อินเทลประกาศตั้งฝ่าย Custom Compute Group พัฒนาชิปสำหรับประมวลบล็อคเชนโดยเฉพาะ โดยระบุว่าบล็อคเชนบางประเภทต้องใช้พลังประมวลผลสูง จึงต้องการพัฒนาโซลูชันที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
ชิปเร่งประมวลผลบล็อคเชน (blockchain accelerator) ของอินเทลจะเปิดตัวภายในปีนี้ ตอนนี้มีลูกค้าสั่งซื้อแล้ว 3 รายคือ Argo Blockchain, Block (Square เดิม), GRIID Infrastructure
Alfa Romeo แบรนด์รถดังจากอิตาลี เปิดตัวรถ SUV รุ่นใหม่ Alfa Romeo Tonale ที่จะมาพร้อมกับ NFT โดย NFT ชิ้นนี้ไม่ได้มีประโยชน์แค่ระบุความเป็นเจ้าของรถเท่านั้น แต่มีประโยชน์ในการใช้งานด้วย โดยการเก็บประวัติต่างๆ จากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของรถ เช่นประวัติการซ่อมบำรุง ระยะทาง ประวัติการชน เพื่อบันทึกไว้บนบล็อกเชนโดยอิงกับ NFT ประจำตัวรถ และช่วยให้ราคาขายต่อของรถดีขึ้น เพราะประวัติบนบล็อกเชนสามารถตามดูย้อนหลังได้ และปลอมแปลงได้ยาก
Bored Ape Yacht Club คอลเล็กชั่นภาพสะสม NFT สร้างโดย Yuga Labs เป็นรูปภาพกราฟฟิกลิงใส่เครื่องแต่งกายต่างกัน 10,000 แบบ และกำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนดังในสหรัฐฯ เช่น Jimmy Fallon กับ Paris Hilton ที่เพิ่งนำมาโชว์ในรายการ The Tonight Show โดยทั้งสองคนซื้อกันคนละภาพ รวมเป็นเงินมูลค่ากว่า 5.16 แสนดอลลาร์ หรือราว 17 ล้านบาท
หลังจากบริการ DeFi ข้ามเชน Wormhole ถูกแฮกจนแฮกเกอร์ดึง Ethereum ออกไปได้จำนวนมาก ทำให้น่าสงสัยว่าหากแฮกเกอร์ไม่ยอมคืนเงินแล้วบริการ Wormhole จะหายไปเลยหรือไม่ ล่าสุด Jump Trading ผู้ลงทุนในบริษัทคริปโตก็ประกาศเข้ามาเสริมสภาพคล่องให้ Wormhole รวม 120,000 ETH
เนื่องจาก Ethereum ของ Wormhole ถูกคนร้ายดึงออกไปจำนวนมาก ทำให้ wETH ที่ออกโดย Wormhole ไม่มีอะไรหนุนมูลค่าอีกต่อไป หากปล่อยไว้ระบบทั้งหมดก็หมดค่าไป
ทาง Jump Trading ระบุว่ายังเชื่อในอนาคตของการให้บริการข้ามเชน และเชื่อว่า Wormhole จะเป็นโครงสร้างสำคัญในอนาคตจึงเติมเงินลงไปครั้งนี้
บริการ DeFi ข้ามเชน Wormhole ถูกแฮกเกอร์เจาะระบบจนสามารถถอน Ethereum และ Solana ออกไปจำนวนมาก รวมมูลค่าประมาณ 295-325 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณหมื่นล้านบาท
ตอนนี้ทาง Wormhole ปิดระบบชั่วคราว และยืนยันว่าพบช่องโหว่และแก้ไขเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ออกมายืนยันมูลค่าความเสียหายแต่อย่างใด ขณะเดียวกันก็ส่งข้อความไปถึงแฮกเกอร์ ระบุว่ายินดีจ่ายค่ารายงานช่องโหว่เป็นเงินสิบล้านดอลลาร์
Wormhole เป็นแพลตฟอร์ม DeFi ที่มีสินทรัพย์วิ่งอยู่ในแพลตฟอร์มรวมมูลค่าประมาณพันล้านดอลลาร์
