ปกติแล้วเมื่อพูดถึงสินค้าของ Arm เรามักนึกถึงซีพียูตระกูล Cortex แต่จริงๆ แล้ว Arm ยังมีซีพียูแบรนด์อื่นๆ สำหรับงานเฉพาะทาง เช่น SecurCore สำหรับงานด้านความปลอดภัย, Ethos สำหรับงานประมวลผล AI เป็นต้น
เมื่อต้นปี 2019 Arm พยายามบุกตลาดซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เครือข่ายด้วยแบรนด์ใหม่ Neoverse โดยเปิดตัวซีพียูมาสองรุ่นคือ Neoverse N1 และ E1
เมื่อวานนี้ Arm ประกาศแผนอัพเดตแพลตฟอร์ม Neoverse ในระยะอีก 2 ปีข้างหน้าคือ 2021-2022 โดยจะออกซีพียูใหม่อีก 2 รุ่นดังนี้
กลายเป็นว่าฝ่ายที่กังวลที่สุดในดีล NVIDIA / Arm ไม่น่าใช่แค่บริษัทผลิตชิปที่กังวลในแง่การแข่งขัน แต่เป็นจีน ที่เกรงว่า Arm จะถูกการเมืองแทรกแซงและเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกับที่ Huawei โดน
รองประธานของสมาคมเซมิคอนดักเตอร์ของจีนเปิดเผยว่าดีไซน์หรือเทคโนโลยีของ Arm ถูกใช้งานในการพัฒนาและออกแบบชิปกว่า 95% ในจีน และการที่สหรัฐเป็นเจ้าของ Arm เป็นอะไรที่ไม่น่าไว้ใจ หากดูจากสิ่งที่สหรัฐทำกับ Huawei เช่นเดียวกับตัวแทนจาก HiSilicon หรือแม้กระทั่งสื่อของรัฐบาลจีนเองที่แสดงความกังวลในแบบเดียวกัน
หลังดีล NVIDIA ซื้อ Arm เมื่อวานนี้ Jack Gold นักวิเคราะห์จาก J. Gold Associates มองว่าดีลนี้อาจส่งผลกระทบกับหลายบริษัทที่ไลเซนส์ชิป Arm ไปใช้ ไม่ว่าจะ Qualcomm, Broadcom แม้กระทั่งแอปเปิล เพราะกลายเป็นว่าโมเดลไลเซนส์ชิปเซ็ตแบบเปิด ถูกบริษัทผลิตชิปคู่แข่งซื้อกิจการ
AWS เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ EC2 แบบใหม่ T4g ที่ใช้ซีพียู Graviton2 ที่เป็นซีพียูสถาปัตยกรรม Arm ที่ AWS พัฒนาเอง
T4g ราคาถูกกว่า T3 20% ทำให้ราคาเครื่อง t4g.nano แรม 0.5GB มีค่าใช้งานเพียงเดือนละ 3.024 ดอลลาร์ ที่ราคาศูนย์ข้อมูล US East (Ohio) หรือประมาณ 95 บาทต่อเดือนเท่านั้น นับเป็นเครื่องรุ่นแรกของ AWS ที่ค่าบริการไม่ถึงเดือนละร้อย
T4g คิดค่าใช้งานแบบเครดิตซีพียู โดย AWS จะรับประกันประสิทธิภาพพื้นฐาน (baseline performance) เพียงบางส่วนของประสิทธิภาพคอร์จริง และหากใช้งานไม่เกินก็จะได้เครดิตสำหรับใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพคอร์
วันนี้หลัง NVIDIA ประกาศเข้าซื้อ Arm ก็มีการแถลงข่าวผ่านทางโทรศัพท์เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมาระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงการเข้าซื้อครั้งนี้ โดย Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ระบุถึงเหตุผลของการซื้อว่า Arm เป็นแพลตฟอร์มสำหรับ Edge Computing ที่ใหญ่ที่สุดและ NVIDIA ก็เป็นแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์สำคัญ การรวมตัวตัวจะสร้างโอกาสในเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น รถไร้คนขับ, หุ่นยนต์, และ IoT
