ธนาคารกรุงไทยเผยแพร่เอกสาร ระบุว่าต้องเปลี่ยนแนวทางการให้บริการตู้ฝากเงินสด (CDM) โดยมีการยืนยันตัวตนก่อนฝากเงิน ตามกฎเกณฑ์ของ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้โครงการ CDM AMLO
ผู้ฝากเงินสามารถใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตเพื่อยืนยันตัวตนของธนาคารใดก็ได้ 11 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย (ยกเว้นบัตร KTC ตามข้อมูลปัจจุบัน) ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารยูโอบี ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยผู้ฝากจะไม่เสียค่าบริการยืนยันตัวตน ส่วนค่าธรรมเนียมในการฝากเงินไปยังบัญชีปลายทางต่างธนาคารขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละธนาคาร
ธนาคารกลางยุโรป หรือ European Central Bank (ECB) ประกาศความร่วมมือกับบริษัท 5 แห่ง พัฒนาต้นแบบ UI ที่เป็นไปได้ของการใช้สกุลเงิน "ยูโรดิจิทัล" (digital euro) ที่มีระยะเวลาทดสอบนาน 2 ปี
ECB กำลังพัฒนาระบบหลังบ้าน (back-end infrastructure) ของการชำระเงินเป็นยูโรแบบดิจิทัล และจะให้บริษัทเหล่านี้สร้างต้นแบบของระบบหน้าบ้าน (front-end) มาเชื่อมกับระบบของ ECB ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป 5 กรณี ได้แก่
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาตหรือ ttb ออกจดหมายเปิดผนึกชี้แจงปัญหาแอพ ttb touch ล่มในช่วงวันที่ 1-3 กันยายน 2022
นายปิติระบุว่าสาเหตุเกิดจากการอัพเกรดเวอร์ชันของแอพ ttb touch ที่มีผู้ใช้จำนวน 4.5 ล้านราย บวกกับปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษในช่วงปลายเดือนสิงหาคมต่อต้นเดือนกันยายน ทำให้ระบบไม่สามารถตอบสนองการใช้งานของลูกค้าได้ ทีมงานจึงปิดระบบเป็นระยะเพื่อเคลียร์ธุรกรรมที่ค้างอยู่ แต่เมื่อมีปริมาณธุรกรรมค้างมากขึ้นก็ต้องปิดระบบยาวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้ใช้งาน
นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) ชี้แจงแนวทางของ ธปท. ต่อเหตุการณ์ระบบแอพมือถือ ttb touch ของธนาคารทีเอ็มบีธนชาตล่มระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน 2022
ธปท. ได้สั่งการ 3 ข้อดังนี้
ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต แจ้งว่าแอพมือถือ TTB Touch ที่ล่มมาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2022 กลับมาใช้งานได้แล้ว ในช่วงประมาณ 20.21 น. ของวันที่ 3 กันยายน 2022 (นับตามเวลาที่ประกาศ) โดยระบุว่าลูกค้าบางคนอาจยังเข้าใช้งานไม่ได้ หรือใช้เวลานานในการเข้าระบบหรือทำธุรกรรม อันเนื่องมาจากปริมาณธุรกรรมสะสมจำนวนมาก ธนาคารขอแนะนำให้ลูกค้าเว้นระยะและเข้าใช้งานใหม่ในภายหลัง
ธนาคารยังประกาศมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ 4 ข้อดังนี้
Lael Brainard รองประธาน Federal Reserve Board หน่วยงานกำกับด้านระบบชำระเงินภายใต้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศว่าระบบ FedNow หรือระบบโอนเงินแบบทันที จะเริ่มเปิดใช้งานจริงกลางปี 2023 หลังจากพัฒนามายาวนานหลายปี
