หลังจากไม่มีโอเปอเรเตอร์รายใดเข้าประมูลคลื่นย่าน 900MHz ที่ กสทช. จัดประมูลเมื่อเดือนสิงหาคม
เมื่อวานนี้ (19 ก.ย.) บอร์ด กสทช. ได้อนุมัติร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 900MHz รอบใหม่ และประกาศวันที่จัดประมูลคือวันที่ 20 ตุลาคมนี้ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในการประมูลรอบใหม่คือ
การประมูลคลื่น 1800 จบลงไปอย่างเรียบง่ายอย่างที่หลายๆ คนคาด คือ AIS และ dtac ที่เข้าร่วมการประมูลต่างเลือกคลื่นแค่ 1 สล็อตและเคาะเพิ่มราคาเพียงครั้งเดียวตามกฎ มูลค่าคลื่นอยู่ที่รายละ 12,511 ล้านบาท ส่วนคลื่น 900 ที่ไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล ก็ต้องรอทาง กสทช. ดำเนินการต่อไป
อย่างไรก็ดีสิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากนี้ ไม่ใช่แค่ AIS และ dtac ได้คลื่นเพิ่มรายละ 10 MHz (5MHz x 2) แต่หลังจากวันที่ 15 กันยายน 2561 คลื่น 1800 และ 850 ที่ dtac ถือครองอยู่จะหมดอายุสัมปทานลงและโอเปอเรเตอร์ทั้ง 2 ถึงจะได้สิทธิเริ่มใช้งานคลื่นที่เพิ่งได้ประมูลไป บทความนี้เลยจะอัพเดตกันอีกครั้งว่า ภายหลังเดือนกันยายน 261 เป็นต้นไป โอเปอเรเตอร์แต่ละเจ้าเหลือคลื่นกันคนละเท่าไหร่และคลื่นไหนกันบ้าง
วันนี้ กสทช. จัดการประมูลคลื่นความถี่ 1800MHz ที่มีผู้เข้าร่วมประมูล 2 รายคือ AIS และ dtac และทำให้ทั้ง 2 รายได้คลื่นความถี่ 1800MHz ไปคนละ 1 ชุด ขนาด 2x5MHz มูลค่ารวมจากการประมูลครั้งนี้คือ 25,022 ล้านบาท (รายละ 12,511 ล้านบาท - เคาะครั้งเดียวตามกฎ) ทำให้ใบอนุญาตเหลือ 7 ใบจาก 9 ใบที่ กสทช. ตั้งไว้
AIS เลือกช่วงคลื่นความถี่ 1740-1745MHz และ 1835-1840MHz ส่วน dtac เลือกช่วงความถี่ 1745-1750MHz คู่กับ 1840-1845MHz โดยทาง กสทช. จะประชุมเพื่อรับรองการประมูลภายใน 7 วันก่อนและต้องชำระเงินงวดแรก 50% ของมูลค่าประมูล
(ความเห็นนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ)
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การประมูลคลื่นความถี่ในเดือนสิงหาคมนี้ มีผู้ยื่นคำขอเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz สองราย และไม่มีผู้สนใจประมูลคลื่น 900 MHz แม้แต่รายเดียว แม้ว่าจะเป็นคลื่นล็อตสุดท้ายของย่านนี้ก็ตาม
ดีแทคได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเช้าวันนี้ ว่าจากการที่ กสทช. จะจัดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 และ 1800 MHz ซึ่งมีกำหนดยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมการประมูลภายในวันนี้ (8 สิงหาคม 2561) ทางดีแทคมีข้อสรุปสำหรับการเข้าร่วมประมูลดังนี้
ตั้งแต่การประมูลคลื่น 900 เมื่อปี 2016 สืบเนื่องมาจนถึงการประมูลคลื่น 1800 ปีนี้ ประเด็นที่ถูกพูดถึงที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องราคาคลื่นความที่ถี่ โดยเฉพาะการประมูลปีนี้ที่ กสทช. ตั้งราคาตั้งต้นเท่ากับราคาสุดท้ายของคราวก่อน ซึ่งสูงมากและหากยิ่งประมูล ราคาก็จะสูงขึ้นไปอีกนั้น