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือพนักงานของ Arm ที่ถนัดการขายไลเซนส์ชิปอยู่แล้วจะเข้ามาช่วย NVIDIA ขายไลเซนส์เพิ่มเติม น่าสนใจว่าทาง Arm เองก็มีวงจรเร่งความเร็วกราฟิกและปัญญาประดิษฐ์อยู่ก่อนแล้ว การขายไลเซนส์ของ NVIDIA ซ้อนไปด้วยจะอยู่ในรูปแบบใด
อัพเดต NVIDIA ประกาศข่าวเป็นทางการแล้ว การซื้อกิจการจะเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน 2021 หรืออีก 1 ปีถัดจากนี้
NVIDIA ระบุว่าจะยังคงโมเดลความเปิดกว้างในการขายไลเซนส์ของ Arm แก่ลูกค้าทุกรายเหมือนเดิม แม้แต่คู่แข่งของ NVIDIA ก็ตาม ส่วนสำนักงานใหญ่ของ Arm จะยังอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ในอังกฤษเช่นเดิม และ NVIDIA ยังประกาศจะตั้งศูนย์วิจัยด้าน AI ขนาดใหญ่ที่เคมบริดจ์เพิ่มเติมด้วย
ข่าวเดิม
Arm เปิดตัวชิปใหม่ Cortex-R82 สำหรับตลาดอุปกรณ์เรียลไทม์ โดยเน้นตลาดอุปกรณ์สตอเรจ เช่น SSD หรือโซลูชันสตอเรจสำหรับองค์กร ที่ต้องการใช้ชิปสมรรถนะสูงขึ้นมาควบคุมสตอเรจรุ่นใหม่ที่ประสิทธิภาพดีขึ้นเรื่อยๆ
Arm มีชิปสาย Cortex-R สำหรับงานเรียลไทม์อยู่แล้วคือ Cortex-R52 ที่ออกในปี 2016 การออก Cortex-R82 จึงถือเป็นการอัพเกรดใหญ่ในรอบ 4 ปี เพื่อให้ได้ชิปตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เมื่อปลายปี 2018 Qualcomm เปิดตัวหน่วยประมวลผล Snapdragon 8cx สำหรับพีซี ARM รันวินโดวส์ โดยชูจุดเด่นเรื่องการประหยัดแบตเตอรี่ และการเชื่อมต่อเครือข่าย LTE ตลอดเวลา (Always On, Always Connected) แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนักในแง่ยอดขายหรือจำนวนสินค้าที่ใช้งาน (มีเพียง Samsung Galaxy Book S, Lenovo Yoga 5G และ Surface Pro X ที่ใช้ชิป SQ1 ซึ่งเป็น 8cx รุ่นพิเศษ)
แต่ Qualcomm ก็ยังไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ล่าสุดวันนี้เปิดตัว Qualcomm Snapdragon 8cx Gen 2 5G ที่พัฒนาขึ้นจากเดิมในบางจุด
เดือนที่แล้วมีรายงานว่า ARM ประกาศแผนโอนย้าย 2 ธุรกิจ IoT ให้ SoftBank เพื่อโฟกัสที่ธุรกิจออกแบบชิปมากขึ้น ล่าสุด ARM ยืนยันว่ายกเลิกแผนการณ์ดังกล่าวแล้ว
โฆษกระบุว่าการตัดสินใจนี้เกิดขึ้นหลังการพิจารณาตัวเลือกต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วนแล้วและพบว่าประโยชน์ที่จะเกิดกับบริษัทไม่แตกต่างจากการโอนย้ายให้ SoftBank เลยเลือกที่จะเก็บเอาไว้ แต่บริษัทก็จะแยก 2 ธุรกิจ IoT ให้อยู่คนละส่วนกับธุรกิจออกแบบชิป ทั้งส่วนดำเนินธุรกิจและงานด้านบัญชี อย่างไรก็ตามโฆษกปฏิเสธว่าการตัดสินใจนี้เกี่ยวข้องกับการขาย ARM ของ SoftBank หรือไม่
ต่อเนื่องจากข่าวลือที่ NVIDIA สนใจซื้อ Arm จาก SoftBank ล่าสุด Bloomberg รายงานเพิ่มเติมโดยอ้างอิงคนที่เกี่ยวข้องกับดีลนี้ว่า NVIDIA เป็นผู้สนใจรายเดียวที่มีการเจรจาจริงจังกับ SoftBank และการเจรจานี้มีความก้าวหน้า โดยทั้งสองฝ่ายคาดหวังว่าจะสามารถปิดดีลนี้ได้ในอีกไม่สัปดาห์ข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม Bloomberg ระบุว่ายังไม่มีการตกลงใด ๆ กันทั้งสิ้นและดีลนี้ยังคงสามารถล่มได้อยู่ทุกเมื่อ แต่หากสำเร็จจริง NVIDIA อาจถูกเพ่งเล่งและตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐอย่างหนัก เพราะจะมี conflict of interest กับลูกค้าหลายรายของ Arm ที่เป็นคู่แข่งกับ NVIDIA
