ในงานเปิดตัว GeForce GTX 1080 และ 1070 มีประเด็นหนึ่งซึ่ง NVIDIA ระบุว่าจะขอโฟกัสกับการใช้งานการ์ดจีพียู Pascal นี้แบบต่อ SLI สองใบมากกว่าแบบอื่น โดยการปรับปรุงไดรเวอร์ให้ทำงานดีที่สุดกับการใช้งานแบบนี้ โดยบริดจ์คร่อมการ์ดตัวใหม่ (GEFORCE GTX
SLI HB BRIDGE) ที่เปิดตัวมาพร้อมกันนั้นทำให้แบนด์วิดท์กว้างขึ้น เฟรมเรตลื่นไหลขึ้นในความละเอียดสูงๆ แต่น่าสังเกตตรงที่บริดจ์ตัวนี้ใช้ขั้วสัมผัสเหนือการ์ดแต่ละใบสองขั้วเลย เหมือนกับปิดทางการใช้งานแบบ 3 หรือ 4-way SLI
อย่างไรก็ตามผู้ใช้ยังใช้งาน SLI กับการ์ดมากกว่าสองใบได้ถ้ามียังมีบริดจ์ที่แถมมากับเมนบอร์ดหรือการ์ดรุ่นก่อนครับ สิ่งที่เรายังไม่รู้ตอนนี้คือประสิทธิภาพจริงๆ ของการ์ดเดี่ยวและการ์ดคู่ และการใช้งานกับ DirectX 12 ที่เอื้อกับการใช้งานหลายจีพียูแบบไม่เลือกค่าย ต้องติดตามกันต่อไปครับ
ที่มา - TechofTomorrow ทาง TechPowerUp
หลังจากมีข่าวการเปิดตัว NVIDIA GeForce GTX 1070 และ 1080 ก็มีข่าวของจีพียูตัวเรือธงรุ่นใหม่จาก AMD (ที่แรงกว่า Polaris) ในชื่อ Vega (แยกเป็นรุ่นย่อย Vega 10 และ Vega 11) ที่จะเลื่อนการเปิดตัวช่วงต้นปี 2017 เป็นเดือนตุลาคมปีนี้ครับ
ข้อมูลที่ทราบของชิปรุ่นนี้คือออกแบบให้เป็นโมดูล มีหลายชิปอยู่ภายใน ใช้แรมแบบ HBM2 ผลิตด้วยเทคโนโลยี 14nm ที่ให้ประสิทธิภาพต่อวัตต์ดีขึ้นแบบเดียวกับ Polaris โดย Vega11 เป็นตัวท็อปจะเก็บไว้เปิดตัวปีหน้า แต่จะเข็น Vega10 ออกมาก่อน มี stream processor 4096 ชุด ทำงานกับแรม HBM2 ที่ความกว้างแบนด์วิดท์ 2048 บิตครับ คาดว่าชนกับ GTX 1070 และ 1080 ได้
มีอีกประเด็นเพิ่มเติมว่าตอนนี้ AIB (Add-In Board) ภาคีร่วมผลิตการ์ดให้ AMD นั้นกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการ์ด Polaris 10 ที่จะเปิดตัวในวันที่ 26 พฤษภาคม ที่อาจจะสู้ GTX 1070 และ 1080 ไม่ได้ครับ (ที่มา)
ที่มา - 3DCenter.org ผ่าน TechPowerUp!