FedNow เป็นระบบโอนเงินแบบทันทีรูปแบบเดียวกับที่หลายชาติได้ลงระบบไปก่อนหน้านี้แล้ว ในไทยเราเห็นรูปแบบนี้ในพร้อมเพย์ที่สามารถโอนข้ามธนาคารได้โดยไม่ต้องรอระยะเวลาหลายๆ วันเหมือนแต่ก่อน กระบวนการเชื่อมต่อข้อมูลก็ใช้มาตรฐาน ISO 20022 เหมือนกัน
สหรัฐฯ มีระบบ Automated Clearing House (ACH) ให้บริการมาตั้งแต่ปี 1972 และมีข้อจำกัดเวลาให้บริการ และการโอนเงินต้องรอเงินเคลียร์ในช่วงเวลาทำการ FedNow จะทำให้กระบวนการโอนถึงบัญชีปลายทางทันที
ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศเชื่อมต่อระบบ QRIS เข้ากับ Thai QR และ NETS QR เปิดทางให้ผู้ใช้สามชาติสามารถจ่ายเงินตามร้านค้าด้วยการสแกนเหมือนกับการจ่ายเงินในประเทศทุกวันนี้
การเชื่อมต่อระหว่างไทยและอินโดนีเซียนั้นเริ่มทดสอบมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 ตอนนี้จะเข้าสู้ช่วงอิมพลีเมนต์จริงโดยมีผู้ให้บริการถึง 76 รายจากทั้งสองประเทศเข้าร่วมโครงการ ทำให้สามารถโอนจ่ายเงินค่าบริการต่างๆ ผ่าน QR ได้ทันที และทั้งสองชาติจะร่วมมือกันเพื่อการโอนเงินข้ามประเทศที่รวดเร็วขึ้นเพิ่มความสะดวกให้กับการทำธุรกิจและแรงงานข้ามชาติต่อไป
National ITMX (NITMX) ผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและดูแลระบบธุรกรรมระหว่างธนาคารเปิดเผยว่า บริษัทมีแผนจะพัฒนาเพิ่มศักยภาพให้ระบบพร้อมเพย์ สามารถรองรับการทำธุรกรรมพร้อมกัน 10,000 ธุรกรรมต่อวินาที ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งสูงกว่าช่วงให้บริการพร้อมเพย์ครั้งแรกเมื่อปี 2017 ที่ 40 เท่า
NITMX เผยว่าปัจจุบันการทำธุรกรรมพร้อมกันสูงสุดอยู่ที่ 2,900 ธุรกรรมต่อวินาทีเท่านั้น ขณะที่ศักยภาพของระบบปัจจุบัน รองรับได้อยู่ที่ประมาณ 6,000 ธุรกรรมต่อวินาที
ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศแผนการทดสอบสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC) สำหรับการทำธุรกรรมรายย่อยของประชาชนทั่วไป (Retail CBDC) ถัดจากที่เคยทดสอบ CBDC ในกลุ่มสถาบันการเงินมาช่วงก่อนหน้านี้ (Wholesale CBDC หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อโครงการอินทนนท์ ใครที่สับสนว่ามันคืออะไร ใช่เงินคริปโตหรือไม่ แนะนำให้อ่าน FAQ)
ธนาคารกสิกรไทยประกาศการขยายธุรกิจในเวียดนามอย่างเป็นทางการ ตามแนวทางการขายธุรกิจในภูมิภาค AEC+3 โดยเปิดสาขาที่นครโฮจิมินห์เป็นที่แรก และวางงบลงทุนระยะเวลา 3 ปี 2,700 ล้านดอลลาร์ เน้นจุดแข็งด้วยบริการดิจิทัลที่เชี่ยวชาญจากไทย
บริษัทไอทียักษ์ใหญ่หลายแห่งมีตำแหน่ง Distinguished Engineer ที่ถือเป็นตำแหน่ง Executive ของสายงานวิศวกรรม (เทียบเท่ากับ Vice President หรือ Managing Director ในตำแหน่งสายงานบริหาร) บริษัทใหญ่ที่มีประวัติยาวนานอย่าง IBM ก็มีตำแหน่งนี้ และเราเพิ่งได้เห็น "คนไทยคนแรก" ที่ได้รับตำแหน่ง Distinguished Engineer ซึ่งมีอยู่ประมาณ 40 คนทั่วโลก ที่ได้รับการแต่งตั้งในปีนี้
Blognone มีโอกาสพูดคุยกับ คุณวิศรุจน์ อัศวรักษ์ ที่มีตำแหน่งเป็น Chief Technology Officer ของไอบีเอ็มประเทศไทยอีกตำแหน่ง และเป็นสมาชิกของ IBM Academy of Technology ชุมชนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีของ IBM ด้วย
