กลุ่ม Big Brother Watch องค์กรในอังกฤษที่จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาความเป็นส่วนตัวโดยเฉพาะในภาคการศึกษา เผยเอกสารวิจัย พบว่าโรงเรียนกว่าพันแห่งในอังกฤษใช้ซอฟต์แวร์ติดตามพฤติกรรมนักเรียน โดยซอฟต์แวร์ประเภทที่เรียกว่า Classroom Management Software
ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ติดตามพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ การเข้าอินเทอร์เน็ต ประวัติการท่องเว็บ แม้กระทั่งว่านักเรียนพิมพ์อะไรจากคีย์บอร์ดลงไปบ้าง ในเอกสารยังเผยอีกว่า โรงเรียนมัธยมกว่า 70 แห่งในอังกฤษติดตั้งอุปกรณ์และระบบซอฟต์แวร์ดังกล่าวไปแล้วกว่า 8 แสนชิ้น
เว็บไซต์การเรียนรู้ออนไลน์ Udactiy ประกาศความร่วมมือกับ IBM Watson, Amazon Alexa และ Didi Chuxing บริการเรียกรถแท็กซี่รายใหญ่ของจีน เปิดตัวคอร์สอนวิชา AI ให้เรียนผ่านระบบออนไลน์
คอร์ส Artificial Intelligence ของ Udacity เป็นหลักสูตระยะสั้น (nanodegree) ออกแบบมาสำหรับตลาดแรงงานในอนาคตที่จะขาดแคลนทักษะด้าน AI อีกมาก เนื้อหาในคอร์สมีเรื่อง Search and Optimization, Logic, Reasoning & Planning, Building Models of Probability, Natural Language Processing, Computer Vision
คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม สร้างห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์โดยใช้คอมพิวเตอร์เกมมิ่ง Acer Predator G3 ถึง 80 เครื่อง เพื่อให้นักศึกษาฝึกฝนการใช้งาน ตอบรับนโยบาย Thailand 4.0 โดยครอบคลุม 4 สาขาวิชาคือ ดิจิทัลอาร์ต ออกแบบกราฟิก แอนิเมชั่น-วิชวลเอฟเฟกต์ และ ทำเกม ถือเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียที่มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เกมมิ่งจาก Acer
ก่อนหน้านี้ไม่นาน Google เปลี่ยนชื่อ Google Apps เป็น G Suite มาแล้ว ล่าสุด กูเกิลเปลี่ยนชื่อ Google Apps for Education สำหรับภาคการศึกษา เป็น G Suite for Education
ปีที่แล้ว LinkedIn เข้าซื้อกิจการ Lynda.com เว็บไซต์การเรียนผ่านออนไลน์ เพื่อขยายตัวมายังธุรกิจด้าน e-learning อย่างจริงจัง วันนี้ LinkedIn เปิดตัวบริการใหม่ LinkedIn Learning ที่เป็นศูนย์รวมด้าน e-learning ของบริษัทแล้ว
เป้าหมายของ LinkedIn Learning คือช่วยพัฒนาทักษะของพนักงาน โดยดึงเนื้อหาจากทั้ง Lynda.com และในเครือข่ายของ LinkedIn เองมาผสมผสานกัน ตอนนี้ในระบบมีคอร์สการเรียนรู้ออนไลน์กว่า 9,000 คอร์ส และมีระบบแนะนำคอร์สที่น่าจะเหมาะสมกับเรา โดยอิงจากประวัติของเราบน LinkedIn ด้วย การเรียนมีทั้งผ่านวิดีโอ ฟังไฟล์เสียงบรรยาย และใช้งานได้จากแอพบนอุปกรณ์พกพา
เมื่อต้นปีนี้ ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ MinecraftEDU เปลี่ยนเป็น Minecraft: Education Edition เพื่อบุกตลาดการเรียนรู้ในห้องเรียนผ่าน Minecraft และหลังจาก Minecraft: Education Edition ทดสอบระบบมาได้สักพัก ตอนนี้ก็ใกล้ได้เวลาเปิดตัวรุ่นสมบูรณ์