AMD เปิดตัวเทคโนโลยีการ์ดจอแยก ที่แยกจากตัวเครื่องหลักอย่างเป็นทางการในชื่อ XConnect สำหรับแล็ปท็อปและเครื่องแบบทูอินวัน มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้
Rober Hollock พนักงานฝ่ายการตลาดเทคนิคของ AMD เปิดเผยในเฟซบุ๊กของตนแบบเผยแพร่สาธารณะ ว่าผู้ผลิตชิปกราฟิกค่ายนี้กำลังพัฒนากราฟิกการ์ดแบบต่อภายนอก แยกจากตัวแล็ปท็อปและอัลตร้าบุ๊ก โดยใช้ภาพประกอบเป็นเครื่อง Razer Core ที่เป็นกราฟิกการ์ดต่อแยกใช้งานกับอัลตร้าบุ๊ก Razer Blade Stealth
แนวคิดนี้อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีผู้ผลิตหลายรายต่างก็มีผลิตภัณฑ์นี้ออกสู่ตลาดแล้ว ทั้ง Razer, Alienware หรือ MSI แต่จุดแข็งของ AMD รอบนี้คือการออกแบบมาตรฐานจีพียูต่อภายนอกที่ใช้งานร่วมกัน ทั้งขั้วต่อ สาย ตลอดจนเรื่องไดรเวอร์นั่นเอง
ที่มา - Rober Hollock's Facebook ทาง Forbes
Vulkan มาตรฐานกราฟิกยุคใหม่ที่จะมาแทน OpenGL ออกสเปกเวอร์ชัน 1.0 เรียบร้อยแล้ว
การออกสเปกเวอร์ชัน 1.0 รอบนี้ บรรดาผู้ผลิตฮาร์ดแวร์กราฟิกหลายรายก็ปรับปรุงไดรเวอร์ให้ผ่านมาตรฐานของกลุ่ม The Khronos Group ต้นสังกัดของ Vulkan ไม่ว่าจะเป็น NVIDIA, Intel, AMD (ยังเป็นรุ่นเบต้า) รวมถึงผู้ผลิตชิปกราฟิกบนอุปกรณ์พกพาทั้ง Imagination Technologies กับ Qualcomm
ปีนี้ถือเป็นปีทองของเทคโนโลยี VR ซึ่งในส่วนของ Facebook นอกจากเป็นเจ้าของ Oculus ก็ยังเริ่มรองรับวิดีโอแบบ 360 องศา (เล่นวิดีโอแล้วหมุนภาพไปมาได้ตลอดเวลา) ตั้งแต่ปีที่แล้ว
ปัญหาของวิดีโอแบบ 360 องศาคือยังมีกระบวนการผลิตวิดีโอที่ยุ่งยากไม่น้อย ตั้งแต่การต้องใช้อุปกรณ์พิเศษถ่ายทำ และการตัดต่อ-ประมวลผลวิดีโออีกมาก
เพื่อกระตุ้นให้วิดีโอ 360 องศาแพร่หลายมากขึ้น Facebook จึงเปิดซอร์สโค้ดของตัว encoder วิดีโอที่ตัวเองใช้อยู่ เทคนิคการทำงานคือเปลี่ยนภาพทรงกลม (equirectangular) ที่ได้จากกล้อง ให้อยู่ในรูปทรงลูกบาศก์ (cube) แทน เพื่อลดขนาดไฟล์วิดีโอลงได้สูงสุด 25% จากเดิม
ภาพต้นฉบับที่ได้จากกล้อง
เอนจินเกมยอดนิยม Unity ออกเวอร์ชัน 5.3 มีของใหม่ด้วยกันหลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่
หากใครเคยติดตามกระแสสังคมมาบ้าง คงเคยได้ยินชื่อมือกราฟฟิตี้ (รอยขูดขีดเขียน) อย่าง Banksy เขายิ่งใหญ่ขนาดมีหนังสือรวมผลงาน และมีภาพยนตร์สารคดีเล่าถึงชีวิตตนเอง
เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา AMD Radeon (ในนาม Radeon Technology Group) จัดงาน Technology Summit ซึ่งจากข้อมูลสื่อต่างประเทศ ก็ขอสรุปเรื่องราวของชิปและการ์ด Radeon ในปีหน้ามาฝากกัน ว่า Radeon R4XX จะมีอะไรใหม่บ้าง:
