ซิสโก้ออกรายงานวิจัย "Roadmap to Digital Value in the Retail Banking Industry" ระบุถึงความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมธนาคารในยุคต่อไปที่กำลังใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เปิดโอกาสให้ธนาคารต่างๆ สามารถจับเอา "คุณค่าใหม่" (new value) เพื่อมาสร้างมูลค่าให้กับบริการของตนเอง
ในงาน Digital Thailand นอกจากมีบูธแบรนด์ดิจิทัล ทั้งภาครัฐและเอกชนมาออกบูธแสดงนวัตกรรมความพร้อมเข้าสู่ Digital Economy กันอย่างคึกคัก ในงานยังอัดแน่นด้วยงานสัมมนาน่าสนใจมากมาย ส่วนห้องสัมมนาที่แน่นขนัดจนต้องต่อสัญญาณเสียงและภาพไปอีกห้องคือ ห้อง Theme Digital Finance เทรนด์การเงินในระบบดิจิทัล และ Fintech แสดงให้เห็นว่าได้รับความสนใจมากจริงๆ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Bank of America (BoA) ธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ประกาศเตรียมให้ลูกค้าของธนาคารที่ใช้ Android Pay สามารถถอนเงินจากตู้ ATM ด้วยการใช้ Android Pay ภายในสิ้นปีนี้
BoA ระบุว่าเตรียมที่จะติดตั้งตู้ ATM แบบใหม่ที่รองรับการถอนเงินด้วย Android Pay ทั่วสหรัฐอเมริกา โดยภายในสิ้นปีนี้จะมีจำนวนทั้งสิ้น 5,000 ตู้ คอยให้บริการ โดยเงื่อนไขมีว่าผู้ใช้บริการต้องเป็นลูกค้าของ BoA, ใช้ Android Pay และเปิด NFC เอาไว้
ที่มา - TalkAndroid
Fitbit ประกาศว่าบริษัทเข้าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Coin สตาร์ทอัพด้านการชำระเงินที่พยายามทำบัตรใบเดียวแทนบัตรเครดิตและบัตรสมาชิกต่างๆ (universal card) อย่างเป็นทางการแล้ว (ว่าง่ายๆ คือซื้อไปเป็นบริษัทย่อย)
การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ จะมีผลกระทบกับผู้ใช้ Coin และนักพัฒนาที่อยู่บนแพลตฟอร์มดังกล่าว โดยโปรแกรมสะสมแต้มจูงใจของบัตรที่เรียกว่า Coin Rewards และโปรแกรมสำหรับนักพัฒนา Coin Developer Program จะปิดตัวลง ส่วนตัวอุปกรณ์จะใช้ได้ต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งแบตเตอรี่ในบัตรหมดลง ส่วนอุปกรณ์ใหม่ก็จะไม่มีขายแล้ว
ด้าน Fitbit ระบุว่าจะไม่มีการรวมเอาเทคโนโลยีของ Coin เข้ามาอยู่ในผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะเปิดตัวในปีนี้ครับ
ธนาคาร OCBC ของสิงคโปร์ ประกาศเปิด API เพื่อให้นักพัฒนาสามารถเข้าใช้งาน (แบบเดียวกับ Visa) โดยเรียกว่า Connect2OCBC
OCBC ระบุว่า API ที่จะเปิดให้ใช้มี 4 อันหลักในตอนนี้คือ Branch Locator API สำหรับการหาสาขา, ATM Locator API สำหรับการหาตู้ ATM, Smart Card Advisor API สำหรับการแนะนำใช้บัตรเครดิตให้เหมาะสมกับที่ใช้ (เช่น ใช้ที่ร้านอาหาร A จะได้ส่วนลดสูงสุด เป็นต้น) และ Foreign Exchanges Rates API ไว้สำหรับเรียกใช้หาข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยน
OCBC ระบุว่ากำลังพิจารณาที่จะเปิด API ใหม่ๆ เรื่อยๆ ใครสนใจสามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มได้จากเว็บไซต์ของธนาคารครับ