Minecraft: Education Edition จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ โดยจะขายผ่าน Windows Store ในราคา 5 ดอลลาร์ต่อผู้ใช้หนึ่งคนต่อปี หรือถ้าโรงเรียนอยากซื้อเป็นจำนวนมากๆ ก็สามารถซื้อแบบไลเซนส์ชุดใหญ่กับทางไมโครซอฟท์ได้เช่นกัน
โครงการ Microsoft DreamSpark โครงการสำหรับนักศึกษา ที่จะได้รับซอฟต์แวร์อย่าง Windows และ Office ฟรีหรืออาจจะมาในราคาพิเศษ ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น Microsoft Imagine โดยการเปลี่ยนแปลงจะเริ่มต้นในไตรมาสที่ 1 ปีการเงิน 2017 โดยสถาบันการศึกษาและนักเรียนจะยังได้รับทุกสิ่งทุกอย่างคงเดิม ไม่มีการจ่ายเงินเพิ่ม
โครงการ DreamSpark เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี 2008 ครอบคลุมกว่า 80 ประเทศ และนักศึกษาราว 35 ล้านคน
ที่มา - ไมโครซอฟท์ via WinBeta
ITT หรือ ITT Technical Institute สถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยี ที่แสวงหาผลกำไร ตั้งอยู่ที่สหรัฐฯ ประกาศปิดตัวลง หลังจากวันแรงงานเพียงวันเดียว หลังจากเปิดสอนมา 50 ปี กระทบนักเรียน ผู้สอน และพนักงานกว่า 8,000 ราย
ข่าวการปิดตัวตามหลังข่าว ITT ปิดรับสมัครนักศึกษาเพียงอาทิตย์เดียว ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นสถาบันที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเยอะมาก แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการฝึกอบรมนักศึกษา ทำให้ ITT ถูกสั่งห้ามรับเงินหนุนจากรัฐไปก่อน และถูกกดดันให้หาเงินสดสำรองมาเพิ่มจากที่มี 94.3 ล้านดอลลาร์ ให้เป็น 247.3 ล้านดอลลาร์ ให้ได้เพื่อช่วยเหลือนักเรียนในกรณีที่ต้องปิดตัวสถาบันลง ซึ่งก็ปิดจริงๆ แต่ในจดหมายแถลงการณ์ยังไม่มีการพูดเรื่องเงินอุดหนุนนี้
เมื่อวันพุธที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมชม “ห้องเรียนอนาคต” ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม โดยความร่วมมือของบริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด ในงาน “Pilot Project of Future Classroom’s Fujitsu Learning Project of Tomorrow” ซึ่งจัดขึ้นที่โรงเรียนนั่นเอง
อันที่จริง “ห้องเรียนอนาคต” แห่งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 2558 แล้วครับ งานนี้ก็เลยจะพูดถึงความร่วมมือของทั้งสององค์กร ในการประยุกต์นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ การดำเนินโครงการ ความคืบหน้าตลอด 1 ปี จนไปถึงสาธิตบรรยากาศของชั่วโมงเรียนที่เกิดขึ้นในห้องเรียนดังกล่าวอีกด้วย
Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์คุณ Don Carlson ผู้บริหารฝ่ายการศึกษา (Education Director) ของไมโครซอฟท์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องในโอกาสมาพูดเรื่อง Digital Transformation ที่สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
คุณ Don บอกว่าสถานการณ์ตอนนี้ชัดเจนมากว่ามหาวิทยาลัยต้องเป็นฝ่ายปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ฝั่งของนักศึกษากลับเป็นฝ่ายที่พร้อมที่สุด เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ที่เข้าใจโลกดิจิทัลอยู่แล้ว คำถามคืออาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยจะปรับตัวอย่างไรให้ทันกับความต้องการของนักศึกษา
