วันนี้หลังธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศอนุญาตการจ่ายเงินผ่าน QR ผมได้ทดสอบจ่ายเงินเข้าไปยัง QR ของร้านค้าที่ใช้ K Plus Shop หลังจากที่เคยทดสอบตั้งแต่การเปิดตัวแรกๆ พบว่าตอนนี้สามารถจ่ายเงินผ่าน PromptPay ธนาคารอื่นได้แล้ว (ทดสอบจาก SCB)
จุดสำคัญที่สุดคือ K Plus Shop เป็น e-Wallet เจ้าเดียวในตอนนี้ที่เชื่อมต่อ PromptPay ด้วย e-Wallet ID ที่ไม่ใช่หมายเลขโทรศัพท์หรือบัตรประชาชน ตัวอย่างเช่นร้าน Gamew Bear มีหมายเลข e-Wallet ID เป็น 0040-00000-136838 สามารถใช้โอนผ่าน QR หรือผ่านเมนูโอน PromptPay ก็ได้
วันนี้ธนาคารกสิกรไทย แถลงข่าวประกาศยุทธศาสตร์ธุรกิจปี 2561 (2018) ภายใต้แนวคิด "Customers’ Life Platform of Choice" แพลตฟอร์มหนึ่งเดียวที่ลูกค้าเลือกเพื่อตอบโจทย์ทุกด้านของชีวิต เน้นการลงทุนด้านดิจิทัล-ไอทีครั้งใหญ่ 4-5 พันล้านบาท และเปิดตัวบริการใหม่ๆ ในฝั่งดิจิทัลหลายอย่าง เช่น บล็อกเชน และการนำ machine learning มาช่วยวิเคราะห์การให้สินเชื่อ
เมื่อวานนี้ธนาคารกสิกรไทยอัพเดตแอป K PLUS เป็นเวอร์ชั่นใหม่ โดยมีความสามารถพิเศษเพิ่มเข้ามาคืออนุญาตให้จ่ายเงินผ่าน QR ได้โดยไม่ต้องใส่ PIN แม้แต่น้อย พร้อมกับรองรับการเข้าแอปด้วยลายนิ้วมือบนแอนดรอยด์แล้ว
ฟีเจอร์ Quick Pay สำหรับการจ่ายเงินโดยไม่ต้องใส่ PIN จะต้องตั้งวงเงินล่วงหน้า ระหว่าง 100-5,000 บาท ในแง่ความรวดเร็วก็น่าจะทำให้กระบวนการจ่ายใกล้เคียงการหยิบเงินสดมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดีฟีเจอร์ Quick Pay ยังต้องใช้งานผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเหมือนเดิม ไม่สามารถใช้งานผ่าน Wi-Fi ได้
เมื่อวานนี้ ธนาคารกสิกรไทย (KBank) นำโดยคุณสมคิด จิรานันตรัตน์ รองประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยีกรุ๊ป (KBTG) พบปะสื่อมวลชนเพื่อเล่าแผนการและยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัลของธนาคาร
หัวหอกด้านดิจิทัลของธนาคารกสิกรไทยคือแอพ K Plus ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 6.5 ล้านคน มากที่สุดในบรรดาแอพของธนาคารไทยทุกราย ซึ่งทางธนาคารก็ตั้งเป้าว่าปีนี้ต้องมีผู้ใช้ 8 ล้านคน และในอนาคตจะเป็นแอพที่มีผู้ใช้แตะหลัก 10 ล้านคนได้สำเร็จ
ด้วยฐานผู้ใช้งานที่ใหญ่ระดับนี้ ธนาคารจึงมองว่า K Plus เปลี่ยนจาก "ช่องทาง" (channel) มาเป็น "แพลตฟอร์ม" (platform) และนี่คือประเด็นหลักของการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้
วันนี้ Blognone มีโอกาสพูดคุยกับทีมงานของ KBTG บริษัทด้านเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรับฟังแผนงานด้านไอทีของธนาคารในอนาคต ประเด็นหนึ่งที่ได้สอบถามกับ KBTG คือแอพ K PLUS ต้องเชื่อมต่อผ่าน cellular ทำให้ไม่สะดวกเวลาใช้งานผ่าน Wi-Fi หรือไปใช้งานในต่างประเทศ