ที่มา - Bloomberg
พนักงาน Arm China จำนวนกว่า 200 คนคนลงชื่อในจดหมายเปิดเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาดูแลปัญหาในบริษัทหลังจากเกิดเหตุขัดแย้งกันกับบริษัทแม่ในอังกฤษ
Arm China เป็นบริษัทแยกที่ทาง Arm ถือหุ้นอยู่ 49% และอีก 51% ถือหุ้นโดยบรรษัทร่วมระหว่างนักลงทุนท้องถิ่นและกองทุนข้ามชาติ โดย Arm China จะได้รับสิทธิ์ขาดในการขายไลเซนส์ชิปในจีน เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Arm ประกาศไล่ Allen Wu ออกจากการมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบริษัทพร้อมกับตั้ง Phil Tang และ Ken Phua มาเป็นซีอีโอร่วมชั่วคราว แต่ Arm China กลับออกแถลงไม่ยอมรับการไล่ออก พร้อมประกาศไล่ Phil Tang ออกจากบริษัท
นอกจาก NVIDIA ที่สนใจจะซื้อ Arm มีอีกบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีรายงานจากแหล่งข่าวใกล้ชิดว่ามีการพูดคุยกันเรื่องนี้คือ Apple เพียงแต่ว่าไม่ใช่ Apple ที่แสดงความสนใจแต่เป็น SoftBank เข้าหา Apple เพื่อเสนอขายแทน
Bloomberg อ้างอิงคนใกล้ชิดกับการเจรจานี้ ระบุว่ามีการพูดคุยกันแต่ Apple ไม่สนใจเพราะมองว่าธุรกิจไลเซนส์ของ Arm ไปด้วยกันไม่ได้กับโมเดลธุรกิจที่เน้นฮาร์ดแวร์ของ Apple ไม่รวมประเด็นที่อาจถูกภาครัฐเพ่งเล็งหาก Apple ครอบครองไลเซนส์ที่ซัพพลายให้คู่แข่ง
ที่มา - Bloomberg
จากข่าวลือว่า SoftBank อยากขายกิจการ Arm เพื่อเพิ่มเงินสดในมือ ล่าสุดสำนักข่าว Bloomberg รายงานว่ามีผู้สนใจซื้อแล้วคือ NVIDIA
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดว่า NVIDIA เริ่มเข้าไปเจรจากับ SoftBank แล้ว แต่อาจมีผู้สนใจรายอื่นด้วย และ SoftBank เองก็อาจเลือกเส้นทางพา Arm ขายหุ้น IPO กลับเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้เช่นกัน
ต้นเดือนมีรายงานว่า SoftBank บริษัทแม่ ARM ดึงเอาธุรกิจฝั่ง IoT 2 ธุรกิจจาก ARM คือ IoT Platform และ Trasure Data มาอยู่ใต้บริษัทตั้งใหม่
ล่าสุด Bloomberg รายงานอ้างอิงคนวงในว่า SoftBank ได้ว่าจ้าง Golman Sachs มาช่วยดูแลการขายธุรกิจ Trasure Data พร้อมปักป้ายราคาที่ราว 1 พันล้านเหรียญ ซึ่งสูงกว่าที่ ARM ซื้อมาที่ 600 ล้านเหรียญเมื่อปี 2018 อย่างไรก็ตามแผนการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
วิศวกรไมโครซอฟท์กำลังพอร์ต Java Development Kit (OpenJDK) ไปรันบน Windows 10 on ARM โดยเริ่มจาก Java 15 ที่จะออกในเดือนมิถุนายนนี้
ตอนนี้โค้ดที่พอร์ตอยู่ระหว่างการเสนอไปยังโครงการ OpenJDK ต้นน้ำ (JEP 388) โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง ไมโครซอฟท์กับ Red Hat ซึ่งปัจจุบัน Red Hat เป็นผู้ดูแลโครงการ OpenJDK ร่วมกับ Oracle