การเรียนเขียนโค้ดเป็นทักษะที่ขาดไม่ได้ในการเข้าทำงานบริษัทไอที แต่ค่าเรียนค่อนข้างแพง เพื่อแก้ปัญหานี้ กรมการศึกษาของสหรัฐฯร่วมมือกับสถาบันการศึกษาจัดความช่วยเหลือทางการเงินแก่นักเรียนรายได้น้อยให้เข้าเรียนคอร์สเขียนโปรแกรม (coding bootcamp) ได้ 1 bootcamp จากทั้งหมด 8 bootcamp
Seymour Aubrey Papert นักคณิตศาสตร์ผู้บุกเบิกการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเพื่อการศึกษา และเป็นหนึ่งในสี่ของผู้ร่วมออกแบบภาษา Logo ร่วมกับ Daniel G. Bobrow, Wally Feurzeig, และ Cynthia Solomon เสียชีวิตที่บ้านของเขาเองเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ภาษา Logo เป็นภาษาเพื่อการศึกษา มันใช้วาดภาพด้วยการควบคุมเต่าให้เคลื่อนที่ไปตามคำสั่ง (ลองเช่นตัวอย่างได้ใน JS Logo)
ผมเองเคยเรียนเขียนโปรแกรมแรกๆ สมัยเด็กๆ ก็มี Logo เป็นภาษาหนึ่งที่เคยเรียนมา ขอแสดงความเคารพกับผู้บุกเบิกวงการในการสร้างภาษาโปรแกรมให้เด็กๆ เข้าถึงได้จนทุกวันนี้ครับ
เราอาจรู้จัก Amazon ว่าเป็นร้านขายของออนไลน์ขนาดใหญ่ แต่จริงๆ ยังมีบริการอื่นอีก เช่นบริการสตรีมภาพยนตร์และเพลง รวมถึงบริการโฮสติ้งในชื่อ Amazon AWS ซึ่งล่าสุดกำลังจะเปิดให้บริการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาด้วย
Amazon จะร่วมกับ Wells Fargo สถาบันการเงินชื่อดังจากสหรัฐอเมริกา เปิดบริการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาในอัตราดอกเบี้ย 0.5% โดยจำกัดเฉพาะนักเรียน นักศึกษาที่เป็นสมาชิก Amazon Prime Student เท่านั้น (ค่าบริการ 49 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือราว 1,700 บาท) และนักเรียนที่กู้จาก Wells Fargo อยู่ก่อนก็สามารถเปลี่ยนมาร่วมโครงการนี้ได้ทันที
ไมโครซอฟท์เปิดหลักสูตรการเรียนออนไลน์ตัวใหม่ชื่อ Microsoft Professional Degree (MPD) โดยใช้ระบบคอร์สออนไลน์ของ edX ที่มหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่งใช้กัน โดยคอร์สตัวแรกที่จะเปิดสอนคือ Data Science Degree เพื่อตอบสนองความต้องการผู้ประกอบอาชีพด้านข้อมูลในตลาดตอนนี้
ระบบคอร์ส MPD จะต้องลงเรียนตามรอบที่เปิดสอน การลงทะเบียนเรียนทำได้ฟรี แต่ถ้าอยากได้การรับรองว่าเรียนวิชานั้นจริง และนับเครดิตเพื่อจบการศึกษา รับใบประกาศเพื่อไปสมัครงาน จะต้องจ่ายเงินซื้อใบรับรอง (verified certificate) ของวิชานั้นๆ ด้วย ซึ่งเป็นระบบที่ edX ใช้กับคอร์สอื่นๆ อยู่ก่อนแล้ว (ราคาใบรับรอง 25-99 ดอลลาร์ต่อวิชา)
Google เปิดตัว Google Cast for Education สำหรับภาคการศึกษา โดยจะใช้งานได้เฉพาะผู้ที่ใช้ Google Apps for Education เท่านั้น
จุดแตกต่างระหว่าง Google Cast for Education และ Google Cast ทั่วไปคือครูผู้สอนจะเป็นผู้ควบคุมการ cast หน้าจอไปยังโปรเจ็คเตอร์ภายในห้องเรียน ครูผู้สอนสามารถกำหนด access ของนักเรียนแต่ละคนได้ว่าสามารถ cast หน้าจอได้ตามต้องการ หรือต้องขอ request ไปยังครูผู้สอนก่อน หรือแม้แต่จะ cast ได้ก็ต่อเมื่อได้รับคำเชิญ (invite) จากครูเท่านั้น
