อุปกรณ์แอนดรอยด์มากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลังจนกระทั่งแซง iOS ในแง่ของปริมาณเครื่องไปได้ไกลแต่ในแง่ของรายได้แอพพลิเคชั่นก็นับว่ายังห่าง เช่น รายงานจาก App Annie ในปี 2013 ตอนนี้ Opera Mediaworks ก็ออกรายงานแสดงรายได้โฆษณาออกมา
บริษัทวิจัยตลาด ABI Research รายงานยอดจัดส่งสมาร์ทโฟนประจำไตรมาส 4/2014 โดยจากยอดจัดส่งทั้งหมด 378 ล้านเครื่อง
ABI Research คาดว่ายอดขายทั้งปี (ซึ่งรายงานยังไม่ออกเพราะเพิ่งหมดปี) แบรนด์อับดับหนึ่งคือ iPad จะมียอดขาย 68 ล้านชุด ลดลงจากปี 2013 ที่มียอดขาย 74 ล้านชุด นับเป็นครั้งแรกที่ยอดขายลดลง
ส่วนแบ่งตลาดแท็บเล็ตตอนนี้คาดว่าแอนดรอยด์จะอยู่ที่ 54% ส่วน iOS อยู่ที่ 41% และวินโดวส์อยู่ที่ 5%
แบรนด์จำนวนหนึ่งที่น่าจะมียอดขายลดลงเช่นกัน ได้แก่ อเมซอน, Barnes & Noble, และกูเกิล ส่วนแบรนด์อื่นๆ ยังคงมีขยอดขายเติบโต โดยเฉพาะซัมซุงน่าจะมียอดขาย 43 ล้านชุด จาก 38 ล้านชุดในปีที่แล้ว เอเซอร์, เอซุส, เดลล์, เอชพี, แอลจี, และไมโครซอฟท์ ล้วนมียอดขายเพิ่ม
ABI Research คาดว่าปี 2015 นี้ยอดขายแท็บเล็ตจะยังเติบโตต่อไป
IDC ออกรายงานตลาดคอมพิวเตอร์ภาคการศึกษาของสหรัฐฯ ระบุว่า Chromebook ขายได้ทั้งหมด 715,000 เครื่องแซงหน้า iPad ที่ขายได้ 702,000 เครื่องไปเล็กน้อย แต่เป็นครั้งแรกที่ Chromebook เอาชนะ iPad ได้
สองปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Chromebook ทำได้ดีในตลาดการศึกษา คือ ราคาที่เริ่มต้นประมาณ 199 ดอลลาร์ เทียบกับ iPad ที่เมื่อได้ส่วนลดการศึกษาแล้วยังอยู่ที่ 379 ดอลลาร์, และคีย์บอร์ดเต็มที่เหมาะกับการเรียนมากกว่า ส่วน iPad ต้องซื้อคีย์บอร์ดแยกทำให้ราคายิ่งแพงขึ้นไปอีก
ที่มา - 9to5google
IDC รายงานสภาพตลาดแท็บเล็ตทั่วโลก ระบุว่ายอดส่งมอบรวมอยู่ที่ 53.8 ล้านชุด เติบโต 11.5% เทียบกับปีที่แล้ว และ 11.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สอง
รอบนี้มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือแอปเปิลมีส่วนแบ่งตลาดลดลงอย่างมาก คือ 12.3 ล้านชุดลดลง 12.8% เทียบกับปีที่แล้ว ปัญหาสำคัญคือแท็บเล็ตราคาถูกต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ที่เข้ามากินตลาดอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามนักวิจัยของ IDC แสดงความเห็นว่าตลาดแท็บเล็ตราคาถูกนั้นไม่ยั่งยืน และแอปเปิลก็ยังทำกำไรได้ดีในตลาดนี้ อีกรายหนึ่งคือ RCA ที่ขึ้นมาเป็นหนึ่งในห้าผู้ผลิตรายใหญ่จากการผลิตอุปกรณ์ราคาถูก จากเดิมส่วนแบ่งอยู่ที่ 1.8% ในปีที่แล้ว ปีนี้เพิ่มมาเป็น 4.9% รวมยอดขาย 2.6 ล้านชุด