ทว่าประเด็นราคาคลื่นความถี่ที่สูงนี้ไม่ได้มีแต่เฉพาะในไทยเท่านั้น เมื่อ GSMA สมาคมที่ดูแลเรื่องการสื่อสาร ได้เปิดเผยรายงานการววิจัยที่พบว่า ราคาคลื่นความถี่ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่แล้วเฉลี่ยสูงเหมือนกัน และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้วด้วยซ้ำ
วันนี้กสทช. เคาะหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 1800 และ 900 แล้ว พร้อมกำหนดวันประมูลคลื่นคือวันที่ 18 สิงหาคม 2561 สำหรับคลื่น 900 และ 19 สิงหาคม 2561 สำหรับคลื่น 1800 ระยะเวลาถือครองคลื่น 15 ปี
ส่วนหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 1800 ถูกกำหนดคลื่นมาทั้งหมด 45MHz และแบ่งเป็น 9 ใบอนุญาตย่อยใบละ 5MHz ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถประมูลได้สูงสุด 4 ใบหรือ 20MHz ราคาเริ่มต้นการประมูลอยู่ที่ 12,486 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 25 ล้านบาท ผู้เข้าร่วมการประมูลจะต้องวางหลักประกันการประมูล 2,500 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น 3 งวด งวดแรก 50% งวดสองและสามแบ่งเป็นงวดละ 25%
จากกรณีที่ dtac ประกาศไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800MHz หลังจากนั้นไม่นาน dtac ได้จัดแถลงข่าวเพื่อยืนยันว่าแม้คลื่น 1800MHz หมดสัมปทาน ก็จะไม่กระทบกับลูกค้าแน่นอน
dtac ระบุว่า ปัจจุบันบริษัทมีคลื่นความถี่ 2100MHz จำนวน 15 MHz และคลื่น 2300MHz ที่ร่วมมือกับ TOT อีกจำนวน 45MHz รวมทั้งหมด 60MHz (หากไม่นับคลื่น 1800MHz) ทำให้ dtac มีคลื่นมากเพียงพอที่จะให้บริการลูกค้าได้ดีกว่ารายอื่นๆ แม้คลื่น 1800MHz จะหมดสัมปทานในเดือนกันยายนนี้ ก็มีคลื่น 2300MHz เข้ามาทดแทน
บทความโดย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ
กสทช. กำหนดจัดประมูลคลื่น 1800 MHz ในวันที่ 4 สิงหาคมนี้ โดยเปิดให้ค่ายมือถือยื่นเอกสารในวันที่ 15 มิถุนายน แต่ปรากฏว่า ไม่มีค่ายใดเดินทางมายื่นเอกสารเลย ทั้งที่สำนักงาน กสทช. ยืนยันว่า แต่ละค่ายจำเป็นต้องมีคลื่นมากกว่าที่ถือครองในปัจจุบัน และ GSMA ก็คาดการณ์ว่าหากไม่มีการจัดสรรคลื่นเพิ่ม คุณภาพบริการบรอดแบนด์ผ่านมือถือของไทยจะประสบปัญหาในไม่เกิน 2 ปี
เมื่อมีการวางจำหน่ายสินค้าที่อยู่ในความต้องการของผู้ซื้อในตลาด แต่กลับไม่มีการซื้อขาย เหตุผลหลักก็น่าจะมาจากการตั้งราคาขายที่ไม่เหมาะสมกับกำลังซื้อ ยิ่งมีการบังคับขายพ่วงว่าต้องซื้อเหมา ไม่ขายแยกชิ้น ผู้ซื้อที่ฉลาดก็จะไม่ผลีผลาม และถ้ายังไม่จวนตัวว่าจำเป็นต้องซื้อตอนนี้ ก็ยิ่งจะรอดูไปก่อน
ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยอีกครั้ง เมื่อโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ราย ประกาศไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz (คลื่น dtac เดิม) ที่ กสทช. จะจัดขึ้นในวันที่ 5 สิงหาคมนี้
True เป็นค่ายแรกที่ออกตัวไม่ร่วมการประมูล จากนั้นตามด้วย dtac และ AIS ที่ประกาศตัวแบบเดียวกันในวันนี้ (15 มิ.ย.)
