OnLive Desktop เป็นบริการให้เช่าใช้งานวินโดวส์ด้วยการรีโมตเข้าไปวินโดวส์จริงๆ แต่ปรากฏว่าไมโครซอฟท์ออกมาเตือนว่าการใช้ Windows 7 ให้บริการเช่นนี้ผิดไลเซนส์ของไมโครซอฟท์ มาวันนี้ผู้ใช้พบว่า OnLive Desktop เปลี่ยนไปใช้ Windows Server 2008 แล้วเงียบๆ
ผู้ใช้นั้นแทบไม่เห็นความแตกต่างอะไรเลยในการเปลี่ยนแปลงนี้ จะมีบ้างแค่หน้า About ของโปรแกรมต่างๆ เช่น Notepad นั้นเปลี่ยนไป กับคีย์บอร์ดที่เปลี่ยนไปเล็กน้อยเท่านั้น
ที่มา - OnLive Fans
VMware ออก vSphere 5 มาเมื่อเดือนที่แล้ว เพียงไม่กีวันลูกค้าก็เริ่มโวยวายถึงระบบการนับไลเซนส์แบบใหม่ที่จำกัดแรมไว้เพียง 24-48GB ต่อไลเซนส์เท่านั้น จน VMware ต้องยอมถอยและออกมาเปลี่ยนราคาในที่สุด
เมื่อวานนี้ทาง VMware ได้เปิดตัว vSphere 5 ออกมาก็มีคนพบว่าทาง VMware ได้่ปรับโมเดลการขายไลเซนส์ไปพร้อมๆ กัน และดูจะเป็นปัญหาสำคัญสำหรับลูกค้าที่ต้องการอัพเกรด
โดยโมเดลราคาใหม่นั้นจะจำกัดแรมสำหรับแต่ละไลเซนส์ โดยรุ่น Standard จะจำกัดแรม "รวม" ของเครื่องเสมือนทุกเครื่องไว้ที่ 24GB, รุ่น Enterprise จะจำกัดไว้ที่ 32GB, และรุ่น Enterprise Plus จะจำกัดไว้ที่ 48GB
โมเดลราคาเดิมนั้นปล่อยให้ใช้แรมต่อไลเซนส์ได้ถึง 256GB สำหรับรุ่น Standard, Advanced, และ Enterprise ส่วนรุ่น Enterprise Plus นั้นไม่จำกัดแรมเลย แต่จำกัดจำนวนคอร์ต่อไลเซนส์ไว้ที่ 6 คอร์สำหรับรุ่น Standard และ 12 คอร์สำหรับรุ่น Enterprise Plus
"สัญญาอนุญาต" หรือ license หมายถึงข้อกำหนดที่บอกว่าเราทำอะไรกับซอฟต์แวร์ (รวมถึงงานสร้างสรรค์อื่นๆ) ได้บ้าง
ในโลกของซอฟต์แวร์เสรี/โอเพนซอร์สก็มีสัญญาอนุญาตมาตรฐาน (เป็นแพ็กเกจสำเร็จรูป) ให้เลือกใช้ได้หลายชนิด ตามแต่ความต้องการของนักพัฒนาที่ต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการมีสัญญาอนุญาตจำนวนมากทำให้นักพัฒนาหน้าใหม่อาจจะงงว่าควรเลือกแบบไหนอย่างไรดี
Free Software Foundation (FSF) ในฐานะผู้ดูแลสัญญาอนุญาตยอดนิยมหลายตัว ได้ออกเอกสารแนะนำนักพัฒนาว่าควรเลือกใช้สัญญาอนุญาตแบบไหนบ้าง
เป็นอีกข่าวที่แสดงถึงการเอาจริงของกลุ่มผู้ถูกละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตอย่างโจ่งแจ้งครับ
ในวันที่ 1 ก.ค.
ในที่สุดไมโครซอฟท์ได้เพิ่มไลเซนส์ประเภทการเช่าซอฟต์แวร์ (Rental Rights Licensing) ให้กับคู่ค้าทั่วโลกแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.เป็นต้นมา โดยให้สิทธิ์ผู้ใช้จ่ายเป็นอัตราคงที่ในการเช่าใช้วินโดวส์หรือออฟฟิศ 2007 (รุ่น Standard หรือ Professional) เป็นเวลา 1 ปี โดยผลิตภัณฑ์ที่จะให้เช่าต่อได้นั้นต้องมาจาก Volume Licensing รวมถึง Open License, Select License และ Select Plus แต่ไม่รวมถึง Virtual machine และไม่สามารถถ่ายโอนให้เครื่องอื่น รวมถึงให้เช่าต่อได้
นอกจากนั้นยังมีโปรโมชั่นลดค่าเช่าลงร้อยละ 30 โดยจะสิ้นสุดเดือนมิ.ย.ของปีนี้
ที่มา: Microsoft Partner ผ่าน ZDNet