คำตอบของ KBTG คือเรื่องนี้กำลังแก้ไขและจะเห็นการเปลี่ยนแปลงช่วงเดือนตุลาคม โดย K PLUS จะอนุญาตให้ใช้งานผ่านเครือข่าย Wi-Fi แต่ผู้ใช้ต้องเป็นคนเปิดใช้เอง (เช่น กดเปิดใช้งานก่อนเดินทางไปต่างประเทศ) และจะใช้งาน Wi-Fi ได้ในระยะเวลาหนึ่ง (ไม่ใช่ตลอดไป) เพื่อรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าต้องการใช้งานต่อก็สามารถกดเปิดใช้ได้อีกเรื่อยๆ
ประเด็นอื่นของแอพ K PLUS มีดังนี้
KBTG บริษัทด้านเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย เพิ่งจัดแข่งขัน TechJam by KBTG 2017 รอบชิงชนะเลิศไปเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และได้ผู้ชนะเรียบร้อยแล้ว
การแข่งขัน TechJam แบ่งออกเป็น 3 แทร็คคือ Code Track, Data Track, Design Track โดยงานปีนี้มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 594 คน จาก 421 ทีม แบ่งออกเป็นแทร็คต่างๆ ดังนี้
ธนาคารกสิกรไทยเปิดตัวแอป K PLUS SHOP สำหรับร้านค้าที่ต้องการรับเงินจากลูกค้าธนาคารกสิกรไทย ที่ใช้แอปธนาคารใดก็ได้
ตัวแอป K PLUS SHOP จะสร้าง QR เพื่อให้ลูกค้าสามารถสแกนจ่ายได้ เพียงแค่เจ้าของบัญชีร้านค้าต้องเป็นผู้ใช้แอป K PLUS อยู่ก่อน ตอนนี้ทางกสิกรเจาะบางพื้นที่ เช่น สยามสแควร์, จตุจักร, ประตูน้ำ มีร้านค้ารองรับ K PLUS SHOP แล้วถึง 10,000 ร้านค้าและคาดว่าจะเพิ่มถึง 200,000 ร้านค้าในปีนี้ โดยตอนนี้มีโปรโมชั่นเงินคืนทั้งฝั่งร้านค้าและฝั่งลูกค้าเพื่อจูงใจ
ในอนาคต K PLUS SHOP จะสามารถรับการจ่ายเงินจากต่างประเทศ ทั้ง Alipay และ WeChat Pay ได้ต่อไปอีกด้วย
ธนาคารกสิกรไทยประกาศเปิดบริการทำหนังสือค้ำประกันบนเทคโนโลยีบล็อคเชนเป็นเจ้าแรกของโลก โดยอาศัยเทคโนโลยีบล็อคเชนจาก IBM ผ่านโครงการ Hyperledger หลังทดสอบการให้บริการบน Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทยไปก่อนหน้านี้แล้ว
บริการนี้จะช่วยให้หน่วยงานต่างๆ ที่มีลูกค้าจำนวนมาก สามารถเชื่อมโยงเอกสารหนังสือค้ำประกันของคู่ค้าทั้งหมดบนมาตรฐานเดียว ไม่ต้องใช้กระดาษ ปลอดภัย ตรวจสอบได้และปลอมแปลงยาก โดยทางกสิกรไทยระบุว่าระบบถูกออกแบบมาให้เอื้อกับการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายธนาคารต่างๆ ได้ในอนาคตด้วย
ทางกสิกรไทยคาดว่าปีนี้จะมีการออกหนังสือค้ำประกันผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ราว 20% และคาดว่าปีหน้าจะเพิ่มเป็น 35% โดยเป็นสัดส่วนที่ใช้ผ่านบล็อกเชนอยู่ที่ 5%
ที่มา - งานแถลงข่าว
ธนาคารกสิกรไทย, บริษัท SUN 108 ผู้จัดทำตู้จำหน่ายสินค้าหยอดเหรียญอัตโนมัติ และ Alipay ร่วมมือเป็นพันธมิตรกัน พัฒนาตู้ขายสินค้าอัตโนมัติจ่ายเงินผ่าน QR Code ของ Alipay ได้ ช่วยให้นักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาเที่ยวในไทยซื้อสินค้าสะดวกขึ้น โดยเริ่มติดตั้งแล้ว 24 ตู้ ตั้งเป้าที่ 500 ตู้ภายในสามปี
หลายคนอาจพอทราบข่าว KBTG บริษัทด้านเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย จัดงานแข่งขัน TechJam by KBTG กันไปแล้ว
