมโครซอฟท์ยังปรับปรุงแนวทางการสร้างดิสโทรสำหรับ WSL ให้ง่ายขึ้น สามารถ export จาก Docker container เลยก็ได้ ทำให้หลังจากนี้เราน่าจะได้เห็นดิสโทรใหม่ๆ บน WSL กันมากขึ้น
ไมโครซอฟท์นำเกม Avowed ของ Obsidian Entertainment ไปขายบนแพลตฟอร์ม Battle.net ของ Blizzard ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีเกมนอกค่าย Activision Blizzard ไปขายบน Battle.net ด้วย
Battle.net เป็นเซิร์ฟเวอร์เกมออนไลน์ยุคแรกๆ เปิดบริการมาตั้งแต่ปี 1996 พร้อมกับ Diablo ภาคแรก หลังจากนั้นก็พัฒนาเรื่อยมา โดยมีทั้งส่วนที่เป็นระบบเกมออนไลน์ และส่วนที่เป็นร้านขายเกมดิจิทัล แต่ที่ผ่านมามีเฉพาะเกมของ Blizzard เอง (World of Warcraft, Starcraft, Diablo) และ Activision (Call of Duty, Crash Bandicoot) เท่านั้น
Phil Spencer ให้สัมภาษณ์กับ Rolling Stone เนื่องในโอกาสออกแคมเปญโฆษณาใหม่ "This is an Xbox" ที่กลุ่มแฟนๆ ฮาร์ดคอร์ของ Xbox ไม่พอใจ เพราะมองว่าเป็นสัญญาณที่ไมโครซอฟท์จะเลิกทำฮาร์ดแวร์คอนโซล
Spencer ย้ำว่าไมโครซอฟท์จะออกฮาร์ดแวร์คอนโซลรุ่นใหม่อย่างแน่นอน รวมถึงฮาร์ดแวร์อื่นๆ ด้วย (“We’ll definitely do more consoles in the future, and other devices.”) ซึ่งน่าจะหมายถึงเครื่องเล่นเกมพกพา Xbox ที่เขาเพิ่งบอกว่าต้องใช้เวลาอีกหลายปี
Visual Studio Code เปิดตัวฟีเจอร์ Copilot Edits พิมพ์สั่งให้ปัญญาประดิษฐ์ของ GitHub Copilot ช่วยแก้โค้ดให้เห็นกันชัดๆ ใน editor เลย
ก่อนหน้านี้ VS Code รองรับฟีเจอร์ปัญญาประดิษฐ์ช่วยแก้โค้ดได้ 2 ทาง อย่างแรกคือการช่วยเติมโค้ด completion ในหน้าต่าง editor อย่างที่สองคือการแชทคุยถามตอบเรื่องโค้ดในแถบ chat sidebar
Copilot Edits เป็นวิธีการที่สาม ซึ่งผสมผสานจากสองวิธีแรก นั่นคือเราสามารถลากไฟล์ใส่ช่องแชท แล้วพิมพ์สั่งให้แก้โค้ดตามที่ต้องการ จากนั้นเราจะเห็นหน้าจอ editor นำเสนอว่าจะแก้โค้ดอย่างไรบ้าง ก่อนกด Accept/Discard เพื่อเลือกว่าจะรับการเปลี่ยนแปลงในโค้ดหรือไม่ (ดูวิดีโอประกอบได้จากต้นทาง)
NASA ประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ พัฒนาเครื่องมือเพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ สภาพอากาศ และวิทยาศาสตร์ของความเป็นไปของโลก ทำได้ง่ายขึ้น ออกมาเป็นชุดเครื่องมือ Earth Copilot
Earth Copilot เป็นปัญญาประดิษฐ์ Copilot ที่ปรับแต่งให้ทำงานร่วมกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่มากกว่า 100PB ประมวลผลด้วยบริการ Azure OpenAI ออกมาเป็นเครื่องมือที่ผู้ใช้งานสามารถถามและได้คำตอบเกี่ยวกับสภาพความเป็นไปของโลก
ไมโครซอฟท์ประเทศจีน จับมือกับ Tencent ผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการเกมจีน นำ Tencent App Treasure ร้านขายแอพและเกมมือถือของ Tencent มาอยู่บน Windows 11 โดยเป็นเซคชั่นหนึ่งใน Microsoft Store ของไมโครซอฟท์เลย
ไมโครซอฟท์ออกแคมเปญโฆษณาใหม่ "This is an Xbox" เพื่อบอกว่าแบรนด์ Xbox นั้นไปไกลกว่าเครื่องเกมคอนโซล เพราะครอบคลุมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ของบริษัทอื่นๆ ที่สามารถเล่นเกม Xbox ผ่านคลาวด์ได้ด้วย ตามยุทธศาสตร์ใหม่ที่มองว่า "ทุกหน้าจอคือ Xbox"
ตัวอย่างสินค้าที่อยู่ในแคมเปญโฆษณานี้ ได้แก่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก, สมาร์ททีวี, สมาร์ทโฟน, กล่องเซ็ตท็อปบ็อกซ์, Steam Deck, Amazon Fire TV Stick, แว่น Meta Quest เป็นต้น