Amazon Web Services
Anthropic และ Palantir ประกาศความร่วมมือกับ AWS นำโมเดลปัญญาประดิษฐ์ Claude 3 และ 3.5 มาใช้ในงานด้านความมั่นคงของสหรัฐ โดยเป็นการเชื่อมต่อ Claude กับแพลตฟอร์ม AI ของ Palantir ที่ทำงานอยู่บน AWS
ความร่วมมือนี้เป็นการนำ AI มาใช้รองรับงานของหน่วยงานความมั่นคง เพื่อประมวลผลและจัดการข้อมูลที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว วิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึก และค้นหาแนวโน้มต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที ซึ่งขั้นตอนนี้ยังคงควบคุมโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ Anthropic มีผู้ลงทุนรายสำคัญคือ Amazon จึงเป็นเหตุผลที่บริการนี้เลือกใช้ AWS นั่นเอง
Amazon รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2024 มียอดขายสุทธิเพิ่มขึ้น 11% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 158,877 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 15,328 ล้านดอลลาร์
รายได้ของ AWS ได้ไตรมาสที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 19% เป็น 27,452 ล้านดอลลาร์ เฉพาะส่วนธุรกิจนี้มีกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเป็น 10,447 ล้านดอลลาร์
ตัวเลขของ AWS สะท้อนว่าธุรกิจบริการคลาวด์ยังมีความต้องการจากลูกค้าสูง เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว AWS รายได้โตที่อัตรา 12% เป็นทิศทางเดียวกับผู้ให้บริการคลาวด์รายอื่นที่เพิ่งรายงานตัวเลขไป โดยไมโครซอฟท์ รายได้ Azure เพิ่มขึ้น 33% และกูเกิลมีรายได้ Google Cloud เพิ่มขึ้น 35%
David Heinemeier Hansson (@dhh) รายงานผลการย้ายบริการทั้งหมดของบริษัท 37signals ออกจากคลาวด์ พบว่าตอนนี้ค่าใช้จ่ายคลาวด์ลดลงจาก 3.2 ล้านดอลลาร์ต่อปีเหลือ 1.3 ล้านดอลลาร์ต่อปีเท่านั้น เพราะเหลือสตอเรจ 10PB ที่อยู่ใน AWS S3
สาเหตุที่บริษัทตัดสินใจย้ายสตอเรจออกทีหลังเพราะติดสัญญา 4 ปีกับ AWS และจะหมดสัญญาในปีหน้า หลังจากนั้นเตรียมจะใช้ Pure Storage แบบ dual-DC ขนาด 18PB มาแทน โดยค่าอุปกรณ์น่าจะพอๆ กับค่าคลาวด์ทั้งปี คาดว่าอายุการใช้งาน 5 ปีจะประหยัดไป 4 ล้านดอลลาร์ โดยปีนี้ AWS ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมขนข้อมูลออกในกรณีที่ลูกค้าจะย้ายออก ทำให้ไม่เสียค่าขนถ่ายข้อมูลอีกด้วย
Matt Garman ซีอีโอ AWS หรือ Amazon Web Services กล่าวในการประชุมพนักงาน All-hands เกี่ยวกับคำสั่งที่ Amazon ระบุให้พนักงานกลับเข้ามาทำงานในสำนักงาน 5 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ 2 มกราคม 2025 เป็นต้นไป ว่าหากพนักงานคนไหนไม่เห็นด้วยกับกฎระเบียบใหม่นี้ ก็สามารถไปลาออกได้
CNBC อ้างถึงบันทึกการประชุมที่ได้รับมา ซึ่ง Garman อธิบายประเด็นนี้เพิ่มเติมว่า ถ้าพนักงานไม่โอเคกับเงื่อนไข และไม่ต้องการทำงานในสภาพแวดล้อมแบบนี้ ก็ให้ไปทำงานที่บริษัทอื่นรอบ ๆ แทน เพราะที่ Amazon ต้องการให้ทุกคนได้ทำงานร่วมกัน เป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมสำคัญ และเป็นวัฒนธรรมขององค์กร
AWS ยกโครงการ OpenSearch ที่แยกโครงการมาจาก Elasticsearch ไปให้ Linux Foundation ดูแล โดยตั้งเป็นโครงการ OpenSearch Software Foundation มีกรรมการดูแลโครงการเป็นของตัวเอง