ABI Research ออกรายงานวิเคราะห์ตลาด Chromebook ระบุว่ายอดขายครึ่งแรกของปีนี้เติบโตกว่าปีที่แล้ว 67% และคาดว่าปีนี้ทั้งปีจะเติบโตรวมเกือบเท่าตัว หรือ 4.1 ล้านเครื่อง เทียบกับปีที่แล้วมีมียอดขายทั้งปี 2.1 ล้านเครื่อง
หากทำได้ตามคาดจริง Chromebook ก็ยังมีตลาดเล็กมาก เทียบกับตลาดพีซีรวมที่ IDC เคยรายงานว่าอยู่ที่ 316 ล้านเครื่องในปี 2013
ตัวเลขคาดการณ์ยอดขาย Chromebook ปีนี้แต่ละบริษัทประมาณต่างกันมาก ขณะที่ ABI คาดไว้ที่ 4.1 ล้านเครื่อง ทาง DisplayResearch คาดไว้ที่ 8 ล้านเครื่อง และ Gartner คาดว่าจะอยู่ที่ 5.6 ล้านเครื่อง
Juniper Research ออกรายงานตลาดสมาร์ตโฟนคาดการณ์ตั้งแต่ปี 2014 ถึง 2019 ระบุว่าตลาดปีนี้น่าจะเติบโตถึง 1,200 ล้านเครื่องจากปี 2013 ที่อยู่ที่ 985 ล้านเครื่อง
รายงานนี้ระบุว่าการเติบโตส่วนมากจะมาจากโทรศัพท์ราคาต่ำกว่า 150 ดอลลาร์ที่เติบโตอย่างสูงในจีนและอินเดีย โดยรวมแล้วสมาร์ตโฟนทั่วโลกจะครองตลาดโดยแอปเปิลและซัมซุงรวมถึง 45%
สมาร์ตโฟนราคาถูกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ราคาขายเฉลี่ยของสมาร์ตโฟนตกลงเรื่อยๆ รายงานคาดว่าราคาเฉลี่ยจะเหลือ 274 ดอลลาร์ในปี 2019 ก่อนหน้านี้ IDC เคยรายงานราคาขายเฉลี่ยของสมาร์ตโฟนปี 2013 อยู่ที่ 335 ดอลลาร์ และคาดว่าปีนี้จะอยู่ที่ 314 ดอลลาร์
บริษัทสำรวจตลาด TrendForce จากไต้หวันออกรายงานสำรวจตลาด Chromebook ไตรมาสที่สอง (ต่างจาก NPD ที่ออกรายงาน 5 เดือนแรกของปี ซึ่งค่อนข้างแปลก) ระบุว่าเอเซอร์ครองส่วนแบ่งตลาดถึง 30% แซงหน้าซัมซุงที่ชิงส่วนแบ่งได้ 24% ส่วนที่สามคือเอชพีที่มีส่วนแบ่ง 21%
รายงานระบุว่าหากนับรวมครึ่งปีแรก ทั้งเอเซอร์และซัมซุงจะมีส่วนแบ่งแทบจะเท่ากัน อยู่ที่รายละ 900,000 เครื่องโดยประมาณ แต่ในไตรมาสที่สองเอเซอร์เริ่มกินส่วนแบ่งทิ้งห่างซัมซุงออกไปได้
NPD รายงานตลาดพีซี 5 เดือนแรกของปี 2014 ระบุว่า Chromebook กำลังกินตลาดพีซีอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา โดยห้าเดือนแรกนี้ Chromebook กินตลาดรวม 35% ของโน้ตบุ๊กทั้งหมดจากยอดรวมทุกช่องทางขาย
รายงานระบุว่าในปีนี้เอง Chromebook ยังคงกินส่วนแบ่งตลาดพีซีอย่างต่อเนื่อง หากนับเฉพาะสามสัปดาห์ถึงวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา Chromebook จะกินตลาดโน้ตบุ๊กไปถึง 40%
ในยุคของสมาร์ทโฟน ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าแอปเปิลคือผู้จุดประกายกระแสความนิยมการใช้งานแอพบนสมาร์ทโฟนตัวจริง และผู้ใช้อุปกรณ์ iOS ส่วนมากก็ใช้เวลากับแอพในเครื่องมากกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ มาตลอด แต่ในที่สุดบัลลังก์นี้ก็ถูกท้าทายจากบริษัทคลื่นลูกใหม่สัญชาติจีน Xiaomi ที่เพิ่งมีรายงานว่าผู้ใช้แอพใช้เวลานานกว่าแอปเปิลเลยทีเดียว