เป็นประจำทุกปีที่ Pantone องค์กรเอกชนซึ่งจัดการหมวดหมู่สีที่วงการกราฟิกทั้งสื่อสิงพิมพ์และดิจิทัลใช้เป็นบรรทัดฐาน จะประกาศ "สีแห่งปี" ออกมา เพื่อชี้เทรนด์ของปีหน้า และสีสำหรับปี 2016 นี้มาเป็นคู่ คือสีชมพูที่ชื่อ Rose Quartz และฟ้า Serenity (ไม่ต้องตกใจ Pantone มักตั้งชื่อสีไพเราะแบบนี้เป็นปกติ)
ที่เลือกสองสีนี้ขึ้นมา เพราะ Pantone มองว่าผู้ใช้ปัจจุบันกำลังมองหาความสงบ การผ่อนคลาย ความสมดุล หลีกจากเหตุการณ์อันร้อนแรงของปีที่ผ่านมา และมีการแนะนำคู่สีต่างๆ ที่เหมาะสมกับโทนคู่นี้ออกมาด้วย ใครที่กำลังคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ด้านต่างๆ ลองอิงแนวคิดนี้ไว้ครับ (ปี 2015 สีที่ Pantone เลือกไว้ชื่อ Masala ออกแนวแดงๆ เลือดหมูครับ)
ทีมวิศวกร YouTube เขียนบล็อกอธิบายปัญหาว่าบางครั้งวิดีโอดูไม่ลื่นเท่าที่ควร มีกระตุกเป็นบางครั้ง เหตุผลมาจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งเฟรมเรตของตัววิดีโอเอง (ที่แตกต่างหลากหลาย ตั้งแต่ 24-60Hz) และอัตรารีเฟรชเรตของหน้าจอ (มักเป็น 50 หรือ 60Hz)
ทีมงานจึงพัฒนา Project Butter เพื่อให้การดู YouTube บน Chrome ลื่นขึ้น (ชื่อเหมือน Project Butter ของ Android 4.1 แต่คนละโครงการกัน เน้นความลื่นเหมือนกัน)
กลุ่มมาตรฐานกราฟิก The Khronos Group เปิดตัวสเปก OpenGL ES 3.2 เวอร์ชันใหม่ล่าสุด ต่อจาก OpenGL ES 3.1 ที่เปิดตัวช่วงต้นปี 2014
ของใหม่ที่สำคัญของ OpenGL ES 3.2 คือผนวกฟีเจอร์ของ AEP (Android Extension Pack) ส่วนขยายกราฟิกที่กูเกิลเพิ่มเข้ามาใน Android 5.0 เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ OpenGL ES เลย ช่วยให้ OpenGL ES มีความสามารถด้านกราฟิกบนอุปกรณ์พกพาเทียบเท่ากับเดสก์ท็อปมากขึ้น
ที่งาน Build 2015 ของไมโครซอฟท์ ค่ายเกม Square Enix นำวิดีโอของ Final Fantasy XV เวอร์ชันที่รันบน DirectX 12 รุ่นล่าสุดมาโชว์ในงาน
เดโมตัวนี้เป็นการนำเอาเดโม Agni's Philosophy ที่เคยโชว์ตั้งแต่ปี 2012 มารันบน DirectX 12 ซึ่งให้ภาพที่สมจริงขึ้นมาก
ในงานสัมมนาฮาร์ดแวร์ WinHEC เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Windows 10 หลายอย่าง ที่เราเคยเสนอไปแล้วคือสเปกฮาร์ดแวร์ขั้นต่ำ Windows 10 และแผนผังการอัพเกรดเป็น Windows 10
อีกหัวข้อที่น่าสนใจคือระบบกราฟิกของ Windows 10 ที่พัฒนาขึ้นจาก Windows 8.1 โดยปรับเวอร์ชันของ Windows Display Driver Model (WDDM) เป็น 2.0 (รุ่น 1.0 เริ่มใช้กับ Vista) และปรับเวอร์ชัน DirectX เป็น 12
เริ่มจาก WDDM 2.0 กันก่อนครับ แผนภาพด้านล่างเป็นพัฒนาการของ WDDM นับจาก Windows 7 เป็นต้นมา