แนวทางการยกโครงการให้หน่วยงานกลางดูแลเป็นแนวทางที่เพิ่มความมั่นใจว่าโครงการจะพัฒนาโดยดูชุมชนเป็นหลัก ไม่มีการเร่งบางฟีเจอร์หรือปิดกั้นบางฟีเจอร์ตามผลประโยชน์ขององค์กรที่ดูแลโครงการเป็นหลัก โดยการตั้งโครงการ OpenSearch Software Foundation ก็มีบริษัทประกาศเป็นสมาชิกทั้ง AWS, SAP, Uber, Canonical, Atlassian, DigitalOcean, Graylog แต่ไม่มีบริษัทที่ร่วมมาตั้งแต่ต้น เช่น Logz.io และ Red Hat
Oracle และ Amazon Web Services (AWS) เปิดตัวบริการ Oracle Database@AWS ที่เปิดให้ลูกค้าสามารถใช้งานฐานข้อมูลอัตโนมัติของ Oracle ได้บนโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องการ และบริการ Oracle Exadata Database Service บน AWS ทำให้โครงสร้างของ Oracle Cloud Infrastructure (OCI) ทำงานร่วมกับ AWS ได้อย่างต่อเนื่อง
Larry Ellison ประธานและซีทีโอ Oracle กล่าวว่าลูกค้าจำนวนมากมีความต้องการใช้งานฐานข้อมูลแบบมัลติคลาวด์ เพื่อรองรับความต้องการนี้จึงเป็นความร่วมมือกับระหว่าง Amazon กับ Oracle ให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้งานแพลตฟอร์มดีที่สุดที่ต้องการใช้งาน
Amazon เปิดบริการ AWS Parallel Computing Service (PCS) แพลตฟอร์มจัดการคลัสเตอร์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ( high performance computing หรือ HPC) ที่เครื่องทั้งหมดอยู่บน AWS EC2
PCS เป็นการนำ AWS ParallelCluster ซอฟต์แวร์จัดการคลัสเตอร์ HPC ที่ Amazon เปิดเป็นโอเพนซอร์สในปี 2018 มาผนวกกับเครื่องมืออื่นๆ แล้วจัดการระบบทั้งหมดโดย Amazon เอง (fully managed) สำหรับลูกค้าที่ไม่อยากดูแลคลัสเตอร์เอง
Elastic Inc. ประกาศเปลี่ยนไลเซนส์โครงการ Elasticsearch กลับมาเป็น AGPL หลังจากเคยใช้ Apache 2.0 แล้วเปลี่ยนเป็น SSPL เมื่อปี 2021 เพื่อป้องกันไม่ให้ใครนำ Elasticsearch ไปให้บริการคลาวด์
แกนกลางของการเปลี่ยนไลเซนส์ไปมาคือความขัดแย้งระหว่าง Elastic Inc. และ AWS นี่นำ Elasticsearch ไปให้บริการ หลังจากที่ Elastic เปลี่ยนไลเซนส์ ทาง AWS ก็แยกโครงการเป็น OpenSearch และแยกสายออกจากกัน ทาง Elastic แถลงว่าภายหลัง AWS ยอมเปลี่ยนชื่อทำให้ตลาดไม่สับสนแล้ว และตอนนี้ทั้งสองบริษัทก็เป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน
บริการ large language model (LLM) บนคลาวด์รายต่างๆ เปิดทางให้องค์กรสร้างแอปพลิเคชั่นสสำหรับงานเฉพาะทาง เช่น โดยเฉพาะการทำ Retrieval Augmented Generation (RAG) เพื่อสร้างแชตบอตสอบถามข้อมูลเฉพาะทาง ทาง AWS ก็ออกมาแนะนำ 8 ประเด็นที่ต้องระวังด้านความปลอดภัย
แอปแชตที่ AWS ยกตัวอย่างมาประกอบไปด้วย หน้าจอเว็บที่พัฒนาด้วย Streamlit, ตัวแอปพลิเคชั่นหลักพัฒนาด้วย Lambda, ฐานข้อมูล DynamoDB สำหรับการเก็บข้อมูลประวัติการแชตก่อนหน้า, เชื่อมต่อกับ LLM หลักคือ Cluade 3 Sonnet, ดึงข้อมูลเอกสารจาก S3 เข้าไปยัง OpenSearch โดยแปลงข้อความเป็นเวคเตอร์ด้วย Titan Embedding
ข้อควรระวัง 8 ประการที่ AWS แนะนำไว้ได้แก่
AWS ที่ประกาศตั้งรีเจี้ยนในมาเลเซียเมื่อปีที่แล้ว ล่าสุดเปิดให้บริการแล้วทั้งหมด 3 Availability Zone โดยใช้ตัวย่อ ap-southeast-5