The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง เผยว่า SoftBank กำลังพูดคุยกับที่ปรึกษาทางการเงิน พิจารณาแผนการลงทุนในอนาคตกับ Arm Holdings โดยอาจขายหุ้นทั้งหมด หรือขายหุ้นบางส่วน หรืออาจทำไอพีโอนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม SoftBank อาจเลือกไม่ทำอะไรในตอนนี้ก็ได้
SoftBank ซื้อกิจการ Arm เมื่อปี 2016 ด้วยมูลค่าราว 32,000 ล้านดอลลาร์ และนำบริษัทออกจากตลาดหุ้น เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Arm ก็เตรียมโอนย้ายธุรกิจ IoT ให้ SoftBank อีกด้วย
เมื่อเดือนพฤษภาคม VS Code ออกเวอร์ชัน Windows 10 ARM เพื่อใช้บนอุปกรณ์แบบ Surface Pro X โดยยังเปิดทดสอบเฉพาะกลุ่ม Insiders ก่อน
ล่าสุดใน VS Code เวอร์ชัน 1.47 รอบอัพเดตเดือนมิถุนายน 2020 รองรับ Windows ARM อย่างเป็นทางการ เข้าสถานะเสถียรเรียบร้อยแล้ว สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์ https://aka.ms/win32-arm64-user
หลังการประกาศเปลี่ยนจากชิป Intel มาเป็น Apple Silicon ที่ออกแบบเอง ใน MacBook รุ่นหน้า หนึ่งในคำถามที่หลายคนอาจสงสัยคือ MacBook จะยังคงรองรับมาตรฐาน Thunderbolt ที่ตัวเองมีส่วนช่วยออกแบบและพัฒนาร่วมกับ Intel อยู่หรือไม่ ซึ่งล่าสุดแอปเปิลออกมายืนยันแล้วว่ายังรองรับอยู่เช่นเดิม
แม้โฆษกแอปเปิลจะออกมายืนยันข้อมูลดังกล่าว ทว่าอุปกรณ์ Developt Transition Kit ที่ใช้ชิป Apple Silicon ที่แอปเปิลให้นักพัฒนายืมก่อนหน้านี้ กลับไม่มีพอร์ท Thunderbolt มีแค่ USB-C ธรรมดาเท่านั้น
ที่มา - The Verge
ARM ประกาศแผนกลยุทธ์ในการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยจะโอนย้าย 2 ธุรกิจด้าน IoT ได้แก่ IoT Platform และ Treasure Data ไปอยู่ใต้บริษัทจัดตั้งใหม่ที่มี SoftBank เป็นเจ้าของ ทั้งนี้ปัจจุบัน ARM ก็มี SoftBank เป็นเจ้าของอยู่แล้ว
Simon Segars ซีอีโอ ARM กล่าวว่าการแยกธุรกิจ IoT ออกไป จะทำให้ ARM มาโฟกัสในธุรกิจหลักคือการออกแบบชิปร่วมกับพาร์เนอร์ และสร้างการเติบโตในส่วนนี้ได้ดีขึ้น
ทั้งนี้หลังการโอนย้ายธุรกิจ IoT ออกไป ARM ระบุว่าจะยังคงเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับบริษัทจัดตั้งใหม่นี้ ซึ่งที่ผ่านมาธุรกิจ IoT ของ ARM มีผลการดำเนินงานที่ดี ส่งมอบชิปในอุปกรณ์ไปแล้วกว่า 1.65 แสนล้านชิ้น
ต่อเนื่องจากข่าว Linus Torvalds ซื้อคอมใหม่ เลือกใช้ AMD Threadripper 3970X แทนซีพียูอินเทล (สเปกคอมของ Linus อย่างละเอียด)
Linus ไปขึ้นเวทีงาน Open Source Summit 2020 และมีคนถามถึงประเด็นนี้ว่า เขาเป็นคนชอบความเงียบในออฟฟิศ มีปัญหาอะไรกับเสียงพัดลมของ Threadripper หรือเปล่า