หลังมีผู้โพสต์ขายงาน NFT ศิลปะไทยประยุกต์ รูปท้าวเวสสุวรรณบนเว็บไซต์ OpenSea ในราคา 9 ETH หรือราว 7.5-7.6 แสนบาท จนในที่สุดก็ขายออก ดูเหมือนว่าจะเป็นการซื้อภาพมูลค่าสูงอีกครั้งในวงการ NFT ไทย แต่กลับไม่เป็นอย่างที่คิด เมื่อชาวเน็ตขุด transaction ในการซื้อขายดู พบว่าแอคเคาท์ที่เป็นผู้ขาย ส่งเงินให้อีกแอคเคาท์เพื่อมาซื้องานตัวเอง
Qubit Finance แพลตฟอร์ม DeFi ข้ามเชนที่เพิ่งถูกแฮกเงินคริปโตไปมูลค่า 80 ล้านดอลลาร์ ประกาศเพิ่มรางวัลสำหรับการคืนเงินเป็น 2 ล้านดอลลาร์ เทียบเท่ากับข้อเสนอที่ Polygon เคยจ่ายมาก่อนหน้านี้และเป็นการจ่ายสูงสุดที่เคยมีมา พร้อมกับสัญญาว่าจะไม่เอาเรื่องคดีความ
สำหรับผู้เสียหาย ทาง Qubit Finance กำลังทำรายงานสรุปยอดความเสียหายรวมให้กับผู้ใช้ พร้อมเอกสารยืนยันในกรณีที่ต้องการเอกสารนำไปแจ้งความ
ก่อนหน้านี้ทาง Qubit เคยพยายามเสนอเงินรางวัล 250,000 ดอลลาร์ และ 1 ล้านดอลลาร์มาก่อนแล้ว แต่แฮกเกอร์ก็ยังไม่ติดต่อกลับมาแต่อย่างใด
ที่มา - @QubitFin
แม้ประเทศจีนจะระบุว่าธุรกรรมคริปโตทั้งหมดผิดกฎหมาย แต่ก็ใช่ว่ารัฐจะไม่สนใจเทคโนโลยีบล็อกเชนโดยสิ้นเชิง ล่าสุดบริษัท Blockchain Services Network (BSN) ได้เริ่มเปิดใช้งาน BSN-Distributed Digital Certificates (BSN-DDC) โครงสร้างบล็อกเชนพื้นฐานเพื่อรองรับการมิ้นต์และใช้งาน NFT ของธุรกิจต่างๆ โดยจะไม่เกี่ยวข้องกับเงินคริปโตสกุลใด แตกต่างจากการทำงานของ NFT ในปัจจุบันที่ส่วนใหญ่อยู่บนเครือข่าย Ethereum
Ethereum Foundation ประกาศ "รีแบรนด์" ศัพท์ที่ใช้ภายในวงการคือ Eth1 และ Eth2 (รวมถึง Ethereum 2.0) มาเป็นชื่อใหม่ execution layer และ consensus layer ตามลำดับ เพื่อลดความสับสนของผู้ใช้งาน
โครงการ Ethereum เดิมใช้วิธีการยืนยันแบบ proof of work (POW) ซึ่งมีปัญหาเรื่องการสเกล ทำให้ภายหลังช่วงราวปี 2018-2019 มีการผลักดันแนวทางยืนยันแบบ proof of stake (POS) ขึ้นมาใช้แทน ทำให้ชุมชน Ethereum เรียกมันว่า "Ethereum 2.0"
การขุดบิตคอยน์แบบโซโล่ คือการที่นักขุดบิตคอยน์พยายามแก้บล็อกทั้งบล็อกด้วยตัวเองคนเดียวไปเรื่อยๆ แบบแรนด้อมซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่จะแก้บล็อกได้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่คนเดียวจะได้รางวัลของทั้งบล็อกไปครอง แต่ดูเหมือนว่าเดือนนี้จะเป็นเดือนที่ดีของนักขุดแบบโซโล่หลายๆ คนบน solo.ckpook.org เพราะมีคนในพูลนี้ แก้บล็อกด้วยตัวเองได้สำเร็จเป็นคนที่ 3 ของเดือนแล้ว
ทุกปีๆ ในงานรวมตัวนักพัฒนาเกม Game Developers Conference หรือ GDC ทีมงานจะมีการทำแบบสำรวจนักพัฒนาด้วยคำถามต่างๆ ที่กำลังเป็นจุดสนใจ โดยในปีนี้คำถามข้อที่เด่นๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซี และ NFT