นอกจาก AWS ที่เปิดแล้ว ก่อนหน้านี้ก็มี Google Cloud และ Azure ที่มีแผนจะเปิดในประเทศเหมือนกัน
ขณะที่รีเจี้ยนประเทศไทย แม้มีการประกาศก่อนมาเลเซีย แต่จะเปิดให้บริการปีหน้า
ที่มา - AWS
แม้โลกแห่งคลาวด์ถูกปกครองโดย AWS มาช้านาน และบริการของ AWS ที่มาก่อนใครเพื่อนก็เรียกได้ว่าเป็น "มาตรฐานอุตสาหกรรม" ที่คู่แข่งต้องทำตาม หรืออ้างอิง API เพื่อรักษาความเข้ากันได้ (ตัวอย่าง) แต่จริงๆ แล้วก็มีบริการบางตัวของ AWS ที่แข่งขันไม่ได้เช่นกัน
ล่าสุด AWS บอกว่าเตรียมหยุดให้บริการที่มีคนใช้น้อยๆ จำนวนหนึ่ง ได้แก่ AWS CodeCommit, S3 Select, CloudSearch, Cloud9, SimpleDB, Forecast, Data Pipeline
ChatX เป็นบริการ Private GenAI Platform ครบวงจรสำหรับองค์กร ที่พัฒนาโดย Go Digit ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการให้คำปรึกษา เน้นการรักษาความปลอดภัยข้อมูล หรือ Data Privacy โดยระบบทั้งหมดนี้ทำงานได้บน AWS Cloud Account ขององค์กรเอง ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและการควบคุมข้อมูลให้แก่องค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
AWS เปิดบริการ AWS SimuLearn เป็นฟีเจอร์หนึ่งของ AWS Skill Builder ที่ใช้สำหรับการฝึกความสามารถการดูแลระบบคลาวด์
บทเรียนที่มี SimuLearn จะมีการจำลองการประชุมกับลูกค้าโดยใช้ AI จำลองเป็นลูกค้าทำให้เราต้องคุยเหมือนคุยกับคนจริงๆ ขณะที่เวลาที่เราทำงานแล้วติดขัดอะไรก็จะมี AI ตัวช่วย
ทาง AWS ใช้ SimuLearn ในบทเรียน 8 ชุด ครอบคลุมตั้งแต่การทำงานเบื้องต้น, Machine Learning, Severless, หรือ Security โดยมีเฉพาะ โดยมีบทเรียนฟรีที่ใช้ SimuLearn ด้วยหนึ่งชุด 12 เหตุการณ์จำลอง
ที่มา - About Amazon
AWS เปิดบริการ App Studio บริการโฮสต์แอปพลิเคชั่นแบบ low code ที่ชูจุดเด่น AI ช่วยเขียนแอปตามความต้องการใช้งาน
เมื่อผู้ใช้ล็อกอินเข้า App Studio และพยายามสร้างแอปใหม่จะมี AI มาคุยกับผู้ใช้ก่อนว่าต้องการสร้างแอปอะไร และมี requirement อย่างไรบ้าง จากนั้นจึงร่าง requirement และ flow การใช้งานอย่างละเอียดมาให้เราอ่านอีกทีหนึ่งก่อนจะสร้างแอป เมื่อได้เอกสารฟีเจอร์ต่างๆ ของแอปพลิเคชั่นจนครบแล้วจึงสั่งสร้างแอปมาให้เราปรับแต่งต่อ
Amazon Web Services หรือ AWS ประกาศทำข้อตกลงร่วมกับรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อให้บริการคลาวด์ระดับความลับสุดยอดบน AWS (Top Secret Cloud) สำหรับงานข่าวกรองและความมั่นคง มูลค่าของสัญญา 2 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 4.9 หมื่นล้านบาท
TS Cloud นี้จะเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญไว้อย่างปลอดภัย รองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานข่าวกรองกับกองทัพของออสเตรเลีย โดยยังรองรับการนำ AI และ ML มาเสริมประสิทธิภาพการจัดการข้อมูล ลดขั้นตอนบางอย่างที่ไม่จำเป็น และยังใช้งานได้อย่างปลอดภัยรัดกุม
Amazon ประกาศแผนการลงทุนในเยอรมนีวงเงิน 10,000 ล้านยูโร ด้านเครือข่ายโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ในประเทศ นอกจากนี้ยังเตรียมเพิ่มตำแหน่งงานกว่า 4,000 ตำแหน่งภายในปีนี้ที่ศูนย์กระจายสินค้า 3 แห่ง ทำให้ Amazon มีพนักงานในเยอรมนีรวมมากกว่า 40,000 ตำแหน่ง