MCX บริษัทร่วมทุนอันเกิดจากกลุ่มร้านค้าปลีกของสหรัฐฯ ที่รวมตัวกันเพื่อพัฒนาระบบการจ่ายเงิน CurrentC แข่งกับ Apple Pay และ Android Pay ที่ประสบชะตากรรมลุ่มๆ ดอนๆ มาตลอด แม้จะมีการเปิดทดสอบที่เมือง Columbus มลรัฐ Ohio ไปแล้ว ประกาศว่าจะเลื่อนการเปิดใช้อย่างเป็นทางการออกไปอีก พร้อมกับประกาศเลิกจ้างพนักงานกว่า 30 คน ซึ่งเท่ากับเกือบครึ่งหนึ่งของบริษัท
เมื่อวานนี้ (ตามเวลาท้องถิ่น) IBM ประกาศบริการใหม่ Highly Secure Blockchain โดยเป็นบริการ blockchain ความปลอดภัยสูง เน้นให้บริการกับองค์กรที่ต้องการนำเทคโนโลยี blockchain เข้าไปใช้ในสภาพที่ต้องการความปลอดภัยสูงอย่าง ภาคการเงิน ภาครัฐ และสาธารณสุขต่างๆ
บริษัทระบุว่าได้พัฒนาบริการดังกล่าวให้ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยของภาครัฐ (FIPS 140-2) และความปลอดภัยในอุตสาหกรรม (EAL) โดยใช้ code จากโครงการ Hyperledger ของ Linux Foundation ในการพัฒนา และเปิดให้ใช้เป็นบริการบน Bluemix บริการคลาวด์ของ IBM ด้วย สำหรับองค์กรที่ต้องการความยืดหยุ่นในการใช้งาน IBM ก็ปล่อย blockchain ของตัวเองในรูปแบบของ Docker containers บน DockerHub ด้วย โดยสัญญาว่าจะมีอัพเดตใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ
Ant Financial Services บริษัทให้บริการธุรกรรมทางการเงินออนไลน์บน Alibaba ประกาศระดมทุนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์คราวเดียวถึง 4,500 ล้านดอลลาร์ (1.58 แสนล้านบาท) ทำลายสถิติเดิมของ Meituan-Dianping เว็บดีลของประเทศจีนเช่นเดียวกันเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยมูลค่ากิจการของ Ant Financial ล่าสุดอยู่ราว 60,000 ล้านดอลลาร์
ผู้ที่ร่วมลงทุนในครั้งนี้มีทั้งกองทุนรวมขนาดใหญ่ของจีน, บริษัทประกันชีวิต ตลอดจนกลุ่มธนาคาร โดยมีทั้งหุ้นเพิ่มทุนและหุ้นปัจจุบันที่จำหน่ายออกมาโดยผู้บริหารบางส่วน
บริการสำคัญของ Ant Financial ที่หลายคนรู้จักดีก็คือ Alipay ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มชำระเงินบน Alibaba นอกจากนี้ Ant Financial ก็มีบริการทางการเงินอื่นที่ครอบคลุม อาทิ Yu'e Bao กองทุนรวมออนไลน์ และ MYbank ธนาคารออนไลน์
Ant Financial แยกตัวออกมาจาก Alibaba ก่อนที่ Alibaba จะเข้าตลาดหุ้น ซึ่ง Ant Financial เองก็มีแผนจะเข้าตลาดหุ้นภายในปีนี้ โดยยังไม่กำหนดประเทศที่จะจดทะเบียน และน่าจะเป็นไอพีโอครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์อีกหนึ่งรายการ
ข่าวใหญ่วันนี้คือธนาคารกสิกรไทย ประกาศตั้งบริษัทลูก กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG (Kasikorn Business-Technology Group) โดยมีสำนักงานอยู่ที่เมืองทองธานี เพื่อรับมือความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ FinTech ที่กำลังถูกจับตามองอย่างมาก (จะเรียกว่า KBTG คือบริษัท FinTech ของกสิกรก็พอได้)