SCB ประกาศเปลี่ยนนโยบายของแอป SCB Easy จากเดิมที่สามารถล็อกอินทิ้งไว้พร้อมกันได้ 3 เครื่อง จะปรับเป็นให้เหลือเครื่องเดียว เหมือนแอปธนาคารแห่งอื่น โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป
แม้ทาง SCB จะไม่ได้ระบุเหตุผล แต่ก็คาดว่าน่าจะหนีไม่พ้นเรื่องความปลอดภัย ขณะที่การเปลี่ยนแปลงนี้ก็ทำลายจุดเด่นเล็กๆ จุดนึงของ SCB Easy ที่สร้างความสะดวกสบายจากการล็อกอินได้หลายเครื่องไป
ที่มา - SCB Thailand
Bank of International Settlements (BIS) หรือธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ผู้ออกมาตรฐานกลางการกำกับดูแลธนาคารทั่วโลก ออกเอกสารขอความเห็นถึงการที่ธนาคารต่างๆ จะเข้าไปถือสินทรัพย์ดิจิทัลที่อาจจะสร้างความเสี่ยงให้กับธนาคารมากขึ้น
แนวทางของ BIS นั้นแบ่งสินทรัพย์ดิจิทัลออกเป็น 2 หมวดหลักๆ ได้แก่
ธนาคารกลางรัสเซียออกแถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า บัตรที่ออกโดยธนาคารรัสเซียหลายแห่งไม่สามารถใช้งานผ่าน Apple Pay หรือ Google Pay ได้แล้ว เนื่องจากมาตรการแบนของฝั่งชาติตะวันตก
สำหรับสถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบจากการแบนครั้งนี้ มีทั้ง VTB Group, Sovcombank, Novikombank, Promsvyazbank และ Otkritie FC Bank โดยจะมีผลทำให้ลูกค้าไม่สามารถทำธุรกรรมในประเทศที่ออกมาตรการแบนรัสเซียได้ ทั้งออนไลน์และการใช้บัตรในต่างประเทศ ซึ่งการใช้งาน Apple Pay หรือ Google Pay อยู่ในหมวดนี้ แต่ลูกค้ายังคงใช้บัตรในประเทศรัสเซียได้ตามปกติ รวมถึงการใช้งาน contactless ผ่านตัวบัตรก็จะยังไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด
หลังจากถกเถียงกันมาหลายวัน ชาติตะวันตกทั้งสหรัฐ แคนาดา สหราชอาณาจักร และยุโรปได้ลงมติตัดการเชื่อมต่อของธนาคารรัสเซีย (จำนวนหนึ่ง) ออกจากเครือข่ายจ่ายเงินข้ามประเทศ SWIFT แล้ว
SWIFT หรือชื่อเต็ม Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication เป็นระบบการส่งเงินข้ามประเทศที่วงการธนาคารใช้กันมายาวนาน และมีสมาชิกเป็นธนาคารกว่า 11,000 แห่งทั่วโลก
ธนาคาร OCBC ของสิงคโปร์เปิดตัวระบบ kill switch เป็นระบบสำหรับสั่งฟรีซบัญชีทุกอย่างของลูกค้า หากลูกค้าสงสัยว่าบัญชีอาจถูกฉ้อโกงด้วยวิธีใดก็ตาม
วิธีเปิด kill switch ของ OCBC ในสิงคโปร์ ลูกค้าจะต้องโทรเข้าคอลเซ็นเตอร์ของธนาคาร และกดหมายเลข 8 หรือทำรายการที่เครื่องเอทีเอ็มของ OCBC เท่านั้น
เมื่อ kill switch เปิดใช้งานแล้ว บัญชีทั้งหมดของลูกค้า ทั้งบัญชีเดินสะพัดหรือบัญชีออมทรัพย์ ทั้งบัญชีในนามของตนเองหรือบัญชีร่วมจะถูกฟรีซทั้งหมด ไม่สามารถทำธุรกรรมได้ทั้งช่องทางสาขา, เอทีเอ็ม, บัตรเดบิต, บัตรเครดิต ไปจนถึงช่องทางดิจิทัลและแอป OCBC Pay Anyone แม้กระทั่งระบบตัดชำระเงินรายเดือนหรือตั้งโอนเงินล่วงหน้าก็จะถูกระงับเช่นกัน (อธิบายง่าย ๆ คือจะไม่มีธุรกรรมใด ๆ วิ่งผ่านบัญชีเลย)