แผนการลงทุนของ Amazon ในเยอรมนีนี้ได้แก่ การสร้างและดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ใน AWS Europe Region ที่ Frankfurt เพิ่มเติมอีก 8,800 ล้านยูโร รองรับความต้องการด้านเทคโนโลยีในเยอรมนี รวมทั้งการประมวลผล AI
ส่วนการลงทุนและวิจัยด้านโลจิสติกส์ เป็นการลงทุนเพิ่มเติมจากศูนย์วิจัยและพัฒนา 4 แห่งในเมือง Aachen, Berlin, Dresden และ Tübingen เพื่อปรับปรุงพัฒนาบริการต่าง ๆ รวมทั้งด้าน AI และหุ่นยนต์
AWS ประกาศเปิด Region ใหม่ในประเทศไต้หวัน เริ่มให้บริการต้นปี 2025 ช่วงเดียวกับการเปิดบริการในประเทศไทย
ตอนนี้ AWS ให้บริการทั้งหมด 33 Region รวม 105 Availability Zone ทั่วโลก และกำลังเปิดบริการเพิ่มอีก 21 Availability Zone กับอีก 7 Region ได้แก่ มาเลเซีย, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย, ไทย, ยุโรป (region พิเศษสำหรับหน่วยงานรัฐ เรียกว่า AWS European Sovereign Cloud), และไต้หวัน
ก่อนหน้านี้ AWS เปิดบริการ AWS Outposts และ AWS Local Zones ในไต้หวันอยู่ก่อนแล้วแบบเดียวกับประเทศไทยที่เปิดบริการขนาดเล็กก่อนมาเปิด Region เหมือนกัน
ที่มา - AWS
AWS ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ Passkey สำหรับการล็อกอินเข้าระบบด้วยกุญแจ USB, โทรศัพท์มือถือผ่านบัญชี Google/Apple, ล็อกบัญชีเข้ากับอุปกรณ์ที่รองรับ FIDO
แม้ว่า Passkey จะใช้แทนรหัสผ่านไปได้เลย แต่ตอนนี้ AWS ก็เลือกที่จะใช้รหัสผ่านต่อไป โดยใช้ Passkey เป็นแค่การล็อกอินขั้นที่สอง หน้าจอคอนโซลของ AWS เปิดให้เพิ่ม Passkey เข้าระบบเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ ไม่จำกัดจำนวนอุปกรณ์
การเพิ่มฟีเจอร์ครั้งนี้มาพร้อมกับการบังคับว่า root account จะต้องล็อกอินสองขั้นตอนเท่านั้น โดยยังบังคับเฉพาะ root account ของ AWS Organization ก่อนโดยจะค่อยๆ ไล่บังคับไปจนครบภายในปีนี้
Huawei Cloud อ้างข้อมูลจากรายงาน Market Share: Services, Worldwide 2023 ของบริษัท Gartner ที่สำรวจส่วนแบ่งตลาดผู้ให้บริการคลาวด์แบบ Infrastructure as a Service (IaaS คือนับเฉพาะส่วน infra ไม่รวมบริการอื่นอย่างอีเมล) ของประเทศไทยในปี 2023 วัดตามรายได้ ดังนี้
Huawei Cloud เริ่มให้บริการในไทยครั้งแรก 30 กันยายน 2561 ปัจจุบันมีศูนย์ข้อมูล (Availability Zone – AZ) จำนวน 3 แห่งในประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลแห่งล่าสุดเริ่มดำเนินการในวันที่ 25 มีนาคม 2565
ในงาน AWS Summit ที่กรุงเทพสัปดาห์ที่ผ่านมา aCommerce ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ชกับแบรนด์ต่างๆ เปิดตัวบริการในชุดโปรแกรม Market Insight ที่เปิดให้ลูกค้าสามารถสำรวจข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจได้ตามมุมมองที่ตนเองต้องการ
Market Insight เป็นการรวบรวมข้อมูลอีคอมเมิร์ชจากแหล่งต่างๆ รวมกว่าแสนล้านชุดข้อมูล เปิดทางให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์การแข่งขัน เช่น ราคาคู่แข่ง, เทรนด์สินค้าใหม่ๆ, หรือกระทั่งมอนิเตอร์ว่าสินค้าของแบรนด์ตนเองว่ามีการขายในราคาที่ผิดปกติหรือไม่ โดยบริการนี้มีมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ในงานครั้งนี้ทาง aCommerce เปิดฟีเจอร์ AskIQ ที่เปิดให้ผู้ใช้ถามข้อมูลได้โดยตรง โดยระบบสามารถออกรายงานจากข้อมูลที่มีทันที
