Lyft ได้จ้างงาน Luc Vincent ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่จาก Google มาเป็นรองประธานฝ่ายวิศวกรรมของบริษัท ทำงานในด้านแผนที่ รายงานตรงต่อ Peter Morelli
หน้าที่หลักของ Vincent ใน Lyft คือการเน้นการปรับปรุงข้อมูลแผนที่แบบเรียลไทม์บนแอพ Lyft รวมถึงการปรับปรุงอัลกอริทึมที่จะจับคู่ผู้ขับรถกับผู้เรียกรถ รวมถึงการคำนวณหาเส้นทางที่ดีที่สุด เนื่องจากทั้งสองฟีเจอร์นี้ใช้งานข้อมูลแผนที่แบบเรียลไทม์
จากกรณีแคมเปญประท้วง #DeleteUber ส่งผลให้คู่แข่ง Lyft ที่แสดงท่าทีต่อต้านประธานาธิบดี Trump อย่างชัดเจน ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นทันที และล่าสุดไต่ขึ้นมาเป็นอันดับ 4 ของ Top Free ใน App Store ของสหรัฐอเมริกาแล้ว (ขณะที่เขียนข่าวนี้ Uber ตกไปเป็นอันดับ 13) ถือเป็นครั้งแรกที่ Lyft สามารถเอาชนะ Uber ได้ในแง่ของอันดับแอพ
แคมเปญ #DeleteUber ได้รับเสียงตอบรับจากดาราคนดังในฮอลลีวู้ดหลายราย (เช่น นักแสดงชื่อดัง Susan Sarandon) และร่วมทวีตข้อความ #DeleteUber ออกไป ส่งผลให้แคมเปญนี้แพร่กระจาย และยอดดาวน์โหลด Lyft เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (ตอนแรกอยู่อันดับ 39)
ต้องรอดูว่า Uber จะแก้เกมนี้อย่างไร
บรรดาผู้นำโลกไอทีสหรัฐต่างออกมาคัดค้านนโยบายผู้อพยพของ Donald Trump ที่ดูเป็นเอกภาพ แต่กรณีของ Uber กลับแตกต่างออกไป
Travis Kalanick ซีอีโอของ Uber เคยเข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาให้กับ Trump มาก่อน (คนอื่นที่เข้าร่วมคือ Elon Musk และซีอีโอของบริษัทใหญ่อื่นๆ เช่น Disney, IBM, Wal-Mart, GM, PepiCo รวม 19 คน) ทำให้เขาถูกวิจารณ์มาก่อนแล้วว่าเข้าไปช่วย Trump และในแถลงการณ์ของเขาเรื่องผู้อพยพ ก็ไม่ได้แสดงท่าทีชัดเจน (เท่ากับซีอีโอคนอื่นๆ) ในการคัดค้าน Trump
Logan Green และ John Zimmer ผู้ร่วมก่อตั้ง Lyft ได้เสนอรัฐบาลถึงวิธีการลดปริมาณการจราจรบนถนน โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า smart lane
smart lane นี้จะมีความพิเศษอย่างหนึ่ง คือเป็นช่องทางเดินรถที่จะใช้สำหรับรถยนต์ที่มีผู้โดยสาร 3 คนขึ้นไปเท่านั้นจึงจะได้วิ่งในช่องทางนั้นฟรี แต่ถ้าไม่ใช่ จะต้องจ่ายเงินเพื่อใช้ช่องทางเดินรถ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ใช้พื้นที่บนรถยนต์อย่างคุ้มค่า
ในบล็อกของ Zimmer นั้น เขียนไว้ว่ารัฐบาลควรจะกำหนดว่า ถนนสายใดควรจะกำหนดเป็น smart lane โดยดูจากข้อมูลด้านการจราจรในท้องถิ่น ซึ่ง smart lane ที่กำหนดขึ้นนี้สามารถทำเงินให้กับหน่วยงานภาครัฐ และเงินเหล่านี้สามารถนำไปลงทุนต่อได้อีกมาก ในขณะที่สามารถช่วยลดปริมาณการจราจรได้ด้วย