คำตอบของ Linus คืองานของเขาต้องจัดการแพตช์เคอร์เนลจำนวน 20-30 แพตช์ต่อวัน การคอมไพล์เคอร์เนลบนเครื่องเดิมใช้เวลานานกว่า 15 นาทีต่อครั้ง ซึ่งเขาพบว่าพัดลมบนเครื่องใหม่เสียงดังจริง แต่เขาพบว่าทนได้เพราะระยะเวลาการคอมไพล์สั้นลงกว่าเดิม กลายเป็นว่าตอนนี้เขากลับรู้สึกดีที่ได้ยินเสียงพัดลมทำงานด้วยซ้ำ
ภายหลังงาน WWDC 2020 เริ่มมีนักพัฒนาได้รับชุด Developer Transition Kit (DTK) ซึ่งประกอบด้วยเครื่อง Mac Mini รุ่นพิเศษที่ใช้ชิป A12Z และสิทธิ์ในการเข้าถึงเครื่องมือในการพัฒนาแอปบน Apple Silicon และแม้ว่าข้อตกลงการยืมชุดพัฒนาจะไม่อนุญาตให้ทำการ benchmark ตัวเครื่องแต่ก็ได้มีนักพัฒนานำเครื่องไปรันโปรแกรม Geekbench ในเวอร์ชัน x86_64 ผลลัพธ์ที่ได้เป็นดังนี้
ข่าวใหญ่ของวงการไอทีสัปดาห์นี้ย่อมเป็นเรื่อง แอปเปิลย้าย Mac จากสถาปัตยกรรม x86 มาเป็น ARM โดยเปลี่ยนมาใช้ซีพียูออกแบบเองที่มีชื่อเรียกรวมๆ ว่า Apple Silicon (ยังไม่มีข้อมูลของซีพียูตัวที่จะใช้จริงๆ)
ประกาศของแอปเปิลทำให้เกิดคำถามตามมามากมาย ซึ่งแอปเปิลเองก็ตอบคำถาม (บางส่วน) ไว้ในเซสซันย่อยของงาน WWDC 2020 เราจึงรวบรวมรายละเอียดมาให้อ่านกันครับ
หนึ่งในข่าวใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในวงการนักพัฒนาคือการย้ายสถาปัตยกรรมครั้งใหญ่ของแอปเปิลจาก x86 ไป ARM ซึ่งก็มีการคาดการณ์กันไปว่า เพราะแอปเปิลต้องการรวมแพลตฟอร์มและสถาปัตยกรรมของทั้ง iPhone/iPad และ MacBook ให้ไปในทางเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม François Piednoël อดีตวิศวกรของ Intel ให้สัมภาษณ์กับ PCGamer เผยว่าหนึ่งในสาเหตุที่แอปเปิลเปลี่ยนไปใช้ ARM เพราะปัญหาเรื่องคุณภาพที่เกิดขึ้นกับซีพียูสถาปัตยกรรม Skylake ของ Intel (Comet Lake เป็น Skylake รุ่นที่ 4) ที่แอปเปิลต้องคอยแก้ เลยเป็นเหมือนฟางที่ค่อย ๆ ขาดในมุมของแอปเปิล โดย Piednoël ใช้คำว่า Skylake นั้นแย่แบบผิดปกติ (abnormally bad) ขณะที่แอปเปิลก็เป็น OEM ที่ยื่นเรื่องว่าเจอปัญหาเยอะที่สุดด้วย
ที่มา - PCGamer
จากประเด็น แอปเปิลย้าย Mac ไปสู่สถาปัตยกรรม ARM คำถามที่หลายคนสงสัยคือ Mac รุ่นใหม่จะยังลงวินโดวส์ได้หรือไม่
เว็บไซต์ The Verge สอบถามไมโครซอฟท์ในเรื่องนี้ และได้คำตอบว่าไมโครซอฟท์จะขายไลเซนส์ Windows 10 on ARM ให้กับผู้ผลิตพีซีแบบ OEM เท่านั้น (นั่นแปลว่าถ้าแอปเปิลจะขาย Mac แบบมี Windows 10 มาให้ก็สามารถทำได้ แต่ไมโครซอฟท์จะไม่ขาย Windows on ARM ให้คนทั่วไปมาติดตั้งเอง)
The Verge ยังถามว่าไมโครซอฟท์จะรองรับ Boot Camp บน Mac สถาปัตยกรรม ARM หรือไม่ ซึ่งไมโครซอฟท์ตอบว่ายังไม่มีอะไรจะแถลงในตอนนี้
แอปเปิลออก Xcode 12 ตามรอบการอัพเดตปีละครั้งในงาน WWDC ของใหม่ที่สำคัญคือ ปรับหน้าตาและ UI เป็นสไตล์แบบใหม่ตามอย่าง macOS Big Sur เปลี่ยนไอคอนในทูลบาร์, ปรับหน้าตาและพฤติกรรมของแท็บ (เปิดแท็บใหม่ด้วยการดับเบิลคลิก), ปรับขนาดฟอนต์ในแถบ Navigator ด้านข้าง (อิงตามค่าของระบบปฏิบัติการ ซึ่งใช้กับโปรแกรมอื่นๆ อย่าง Finder ด้วย), ปรับหน้าตาของ code completion และหน้าตาของ Organizers ใหม่