คำถามที่ถามว่าสตูดิโอของนักพัฒนาสนใจใช้คริปโตเคอเรนซีเป็นช่องทางการจ่ายเงินมากแค่ไหน มีนักพัฒนาตอบว่าสนใจมากแค่ 6% สนใจนิดหน่อย 21% และไม่สนใจถึง 72% ส่วนคำถามเรื่องสตูดิโอของนักพัฒนา สนใจด้าน NFT มากแค่ไหน ก็มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือสนใจมาก 7% สนใจนิดหน่อย 21% และไม่สนใจเลย 70%
ข่าวนี้ถ้าเกิดขึ้นที่บริษัทอื่นก็คงเป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่อเป็นกูเกิลก็เลยเป็นข่าวได้ โดยมีรายงานจาก Bloomberg ว่ากูเกิลได้ตั้งแผนกใหม่ซึ่งโฟกัสเทคโนโลยีบล็อกเชน ตลอดจนเทคโนโลยีอื่นที่เกียวข้องโดยเฉพาะ
รายงานบอกว่า Shivakumar Venkatarama รองประธานฝ่ายวิศวกรรมของกูเกิล ซึ่งที่ผ่านมาดูแลด้านระบบโฆษณาของเสิร์ช จะเข้ามาดูแลหน่วยงานใหม่นี้ รายละเอียดในอีเมลระบุว่าเขาจะรับผิดชอบงานด้านบล็อกเชน ตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในระบบประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์
ที่ผ่านมากูเกิลไม่มีโครงการหรือผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าเป็นบล็อกเชนโดยตรง เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นอย่าง Meta หรือ Twitter
เกม MIR4 เป็นเกม MMORPG บน Steam ที่มีระบบ NFT ตัวละคร คือผู้เล่นสามารถปั้นตัวละครของตัวเองและนำตัวละครพร้อม NFT ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวละครนั้นมาขายบนตลาดขายตัวละครของเกมได้ และหนึ่งในสตรีมเมอร์ชาวไทยชื่อดังที่เล่นเกมนี้อยู่ คือพี่เอกแห่งแชนแนล Heartrocker ที่ใช้ตัวละครชื่อ “เขาชื่ออะไร”
Meural กรอบรูปดิจิทัลของ Netgear ที่มีหลายไซส์หลายสี และสามารถแสดงภาพผ่านแพลตฟอร์มงานศิลปะของ Meural บนเว็บหรือแอปได้ ออกอัพเดตใหม่ให้ผู้ใช้สามารถเชื่อม Metamask แอปกระเป๋าคริปโตที่ใช้เก็บงาน NFT กับบัญชีของ Meural เพื่ออัพโหลดและแสดงภาพ NFT บนกรอบรูปได้ทันที
Arbix Finance เว็บไซต์ DeFi ประเภท Yield Farming ที่เน้นการทำกำไรจากการ Arbitage หรือการทำกำไรจากการแลกเปลี่ยน โดยอาศัยความแตกต่างของมูลค่าเหรียญคริปโตบนแพลตฟอร์ม DeFi ต่างกัน ปิดตัวลงแล้ววันนี้ ทั้งช่องทางเว็บไซต์ Telegram และ Twitter ทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถถอนเงินที่ฝากไว้ใน Pool ต่างๆ ได้อีกต่อไป และมูลค่าเหรียญของเว็บไซต์อย่าง $ARBIX ก็ลดลงถึง 99%
คาดว่าการปิดตัวครั้งนี้ น่าจะเป็นการปิดเว็บไซต์หอบเงินหนีแบบ rugpull หรือการปิดเว็บหอบเงินหนีทันทีแบบไม่ให้ตั้งตัว เหมือนกับการดึงพรมออกจากใต้เท้าที่ทำให้ล้มทั้งยืน แม้โค้ดจะได้รับการตรวจสอบจากเว็บไซต์ตรวจสอบโค้ดที่โลก DeFi นิยมใช้อย่าง Certik แล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการตรวจสอบแบบครั้งเดียว ไม่ได้ใช้งานผลิตภัณฑ์อย่าง Skynet ที่เป็นบริการเฝ้าระวังช่องโหว่ของโค้ดบนเว็บ DeFi แบบตลอด 24 ชั่วโมงของ Certik