มีรายงานใหม่จาก CNBC เผยว่า Lyft เตรียมที่จะขยายบริการเรียกรถของตัวเองออกไปนอกสหรัฐฯ โดยมีหลักฐานซึ่งได้มาจากการอัพเดตล่าสุดกับพาร์ทเนอร์ทั่วโลกของ Lyft
ปัจจุบัน Lyft มีบริษัทพาร์ทเนอร์คือ Ola, Didi และ Grab ซึ่งแอพของพาร์ทเนอร์ทั้งหมดนั้นสามารถใช้เรียกรถ Lyft ในสหรัฐฯ ได้เลยโดยไม่ต้องดาวน์โหลดแอพใหม่
ล่าสุด Lyft ได้ส่งข้อความถึงผู้ใช้ทั่วโลกแล้ว ว่าให้ดาวน์โหลดแอพ Lyft แยกจากแอพเหล่านั้น ซึ่งก็น่าจะเป็นท่าทีของ Lyft ที่ต้องการจะทำบริการเอง และจากรายงานของ CNBC บอกว่าทางบริษัท Lyft นั้นคาดว่าจะเริ่มทำตลาดนอกสหรัฐฯ ภายในปีนี้ หลังจากที่ 5 ปีที่ผ่านมา Lyft ทำตลาดเฉพาะในสหรัฐฯ ในขณะที่คู่แข่งอย่าง Uber มีการดำเนินงานกว่า 70 ประเทศทั่วโลกแล้ว
Lyft ออกอุปกรณ์ใหม่ Amp เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อกันระหว่างคนขับและคนโดยสารผ่านระบบบลูทูธ แสดงแถบสีที่ตรงกันระหว่างสองฝ่าย ให้ผู้โดยสารรู้ว่ารถคันไหนจะมารับเรา
รูปร่างอุปกรณ์คล้ายลำโพงเล็กติดตั้งไว้ที่แผงหน้าปัดรถยนต์ เมื่อมีคนเรียกใช้จะมีข้อความปรากฏที่ Amp คนขับกดปุ่มเชื่อมต่อ จากนั้นแจ้งเตือนไปยังแอพพลิเคชั่นบนมือถือของผู้ใช้ ผู้ใช้รู้ได้ง่ายขึ้นว่ารถคันไหนจะมารับ
Amp จะเปิดให้ใช้ภายในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ ในซานฟรานซิสโก ลอสแองเจลิส ลาสเวกัส และนิวยอร์ก และจะแพร่ออกสู่ตลาดทั้ง 200 กว่าแห่งของ Lyft ภายในครึ่งปีหน้า
John Zimmer ผู้ก่อตั้ง Lyft บริการเรียกรถในสหรัฐอเมริกา ออกมาประกาศแผนการให้บริการ "รถยนต์ไร้คนขับ" ของ Lyft ดังนี้
สงครามแอพเรียกรถยนต์ ขยายสมรภูมิจากแอพเฉพาะของแต่ละค่าย มาเป็นการช่วงชิงตำแหน่ง "ปุ่มเรียกรถ" ในแอพแผนที่ยอดนิยม โดยก่อนหน้านี้ Google Maps เพิ่มปุ่มเรียกรถของ Uber และ Grab แล้ว
ล่าสุด Google Maps เพิ่มปุ่มเรียกรถจาก Lyft และ Gett คู่แข่งของ Uber ในสหรัฐอเมริกาแล้ว ส่งผลให้ตอนนี้ Google Maps มีบริการเรียกรถทั้งหมด 9 ยี่ห้อใน 60 ประเทศ
ที่มา - Google Lat Long
ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานข่าวว่า Lyft กำลังจะขายบริษัทให้บริษัทใหญ่ โดย General Motors หรือ GM บริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่สนใจ Lyft มาก และ The Information ก็รายงานก่อนหน้านี้ว่า GM สนใจจะเข้าซื้อกิจการ Lyft ด้วยมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์
ล่าสุด The Verge รายงานโดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับดีลนี้ เผยไว้ว่า Lyft ปฏิเสธการเสนอเข้าซื้อจาก GM ไปแล้ว เนื่องจากทางบริษัทต้องการหาผู้ซื้อที่เสนอราคาให้ 8-10 พันล้านดอลลาร์