รายงานดังกล่าวมาจาก Flurry บริษัทเก็บข้อมูลการใช้งานอุปกรณ์พกพาที่ไปเก็บข้อมูลการใช้งานสมาร์ทโฟนในจีนมากกว่า 23,000 เครื่อง และได้ผลออกมาว่าอุปกรณ์ของ Xiaomi มีผู้ใช้งานแอพยาวนานที่สุด เหนือกว่าแอปเปิลที่ครองตำแหน่งนี้มายาวนานกว่า 6 ปีด้วยกัน
บริษัท OnDevice Research เปิดเผยผลสำรวจการใช้งานอินเทอร์เน็ตมือถือในประเทศฟิลิปปินส์ มีข้อมูลน่าสนใจดังนี้
ข้อมูลฉบับเต็มดูได้ที่ OnDevice Research ครับ
ที่มา: The Next Web
Statcounter รายงานตัวเลขระบบปฎิบัติการในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พบว่า Windows XP นั้น "หยุดลดลง" จากก่อนหน้านี้ที่การใช้งานค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ Windows 8 นั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่กราฟก็แสดงให้เห็นว่าตัวเลขผู้ใช้ Windows 8 และ 8.1 นั้นมาทดแทนผู้ใช้ Windows Vista ขณะที่ผู้ใช้ Windows 7 นั้นไม่ลดลงเลยในช่วงเวลาที่ผ่านมา
จนตอนนี้หลังจากออกวินโดวส์มาหลายรุ่น รุ่นยอดนิยมก็ยังคงเป็น Windows 7 และ Windows XP
ที่มา - Statcounter, The Register
บริษัทวิจัย Kantar Worldpanel ComTech เปิดเผยผลสำรวจยอดขายสมาร์ทโฟนในประเทศอังกฤษ เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดย Galaxy S5 ของซัมซุงมียอดขายในประเทศอังกฤษสูงเป็นอันดับที่ 3 โดยเป็นรอง iPhone 5s และ iPhone 5c ตามลำดับ
Galaxy S5 เริ่มจำหน่ายในทวีปยุโรปเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยพฤษภาคมเป็นช่วงที่มีการขายเต็มเดือน ผลสำรวจยังพบข้อมูลน่าสนใจว่าในกลุ่มผู้ซื้อ Galaxy S5 นั้น 17% ย้ายมาจาก iPhone ขณะที่ 58% เป็นผู้ที่ใช้ซัมซุงอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว
ที่มา: Kantar Worldpanel ComTech
บริษัทวิจัย NPD รายงานตลาดคอมพิวเตอร์ที่ไม่นับสมาร์ตโฟนในสหรัฐฯ ได้แก่ แท็บเล็ต, โน้ตบุ๊ก, และเดสก์ทอป ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ Chromebook จากเดิมแทบไม่มีส่วนแบ่งในตลาด ปีนี้กลับชิงส่วนแบ่งได้ถึง 9.6% และหากนับตลาดโน้ตบุ๊กทั้งหมดจะครองส่วนแบ่งถึง 21% และแท็บเล็ตแอนดรอยด์ที่ชิงส่วนแบ่งเพิ่มถึงเท่าตัวเป็น 8.7%
ตลาดพีซีเดิม ได้แก่ เดสก์ทอปและโน้ตบุ๊กเสียส่วนแบ่ง 4.5% และ 8.6% ตามลำดับ ขณะที่เจ้าตลาดแท็บเล็ตอย่างไอแพดเสียส่วนแบ่งไปเล็กน้อย 1.3% และวินโดวส์แท็บเล็ตได้ส่วนแบ่งมา 2.2%