Mairead McGuinness กรรมการยุโรปด้านการเงิน ประกาศแผนเสนอกฎหมาย "ยูโรดิจิทัล" โดยจะเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะในเร็วๆ นี้ และตั้งเป้าผ่านกฎหมายในรัฐสภายุโรปช่วงต้นปี 2023
ร่างกฎหมายที่ McGuinness กล่าวถึง จะให้อำนาจกับธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank หรือ ECB) ในการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC)
ฝั่งของ ECB ก็เริ่มงานพัฒนาต้นแบบ "ยูโรดิจิทัล" ไปบ้างแล้ว โดยยังไม่ฟันธงว่าจะเลือกโซลูชันทางเทคนิคแบบใด (มีทางเลือกทั้งแบบ centralized/decentralized ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารกลาง) และคาดว่าจะออกต้นแบบได้ช่วงปลายปี 2023
แบงค์ชาติสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore - MAS) สั่งลงโทษธนาคาร DBS ที่เกิดเหตุล่มยาวสองวันเมื่อปลายปี 2021 ด้วยการสั่งให้ธนาคารเพิ่มเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านปฎิบัติการ (risk-weighted assets for operational risk) เป็น 1.5 เท่าตัวจากการสำรองตามปกติ ทำให้ธนาคารต้องเพิ่มเงินก้อนนี้รวม 930 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 22,800 ล้านบาท พร้อมกับตำหนิ DBS ว่าไม่สามารถจัดการเหตุให้ดี และขาดกระบวนการกู้คืนระบบจนทำให้ระบบมีปัญหาต่อเนื่องยาวนาน
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประจำบอสตัน (The Federal Reserve Bank of Boston) ร่วมกับศูนย์เงินดิจิทัลของ MIT เปิดรายงานการวิจัยเงินดิจิทัลธนาคารกลาง โดยนำเสนอสถาปัตยกรรมเงินดิจิทัลที่เป็นไปได้ 2 รูปแบบ พร้อมปล่อยซอร์สโค้ดเป็นโครงการ OpenCBDC ให้ทดสอบได้
OpenCBDC ทดสอบรูปแบบของเงินดิจิทัลโดยธนาคารกลางที่เป็นระบบรวมศูนย์ ธนาคารกลางเป็นผู้ดูแลระบบทั้งหมด แต่ระบบต้องกระจายตัว (distributed) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ล่ม สามารถรันระบบกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ และหากมีศูนย์ข้อมูลใดล่มไปก็กู้กลับมาได้ภายในเวลาต่ำกว่า 10 วินาที
สถาปัตยกรรมที่ OpenCBDC นำเสนอมี 2 แบบ ได้แก่
ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดรับฟังความเห็นต่อแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีแนวนโยบายที่เสนอไว้ 3 ด้านคือ เทคโนโลยี, ความยั่งยืน, และการกำกับดูแล จุดน่าสนใจคือในหมวดเทคโนโลยีนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอหลายประเด็น เช่น
ตั้งแต่ช่วงเที่ยงที่ผ่านมา บริการพร้อมเพย์หลายธนาคารประสบปัญหาไม่สามารถโอนเงินข้ามธนาคารได้เป็นพักๆ โดยทุกธนาคารเริ่มปิดเมนูโอนเงินกันแล้ว
อย่างไรก็ดีมีผู้ใช้บางส่วนรายงานว่าสามารถกดโอนไปได้ แต่เงินกลับไม่ถึงปลายทาง ซึ่งน่าจะร้ายแรงกว่าการโอนไม่สำเร็จตามปกติ ใครที่ไม่รีบใช้งานอาจจะควรรอวันอื่นที่ปริมาณธุรกรรมน้อยกว่านี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกรายงานข้อมูลสถิติระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขัดข้องกระทบต่อการให้บริการสำคัญของธนาคารพาณิชย์ ประจำไตรมาส 4 ปี 2021 ทำให้มีข้อมูลครบทั้งปี ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ ธนาคารกรุงเทพมีปัญหาในช่องทางโทรศัพท์มือถือลดลงอย่างมาก จากปี 2020 สูงกว่า 40 ชั่วโมง เหลือ 9 ชั่วโมงในปี 2021 แต่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารทหารไทยธนชาตนั้นกลับมีอัตราการล่มเพิ่มขึ้นมาก