สำนักข่าว The New York Times ได้รายงานในช่วงก่อนหน้านี้ว่า บริษัท Lyft ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการเรียกรถผ่านแอพคล้ายกับ Uber กำลังพูดคุยถึงการขายบริษัทให้กับบริษัทใหญ่หลายแห่ง โดยในรายงานเผยว่าบริษัทใหญ่มีตั้งแต่ General Motors, Apple, Google, Amazon, Uber รวมไปถึง Didi Chuxing ที่จะเข้ามาประมูลเพื่อซื้อ Lyft ซึ่งบริษัทที่ดูจะให้ความสนใจมากที่สุดคือ GM
จากนั้นทางฝั่ง Lyft ก็ได้ปฏิเสธเรื่องการขายบริษัท โดยผู้ที่ออกมาปฏิเสธคือ John Zimmer ประธานบริษัท Lyft กล่าวกับ Business Insider ว่า Lyft ไม่ได้กำลังหาคนที่จะมาซื้อ
มลรัฐแมสซาชูเซตส์เตรียมจัดเก็บภาษีบริการเรียกรถผ่านแอพอย่าง Uber หรือ Lyft โดยจะนำเงินส่วนหนึ่งที่ได้ไปพัฒนาแท็กซี่ท้องถิ่นเดิม
ในเดือนนี้ผู้ว่าการรัฐเซ็นรับรองกฎหมายจัดเก็บภาษีดังกล่าวแล้ว กฎหมายระบุว่าในการเรียกรถหนึ่งครั้ง บริษัทต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงิน 20 เซนต์ แบ่งเป็น 5 เซนต์เพื่อพัฒนาแท็กซี่ท้องถิ่น 10 เซนต์เป็นของมลรัฐ และอีก 5 เซนต์กำหนดให้เป็นกองทุนเพื่อพัฒนาการขนส่งต่อไป
วิธีการจัดเก็บภาษียังต้องมีการร่างเพิ่ม แต่จะไม่มีการเพิ่มค่าบริการจากลูกค้า ในกฎหมายยังระบุอีกว่า เงินที่ได้จะช่วยพัฒนาวงการแท็กซี่ให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ การบริการ และความปลอดภัยที่ทันสมัย รวมถึงจะช่วยพัฒนาแรงงานด้วย และทั้ง Uber และ Lyft ก็ยินยอมในมาตรการดังกล่าว
Certify บริษัทที่เก็บข้อมูลด้านการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวออนไลน์ เปิดเผยข้อมูลการสำรวจซึ่งชี้ว่า ไตรมาสที่สองของปีนี้ Uber ครองสัดส่วนผู้ให้บริการด้านการเดินทางกว่า 72.53% ขณะที่แท็กซี่ตามมาที่ 22.27% และ Lyft ที่ 5.20%
Certify ระบุด้วยว่านับตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา สัดส่วนของแท็กซี่ในตลาดลดลงมาถึง 51% สาเหตุสำคัญคาดว่าน่าจะมาจากการที่ Uber มีค่าบริการที่ถูกกว่า และไม่ต้องเสียเวลาไปต่อคิวหรือมองหารถ ซึ่งไม่เฉพาะแท็กซี่เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ บริการเช่ารถก็มีผู้ใช้บริการที่ลดลงเช่นกัน
สืบเนื่องจากความร่วมมือระหว่าง Grab กับ Lyft ก่อนหน้านี้ ล่าสุด Grab ประเทศไทยประกาศรองรับความร่วมมือครั้งนี้แล้ว ทำให้ผู้ใช้ Grab หากเดินทางไปยังสหรัฐ สามารถเรียกใช้บริการ Lyft และ Lyft Plus ผ่านแอพ Grab ได้โดยตรง
เช่นเดียวกับผู้ใช้ Lyft ก็สามารถเรียก Grab Taxi และ Grab Car ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เช่นกัน ซึ่งนอกจาก การเรียกรถข้ามแพลตฟอร์มแล้ว ผู้ใช้ทั้งสองค่าย ยังมี PayPal เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการชำระเงินเพิ่มเข้ามาด้วย