โลกของลินุกซ์เดสก์ท็อปถูกพัฒนาขึ้นบนระบบกราฟิก X Window (หรือบางคนเรียก X11 ตามชื่อเวอร์ชัน) ที่เก่าแก่มาก ทำให้ลินุกซ์หลายตัวเริ่มหาทางฉีกหนีจาก X Window เดิมมาใช้ระบบแสดงผลรุ่นใหม่ๆ อย่าง Wayland หรือ Mir แทน
กรณีของ Chrome OS ที่เป็นลินุกซ์สายพันธุ์หนึ่งก็เฉกเช่นเดียวกัน โดย Chrome OS 41 เริ่มเปลี่ยนมาใช้ระบบกราฟิกของตัวเองที่เรียกว่า Ozone (หรืออีกชื่อคือ freon) แทนแล้ว
AMD เกาะกระแส virtual reality โดยเปิดตัวโครงการ LiquidVR ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การใช้งาน VR บนฮาร์ดแวร์ของ AMD มีประสิทธิภาพดีขึ้น โดยลด latency ของภาพลง
AMD บอกว่า latency เป็นสิ่งสำคัญมากในโลกของ VR เพราะส่งผลต่อความรู้สึกว่าวัตถุที่เห็นมีอยู่จริง (presence) ดังนั้น AMD จึงออก LiquidVR SDK ที่ช่วยให้นักพัฒนาเกมและแอพลด latency ลงให้มากที่สุด ด้วยเทคนิคหลายอย่างประกอบกัน
หลังการมาถึงของ Vulkan ชะตากรรมของ AMD Mantle ก็ใกล้ถึงจุดจบ โดยตัวแทนของ AMD ออกมาโพสต์อธิบายทิศทางของ Mantle ในอนาคต
AMD บอกว่า Mantle ประสบความสำเร็จในแง่การกระตุ้นให้อุตสาหกรรมกราฟิกพัฒนา API ยุคใหม่ที่เร่งประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์มากขึ้น ผลออกมาเป็น DirectX 12 และ Vulkan (ซึ่ง AMD ร่วมพัฒนาด้วย) เมื่อทิศทางของอุตสาหกรรมไปทางนี้ บริษัทจึงปรับแผนของ Mantle จากของเดิมที่เคยตั้งเป้าไว้
กลุ่ม Khronos ผู้ดูแลมาตรฐานกราฟิก OpenGL เปิดตัวมาตรฐานกราฟิกยุคใหม่ Vulkan ที่ถูกออกแบบใหม่หมดเพื่อใช้แทน OpenGL ที่เริ่มล้าสมัยแล้ว
นับถึงวันนี้ OpenGL มีอายุได้ 22 ปี เริ่มไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของแอพพลิเคชันยุคใหม่ๆ ที่ต้องการรีดประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ให้มากขึ้น ดังจะเห็นได้จาก API กราฟิกรุ่นใหม่ๆ อย่าง AMD Mantle, Apple Metal, DirectX 12 ที่เปิดให้แอพพลิเคชันลงไปจัดการฮาร์ดแวร์ระดับล่างได้มากขึ้น
ในงาน Windows 10 ของไมโครซอฟท์เมื่อวานนี้มี DirectX 12 มาโชว์แสนยานุภาพด้วย (วิดีโอท้ายข่าว ประมาณนาทีที่ 7:30) ซึ่งก็สร้างความตื่นเต้นกับบรรดาเกมเมอร์ไม่น้อย แต่ในอีกทางก็สร้างความกังวลว่าจะต้องซื้อการ์ดจอใหม่ (อีกแล้ว)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกมายืนยันว่าการ์ดจอในปัจจุบันจะสามารถใช้กับ DirectX 12 ได้แน่นอน โดยการ์ดจอที่ทำงาน "ได้ดี" กับ DirectX 12 ที่ระบุชื่อได้แก่
ให้หลังการเปิดตัวจีพียูตัวใหม่ของ NVIDIA ในรหัส Maxwell ทั้ง GeForce GTX 970 และ 980 ที่แทบจะของขาดทันทีที่เริ่มวางขาย ฝั่งคู่แข่งอย่าง AMD ก็ออกมารับมือด้วยการลดราคาจีพียูรุ่นท็อปของตัวเองทั้ง Radeon R9 290 และ 290X พร้อมๆ กัน