ตัวกิจกรรมหลักของ TechJam จะเปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2560 และแข่งรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 26-27 สิงหาคม 2560 แต่ทางผู้จัดก็จะมีงานรอบอุ่นเครื่อง TechJam Mixer Event พร้อมผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรจาก KBTG, Google Developers และ LINE Thailand ก่อน ในวันที่ 24 มิถุนายน (วันเสาร์นี้) ที่โรงละครเคแบงก์ สยามพิฆเนศ ชั้น 7 สยามสแควร์วัน
ธนาคารกสิกรไทยเปิดตัวบริษัทบีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล (Beacon Venture Capital) เพื่อเป็นหน่วยงานที่ร่วมลงทุนในสตาร์ทอัพ ภายใต้แนวคิด The Next Building Block โดยมีเม็ดเงินลงทุน 1,000 ล้านบาท หนุนพัฒนานวัตกรรมด้านการเงินที่ส่งเสริมกลยุทธ์ของธนาคาร
Beacon VC ประเดิมเป็นธนาคารไทยรายแรกที่ลงทุนในรูปแบบ Venture Capital (VC) แก่สตาร์ทอัพไทย FlowAccount ตั้งเน้นลงทุนสตาร์ทอัพโดยตรง 3-5 แห่ง และลงทุนในกองทุน VC อื่น ๆ 2-3 แห่งในปี 2560
AIS จับมือธนาคารกสิกรไทย และสตาร์ตอัพ 2 รายคือ FoodStory ระบบจัดการออเดอร์อาหาร กับ FlowAccount ระบบบัญชีธุรกิจ ออกโซลูชันไอที Food Solution สำหรับร้านอาหารทุกขนาดในประเทศไทย
บริการในชุด Food Solution ประกอบด้วย
ธนาคารกสิกรไทย แจ้งเตือนกรณีมีอีเมลจากธนาคาร ให้ลงทะเบียนเพื่อลุ้นรับ iPhone 7 red โดยมีช่องให้กรอกชื่อผู้ใช้-รหัสผ่าน
ทางธนาคารระบุว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพที่ใช้กันภายในองค์กร เพื่อสอนให้พนักงานรู้จักแยกแยะเว็บที่เป็น phishing หลอกข้อมูลของลูกค้า แต่เมื่อภาพหลุดออกสู่ภายนอกองค์กร และมีการแชร์ต่อไปจึงเกิดความเข้าใจผิดกันมาก ธนาคารกสิกรไทยยืนยันว่าระบบความปลอดภัยของธนาคารยังเป็นไปตามปกติ
นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยยังย้ำว่า เว็บไซต์ของธนาคารกสิกรไทยคือ https://www.kasikornbank.com โดยเชื่อมต่อผ่าน HTTPS และยืนยันตัวตนในชื่อว่า KASIKORNBANK Public Co Ltd เท่านั้น
ที่มา - ฝ่ายประชาสัมพันธ์ธนาคารกสิกรไทย
กสิกรไทยได้รีแบรนด์แอพธนาคารมือถือ K-Mobile Banking PLUS โดยทำการเปลี่ยนชื่อเป็น K PLUS พร้อมทั้งเปลี่ยนโลโก้ของแอพใหม่เป็นรูป K+ ให้ง่ายต่อการจดจำ
กสิกรไทยเปิดเผยว่า แอพ K PLUS นั้นมียอดการใช้งานไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ที่ 5 ล้านคน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 65% โดยจำนวนนี้เป็นผู้ใช้งานอย่างสม่ำเสมอ 80% และมีจำนวนการทำธุรกรรมของไตรมาสนี้เพิ่มขึ้น 102% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ธนาคารกสิกรไทยออกมาบอกตัวเลขการเติบโตคนลงทะเบียนพร้อมเพย์ โตขึ้นถึง 130% สถิติช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ มีการโอนเข้า-ออกเฉลี่ยประมาณ 10,000 รายการต่อวัน จนมาเดือนมีนาคมเพิ่มขึนเป็นประมาณ 23,500 รายการต่อวัน และ 80% ของธุรกรรมผ่านพร้อมเพย์บนช่องทางธนาคารกสิกรไทยในเดือนมีนาคมเป็นรายการโอนข้ามธนาคาร