ความเปลี่ยนแปลงของ Chromebook และแท็บเล็ตแอนดรอยด์ทำให้ซัมซุงขึ้นมาเป็นที่สี่ของผู้ผลิตที่มีส่วนแบ่งสูงสุด ได้ส่วนแบ่งไป 10% จากปี 2012 ที่มีส่วนแบ่งเพียง 1.7% เท่านั้น
Caesar Sengupta รองประธานกูเกิลที่ดูแล Chromebook ระบุว่าในตอนนี้โรงเรียนทั่วสหรัฐฯ มากกว่า 5,000 โรงเรียน หรือ 22% ของโรงเรียนทั้งหมดเลือกใช้ Chromebook ครองตลาดพีซีช่วงเปิดเทอมของสหรัฐฯ 3.3% หรือ 175,000 เครื่อง
ตัวเลขจำนวนเครื่องนั้นเป็นงานวิจัยโดย NPD นำเสนอข้อมูลการซื้อพีซีช่วงสิบสัปดาห์ก่อนเปิดภาคเรียนของสหรัฐฯ จากปีที่แล้วที่ Chromebook แทบไม่มีส่วนแบ่งเลย ปีนี้ครองส่วนแบ่ง 3.3% ขณะที่วินโดวส์ยังครองที่หนึ่ง 58.2% และเครื่องแมคบุ๊กครอง 20.3% ที่เหลือเป็นเครื่องเดสก์ทอป
ทั้งกูเกิลและไมโครซอฟท์ต่างต่อสู้กันอย่างหนักในตลาดการศึกษา ทั้งสองบริษัทต่างให้บริการออฟฟิศออนไลน์กับหน่วยงานการศึกษาฟรี
ตลาดเซิร์ฟเวอร์ในช่วงปีที่ผ่านมาหักหัวลดลงตามตลาดพีซีในช่วงปีที่ผ่านมา ตอนนี้กระทบมาถึงตลาดสตอเรจที่หยุดการเติบโต ตามรายงานประจำไตรมาสของ IDC ที่ระบุว่าตลาดสตอเรจรวมนั้นหดตัวลงถึง 5% ขณะที่ตลาดสตอเรจภายนอกหดตัวลงเล็กน้อย 0.8%
รายงานระบุว่าตลาดสตอเรจภายนอกในไตรมาสที่สองของปีนี้อยู่ที่ 5,952 ล้านดอลลาร์ ลดจากไตรมาสที่สองของปีที่แล้วที่มีมูลค่า 6,002 ดอลลาร์ ขณะที่อันดับหนึ่งอย่าง EMC นั้นยังสามารถเติบโตได้ 2.1% รวมยอดขาย 1,860 ล้านดอลลาร์ ขณะที่สองอย่าง NetApp นั้นเติบโตถึง 8.6% เป็น 789 ล้านดอลลาร์ ส่วนอันดับอื่นๆ นั้นมีส่วนแบ่งลดลงทั้งหมด
Forbes จัดอันดับบริษัทที่มีนวัตกรรมสูงจากบริษัทที่มีอยู่ในตลาดหลักทรัพย์มา 7 ปีขึ้นไป, มูลค่าตลาดเกิน 10,000 ล้านดอลลาร์, และต้องมีสัดส่วนงบประมาณวิจัยและพัฒนาต่อยอดขายสูงพอที่จะได้รับพิจารณา
ในปีนี้บริษัทในเอเชียเข้าอยู่ใน 100 อันดับแรกอยู่ 20 บริษัท
สำหรับบริษัทด้านบริการคอมพิวเตอร์ ที่เราเคยได้ยินกันได้แก่
ตลาดองค์กรในสิบปีที่ผ่านมาส่วนมากมักตกในมือของวินโดวส์และลินุกซ์มากขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างนั้นก็ยังมีการใช้งานยูนิกซ์อยู่มาก ปีที่แล้วยูนิกซ์ยังมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ถึง 16% แต่รายงานคาดการณ์ของการ์ตเนอร์ระบุว่าส่วนแบ่งนี้น่าจะเหลือเพียง 9% ในปี 2017 หรืออีกสี่ปีข้างหน้า
ในโลกองค์กรนั้น x86 ยังคงกินตลาดเซิร์ฟเวอร์มากขึ้นเรื่อยๆ และลูกค้าจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยตลาดส่วนมากของยูนิกซ์นั้นครองโดยผู้ผลิตเพียงสามรายคือ ไอบีเอ็ม 56%, ออราเคิล 19.2%, และเอชพี 18.6%