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์
Uber และ Lyft บริการรถแท็กซี่ได้ประกาศหยุดให้บริการในเมืองออสติน รัฐเทกซัส เมื่อเดือนก่อน หลังชาวเมืองโหวตให้ทั้งสองบริษัทต้องใช้มาตรการควบคุมคนขับของทางเมือง ซึ่งทั้ง Uber และ Lyft ไม่ยินยอมปฏิบัติตาม แต่ผลคือชาวเมืองออสตินก็ยังหาทางออกสำหรับบริการเรียกแท็กซี่ได้โดยการใช้ Facebook Group แทน
โดยมีกลุ่มใน Facebook ชื่อ Arcade City Austin / Request A Ride ซึ่งเป็นกลุ่มปิด ที่มีสมาชิกมากกว่า 30,000 คน เป็นชาวเมืองออสติน โดยหากสมาชิกต้องการเรียกแท็กซี่ ก็ให้โพสต์ข้อความระบุตำแหน่งที่อยู่ สถานที่ต้องการไป และเวลาให้มารับ จากนั้นบรรดาคนขับที่สนใจก็จะมาแสดงความเห็นพร้อมแสดงราคาค่าบริการ บางรายอาจเพิ่มภาพประวัติผู้ขับขี่จาก Uber เพื่อเพิ่มความมั่นใจ หากการเจรจาจบลงก็ให้ลบโพสต์นั้นทิ้งเป็นอันสิ้นสุดกระบวนการ
กลุ่มดังกล่าวดูแลโดย Arcade City ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพสถานะเบต้า ให้บริการเรียกรถแท็กซี่ โดยมีจุดขายคือให้ผู้ขับขี่เสนอราคาที่ต้องการให้บริการกับผู้โดยสาร และตกลงวิธีชำระเงินกันเอง ซึ่งในอนาคต Arcade City ก็คงไม่ได้ให้บริการเรียกแท็กซี่ผ่าน Facebook Group แน่ แต่ถือเป็นการเปิดตัวที่น่าสนใจ
Walmart ได้ประกาศในงานประชุมผู้ถือหุ้น โดยบอกว่าตอนนี้ทางบริษัทได้จับมือกับบริการใหญ่ 3 บริการ ได้แก่ Uber, Lyft และ Deliv เพื่อเป็นบริการส่งของให้ลูกค้าถึงหน้าบ้าน
ลูกค้า Walmart ที่ต้องการใช้บริการเพียงแค่สั่งสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์และเลือกสถานที่ส่ง จากนั้น Walmart จะเตรียมออร์เดอร์และจะเรียกใช้บริการ Lyft, Uber หรือ Deliv เพื่อให้ส่งของต่อ โดยผู้ใช้ก็จ่ายค่าส่งให้ Walmart เพียง 7-10 ดอลลาร์เท่านั้น และไม่ต้องจ่ายเพิ่มให้ผู้ขับรถ
ในตอนเริ่มต้น Walmart จะทดลองใช้ Uber ที่เมือง Phoenix และ Lyft ที่เมือง Denver ก่อน และคาดว่าน่าจะเริ่มทดลองได้ภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ชาวเมืองออสติน ในมลรัฐเทกซัส ออกมาโหวตปฏิเสธไม่ให้บริษัทบริการแทกซี่ Uber และ Lyft สามารถออกกฎควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยของตนเองได้ โดยมีคะแนนเสียง 56% ส่วน 44% หนุนให้ทางบริษัทจัดการควบคุมตนเองได้
กระบวนการขับเคลื่อนให้รถยนต์ไร้คนขับ ให้กลายเป็นที่ยอมรับทั้งในเชิงกฎหมายและสังคมในสหรัฐฯ ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด Google ได้จับมือกับ Ford, Volvo, Uber และ Lyft จัดตั้งกลุ่ม Self-Driving Coalition for Safer Streets ในการทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อผลักดันร่างกฎหมาย รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนและภาคส่วนอื่นๆ เกี่ยวกับรถไร้คนขับให้มากยิ่งขึ้น
