Arm เปิดตัวเทคนิคการอัพสเกลภาพของตัวเองชื่อว่า Accuracy Super Resolution ตัวย่อ Arm ASR โดยพัฒนาต่อมาจาก AMD FSR 2 ที่เปิดเป็นโอเพนซอร์สอยู่แล้ว
Arm บอกว่าเทคนิคอัพสเกลภาพแบ่งได้ 2 วิธีใหญ่ๆ คือ spatial ที่เรียบง่ายกว่า เพราะใช้ภาพจากเฟรมเดียวกันมาคำนวณการอัพสเกล ประหยัดพลังการคำนวณมากกว่า แต่มีข้อเสียคือภาพที่ได้อาจเบลอ แนวทางนี้ใช้ใน FSR 1 ส่วนอีกวิธีคือ temporal ที่ซับซ้อนกว่า ใช้ภาพจากหลายเฟรมมาช่วยคำนวณ เปลืองพลังประมวลผลมากกว่า แต่ได้คุณภาพผลลัพธ์ดีกว่า และหากใช้เทคนิคนี้ร่วมกับข้อมูลจากเอนจินเกม จะช่วยให้ผลลัพธ์ดีขึ้น แนวทางนี้ใช้กับ FSR 2
AMD ประกาศแผนซื้อกิจการ Silo AI สตาร์ทอัปที่เน้นงานวิจัยด้าน AI จากฟินแลนด์ ด้วยมูลค่า 665 ล้านดอลลาร์ โดยดีลนี้ AMD จะจ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด
AMD บอกว่าดีลนี้จะนำมาเสริมโซลูชันด้าน AI ของบริษัทให้แข็งแกร่งมากขึ้น โดยยังอิงพื้นฐานมาตรฐานเปิด และเสริมระบบนิเวศของการพัฒนาด้าน AI
Peter Sarlin ซีอีโอ Silo AI จะยังคงเป็นหัวหน้าทีมของ Silo AI ต่อไป ซึ่งย้ายมาอยู่ภายใต้กลุ่มธุรกิจ AI ของ AMD ขึ้นตรงกับ Vamsi Boppana รองประธานอาวุโสของ AMD
Silo AI เป็นผู้ให้บริการโซลูชัน AI กับลูกค้าองค์กรทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา เพื่อนำ AI มาใช้กับผลิตภัณฑ์และบริการ ตัวอย่างลูกค้าของบริษัทเช่น Allianz, Philips, Rolls-Royce และ Unilever
Renato Fragale ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจลูกค้า OEM สินค้าอุปโภคบริโภคและเกมของ AMD เผยว่าการร่วมมือกับ Sony ในการพัฒนาชิปให้กับ PlayStation 4 ช่วยให้ AMD รอดพ้นจากการล้มละลาย จากที่เคยถูกนักวิเคราะห์ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าบริษัทจะล้มละลายในปี 2020
ข้อมูลนี้มาจาก LinkedIn ของ Renato เองที่เขียนใน Resume ว่าในปี 2012 - 2014 ตัวเขาบริหารทีมงาน 15 คน พัฒนาชิปประมวลผลให้เครื่องเล่นเกม PlayStation 4 ของ Sony พร้อมบอกว่าโครงการนี้ถือเป็นหนึ่งในโครงการที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของ AMD ช่วยให้ AMD รอดพ้นจากการล้มละลาย
AMD ออก FidelityFX Super Resolution (FSR) เวอร์ชัน 3.1 อัพเกรดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก FSR 3.0 ที่ออกเมื่อปลายปี 2023 แก้ปัญหาเรื่องคุณภาพของภาพ และเทคนิคการสร้างเฟรมให้ใช้ร่วมกับเทคนิคอื่นได้ดีขึ้น (FSR ใช้ได้กับทั้ง Radeon 5000 ขึ้นไป และ GeForce RTX 20 ขึ้นไปอยู่แล้ว)