อย่างไรก็ดี Richard Fichera รองประธานของ Forrester ระบุว่ายูนิกซ์จะไม่หายไปในเร็วๆ นี้ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์จะเริ่มรองรับลินุกซ์เพื่อให้ลูกค้าย้ายไปใช้งานได้ง่ายขึ้นแต่ลูกค้าจำนวนมากจะยังคงเลือกใช้ยูนิกซ์ต่อไป
การหดตัวลงของตลาดพีซีทำให้ตลาดชิปกราฟิกที่มูลค่าสูงนั้นหดตัวตามไปด้วย รายงานจาก Jon Peddie Research ระบุว่าไตรมาสที่ผ่านมา การ์ดจอแยกนั้นมียอดส่งมอบทั้งหมด 14 ล้านชุด ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า 5.4% และไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว 5.2% นับว่าหนักกว่าตลาดพีซีที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า 3.7%
ตลาดกราฟิกแบบแยกเฉพาะในตอนนี้ ส่วนแบ่งของ Nvidia ลดลงเล็กน้อย ขณะที่เอเอ็มดีได้ส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นมา แต่ยังตามหลังอยู่มาก
เมื่อมองตลาดกราฟิกรวมชิปกราฟิกที่ฝังในซีพียูทั้งหมดจะกลายเป็นอินเทลที่มีส่วนแบ่งตลาดนำเป็นที่หนึ่งด้วยส่วนแบ่ง 62% แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ปีที่ผ่านมาเอเอ็มดีเสียส่วนแบ่งให้ Nvidia ไปเล็กน้อย
แม้ว่าปริมาณการใช้งานแอนดรอยด์จะสูงแซงหน้าแอปเปิลไปนานแล้ว แต่สำหรับนักพัฒนาแอพพลิเคชั่น ตลาดของแอพพลิเคชั่นแบบ "ได้เงินจากตัวแอพพลิเคชั่น" ยังเป็นของแอปเปิลด้วยรายได้รวมที่ App Store ห่างจาก Play Store อยู่มาก แต่รายงานจาก Distimo ล่าสุดระบุว่าตัวเลขนี้กำลังใกลกันขึ้นเรื่อยๆ จากแรงส่งในญี่ปุ่นและเกาหลี
จนตอนนี้สภาพตลอดก็ยังเป็นเช่นเดิม เงินหมุนเวียนในตลาดแอพพลิเคชั่นของแอปเปิลยังสูงถึงสองเท่าของแอนดรอยด์ อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาตลาดรวมของแอปเปิลเติบโตขึ้น 15% ขณะที่ตลาดแอนดรอยด์นั้นเติบโตขึ้นมาถึง 67%
รายงานตลาดแท็บเล็ตแอนดรอยด์ไตรมาสที่สองของปีนี้ ตลาดโดยรวมยังคงเติบโตสูงถึง 43% และฝั่งแอนดรอยด์นั้นเติบโตโดยรวมได้เร็วจนกินส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นมาเป็น 53% ของตลาด
แอปเปิลเองดูจะเริ่มมีปัญหาในตลาดนี้บ้างจากยอดส่งมอบที่ลดลงถึง 14.2% โดยนักวิเคราะห์ของ Canalys ระบุว่าเป็นเพราะสินค้าใหม่ๆ ดึงลูกค้ากลับมาจากแท็บเล็ตราคาถูกจากแบรนด์หลักๆ ไม่ได้และแท็บเล็ตขนาดใหญ่นั้นได้รับความนิยมน้อยลง ทำให้ในแง่ส่วนแบ่งตลาดจากปีที่แล้วที่แอปเปิลมีส่วนแบ่งถึง 71.2% ปีนี้กลับลดลงมาเหลือเพียง 42.7%
แต่แอปเปิลยังคงเป็นที่หนึ่งทั้งในแง่ของยอดขาย และตัวเลขกำไรรวมนั้นก็น่าจะสูงกว่ารายอื่นๆ อยู่มาก แนวโน้มเช่นนี้เป็นแนวโน้มเดียวกับตลาดสมาร์ตโฟนที่แอปเปิลไม่มีสินค้าราคาต่ำมาสู้กับแบรนด์อื่นๆ