Bored Ape หรือชื่อเต็ม Bored Ape Yacht Club เป็นงานศิลปะ NFT ที่มีจำนวนจำกัด 10,000 แบบสร้างจากการมิกซ์และแมตช์องค์ประกอบต่างๆ ออกมาเป็นภาพลิงที่มีเอกลักษณ์ และมีดาราเช่น Jimmy Fallon และ Steph Curry เป็นเจ้าของ โดยเคยทำสถิติราคาขายที่ 2.25 ล้านดอลลาร์ ในงานประมูลของ Sotheby’s และเป็นของสะสมที่มีค่าในวงการ NFT คล้ายงานชุด CryptoPunks
Kickstarter เว็บระดมทุนชื่อดัง ประกาศพัฒนาโครงข่ายโอเพนซอร์ส เพื่อรองรับโครงการระดมทุนที่เหมือนกับ Kickstarter แบบเดิม แต่อยู่ในรูปของ decentralized ซึ่งให้คนสามารถพัฒนาโครงการต่อยอดได้ รวมทั้งคู่แข่งก็มาใช้งานได้ โดยจะอยู่ในรูปแบบของหน่วยงานแยกอิสระ Kickstarter PBC
โครงข่ายของ Kickstarter จะสร้างขึ้นบนบล็อกเชนของ Celo ซึ่งผู้บริหาร Kickstarter ให้เหตุผลที่เลือกใช้เชนนี้ว่าเนื่องจากแนวทางพัฒนาเน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตัวเว็บ Kickstarter เดิม ก็จะย้ายมาใช้โครงข่ายนี้ดังกล่าวด้วยเช่นกัน โดยจะไม่มีผลกระทบในระดับผู้ใช้งาน แต่ได้ประโยชน์จากประสิทธิภาพของโครงข่ายแบบใหม่นี้
ConstitutionDAO กลุ่มชาวคริปโตที่รวมตัวกันเฉพาะกิจ และระดมเงินบนเชน Ethereum ได้กว่า 40 ล้านดอลลาร์ เพื่อประมูลหนึ่งในกระดาษพิมพ์ต้นฉบับของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกากับ Sotheby’s เกิดปัญหาหลังแพ้การประมูลจนต้องเตรียมปิดตัวลง แต่การจัดคืนเงินทำได้ลำบาก เนื่องจากค่าแก๊ส หรือค่าบริการที่ผู้ใช้ต้องจ่ายเพื่อโอนเงินบนเชน Ethereum นั้นแพงมาก
โรงภาพยนตร์ AMC Theatres ในสหรัฐฯ แจกภาพพร้อมโทเคน NFT ฟรี สำหรับ 86,000 คนแรกที่จองตั๋วภาพยนตร์ Spider-Man: No Way Home ผ่านแอปและเว็บไซต์ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน โดยจะได้รับโค้ดสำหรับรับ NFT วันที่ 22 ธันวาคม และยืนยันรับ NFT ได้ถึง 1 มีนาคม
Upbit Thailand ผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายและนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดโครงการอบรมออนไลน์และมอบประกาศนียบัตร ในหัวข้อ “Introduction to Blockchain & Cryptocurrency เข้าสู่โลกของบล็อกเชนและคริปโทเคอร์เรนซีได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย” เป้าหมายคือปูพื้นฐานนักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจ ให้พร้อมก้าวเข้าสู่โลกคริปโต อย่างปลอดภัย