การเปิดตัว AMD Ryzen 9000 ซีพียูเดสก์ท็อปรุ่นใหม่ที่ใช้แกน Zen 5 ที่โดยรวมดีขึ้นทุกด้าน แต่ AMD กลับโฆษณาซีพียูรุ่นสูงสุด Ryzen 9 9950X ว่าเป็น "ซีพียูเดสก์ท็อปที่แรงที่สุด" (fastest consumer desktop performance in the world) โดยเทียบกับซีพียูฝั่งอินเทล Core i9-14900K แต่กลับไม่ยอมเคลมประสิทธิภาพฝั่งเกมมิ่งว่าแรงที่สุดไปด้วย
Donny Woligroski ผู้บริหารของ AMD อธิบายเรื่องนี้กับ Tom's Hardware ยืนยันแล้วว่า Ryzen 9 9950X จะยังไม่สามารถโค่น Ryzen 7000X3D ซีพียูเกมมิ่งที่เพิ่มแคชแนวตั้ง 3D V-Cache ที่ออกเมื่อปี 2023 ได้
ข้อมูลเล็กๆ ที่น่าสนใจจากงานแถลงข่าวเปิดตัวซีพียูใหม่ของ AMD เมื่อวานนี้คือ ชิป Ryzen AI 300 สำหรับโน้ตบุ๊ก จะไม่รองรับ Windows 10 อีกต่อไป ในขณะที่ ชิป Ryzen 9000 สำหรับเดสก์ท็อป ยังรองรับ Windows 10 อยู่ (ทั้งคู่ใช้แกน Zen 5 เหมือนกัน)
ข่าวนี้อาจไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก เพราะ Windows 10 จะหมดระยะซัพพอร์ตในปีหน้า 2025 บวกกับธรรมชาติของพีซีโน้ตบุ๊กที่มีระบบปฏิบัติการวินโดวส์มาให้พร้อมกับเครื่องอยู่แล้ว จึงน่าจะเป็นเหตุผลที่ AMD ตัดการซัพพอร์ต Windows 10 ออกไปเลย (ต่อให้หามาติดตั้งเองก็จะไม่มีไดรเวอร์ให้) ในขณะที่พีซีเดสก์ท็อปยังมีกลุ่มพีซีประกอบ (DIY) ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเอง ทำให้ AMD ยังเลือกซัพพอร์ต Ryzen 9000 ให้ต่อไป
ในงาน Computex ล่าสุด Intel และ AMD มีการเปิดตัวชิปใหม่ ซึ่งมี NPU ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเข้ามาด้วย แต่ยังไม่สามารถรองรับ Copilot+ ของไมโครซอฟท์ที่เพิ่งเปิดตัวไปก่อนหน้านี้ได้
ไมโครซอฟท์ระบุตอนเปิดตัวว่า Copilot+ จะรองรับทั้ง Intel, AMD และ Qualcomm แต่ยังไม่มีการระบุไทม์ไลน์ชัดๆ โดยโฆษกไมโครซอฟท์ยืนยันกับ XDA ทั้ง Intel และ AMD จะมีการออก SoC ที่มีสเปคคล้ายๆ กับของ Qualcomm (น่าจะหมายถึงชิปสถาปัตยกรรม ARM)
ที่มา:XDA
วันนี้ AMD ปล่อยของใหม่ชุดใหญ่ ทั้งซีพียูเดสก์ท็อปแกน Zen 5, ซีพียูโน้ตบุ๊กแกน Zen 5, ซีพียูเซิร์ฟเวอร์แกน Zen 5, จีพียูเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่
การปล่อยของใหม่ทั้งชุดแบบนี้อาจดูเกินจริงตามธรรมเนียมของ AMD ไปสักหน่อย เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามไว้ต่อไป ของใหม่เล็กๆ ในงานแถลงข่าว AMD เมื่อเช้าจึงมี ซีพียูตัวใหม่ที่ใช้แกน Zen 3 (เปิดตัวสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี 2020) แทรกอยู่ด้วย
AMD เปิดตัวซีพียูกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ EPYC Gen 5 "Turin" โดยเริ่มขายตั้งแต่ครึ่งหลังปี 2024 เป็นต้นไป เทคโนโลยีการผลิต 3 นาโนเมตร เป็นซีพียูสถาปัตยกรรม Zen 5 สำหรับสินค้าศูนย์ข้อมูลตัวแรก ทำงานได้เร็วกว่า Xeon รุ่นปัจจุบันของอินเทล 5.4 เท่า สำหรับงานเวิร์กโหลด AI
ซีพียู EPYC Turin นี้ มีจำนวนคอร์สูงสุด 192 คอร์ และ 384 เธรด นอกจากนี้ยังมีอีกรุ่นที่ออปติไมซ์การทำงาน ให้ใช้พลังงานน้อยลงเมื่อมีเวิร์กโหลดต่ำสถาปัตยกรรม Zen 5c
ที่มา: Tom's Hardware
AMD เปิดตัวแผนการออกจีพียูสำหรับศูนย์ข้อมูลแบรนด์ Instinct โดยซีอีโอ Dr. Lisa Su บอกว่ารอบการออกจีพียูใหม่จะปรับมาเป็นทุกปี เพื่อรองรับความต้องการทั้งจากตลาด AI และ HPC ที่ต้องการหน่วยความจำและแบนด์วิธที่มากขึ้น
โดยแผนการออกจีพียู Instinct ใหม่ เริ่มด้วย MI325X กำหนดออกในไตรมาส 4 ปีนี้ ตามด้วยซีรีส์ MI350 ซึ่งจะปรับปรุงมาใช้สถาปัตยกรรม CDNA4 กำหนดขายในปี 2025 และซีรีส์ MI400 ในปี 2026
สเป็กของ Instinct MI325X จะมีหน่วยความจำ HBM3E ถึง 288GB แบนด์วิธ 6 TB/s ประสิทธิภาพงาน inference และ token generation ดีกว่า H100 ของ NVIDIA 1.3 เท่า บนการทำงานผ่านซอฟต์แวร์ AMD ROCm 6
นอกจาก Ryzen 9000 สำหรับเดสก์ท็อป ค่าย AMD ยังเปิดตัวซีพียูโน้ตบุ๊กโค้ดเนม "Strix Point" ที่รีเซ็ตตัวเลขใหม่เป็นเลขสามตัว และเพิ่มคำว่า AI เข้ามา ใช้ชื่อแบรนด์ใหม่ว่า Ryzen AI 300 Series (เหตุผลที่เป็นซีรีส์ 300 เป็นเพราะนับเป็น Ryzen รุ่นที่สามที่มีชิป NPU)
ชิปโน้ตบุ๊ก Ryzen AI 300 ประกอบด้วยของใหม่ 3 อย่างพร้อมกัน ได้แก่
AMD ใช้เวทีงาน Computex ที่ไต้หวัน เปิดตัวซีพียูเดสก์ท็อป Ryzen 9000 แกน Zen 5 โค้ดเนม "Granite Ridge" ที่หลายคนรอคอยกันมานาน
จุดเด่นของแกน Zen 5 คือประสิทธิภาพต่อพลังงานที่ดีขึ้น ซึ่งเกิดจากปัจจัยทั้งเรื่องการปรับสถาปัตยกรรมซีพียู (จำนวนคำสั่งต่อรอบหรือ IPC ดีขึ้น 16%) และเทคโนโลยีการผลิต (คาดว่าเป็น TSMC 4nm) ทำให้ซีพียู Ryzen 9000 ชุดใหม่มีจำนวนคอร์เท่าเดิม คล็อคเท่าเดิม แคชเท่าเดิม แต่ค่า TDP ลดลงจาก Ryzen 7000 ที่เป็นแกน Zen 4 ประมาณ 30%
กลุ่มบริษัทไอทียักษ์ใหญ่หลายราย นำโดยผู้ผลิตซีพียูรายใหญ่ทั้ง AMD, Intel รวมถึงบริษัทอื่นๆ ได้แก่ Broadcom, Cisco, Google, HPE, Meta, Microsoft ประกาศตั้งกลุ่ม Ultra Accelerator Link (UALink) วางมาตรฐานการเชื่อมต่อระหว่างจีพียูกับจีพียูในศูนย์ข้อมูล