กูเกิลเปิดตัวโครงการ Android Skilling Program ในอินเดีย ตั้งเป้าสร้างนักพัฒนา Androdi จำนวน 2 ล้านคนให้ได้ภายใน 3 ปี
โครงการประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
เว็บไซต์ TechCrunch รายงานว่า Rich Miner หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งแอนดรอยด์กับ Andy Rubin ซึ่งก่อนหน้านี้ทำงานอยู่ใน Google Ventures หรือหน่วยลงทุนของ Google ได้ย้ายไปดูแลโปรเจ็คด้านการศึกษาให้กับบริษัทแทน
อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายละเอียดว่าโปรเจ็คที่ว่านี้คือโปรเจ็คอะไร ขณะที่ตัว Rich Miner เองก็ยังไม่ได้ออกมาให้ข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ Google เป็นหนึ่งในบริษัทที่พัฒนาและลงทุนด้านเทคโนโลยีการศึกษาเองทั้งหมด โดยตัวเลขจากการวิจัยและการประเมินการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ (M&A) ชี้ว่าในตลาดเทคโนโลยีด้านการศึกษาช่วงปี 2010 - 2015 ปรากฎชื่อของ Google ในฐานะผู้ควบรวมและซื้อกิจการน้อยกว่า 1% จากจำนวนทั้งหมดด้วยซ้ำไป
ไมโครซอฟท์เผยว่า ทางบริษัทกำลังพัฒนาแอพใหม่สำหรับภาคการศึกษา ที่มีชื่อว่า Whiteboard ซึ่งเปิดให้สร้าง, สำรวจและแบ่งปันไอเดียด้วยกัน
ฟีเจอร์คร่าวๆ มี ดังนี้
ตัวแอพจะออกมาให้ใช้งานภายในปีนี้ ดาวน์โหลดได้ผ่าน Windows Store
ที่มา - Microsoft TechNet
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์มี Excel Survey ฟีเจอร์สร้างฟอร์มแบบสอบถามบน OneDrive
ล่าสุดไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว Forms แอพสร้างฟอร์มเก็บข้อมูลให้ผู้ใช้ Office 365 Education ได้ใช้กันเรียบร้อยแล้ว พร้อมฟีเจอร์ควิซและการตรวจคำตอบให้คะแนนอัตโนมัติ ไม่นานนักก่อนที่ Google จะเพิ่มฟีเจอร์ควิซให้กับ Google Forms
โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปที่ forms.office.com สร้างฟอร์มแบบสอบถาม และเพิ่มคำถาม ซึ่งมีอยู่ 5 แบบ ได้แก่
กูเกิลเปิดตัว Project Bloks แพลตฟอร์มสร้างเล่นเด็กสำหรับสอนเขียนโปรแกรม โดยตัวแพลตฟอร์มสร้างจาก Raspberry Pi Zero และเชื่อมต่อกับโลกภายนอกผ่าน Wi-Fi หรือ Bluetooth
ตัว Project Bloks เองจะมีบอร์ดสามชุด ได้แก่ Brain Board เป็นบอร์ดหลักสำหรับการประมวลผล, Base Board เป็นบอร์ดอ่านคำสั่ง บนบอร์ดเป็นเซ็นเซอร์แบบ capacitive, Puck เป็นคำสั่งสำหรับวางลงบน Base Board ให้อ่านคำสั่งในโปรแกรม ผู้ออกแบบสามารถออกแบบคำสั่ง เช่น ทิศทางหุ่นยนต์ หรือคำสั่งอื่นๆ
ตัว Project Bloks สามารถนำไปสร้างของเล่นได้อีกที เช่น ชุดเซ็นเซอร์ที่เด็กๆ จะสามารถเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ในบ้านจากเซ็นเซอร์ได้เอง, หรือสร้างเครื่องสังเคราะห์เสียงแบบโปรแกรมได้
ที่ผ่านมา Google Forms ถือเป็นเครื่องมือที่สะดวกในการเก็บข้อมูลจากฟอร์ม โดยเฉพาะพวกความคิดเห็นต่างๆ แต่อาจยังไม่เหมาะกับการใช้เป็นข้อสอบหรือควิซมากนัก
ล่าสุด Google Forms เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ สามารถสร้างควิซได้แล้ว พร้อมมีระบบตรวจข้อสอบอัตโนมัติ ผู้สร้างควิซเพียงแค่ระบุคำตอบที่ถูกต้อง พร้อมกำหนดคะแนนของข้อนั้นๆ เมื่อผู้ทำควิซทำเสร็จแล้ว ก็จะทราบผลคะแนนพร้อมเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง (และคำอธิบาย) ทันที