Brave เบราว์เซอร์โอเพ่นซอร์ส ที่ก่อตั้งโดยอดีตผู้บริหาร Mozilla ทำเครื่องมือใหม่ Brave Wallet สร้างวอลเลตคริปโต built-in เข้ามาด้วย ผู้ใช้งานไม่ต้องไปดาวน์โหลด extension จากที่อื่น
Tess Rinearson วิศวกรซอฟต์แวร์ผู้พัฒนาเทคโนโลยีบล็อคเชน เผยว่าเธอได้เข้าร่วมงานกับทวิตเตอร์ เพื่อมาดูแลทีมที่กำลังโฟกัสเทคโนโลยีคริปโต, บล็อคเชน และเทคโนโลยีกระจายศูนย์อื่นๆ ที่ไม่จำกัดอยู่เพียง cryptocurrency
ความเคลื่อนไหวที่ผ่านมาของทวิตเตอร์ แสดงให้เห็นชัดเจนมาสักพักแล้วว่า ทวิตเตอร์จะเข้าสู่โลกคริปโตอย่างจริงจัง ตั้งแต่ทดสอบฟังก์ชันเชื่อมต่อระบบการใช้งาน NFT, จ่ายทิปด้วยเงินบิทคอยน์ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ ทวิตเตอร์ก็มีวิสัยทัศน์ชัดเจนเรื่องโซเชียลมีเดียแบบกระจายศูนย์ หรือที่รู้จักในโปรเจกต์ BlueSky ที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีการใหม่บนโซเชียลมีเดียที่เหมาะกับสังคมในทวิตเตอร์
KBTG จัดงาน The Next Chapter of KBTG แถลงกลยุทธ์สำคัญของบริษัท พร้อมทั้งเปิดตัวอภิมหาโปรเจกต์มากมายที่จะสร้าง Impact ต่อโลกธุรกิจ การเงิน และเทคโนโลยีในประเทศไทย
ภายในงานมีการเปิดตัวกลยุทธ์อย่างเป็นทางการของ KASIKORN X หรือ KX บริษัทลงทุนในเทคโนโลยีเกิดใหม่ ที่มีภารกิจสร้าง Fintech Unicorn รายแรกของประเทศไทยให้ได้ และเปิดตัว Coral แพลตฟอร์มซื้อขายงานศิลปะในรูปแบบ NFT ซึ่งถือเป็นอีกครั้งที่ KBTG ก้าวเข้าสู่โลกใหม่ทางการเงินอย่างสินทรัพย์ดิจิทัลและ Decentralized Finance (DeFi) หลังจากก่อนหน้านี้เปิดตัวบริษัทลูก Kubix ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลผ่านบล็อกเชนไปแล้ว
ขายหัวเราะ หนังสือการ์ตูนขำขันที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน และในยุคหลังเริ่มปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัลมากขึ้น ทั้งมีแฟนเพจบน Facebook และวางขายทั้งบน Meb และ Ookbee
ตอนนี้ขายหัวเราะเตรียมล้ำไปอีกขั้น ด้วยการนำผลงานต้นฉบับออริจินัล จากนักเขียนชื่อดังรุ่นใหญ่ตั้งแต่ยุค 70 เช่น อาวัฒน์ ตาโต จุ๋มจิ๋ม และอื่นๆ กว่า 50 ภาพ มาลงขายแบบ NFT บนแพลตฟอร์ม OpenSea และจะมี rare item เป็นต้นฉบับภาพวาดที่ได้เป็นปกขายหัวเราะยุคบุกเบิก ทยอยปล่อยให้ติดตามทุกสัปดาห์
Vitalik Buterin ผู้ร่วมให้กำเนิดเทคโนโลยีบล็อกเชนระบบ Ethereum ระบุไว้ในโปรไฟล์ของเขาใน about.me ว่าสาเหตุที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาสนใจระบบธุรกรรมแบบ decentralized เป็นเพราะ Blizzard เนิร์ฟ (ลดความเก่ง) ตัวละครอาชีพ Warlock ที่เขาเล่นบน World of Warcraft ในปี 2010 โดยการแก้ให้สกิล Siphon Life ไม่สร้างความเสียหายให้กับศัตรู (แต่ปัจจุบัน Siphon Life กลับมาสร้างความเสียหายแล้ว)