ถ้าหากชื่อมันคุ้นๆ ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะ UALink ออกมาเพื่อปลดแอก NVLink ระบบการส่งข้อมูลระหว่างจีพียูของบริษัทแห่งหนึ่งที่ครองตลาดจีพียูศูนย์ข้อมูลอยู่แทบทั้งหมดนั่นเอง
AMD เปิดตัวซีพียูเซิร์ฟเวอร์ตระกูล Epyc รุ่นเล็ก ซีรีส์ 4004 ซึ่งเล็กกว่า Epyc รุ่นก่อนๆ ทั้งหมด (รุ่นปัจจุบันมีซีรีส์ 9004 Genoa, 97X4 Bergamo และ 8004 Sienna)
Eypc ซีรีส์ 4004 เน้นใช้กับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (ทรงทาวเวอร์ และแร็คขนาด 1-2U) ซีพียูตัวเดียว ออกมาชนกับคู่แข่งคือ Xeon E-2400 ของอินเทล โดย AMD ชูว่าประสิทธิภาพของ Epyc 4564P (16 คอร์) มีประสิทธิภาพต่อราคาเหนือกว่า Xeon E-2488 1.8 เท่า
Microsoft Azure ประกาศตัวเป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายแรกที่เปิดเครื่อง VM ให้เช่า AMD Instinct MI300X ชิปเร่งความเร็ว AI รุ่นล่าสุดของ AMD ที่เปิดตัวเมื่อปลายปี 2023
AMD Instinct MI300X เป็นการ์ดเร่งความเร็วที่มีแต่จีพียู CDNA 3 ล้วนๆ (ยังมีรุ่น MI300A ที่มีซีพียู+จีพียู) จุดเด่นข้อหนึ่งของมันคือการใช้แรมความเร็วสูง HBM3 ทำให้แบนด์วิดท์ส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นจากการ์ดรุ่นก่อนมาก
ตัว VM ของไมโครซอฟท์ใช้ชื่อว่า ND MI300X v5 โดย VM หนึ่งตัวมีการ์ด MI300X จำนวน 8 ตัว มีแรมขนาดใหญ่ 1.5TB แบนด์วิดท์แรม 5.3 TB/s เหมาะสำหรับงานประมวลผล AI ขนาดใหญ่ ระบบเครือข่ายใช้ InfiniBand ความเร็ว 400 Gb/s ต่อจีพียู รวมกันแล้วเป็น 3.2 Tb/s ต่อ VM
บริษัทวิจัยตลาด Mercury Research รายงานส่วนแบ่งตลาดซีพียู x86 (นับรวมเซิร์ฟเวอร์ เดสก์ท็อป โน้ตบุ๊ก) ว่าในไตรมาส 1/2024 ที่ผ่านมา ส่วนแบ่งตลาดของ AMD เพิ่มขึ้นเป็น 20.6%
ส่วนแบ่งตลาดรวมของ AMD ในไตรมาส 1/2024 ได้อานิสงค์จากซีพียู Epyc 4th Gen, Ryzen 8000 ฝั่งโน้ตบุ๊ก, Ryzen 8000 ฝั่งเดสก์ท็อป ทำให้ส่วนแบ่งตลาดรวมเพิ่มขึ้น หากเทียบกับไตรมาส 1/2023 (ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) มีส่วนแบ่งตลาดรวม 17%
Lisa Su ซีอีโอของ AMD กล่าวในงานแถลงผลประกอบการไตรมาสล่าสุด ยอมรับว่าตลาดเกมคอนโซลมียอดขายลดลงมาก ส่งผลให้รายได้ส่วนนี้ของ AMD ลดลงตามไปด้วย
AMD ผลิตชิปให้ทั้ง PS5 และ Xbox Series X|S ดังนั้นน่าจะเห็นภาพของตลาดฮาร์ดแวร์คอนโซลชัดเจนกว่าใคร ประเด็นนี้ Lisa บอกว่าความต้องการซื้อคอนโซลลดลงมากพอควร (quite weak) ทำให้บริษัทปรับตัวเลขประมาณการณ์ลงมากกว่า 30% ในไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้ โดยตัวเลขของไตรมาส 2 ปรับลดลงมากกว่าไตรมาส 1 ด้วย