เพื่อผลักดันเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับให้เป็นที่ยอมรับ และเพื่อให้การประสานงานกับหน่วยงานอื่นมีความชัดเจน กลุ่มบริษัทอันประกอบไปด้วย Google, Volvo, Ford, Uber และ Lyft ได้ประกาศรวมตัวกันเป็นพันธมิตรเพื่อประสานความร่วมมือกันเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
เป้าหมายของการจับมือกันในครั้งนี้คือ "ทำงานร่วมกับผู้ออกกฎหมาย, ผู้ควบคุมบังคับใช้กฎหมาย, และสาธารณชนให้ตระหนักถึงคุณประโยชน์ด้านความปลอดภัยและด้านสังคมของพาหนะไร้คนขับ"
Lyft บริการเรียกรถแท็กซีทางฝั่งของสหรัฐฯ จับมือเป็นพันธมิตรกับ Didi Kuaidi ของจีนและ Grab เพื่อรับมือและตอบโต้กับการเติบโตของ Uber มาระยะหนึ่งแล้ว โดยล่าสุดพันธมิตรนี้เริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้น เมื่อลูกค้า Lyft หากเดินทางไปเที่ยวในจีนและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถเรียกบริการของ Didi Kuaidi และ Grab ได้เลยในแอพและไม่ต้องสม้ครแอคเคาท์ใหม่ใดๆ ทั้งสิ้น
ขณะเดียวกัน ลูกค้าของ Didi และ Grab หากไปเที่ยวสหรัฐฯ สามารถเรียกใช้บริการ Lyft ได้ในรูปแบบเดียวกัน โดยการตัดเงินจะตัดกับบัตรเครดิตที่ผูกกับบริการของผู้ใช้ตามปกติ
ที่มา - Engadget
สองเดือนก่อน GM ร่วมลงทุนในบริษัท Lyft เพื่อวิจัยเกี่ยวกับรถยนต์ไร้คนขับ ลงเงินไปราว 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคาดว่าสุดท้ายแล้ว Lyft จะใช้รถยนต์ไร้คนขับจาก GM แต่ก่อนจะถึงจุดนั้น ขณะนี้มีผลจากความร่วมมือออกมาบ้างแล้ว เป็นบริการที่ให้คนขับของ Lyft เช่ารถจาก GM มาให้บริการได้
บริการนี้ชื่อ Express Drive เปิดโอกาสให้ผู้สนใจมาขับรถให้ Lyft แต่ไม่มีรถที่เหมาะสมสามารถเช่ารถขับได้ โดย John Zimmer ผู้ร่วมก่อตั้ง Lyft บอกว่ามีผู้สมัครมาขับให้ Lyft ถึง 150,000 คน แต่ไม่มีรถ หรือมีรถแต่ไม่ผ่านเกณฑ์ของบริษัท ซึ่งหลังจากนี้ GM จะให้รถยนต์ SUV ยี่ห้อ Chevrolet รุ่น Equinox แก่ Lyft เป็นจำนวน 500 คันมาเข้าร่วมโครงการนี้ เริ่มต้นในสามเมืองได้แก่บอสตัน, วอชิงตัน ดีซี และบัลติมอร์ และจะขยายไปเมืองอื่นในอนาคต
ก่อนหน้านี้ สภาเมือง Seattle ได้ผ่านร่างกฎหมายให้ผู้ขับรถ Uber และ Lyft จัดตั้งสหภาพแรงงานได้ แต่ทางนายกเทศมนตรีเมืองไม่เซ็นกฎหมาย โดยอ้างว่ามีช่องโหว่หลายจุด
ตอนนี้ทางหอการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ยื่นฟ้องต่อศาลเขตแดนตะวันตกของ Washington เพื่อระงับกฎหมายใหม่ของ Seattle เรื่องการจัดตั้งสหภาพแรงงานผู้ขับรถ Uber และ Lyft โดยอ้างกฎหมายแรงงาน (National Labor Reactions Act) ว่า ผู้ทำสัญญาไม่สามารถจัดตั้งสหภาพได้ และจะขัดต่อกฎหมายต่อต้านการผูกขาด (Sherman Antitrust Act)