ระบบควิซนี้ยังใช้ได้เฉพาะโจทย์ตัวเลือกแบบ multiple choice หรือ checkbox เท่านั้น ยังไม่รองรับควิซแบบเติมคำครับ
ในชั้นเรียนแบบเดิม นักเรียนมีหน้าที่รับสารจากครูที่อยู่หน้าชั้น ถึงแม้จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานก็ตาม แต่รูปแบบการเรียนยังเป็นนักเรียนเปิดคอมพิวเตอร์ดูหน้าจอเดียวกับที่ครูนำเสนอ
แต่ Google Cast for Education กำลังจะทำให้นักเรียนทั้งชั้นส่งภาพไปขึ้นจอหน้าห้องเรียนได้ โดยไม่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์แบบ Chromecast ช่วยเลย
ในปี 2015 กูเกิลเคยเปิดตัวโครงการ Expeditions เทคโนโลยี VR เพื่อการศึกษา โครงการนี้เป็นการนำ Google Cardboard ไปใช้ในห้องเรียน ให้เด็กๆ สามารถไปเที่ยวชมสถานที่สำคัญของโลกได้จากแว่น VR โดยมีระบบควบคุมชั้นเรียนผ่านแท็บเล็ต
ที่ผ่านมา Expeditions เป็นโครงการนำร่องของกูเกิลกับโรงเรียนบางแห่งเท่านั้น แต่ล่าสุดกูเกิลเปิดแอพ Expedition ให้ทุกคนดาวน์โหลดได้จาก Play Store แล้ว และสัญญาว่าจะออกเวอร์ชัน iOS ตามมา
Fixaris Games, 2K Games และ Take-Two Interactive Software ร่วมมือกับ GlassLab หน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรในการพัฒนาเกมเพื่อการศึกษา เตรียมนำ Sid Meier's Civlization V บุกโรงเรียนไฮสคูลในอเมริกาเหนือด้วย CivilizationEDU ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีหน้า
เด็กๆ จะได้เรียนรู้เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ รวมถึงรู้จักคิดเชิงวิพากษ์และเรียนรู้อย่างระบบ ผ่านความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมือง เทคโนโลยี สังคมและเศรษฐกิจในกระบวนการพัฒนาเมือง ขณะเดียวกันครูผู้สอนก็สามารถติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน รวมถึงประเมินทักษะต่างๆ ผ่าน analytics engine ของ CivlizationEDU เพื่อนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนต่อไป
คุณเริ่มหัดเขียนโปรแกรมกันตอนไหนครับ
ผมคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะเริ่มหัดเขียนโปรแกรมกันตอน ม.ปลาย หรือไม่ก็เพิ่งมาเขียนจริงๆ จังๆ ตอนเข้ามหาวิทยาลัย อาจมีอาจารย์หรือรุ่นพี่มาสอนให้ หรือมีโปรเจคที่ถูกบังคับให้ทำแต่อาจารย์ไม่สอน ต้องไปงมหาเอาเองในกูเกิลหรือ Stack Overflow แทน ไม่ว่าจะเรียนกันมาแบบไหน สิ่งที่ได้กลับไปนอกเหนือจากเกรดรายวิชา หรือโปรเจคที่ทำไปแล้ว ก็คือประสบการณ์การเขียนโปรแกรมที่ได้รับระหว่างเรียนนั่นเอง
วันนี้ ผมจะพามารู้จักกับโรงเรียน 42 (ใช่แล้วครับ ชื่อโรงเรียนเป็นแบบนี้จริงๆ) ซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกให้นักเรียนเขียนโปรแกรม แต่ความแปลกของโรงเรียนนี้ไม่ได้มีแค่ชื่อของมันเพียงอย่างเดียว กระบวนการสอนก็มีความแปลกไม่แพ้กัน เพราะที่นี่ไม่มีการเรียนการสอน ไม่มีอาจารย์หรือเมนเทอร์คอยให้คำแนะนำ มีแต่โปรเจคที่ให้ทำร่วมกันกับเพื่อนๆ เท่านั้น