หลายคนอาจสงสัยว่าอะไรคือเหตุผลของการตั้ง KBTG กันแน่ ผมมีโอกาสสัมภาษณ์ คุณสมคิด จิรานันตรัตน์ รองประธาน KBTG (เราเคยสัมภาษณ์คุณสมคิดไปแล้วครั้งหนึ่ง ตอนที่ธนาคารกสิกรไทยปรับปรุงระบบไอทีครั้งใหญ่) ถึงที่มาที่ไปในเรื่องนี้
หลังจากที่มีข่าวมานาน วันนี้ ธนาคารกสิกรไทย ประกาศตั้งบริษัทลูก KASIKORN Business-Technology Group (KBTG) เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีเพื่อรับกระแส FinTech โดยเฉพาะ ตัวสำนักงานจะตั้งอยู่ที่เมืองทองธานี (ใกล้กับ Impact เป็นตึกใหม่ที่อยู่ตรงข้ามกับ KBank เมืองทองธานี)
KBTG จะมีงบพัฒนาไอทีปีละ 5,000 ล้านบาท งบไอทีอย่างเดียวคิดเป็น 10% ของกำไรสุทธิหรือประมาณ 4,000 ล้านบาท และงบพัฒนานวัตกรรมใหม่อีก 1-2% ของกำไรสุทธิหรือประมาณ 1,000 ล้านบาท
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่ารัฐบาลอินเดียได้เปิดตัวระบบรับชำระและส่งเงินแบบใหม่ที่เรียกว่า Unified Payment Interface (UPI) โดยสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้หลายประเภท ขอแค่เพียงเข้าถึงการสื่อสารที่กำหนดเอาไว้ได้เท่านั้น ระบบดังกล่าวนี้พัฒนาต่อมาจากระบบฐานข้อมูลประชาชนและข้อมูลทางชีวภาพ (biometrics) ของประเทศที่เรียกว่า Aadhaar (ภาษาฮินดีแปลว่าพื้นฐาน, รากฐาน) ซึ่งมีประชาชนอยู่ในฐานข้อมูลนี้แล้วกว่าร้อยละ 80 ของประชากร
ไมโครซอฟท์เริ่มจริงจังกับเทคโนโลยี blockchain มากขึ้นเรื่อยๆ ช่วงปลายปีที่แล้วเราเห็นบริการ Blockchain as a Service บน Azure กันไปแล้ว วันนี้ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับกลุ่มธนาคาร นำระบบนี้ไปทดสอบในวงกว้างมากขึ้น
กลุ่มธนาคารที่ไมโครซอฟท์ไปเป็นพันธมิตรด้วยคือ R3 Consortium ซึ่งมีสมาชิกเป็นธนาคารกว่า 40 รายทั่วโลก ภายใต้ความร่วมมือนี้ ไมโครซอฟท์จะทำหน้าที่ให้บริการคลาวด์และเครื่องมือด้าน blockchain แก่สมาชิกของ R3 ในการพัฒนาเทคโนโลยี blockchain ต่อไป ในทางกลับกัน R3 จะเลือก Azure เป็นคลาวด์ที่แนะนำให้ธนาคารใช้งาน
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ วันนี้ ว่าทางธนาคารได้เพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทลูก 2 แห่ง เพื่อทดลองและพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน FinTech มีรายละเอียดดังนี้
ที่มา: ธนาคารไทยพาณิชย์
เว็บไซต์ด้านการตลาด Marketing Land รายงานข่าวลือว่า Facebook เตรียมเพิ่มคุณสมบัติในการชำระเงิน ซึ่งจะทำให้ Facebook Messenger กลายเป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์แบบเดียวกับ PayPal
Marketing Land รายงานโดยอ้างรายงานของ The Information อีกทีหนึ่ง ซึ่งอ้างว่าได้เจอรหัส (code) ชุดหนึ่งในแอพที่ระบุถึงความสามารถดังกล่าวนี้เอาไว้ ซึ่งจะอนุญาตให้ผู้ใช้งานเลือกได้ว่าจะชำระผ่าน Facebook Messenger หรือชำระเงินด้วยตัวเองเมื่อไปรับสินค้า
Marketing Land ระบุว่า เมื่อพิจารณาจากผู้บริหารของ Facebook ที่หนึ่งในนั้นคือ David Marcus ซึ่งเคยทำงานให้ PayPal ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจนักหาก Facebook สนใจที่จะสร้างแพลตฟอร์มด้านการชำระเงินด้วยตนเอง