เริ่มจากตัวรอง R9 290 ปรับราคาลงจาก 399 เหรียญ ลงมาอยู่ที่ 299 เหรียญ (ประมาณ 9,800 บาท) ส่วนรุ่นท็อปอย่าง R9 290X ปรับมาหนักกว่า จาก 549 เหรียญ เหลือ 399 เหรียญ (ประมาณ 13,000 บาท)
ต้องดูกันว่าการตัดราคาในช่วงที่คู่แข่งไม่มีของขายจะช่วย AMD ได้บ้างรึเปล่าครับ
ที่มา - TechReport
Euclideon บริษัทกราฟิกจากออสเตรเลียที่พัฒนาเอนจิน 3 มิติชื่อ Infinite Detail โพสต์คลิปตัวอย่างกราฟิกที่อลังการกว่าเดิม (ดูท้ายข่าว) บริษัทบอกว่าจะออกเกมที่ใช้เทคโนโลยีนี้ 2 เกมในปี 2015
Euclideon ก่อตั้งเมื่อปี 2010 โดยใช้เทคโนโลยี 3 มิติที่เรียกว่า point cloud หรือการนำ "จุด" มาแสดงเป็นกลุ่มแทนการใช้โพลีกอนเหมือนอย่างกราฟิก 3 มิติทั่วไป (ข่าวเก่าเมื่อปี 2011)
สมาชิก Blognone น่าจะเคยผ่านตาเรื่อง "ทฤษฎีสมคบคิดว่า NASA ไม่ได้ส่งคนไปลงดวงจันทร์จริงๆ" โดยเหตุผลหนึ่งที่นำมาหักล้างหลักฐานของ NASA คือภาพถ่ายขณะที่ Buzz Aldrin กำลังก้าวจากยาน Apollo 11 ลงมาบนพื้นดวงจันทร์นั้น "สว่างเกินไป" ทั้งที่ดวงอาทิตย์อยู่อีกฝั่งหนึ่งของยาน ดังนั้นภาพที่ถูกต้องจึง "ควรจะมืด"
NVIDIA ที่เพิ่งเปิดตัวจีพียู Maxwell รุ่นท็อป นำไอเดียนี้มาพัฒนาต่อ โดยสร้างโมเดลเลียนแบบการลงจอดของยาน Apollo 11 ตามอย่างภาพถ่ายทุกประการ จุดสำคัญอยู่ที่การจำลอง "สภาพแสง" ในขณะนั้น เพราะมีปัจจัยต่างๆ มายุ่งเกี่ยวหลายประการ
ภาพเรนเดอร์ (ซ้าย) ภาพต้นฉบับ (ขวา)
Richard Huddy ตำแหน่ง Gaming Scientist ของ AMD ให้ข้อมูลกับเว็บไซต์ Tech Report เกี่ยวกับโครงการผลักดัน OpenGL Next ว่าทาง AMD ยินดีให้กลุ่ม Khronos ผู้ดูแลมาตรฐาน OpenGL ใช้งาน AMD Mantle API สำหรับกราฟิกระดับล่างได้อย่างเต็มที่
Huddy บอกว่า AMD บุกเบิกการพัฒนา API กราฟิกระดับล่างมามาก และยินดีเป็นตัวอย่างให้ Khronos ศึกษา ถ้า Khronos เห็นว่าทิศทางของ OpenGL ควรไปในทิศทางนี้ ก็ลุยได้เลย เพราะ AMD จะไม่กำหนดข้อจำกัดใดๆ รวมถึงคิดค่าใช้งาน
ไมโครซอฟท์เปิดตัว DirectX 12 ไปเมื่อต้นปีแล้วก็เงียบหายไปพักใหญ่ๆ ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกมาเผยข้อมูลเพิ่มเติมในงาน SIGGRAPH 2014
เดโมของไมโครซอฟท์รันบน Surface Pro 3 ที่ใช้การ์ดจอ Intel HD 4400 เปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่าง DirectX 11 และ 12 ให้เห็นกันชัดเจน เดโมนี้จะสร้างโมเดลเศษหินอุกกาบาตจำนวน 50,000 ชิ้นที่มีรูปทรง พื้นผิวแตกต่างกันทั้งหมด
กลุ่มอุตสาหกรรม Khronos ผู้ดูแลมาตรฐานกราฟิก OpenGL ประกาศออก OpenGL 4.5 ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงย่อย ของใหม่ได้แก่