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วกลุ่มธนาคารประกาศแบ่งเป็นสองกลุ่มเร่งติดตั้งเครื่องรับจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ตอนนี้ทางกลุ่มธนาคารกสิกรไทยและธนาคารกรุงเทพก็ออกมายืนยันยืนยันว่าจะติดตั้งเครื่องรับจ่ายนี้ ให้ครบ 550,000 เครื่องภายในเดือนมีนาคมปีหน้า
บีคอน อินเตอร์เฟส สตาร์ทอัพด้านฟินเทคสัญชาติไทย ที่ได้รับการสนับสนุนโดยธนาคารกสิกรไทย พัฒนาแอพพลิเคชั่นโอนเงินสำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น ส่งผลงานเข้าประกวดในโครงการ Global FinTech Hackcelerator ล่าสุดได้รับรางวัลชนะเลิศในงาน Singapore FinTech Festival 2016 และยังได้รางวัล Developer Hub Award จาก Citigroup ด้วย
บีคอน อินเตอร์เฟส คือผลงานร่วมกันพัฒนาระหว่างทีมผู้ก่อตั้งกับทีมวิศวกรจาก KBTG (กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป) และ ABLE Lab (Achieve Better Living for Elderly Lab) ในการทำแอพเพื่อให้เหมาะกับผู้บกพร่องทางการมองเห็นและผู้สูงอายุ
กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ร่วมกับไอบีเอ็มพัฒนาบริการ OriginCert API สำหรับการออกหนังสือค้ำประกัน (Letter of Guarantee - LG) ทำให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงตัวเอกสารได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยขึ้น
สำหรับเอนจิน blockchian ที่ KBTG เลือกใช้ครั้งนี้เป็น Hyperledger Fabric การทำงานจะเป็นวงปิด (private blockchain) และตัวบริการจะเปิดให้ธนาคารอื่นๆ ที่สนใจเข้ามาร่วมใช้งานได้
ที่มา - จดหมายข่าวธนาคารกสิกรไทย
คดีการปลอมแปลงเอกสารของนายนายพันธ์สุธี มีลือกิจ เพื่อนำไปออกซิมการ์ดและรีเซ็ตรหัสผ่านธนาคารออนไลน์จนกระทั่งสามารถโอนเงินออกไปได้ 986,700 บาทมีความคืบหน้าอีกครั้ง เมื่อทางธนาคารกสิกรไทยประกาศช่วยเหลือนายพันธ์สุธีด้วยการรับความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
ทางธนาคารระบุว่าการโจรกรรมครั้งนี้ไม่ใช่การแฮกระบบไอที แต่เป็นการใช้ช่องทางภายนอก แต่ทางธนาคารก็มีหน้าที่รับผิดชอบส่วนหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับลูกค้ารายอื่น
สืบเนื่องจากกรณีที่พ่อค้าออนไลน์ถูกขโมยเงินจากบริการออนไลน์แบงค์กิ้ง และทางธนาคารยืนยันว่าไม่ใช่ความผิดพลาดของธนาคาร พร้อมแนะนำให้รักษาข้อมูลส่วนตัวนั้น
ล่าสุดนายอดิศวร์ หลายชูไทย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่าธนาคารได้ประกาศยกเลิกการให้บริการเปลี่ยนรหัส K-Cyber Banking ผ่านทางคอลเซ็นเตอร์แล้ว เพื่อป้องกันปัญหาในลักษณะนี้เกิดขึ้นซ้ำอีก และการเปลี่ยนรหัสจะทำได้ช่องทางเดียวคือเคาน์เตอร์ของธนาคาร ซึ่งต้องใช้ทั้งบัตรประชาชนตัวจริงและสมุดบัญชีเท่านั้น
ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ
หลังจากเมื่อวานมีข่าวพ่อค้าถูกขโมยเงินจากบริกาธนาคารออนไลน์ ผมติดต่อทางธนาคารกสิกรไทยไปเมื่อสอบถามข้อมูลในประเด็นนี้ และได้รับคำชี้แจงเพิ่มเติม โดยระบุว่าจุดโหว่ของการโจรกรรมครั้งนี้มาจากการออกซิมการ์ดเพื่อรับหมายเลข OTP ทำให้สามารถทำธุรกรรมได้ และนอกจากนี้คนร้ายยังเข้าถึงอีเมลของผู้เสียหายได้ทำให้จนนำไปสู่การเข้าถึงบัญชี K-Cyber ได้ในที่สุด
ทางธนาคารแนะนำให้ลูกค้ารักษาข้อมูลความลับ โดยเฉพาะ ชื่อล็อกอิน และรหัสผ่านของบัญชี และไม่มอบเอกสารข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้อื่นโดยง่าย
เมื่อวานนี้ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม และนายพันธ์สุธี มีลือกิจ พ่อค้าขายเครื่องประดับรถยนต์ใน Facebook เข้าแจ้งความและร้องเรียนต่อ ปอท. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ให้ดำเนินการสอบสวนกรณีถูกมิจฉาชีพหลอกเอาข้อมูลออนไลน์สูญเงินเกือบล้านบาท โดยนายพันธ์สุธี เรียก้องให้ธนาคารกสิกรไทย และ True รับผิดชอบกรณีไม่ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง
สืบเนื่องจากรณีที่มีลูกค้าธนาคารกสิกรจำนวนมากได้รับ SMS ยืนยันการลงทะเบียน PromptPay โดยไม่รู้ตัว ล่าสุดผมโทรไปสอบถามกับทาง Call Center และได้รับคำยืนยันอีกครั้งว่าเกิดจากเหตุระบบขัดข้อง
Call Center ของธนาคารกสิกรอธิบายว่า ระบบเกิดรวนและมีลูกค้าเผลอไปกดเข้าระบบ PromptPay จากหน้าโฆษณาเวลาเข้าแอพ K-Mobile Banking จึงสมัครให้อัตโนมัติ ทั้งที่ความเป็นจริงลูกค้าจะต้องกรอกก่อนว่าจะเลือกผูกเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์เข้ากับบัญชี PromptPay ก่อนที่จะมีการส่ง SMS ยืนยันให้อีกครั้ง
เมื่อวานนี้ลูกค้าธนาคารกสิกรไทยจำนวนมากได้รับ SMS ยืนยันว่าสมัครบริการ PromptPay กับธนาคารกสิกรไทยแล้ว ในจำนวนนี้มีลูกค้าจำนวนมากยืนยันว่าไม่เคยกดสมัครใดๆ ไปก่อนหน้านี้
บัญชี K8888 ของธนาคารกสิกรไทยในพันทิบ และ KBank Live ในเฟซบุ๊กตอบการร้องเรียน โดยยืนยันว่าเป็นการแจ้งผลการลงทะเบียนล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 1-14 กรกฎาคมที่ผ่านมา และไม่ได้มีการลงทะเบียนให้เองแต่อย่างใด
ผู้ใช้ Blognone ใครพบปัญหาแบบเดียวกันบ้างไหมมาเล่าสู่กันฟังได้ครับ
ในรอบเดือนที่ผ่านมา บริการ PromtPay หรือ Any ID ที่ผลักดันโดยธนาคารในประเทศไทย ได้รับความสนใจอย่างมาก แต่ในรายละเอียดแล้ว เชื่อว่าหลายคนยังมีคำถามอีกมากว่าตอนใช้งานจริงจะเป็นอย่างไร
Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณศุภนีวรรณ จูตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะผู้รับผิดชอบโดยตรงของการเปลี่ยนผ่านมาใช้ระบบ PromtPay ของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งจะมาให้ความกระจ่างกับเราในเรื่องนี้ครับ