เมื่อวานนี้ นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แถลงข่าวโดยระบุว่าคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 3 โดยเป็นแผนงานซึ่งจะทำให้ระบบทางการเงินของประเทศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมุ่งไปยังทิศทางของ Digital Banking หรือการทำธุรกรรมแบบดิจิทัลมากขึ้นกว่าเดิม
สัปดาห์ที่แล้ว ผมไปร่วมงานสัมมนา AEC+3 Business Forum ที่จัดโดยธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับหนังสือพิมพ์ Financial Times
ในงานนี้มีหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับไอทีด้วย คือการสัมภาษณ์คุณ Rohan Mahadevan ตำแหน่ง Senior Vice President ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ PayPal ในประเด็นเรื่องอนาคตของการจ่ายเงินออนไลน์ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย
ผู้ช่วยส่วนตัว Amazon Alexa ที่มาพร้อมกับลำโพง Amazon Echo พัฒนาตัวเองไปอีกขั้น ล่าสุดมันสามารถจ่ายบัตรเครดิตให้เราได้แล้ว
งานนี้ Amazon จับมือกับ Capital One สถาบันการเงินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ลูกค้าที่มีบัญชี Capital One สามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้ด้วยเสียงพูด ไม่ว่าจะเป็นการถามยอดเงินในบัญชี เช็คการโอนเงินล่าสุด ไปจนถึงขั้นจ่ายหนี้บัตรเครดิตได้ด้วย
ตัวอย่างการใช้งานก็สามารถพูดประโยคเหล่านี้ได้เลย
การเติบโตของ FinTech ในประเทศสิงคโปร์ ทำให้มีความต้องการนักศึกษาที่มีปริญญาตรีในด้านคอมพิวเตอร์และในด้านธุรกิจพร้อมๆ กัน จึงทำให้ความต้องการนักศึกษาจบใหม่นั้นมีมาก เลยทำให้เงินเดือนขึ้นตาม
StockRadars แอพค้นหาหุ้นเด่นของไทย ประกาศข่าวระดมทุนรอบใหม่ โดยได้รับเงินทุนเพิ่มเติมจาก CyberAgent Ventures ที่เคยลงทุนมาก่อนแล้ว และได้นักลงทุนใหม่เป็น "เซียนหุ้น" ชื่อดังหลายคน เช่น เสี่ยป๋อง คุณวัชระ แก้วสว่าง เสี่ยยักษ์ คุณวิชัย วชิรพงศ์
StockRadars ยังเปิดตัวแอพเวอร์ชันใหม่, ขยายข้อมูลหุ้นเพิ่มเติมอีก 12 ตลาดใน 8 ประเทศทั่วเอเชีย (ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี นิวซีแลนด์ อินเดีย และสิงคโปร์) และจับมือกับ บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็กซ์ จำกัด เปิดให้สามารถส่งคำสั่งซื้อหลักทรัพย์จากแอพ StockRadars ได้โดยตรง ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้แอพที่ค้นพบหุ้นเด่นแล้วต้องการซื้อทันที
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์
นิตยสาร Bloomberg Markets ไปสัมภาษณ์ Jamie Dimon ซีอีโอของธนาคารอันดับต้นๆ ของโลก J.P. Morgan เกี่ยวกับอนาคตของโลกการเงินในหลายๆ ประเด็น มีหลายเรื่องน่าสนใจ รวมถึงเรื่อง FinTech ที่กำลังเป็นที่จับตา
ผมเลยสรุปมาให้อ่านกันครับ
