ไอบีเอ็มประกาศว่าเร็ว ๆ นี้ซีพียู Cell บน PlayStation 3 นั้นจะเปลี่ยนมาใช้ Cell ที่ใช้มาตราฐานการผลิตขนาด 45nm แล้ว
ว่าง่าย ๆ ว่าซีพียู Next-Gen ของ Cell นั้นจะใช้พลังงานน้อยกว่าเดิม 40 เปอร์เซ็นต์ถ้าดูจากซีพียู Cell ปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ความต้องการในการลดความร้อนภายใน PS3 นั้นลดลงมาก ซึ่งส่งผลให้การผลิตนั้นมีราคาถูกลง รวมไปถึงเครื่องที่ถูกส่งเคลมอาจจะน้อยลงด้วยเช่นกัน (ปัญหาเกิดจากความร้อน)
ซึ่งก็หมายความว่าโซนี่จะมีต้นทุนในการผลิตที่ลดลงอย่างมาก และยังสามารถลดขนาดของตัวเครื่อง PS3 เองได้อีกด้วย
เพราะฉะนั้นถ้าโซนี่ต้องการยอดขายที่เพิ่มขึ้น การลดราคาอาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไปถ้าต้นทุนของเครื่องนั้นลดลง
ชาวเกมเมอร์ประเป๋าหนักอาจจะได้เฮกันอีกครั้ง เมื่ออินเทลเอาใจคอเกมด้วยการปล่อยชิป Core 2 Extreme สำหรับโน้ตบุ๊กลงสู่ตลาดเป็นตัวแรกด้วย Core 2 Extreme X7900 ที่ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2.8 กิกะเฮิร์ต โดยตัวคอร์เป็น Merom ผลิตด้วยเทคโนโยลยี 65 นาโนเมตร และ Front Side Bus ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 800 เมกกะเฮิร์ต
เป็นเรื่องปรกติของเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมที่ผู้ผลิตจะโอเวอร์คล็อกมาให้จากโรงงานเลย สำหรับตลาดโน้ตบุ๊กก็น่าจะไม่ต่างกันนัก โดยเราน่าจะได้เห็นชิปตัวนี้ทำงานที่ความเร็วสัญญาณนาฬิกาเกินกว่า 3 กิกะเฮิร์ตกันในตลาดได้ไม่ยากนัก
ราคาไม่แจ้ง แต่รวมๆ ทั้งเครื่องแล้วคงพอๆ กับดาวน์รถใหม่ซักคัน
ขณะที่โลกกำลังมุ่งจากซีพียูแบบดูอัลคอร์ไปเป็นควอดคอร์ หรือสี่ซีพียู ทางอินเทลได้แสดงตัวอย่างการทำงานของชิปต้นแบบจากห้องวิจัยของอินเทลที่สามารถพัฒนาชิประดับ 80 คอร์ให้ทำงานจริงได้แล้ว ชิปดังกล่าวเปิดตัวครั้งแรกในงาน Intel Developer Forum ที่ผ่านมา โดย Paul Otellini ซีอีโอของอินเทลระบุว่าอินเทลน่าจะวางตลาดชิประดับนี้ได้ในอีกห้าปีข้างหน้า
ซีพียูที่ทางอินเทลนำออกมาเดโมนี้สามารถทำความเร็วได้ถึง 1 เทราฟลอปในชิปตัวเดียว แต่เนื่องจากตัวชิปไม่ได้เป็นสถาปัตยกรรม x86 จึงไม่สามารถทดสอบโปรแกรมทั่วไปเช่นวิสต้าได้
CPU ใหม่จาก Intel ครับ Q6600 เป็น Quad core ราคาประหยัด ตัว top ของ CPU Quad-core จะอยู่ที่ราคาสูงกว่า US$ 1,000 แต่ตัวนี้อยู่ที่ราวๆ US$ 800 ครับ
เป็นการปรากฎแบบเงียบๆยังไงไม่รู้ เพราะเห็นว่าโชว์ในเครื่องพีซีใหม่ (Shuttle XPC 1337)
CPU spec คือ 2.4GHz มี level 2-cache ขนาด 8 MB มีรายละเอียดแค่นี้เองครับ ยังไม่ได้ไปดูที่ site Intel
อ่านดูครับ [Link]
ทิศทางของเทคโนโลยีไมโครชิปยุคต่อไปนั้นค่อนข้างแน่ว่าเทคโนโลยีด้านออปติคอลจะเข้ามามีผลมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ทุกวันนี้เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อการส่งข้อมูลความเร็วสูงกันได้แล้ว แต่เรายังมีข้อจำกัดที่ต้องแปลงสัญญาณโฟตอนเหล่านั้นมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อจัดเก็บและประมวลผลในชิปแบบดั้งเดิม
แต่ตอนนี้อนาคตอาจจะเข้าใกล้เรามากขึ้น เมื่อนักวิจัยที่ไอบีเอ็มสามารถสร้างชิปเพื่อ "หน่วง" สัญญาณโฟตอนไว้ในไมโครชิปได้เป็นเวลา 0.5 นาโนวินาที โดยก่อนหน้านี้การหน่วงสัญญาณต้องใช้สายไฟเบอร์ออปติกที่มีขนาดใหญ่และราคาแพง การสร้างไมโครชิปเพื่อทำหน้าที่นี้ทำให้เราสามารถกักเก็บสัญญาณโฟตอนไว้ได้ในอุปกรณ์ราคาถูก
หลังจากปล่อยอินเทลนำหน้าไปเป็นเดือน เอเอ็มดีก็ออกตัวไล่อินเทลด้วยชิปตระกูล FX-70 ที่สร้างขึ้นมาเพื่อสถาปัตยกรรม 4x4 ของเอเอ็มดีเอง โดยสถาปัตยกรรมใหม่นี้จะรองรับซีพียูสองตัว เชื่อมต่อกันผ่านบัส HyperTransport โดยในตอนนี้มีชิปเซ็ตของทาง nVidia เท่านั้นที่รองรับสถาปัตยกรรมนี้
แต่งานนี้แฟนๆ เอเอ็มดีอาจจะออกเสียงเฮกันไม่ได้เต็มปาก เพราะชิปตัวใหม่นี้กลับทำความเร็วต่ำกว่า QX6700 ของทางอินเทลแทบทุกการทดสอบ แถมการกินพลังงานก็สูงกว่าพอสมควร โดยเฉพาะในงานที่ต้องการพลังคำนวณจากคอร์เดียวเช่นเกม เอเอ็มดีกลับทำได้แย่กว่าอย่างเห็นได้ชัด
หลังการรวมตัว AMD+ATI เสร็จสิ้น สงครามที่คาดการณ์กันว่าจะเกิดขึ้นแน่ก็เริ่มเปิดฉาก เมื่อเอเอ็มดีประกาศว่าภายในสองปี เอเอ็มดีจะวางตลาดชิปรุ่นใหม่ ที่มีชื่อไม่เป็นทางการในตอนนี้ว่า Fusion โดยมันจะเป็นการรวมตัวระหว่าง CPU และ GPU เข้าด้วยกันในชิปตัวเดียว และจะเปิดตัวในช่วงปลายปี 2008 ถึงต้นปี 2009 ที่น่าสนใจคือเอเอ็มดีประกาศว่าชิปตระกูล Fusion นี้จะมีครบทุกสายการผลิตตั้งแต่โน้ตบุ๊กไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์