หลายคนคงมีคำถามว่าเกิดอะไรขึ้น และจากนี้ กสทช. จะทำอย่างไรต่อไป? บทความนี้จะพยายามวิเคราะห์เรื่องนี้ครับ
เอไอเอสรายงานมติที่ประชุมบอร์ดบริหาร ว่าได้ตัดสินใจไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ 1800MHz ที่ กสทช. จะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม เช่นเดียวกับ ทรู และดีแทค ที่ประกาศไม่เข้าร่วมไปก่อนหน้านี้
โดยเหตุผลจากเอไอเอสนั้นระบุว่า หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูลในครั้งนี้ยังไม่เหมาะสมต่อการลงทุน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทในขณะนี้
ทั้งนี้ตามข้อมูลของทาง กสทช. หากไม่มีผู้เข้าร่วมการประมูลเลย ทางสำนักงานจะปรับปรุงและออกหลักเกณฑ์การประมูลใหม่ภายใน 1 เดือน เพื่อนำคลื่นความถี่มาเปิดประมูลใหม่อีกครั้ง
ดีแทคได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันนี้ ว่าบริษัทฯ และบริษัทในเครือ จะไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ 1800MHz (ย่าน 1740-1785 และ 1835-1880) ที่ กสทช. จะจัดการประมูลในวันที่ 4 สิงหาคม นี้
ก่อนหน้านี้ดีแทคได้ออกมาให้ความเห็นว่าบริษัทยังมีคลื่นความถี่ 850MHz และเพิ่งลงนามเป็นพันธมิตรธุรกิจใช้คลื่นความถี่ 2300MHz กับ ทีโอที จึงไม่มีความต้องการคลื่น 1800MHz นัก (ข้อมูลจาก PPTV)
True ประกาศไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800MHz ล็อตใหม่ที่ กสทช. กำลังจะจัดประมูล แม้รับเอกสารเกณฑ์การประมูลไปแล้ว
เหตุผลของ True ระบุว่ามีด้วยกัน 3 ข้อคือ
แม้ Steve Jobs จะเสียชีวิตไปนานกว่า 6 ปีแล้ว แต่เขายังอยู่ในความระลึกถึงของผู้คนมากมาย สิ่งละอันพันละน้อยที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขาเป็นเครื่องเตือนใจอะไรบางอย่างให้กับผู้คน สิ่งของหลายชิ้นที่บอกเล่าแต่ละเรื่องราวในห้วงเวลาหนึ่งที่เขาใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้จึงถูกนำออกประมูลให้แก่ผู้ที่สนใจอยากได้ไว้ในครอบครอง
และล่าสุดเอกสารสมัครงานที่ครั้งหนึ่ง Jobs ในวัยหนุ่มได้เขียนมันเพื่อหางานทำก็ถูกประมูลไปด้วยเงิน 174,757.28 ดอลลาร์ (ราว 5.5 ล้านบาท) โดยชาวอังกฤษนักธุรกิจอินเทอร์เน็ตผู้ไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อเสียงเรียงนาม
การประมูลคลื่น 1800MHz ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า 2561 มีประเด็นถกเถียงมากมาย
บริษัทที่ปรึกษาด้านโทรคมนาคมและการประมูลคลื่นความถี่ NERA Economic Consulting (เคยเป็นที่ปรึกษาของ กสทช. ในการประมูลคลื่นย่าน 2100MHz ในปี 2552) ก็ออกรายงาน whitepaper พูดถึงความเสี่ยงของการประมูลครั้งนี้ (Spectrum Auction Risks Leaving Thailand
Stranded in a Mobile Data Slow Lane)
Hans-Martin Ihle ที่ปรึกษาอาวุโสของ NERA มาให้ความเห็นต่อการประมูลครั้งนี้ที่ประเทศไทย (ภายใต้การจ้างศึกษาของ dtac ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญของการประมูล) ให้ความเห็นสำคัญ 2 ประการคือ เมืองไทยกำลังประสบปัญหาคลื่นไม่พอใช้จนทำให้เน็ตช้า และราคาตั้งต้นของการประมูลรอบใหม่นั้น "แพงเกินไป" และอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค
ปีหน้า 2561 จะเป็นปีสำคัญของวงการโทรคมนาคมไทยอีกครั้ง เมื่อ กสทช. ประกาศจัดประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่ (คลื่นของ dtac ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในเดือนกันยายน 2561) ถือเป็นการประมูลครั้งสำคัญของ dtac ที่จะต้องทุ่มสุดตัว คว้าคลื่นมาครองให้จงได้
ในภาพรวม การประมูลครั้งนี้ถือเป็นภาคสุดท้ายของ "ไตรภาค" การประมูลคลื่นโทรคมนาคม ที่จะเป็นการปิดฉากความถี่ในระบบสัมปทานเดิม และเป็นการพาประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคของใบอนุญาตอย่างสมบูรณ์
ในโอกาสนี้เรามาย้อนดูการประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคมในไทยทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา
ที่สหรัฐฯมีการประมูลคลื่นความถี่ 600MHz โดยหน่วยงานด้านการสื่อสารของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ หรือ FCC ผลการประมูลคือบริษัท T-Mobile ชนะการประมูลเป็นอันดับหนึ่งในราคา 8 พันล้านดอลลาร์ ได้สัดส่วนคลื่นไป 45%
คลื่นความถี่ดังกล่าวช่วยให้บริการของ T-Mobile สามารถครอบคลุมได้ทั่วทั้งสหรัฐฯและเปอร์โตริโก ด้านคู่แข่งรายอื่นคือ Dish Network วางเงินประมูลที่ 6 พันล้านดอลลาร์ Comcast วางที่ 1.7 พันล้านดอลลาร์
คลื่นความถี่ 600MHz เดิมเป็นคลื่นทีวี มีความถี่ต่ำสามารถใช้งานในอาคารได้ดี แต่อุปกรณ์มือถือยังไม่รองรับคลื่นดังกล่าวด้านการประมูลจบไปตั้งแต่สิ้นเดือนมีนาคมแล้ว แต่ทาง FCC เพิ่งมาประกาศผู้ชนะประมูลเมื่อกลางเดือนเมษายน
หลังจาก AIS จ่ายเงินค่าประมูลคลื่น 900 MHz กับ กสทช. วันนี้ กสทช. ได้ออกใบอนุญาตการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ให้กับทางเอไอเอสแล้ว โดยใบอนุญาตมีอายุการใช้งาน 15 ปี (2559-2574)
ในส่วนของลูกค้าที่ยังค้างอยู่ในระบบ 2G คลื่น 900 MHz เดิมนั้น มีจำนวน 3 แสน 7 หมื่นเลขหมายหากลูกค้าไม่ได้ย้ายค่ายภายในเที่ยงคืนของวันนี้ (30 มิ.ย. 59) ซิมจะดับลง
ส่วนของลูกค้า 2G และ 3G คลื่น 1800 MHz เมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับบริษัททีโอทีแล้ว เอไอเอสจะทำการเปลี่ยนระบบมาให้บริการในคลื่น 900 MHz แทน ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องไม่ต้องย้ายค่าย
ที่มา - ไทยรัฐ
วันนี้นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เข้าชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz งวดแรกเป็นเงิน 8,602,800,000 บาท พร้อมแบงค์การันตี 72,346,980,000 บาท จากมูลค่าการประมูลทั้งหมด 75,654,000,000 บาท เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อเช้านี้
ทางด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ระบุว่า กทค. จะประชุมร่วมกันเพื่อเตรียมพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้เอไอเอสได้ภายในวันที่ 30 มิถุนายน นี้และเริ่มมีผลบังคับวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ซึ่งจะทำให้เอไอเอสให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง
ที่มา - ไทยพีบีเอส,โพสต์ทูเดย์
วันนี้ JAS บริษัทแม่ของ แจส โมบาย บรอดแบนด์ (JASMBB) ได้มีหนังสือแจ้งต่อผู้ถือหุ้นและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าได้รับหนังสือแจ้งตัวเลขค่าปรับจากการไม่ชำระค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ที่ประมูลมาได้ จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แล้ว มียอดปรับเป็นจำนวนเงิน 199,423,991.16 บาท โดยระบุว่าเป็น "ชำระค่าใช้จ่ายในการประมูลใหม่และอื่นๆ" และต้องชำระภายใน 15 วัน (ผิดไปจากตัวเลขที่เคยเป็นข่าวลือไปพอสมควร)
การประมูลคลื่น 900MHz รอบใหม่ ซึ่งมี AIS เข้าร่วมประมูลเพียงรายเดียวได้เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยใช้เวลาในการประมูลทั้งสิ้น 35 นาที โดย AIS ได้เคาะราคายืนยันในครั้งที่ 1 และไม่เคาะเพิ่มในรอบที่ 2 ทำให้จบมูลค่าใบอนุญาตที่ 75,654 ล้านบาท
ในขั้นตอนถัดไปหลังยืนยันผู้ชนะการประมูล ก็จะเป็นการเรียกประชุมบอร์ด กทค. เพื่อรับรองผลการประมูลต่อไป โดย AIS ต้องชำระเงินค่าประมูลงวดแรกภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2559
ที่มา: กสทช. และ @NBTCrights
การประมูลคลื่น 900MHz รอบใหม่จะจัดขึ้นวันพรุ่งนี้ (27 พฤษภาคม) โดยมี AIS เพียงเจ้าเดียวที่เข้ามายื่นซองเอกสารเพื่อเข้าประมูล
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ประกาศว่า กสทช. เตรียมความพร้อมในการจัดประมูลอย่างดี คาดว่าการประมูลจะใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที ประมวลผล 5 นาที จากนั้นจะยืนยันผู้ชนะการประมูล และเรียกประชุมบอร์ด กทค. นัดพิเศษเพื่อรับรองผลการประมูลทันที ส่วนงบประมาณการจัดประมูล 8 ล้านบาทจะเรียกเก็บจาก JAS Mobile
ตามเงื่อนไขการประมูล AIS จะต้องมาจ่ายเงินค่าประมูลงวดแรกภายในวันที่ 30 มิถุนายน ซึ่ง AIS ก็ประกาศล่วงหน้าว่าจะเข้ามาจ่ายในวันที่ 10 มิถุนายน
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ รายงานข่าวที่ยังไม่ได้รับการประกาศหรือยืนยันอย่างเป็นทางการว่า คณะทำงานพิจารณาความรับผิดชอบกรณี JAS Mobile ไม่มาชำระเงินค่าประมูล ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะมีการประชุมกันในวันนี้ โดยจะสรุปหลักฐานและเรื่องทั้งหมด ส่งให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ของสำนักงาน กสทช. เพื่อพิจารณา โดยระบุว่าอาจปรับเพิ่มนอกเหนือจากการริบเงินค้ำประกันการประมูลเป็นจำนวนไม่เกิน 130-150 ล้านบาท
หลังจากทรูประกาศถอนตัวจากการประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่ ทำให้เหลือผู้ที่จะเข้าประมูลเพียงรายเดียว ล่าสุดตัวแทนจากบริษัท แอดวานซ์ ไวเลสเน็ตเวิร์ค (AWN) ได้เดินทางไปยื่นซองประมูลที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. แล้วครับ
การประมูลครั้งนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ ด้วยราคาเริ่มต้นที่ 75,654 ล้านบาทและจะเคาะเพื่อยืนยันหนึ่งครั้งบวกไป 152 ล้านบาท
ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