ไอบีเอ็มประกาศทดสอบหาความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับ Japan Exchange Group (JPX) ร่วมกันทดสอบความเป็นไปได้ที่จะใช้เทคโนโลยี blockchain มาใช้ในการซื้อหุ้นในตลาดที่มีปริมาณการซื้อขายต่ำ พร้อมกับการเปิดบริการ blockchain บนบริการคลาวด์ Bluemix ของไอบีเอ็มเอง
โครงการนี้จะใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส (open blockchain) ที่ไอบีเอ็มเสนอให้เข้าไปอยู่ในความดูแลของโครงการ Hyperledger ของ Linux Foundation
นอกจากทดสอบการซื้อขายหุ้นร่วม JPX แล้ว open blockchain ยังร่วมมือกับ London Stock Enchange Group และ Kouvola Innovation จากฟินแลนด์เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการในการใช้งานกับ IoT และลอจิสติก
ช่วงที่ผ่านมาเราเห็นข่าวของกลุ่มธนาคารดังๆ ระดับโลกก่อตั้งสตาร์ทอัพกลุ่มบริษัทขึ้นมาใหม่อย่าง R3CEV เพื่อทำการวิจัยเทคโนโลยี blockchain ไว้ใช้ในภาคธุรกิจการเงินกันอย่างมาก หรือแม้แต่ทางด้านตลาดหลักทรัพย์อย่าง NASDAQ เอง
โลกการเงินเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมแรกๆ ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างหนักด้วยความที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่กับข้อมูลเป็นหลักอยู่แล้ว ทุกวันนี้อุตสาหกรรมการเงินและการธนาคารเป็นลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทไอทีจำนวนมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วอุตสาหกรรมโดยรวมมีรูปแบบการดำเนินการไม่ต่างจากเดิมไปมากนัก รูปแบบของการทำงานที่มักรวมศูนย์โดยหน่วยงานแกนกลางและกระจายงานออกไปเป็นชั้นๆ เช่น ธนาคารที่เราอาจจะใช้บริการจากตู้เอทีเอ็มที่ดูแลโดยธนาคาร และธนาคารเองก็มีกระบวนการโอนเงินจากธนาคารอื่นๆ ผ่านสำนักหักบัญชีตรงกลางอีกทีหนึ่ง
ลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์หลายท่านคงได้อีเมลแจ้งเตือนถึงแอพ SCB Easy ว่ามีรุ่นใหม่พร้อมให้อัพเดตแล้ว จึงขอประกาศต่ออีกครั้งให้ลองใช้กัน
ตัวแอพ SCB Easy บนแอนดรอยด์นับเป็นรุ่น 2.0.0 ที่เปลี่ยนหน้าตาค่อนข้างเยอะ (ใช้ฟอนต์ DB Helvethaica ผสมกับฟอนต์ทางการ) ที่หน้าแรกหลังจากเข้าสู่ระบบ ก็จะแจ้งยอดเงินฝาก บัตรเครดิต สินเชื่อ การลงทุน เป็นภาพกราฟิกแยกสีเข้าใจไม่ยาก และแสดงรายการเคลื่อนไหวล่าสุด มีการใช้ hamburger menu จัดการรายการธุรกรรมต่างๆ ใช้งานได้ไม่ยากนัก มีการใช้คีย์บอร์ดเฉพาะตัวในแอพเหมือนเดิม และหลังจากอัพเดตแอพ หน้าที่ให้กรอก PIN ก่อนเข้าไปกรอกชื่อบัญชีและรหัสผ่านหายไปครับ
ที่มา - อีเมลจดหมายข่าว
R3CEV สตาร์ตอัพที่ใช้เทคโนโลยี blockchain จาก Bitcoin มาใช้แทนสำนักหักบัญชี (clearing house) ทำให้ธนาคารในเครือข่ายสามารถโอนเงินไปมาหากันได้โดยตรงประกาศผลทดสอบระบบกับธนาคารขนาดใหญ่ 11 แห่ง เช่น HSBC, Royal Bank of Scotland, UBS, Well Fargo สามารถทำธุรกรรมได้สำเร็จ
การทดสอบครั้งนี้ใช้เทคโนโลยีสมุดบัญชีแยกประเภทแบบกระจายตัว (distributed ledger) โดยเครือข่ายทำงานอยู่บน Microsoft Azure ตัวซอฟต์แวร์พัฒนาจาก Ethereum