หากมองเฉพาะไตรมาสที่ 4 จะะบว่าธนาคารหลักๆ ยังมีปัญหายาวหลายชั่วโมงกันหลายครั้ง เช่น ธนาคารกรุงเทพรายงานปัญหาทั้งโทรศัพท์มือถือและเว็บมีปัญหานาน 6 ชั่วโมง ธนาคารกสิกรไทยรายงานช่องทางอินเทอร์เน็ตมีปัญหา 9 ชั่วโมง
ธนาคารไทย 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารเกียรตินาคินภัทร, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกสิกรไทย, และธนาคารกรุงไทย เริ่มเปิดให้บริการ dStatement ที่เป็นบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีเงินฝาก (bank statement) ระหว่างธนาคารโดยไม่ต้องออกจดหมายรับรองเช่นเดิม
บริการนี้เปิดตัวมาตั้งปีที่แล้ว โดยระบุว่าการขอสินเชื่อนั้นมีการทำธุรกรรมปีละ 10 ล้านรายการ และต้องไปขอข้อมูลจดหมายรับรองเป็นกระดาษจากธนาคารต่างๆ การขอข้อมูลข้ามธนาคารได้โดยตรงทำให้ลดต้นทุนและความยุ่งยากลง
Monetary Authority of Singapore (MAS) หรือธนาคารกลางสิงคโปร์ ประกาศเพิ่มมาตรการความปลอดภัยหลังจากสองสามเดือนที่ผ่านมา มีผู้ใช้ธนาคารออนไลน์ในสิงคโปร์ตกเป็นเหยื่อ SMS หลอกลวง (phishing) จำนวนมาก และชาวสิงคโปร์เรียกร้องให้เพิ่มมาตรการความปลอดภัยเพิ่มเติม
เหตุ SMS หลอกลวงในสิงคโปร์นั้นคนร้ายอาศัยการตั้งค่า sender ID ให้ตรงกับที่ธนาคารเคยส่งข้อความหาผู้ใช้มาก่อน โปรแกรมอ่าน SMS จึงจัดให้อยู่ในหน้าเดียวกับข้อความที่ธนาคารเคยส่งมา ผู้ใช้จึงหลงเชื่อกันเป็นจำนวนมาก
มาตรการที่ประกาศออกมาร่วมกับสมาคมธนาคารสิงคโปร์ ให้เวลาธนาคารอิมพลีเมนต์มาตรการเพิ่มเติมสองสัปดาห์ เช่น
ทุกวันนี้แทบทุกคนใช้ชีวิตผูกติดกับโลกออนไลน์ เราจะได้เห็นข่าวเคสโดนหลอก โดนโกงเงินจากบรรดามิจฉาชีพและแฮกเกอร์ที่ขยันสรรหาวิธีคิดมาล่อลวงเอาข้อมูลการเงินไปจากเรา และหากไม่นับเรื่องแฮกเกอร์โจมตีระบบบริษัทเพื่อขโมยข้อมูลแล้วนั้น ภัยไซเบอร์ก็อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิดมาก ๆ
ที่ผ่านมาเราเห็นเหตุการณ์ที่บัญชี Facebook และ Instagram ของเพื่อนๆ เราถูกแฮ็กหรือถูกสวมรอยเพื่อมาขอยืมเงิน เรียกได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่บานปลายไม่จบไม่สิ้น หรือแม้แต่เหตุการณ์ข้อความจากเว็บไซต์พนันบอลและเว็บเถื่อนกู้เงินออนไลน์ มาหลอกให้เราคลิกลิงก์ที่ไม่ปลอดภัย ฝังสแปมไว้เพื่อขโมยข้อมูลเราตั้งแต่ข้อมูลโซเชียลมีเดีย หรือที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นคือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเงิน และรหัสผ่านต่าง ๆ ซึ่งการป้องกันหลาย ๆ อย่างสามารถเริ่มได้ที่ตัวเราเอง
เราจึงอยากมาแชร์วิธีป้องกันข้อมูลตัวเองเบื้องต้นแบบง่ายที่สุด และเริ่มต้นจาก “ตัวเอง” ก่อน #ใช้สติป้องกันสตางค์ เพื่อให้รอดปลอดภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์ที่กำลังสร้างความเสียหายอย่างมากมายในทุกวันนี้