IDC ออกรายงานคาดการปริมาณส่งมอบพีซีทั้งปี 2013 ไปจนถึงปี 2017 คาดว่าปีนี้ตัวเลขทั้งปีจะอยู่ที่ 193.5 ล้านเครื่อง จากปีที่แล้ว 205.3 ล้านเครื่อง ลดลง 7.8% หลังจากที่ไตรมาสแรกของปีนี้ลดลงต่ำสุดในประวัติศาสตร์พีซี ด้วยยอดส่งมอบลดลง 13.9%
Bob O'Donnell รองประธานของ IDC ระบุว่าเป็นโชคร้ายที่ Windows 8 กลับเป็นตัวฉุดให้ตลาดซีพียิ่งแย่ลงจากการเปลี่ยนหน้าจอไปอย่างมาก การเพิ่มต้นทุนด้วยการใส่จอสัมผัส ขณะที่แท็บเล็ตนั้นเริ่มบุกตลาดอย่างหนัก และไมโครซอฟท์กำลังถูกบีบให้ตัดสินใจบางอย่างเพื่อฉุดตลาดพีซีกลับขึ้นมาอีกครั้ง
ดัชนีวัดความนิยมของภาษาโปรแกรม TIOBE เผยสถิติเดือนเมษายน ภาษา Objective-C ร่วงลงสู่อันดับ 4 เป็นครั้งแรกที่ตำแหน่งลดลง (ก่อนหน้านี้อันดับพุ่งขึ้นเรื่อยๆ จนมาหยุดที่อันดับ 3) โดน C++ แซงกลับสู่ตำแหน่งเดิมอีกครั้ง
บริษัทวิจัย IDC เผยผลสำรวจยอดส่งมอบพีซีทั่วโลกประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2013 พบว่ามีจำนวนลดลงเหลือ 76.3 ล้านเครื่อง หรือลดลงถึง 13.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2012 โดยเป็นการลดลงแบบเทียบกับปีก่อนติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สี่ รวมถึงเป็นตัวเลขการลดลงที่มากที่สุด นับตั้งแต่ IDC เริ่มทำการสำรวจตลาดรวมในปี 1994
Bob O'Donnell รองประธานของ IDC บอกว่าผลที่ออกมานี้ช่วยยืนยันได้ว่า Windows 8 ไม่สามารถกระตุ้นตลาดพีซีได้ และธุรกิจพีซีก็ยังประสบปัญหาในการแข่งขันกับอุปกรณ์ที่มีราคาต่ำกว่าอย่างแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน ถึงแม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ ก็ตาม
บริษัทวิจัยตลาด BCN ได้ทำการสำรวจลูกค้าในร้านอิเล็กทรอนิกส์ที่ประเทศญี่ปุ่นจำนวน 2,400 คน พบว่ากลุ่มตัวอย่าง 44.4% บอกว่าพวกเขาเลือกซื้อแท็บเล็ต Nexus 7 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่บอกว่าเลือก iPad นั้นมีอยู่ 40.1%
หนังสือพิมพ์ Nikkei ระบุว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ Nexus 7 ได้รับความนิยมเหนือกว่า iPad เป็นเพราะราคาที่ต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม Nikkei ยังระบุว่าอีกปัญหาหนึ่งอาจส่งผลให้ลูกค้าในญี่ปุ่นบอกว่าไม่ได้ซื้อ iPad ก็เพราะ iPad mini ตอนนี้ขาดตลาดอยู่นั่นเอง
ตลาดแท็บเล็ตในประเทศญี่ปุ่นถือเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่งของโลก ปีที่ผ่านมามีการประเมินว่าแท็บเล็ตขายในญี่ปุ่น 3.6 ล้านเครื่อง และปีนี้น่าจะขายได้ 4.9 ล้านเครื่อง