Amazon Web Services หรือ AWS ประกาศตั้ง AWS Asia Pacific (Bangkok) Region แห่งใหม่ในประเทศไทย โดยประกาศกำหนดการว่าจะเปิดให้บริการในช่วงต้นปี 2568 หรือ 2025 ด้วยเงินลงทุน 5 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.9 แสนล้านบาท จนถึงปี 2580 รองรับนักพัฒนา สตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการ และองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษา และองค์กรไม่แสวงผลกําไร ให้เลือกใช้บริการคลาวด์ในศูนย์ข้อมูลที่ตั้งในประเทศไทย
AWS เปิดบริการ Amazon EC2 High Memory instance เครื่องชนิด U7i ที่สามารถใส่แรมได้เยอะถึง 32 TiB ถือว่าเป็นเครื่องที่มีแรมเยอะที่สุดของ AWS ในปัจจุบัน
หลายคนอาจสงสัยว่าเอาเครื่องที่แรมเยอะขนาดนี้มาทำอะไร คำตอบคือ เอามารัน Chrome งานจำพวก in-memory database ที่มีข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ ไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูล SAP HANA, Oracle หรือ SQL Server ก็ตาม
เครื่อง U7i ใช้ซีพียู Intel Xeon Scalable 4th Gen (Sapphire Rapids) แบบคัสตอม มีซีพียูเสมือน (vCPU) จำนวน 896 คอร์, ส่วนแรมเลือกได้ตั้งแต่ 12, 16, 24, 32 TiB เป็นแรมประเภท DDR5 และสามารถเชื่อมต่อกับสตอเรจประเภท Elastic Block Store (EBS) ได้เพียงอย่างเดียว
Amazon Web Services (AWS) ออกมาปฏิเสธข่าวจากรายงานของ Financial Times ที่บอกว่าตอนนี้ AWS ได้เข้าสู่การเปลี่ยนผ่านจีพียูในศูนย์ข้อมูลทั้งหมด โดยระงับคำสั่งซื้อจีพียู Hopper ทั้งหมด เพื่อรอเปลี่ยนเป็น Blackwell จีพียูรุ่นล่าสุดที่ NVIDIA เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคม ด้วยเหตุผลว่าส่วนต่างราคาไม่มาก จึงเลือกรอรุ่นที่ใหม่กว่า
เมื่อเดือนมีนาคม 2021 AWS ประกาศแต่งตั้ง Adam Selipsky ขึ้นมาเป็นซีอีโอแทน Andy Jassy ที่ไปรับตำแหน่งซีอีโอของ Amazon ใหญ่ ล่าสุดผ่านมาเพียง 3 ปี เขาประกาศลงจากตำแหน่งแล้ว โดย Matt Garman จะขึ้นมารับตำแหน่งต่อ
ในการนี้ Andy ได้ส่งอีเมลถึงพนักงาน AWS ทุกคนโดยระบุว่าช่วงที่เขาพูดคุยกับ Adam ได้ตกลงกันแล้วว่าหาก Adam รับตำแหน่งซีอีโอ เขาน่าจะอยู่ในตำแหน่งนี้ไม่กี่ปี (ไม่ได้บอกเหตุผล) และจะช่วยปูทางให้กับผู้นำรุ่นถัดไป โดย Adam ได้สร้างผลงานให้กับ AWS มากมาย โดยเฉพาะบริการด้าน Generative AI อีกทั้งยังรักษาความเป็นผู้นำของ AWS ในตลาดคลาวด์ได้
AWS ประกาศปรับนโยบายคิดเงินค่า S3 API หลังจากเกิดเหตุคิดเงินค่า bucket เปล่ากับลูกค้าถึงวันละ 50,000 บาท โดยจะยกเลิกการคิดเงินกรณีที่ตอบกลับแบบ redirect (HTTP 3XX) หรือแสดงความผิดพลาด (HTTP 4xx) จากนอกเน็ตเวิร์คของลูกค้าเอง แต่หากเรียกจากเครื่องภายในเองแล้วได้ error เองก็ยังคิดเงินต่อไป รวมถึงกรณีที่ใช้ S3 โฮสต์เว็บ และตั้ง custom error หรือ custom redirect ก็จะคิดเงินด้วย
สำหรับการตอบกลับแบบที่ผิดพลาดจากฝั่ง S3 (HTTP 5XX) นั้นทาง AWS ไม่เคยคิดเงินอยู่แล้ว ส่วนการตอบกลับปกติ HTTP 200 นั้นคิดเงินแทบทุกกรณี