Sanfrancisco Examiner เว็บไซต์ข่าวท้องถิ่นในเมืองซานฟรานซิสโก รายงานว่า Yellow Cab Co-Op บริษัทผู้ให้บริการเรียกแท็กซี่รายใหญ่ที่สุดของเมืองกำลังจะยื่นล้มละลายตามบทบัญญัติที่ 11 ในเร็ววันแล้ว
ในจดหมายที่ Yellow Cab Co-Op ส่งให้กับผู้ถือหุ้นระบุว่าบริษัทกำลังประสบความล้มเหลวการเงินอย่างหนัก จึงต้องยื่นขอล้มละลายเพื่อความอยู่รอด โดยหนึ่งในปัญหาที่ว่ามาจากการใช้เงินเพื่อแย่งชิงลูกค้าในตลาด ซึ่งมีคนมาชี้รายละเอียดให้ชัดๆ ว่า Yellow Cap Co-Op น่าจะหมายถึงการแข่งขันกับความนิยมที่เพิ่มขึ้นของบริการเรียกรถรับส่งผ่านแอพอย่าง Uber และ Lyft
สภาเมือง Seattle ได้รับรองกฎหมายให้ผู้ขับรถของบริษัทอย่าง Uber และ Lyft หรือบริษัทอื่นที่มีบริการใกล้เคียงก็สามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ เพื่ออำนาจในการต่อรองกับบริษัทเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ควรจะได้ อย่างไรก็ดี ตอนนี้ Ed Murray นายกเทศมนตรีเมืองยังไม่ได้เซ็นรับรองกฎหมาย
แน่นอนว่า Uber กับ Lyft ไม่ยอมรับกฎหมายนี้ โดยทาง Lyft ได้เผยกับ New York Times ว่าขอให้นายกเทศมนตรีและสภาเมืองทบทวนกฎหมายใหม่อีกครั้ง และฟังเสียงจากคนที่เลือกจะขับรถกับ Lyft เพราะว่ามันเป็นความยืดหยุ่นและโอกาสที่จะได้รับ
ราวกับดิ อเวนเจอร์ส เมื่อมีข่าวว่าแอพให้บริการรถยนต์โดยสารอย่าง Lyft จากสหรัฐฯ, Ola จากอินเดีย, Didi Kuaidi จากจีน และ GrabTaxi จากกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลงนามร่วมกันว่าจะร่วมใช้กลยุทธ์และเทคโนโลยี ที่จะทำให้ผู้ใช้แต่ละรายใช้แอพของตัวเอง เรียกรถของอีกค่ายเมื่ออยู่ต่างถิ่นได้ โดยเริ่มตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 2016 นี้เลย
โดยกลุ่มแอพทั้งสี่เจ้าระบุว่า แต่ละแอพจะแชร์เส้นทาง แผนที่ และการคิดราคาค่าโดยสารผ่าน API ที่ปลอดภัยหากันและกัน โดยยังคงการเป็นเอกเทศในการให้บริการแต่ละประเทศซึ่งมีสภาพตลาดไม่เหมือนกัน ยังไม่มีแผนที่ควบรวมหมด ที่ดีลนี้เกิดขึ้นได้เพราะแอพแต่ละรายมีผู้ลงทุนรายเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือ Didi Kuaidi ที่นับเป็นพี่ใหญ่ ลงเงินให้กับแอพทั้งสาม
หลังจากเกิดเรื่องวุ่นขึ้นกับ Uber ในระยะหลังนี้ ทางผู้ให้บริการแท็กซี่อีกเจ้าอย่าง Lyft ที่เป็นคู่แข่งกับ Uber ก็ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัวของลูกค้าแบบเงียบๆ โดยใช้เทคนิคใหม่ในการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้า โดยทางบริษัทจะให้สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลนั้นสำหรับผู้ที่ต้องใช้มันในการทำงานเท่านั้น