ในเรื่องของงานภาพที่จะแสดงออกมาได้อย่างสวยงามและคมชัดตลอดการทำงานหรือเล่นเกม การ์ดจอออนบอร์ดอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอต่อการแสดงผล ดังนั้นจึงต้องมีการใช้งานการ์ดจอแยกเข้าไปให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าแบรนด์ที่เป็นที่นิยมนั้นก็ไม่พ้นค่ายแดงและเขียวอย่าง AMD กับ Nvidia เพราะฉะนั้นแล้วมาดูกันว่าการ์ดจอที่เหมาะสมกับคุณในการนำมาใช้งานนั้นจะเป็นตัวไหนกับ ตารางเปรียบเทียบ การ์ดจอ AMD กับ Nvidia 2024
สำหรับตัวขุมพลังที่จะขับเคลื่อนให้เครื่องคอมหรือโน๊ตบุ๊คสามารถใช้งานออกมาได้อย่างเต็มที่นั้นก็ต้องดูไปที่ Central Processing Unit หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า CPU ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลกลาง ที่ทำให้ตัวเครื่องนั้นสามารถขับเคลื่อนเอาประสิทธิภาพในการใช้ทำงานและเล่นเกมได้อย่างเต็มที่ออกมา ซึ่งค่ายหลักของ CPU ที่คนเลือกกันนั้นก็มีด้วยกัน 2 แบรนด์ นั่นก็คือ Intel และ AMD นั่นเอง ซึ่งทั้งคู่นั้นจะแตกต่างกันอย่างไงบ้าง ไปดูพร้อม ๆ กันเลยกับ ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2024
AMD รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ปี 2024 มีรายได้รวม 5,473 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 2% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 123 ล้านดอลลาร์ ตามบัญชีแบบ GAAP
Dr. Lisa Su ซีอีโอ AMD กล่าวว่ารายได้จากกลุ่ม Data Center และ Client มีการเติบโตสูงมากกว่า 80% จากความต้องการชิปปัญญาประดิษฐ์ตระกูล MI300 ควบคู่ไปกับยอดขาย Ryzen และ EPYC ที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นของอุตสาหกรรม ที่ AI เข้ามาเพิ่มความต้องการหน่วยประมวลผลมากขึ้นในทุกกลุ่มลูกค้า ซึ่ง AMD ก็มีสินค้ารองรับในทุกกลุ่ม
หลายคนอาจเข้าใจว่า AMD ทำเฉพาะซีพียูแบบ x86 แต่จริงๆ แล้ว AMD มีไลเซนส์ซีพียู Arm และทำ SoC สำหรับอุปกรณ์ฝังตัวขายด้วย ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า Zynq และ Versal
ในอดีต AMD มีเฉพาะชิปตระกูล Zynq สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว แต่ช่วงหลังออกชิปตระกูล Versal สำหรับอุปกรณ์ฝังตัวที่ต้องการพลังประมวลผลสูงขึ้น ล่าสุด AMD ออกชิป Versal Gen 2 มาทำตลาดแล้ว
AMD Versal Gen 2 ประกอบด้วยซีพียู Arm Cortex-A78E จำนวน 8 ตัว, ชิปประมวลผลเรียลไทม์ Arm Cortex-R52 จำนวน 10 ตัว, จีพียู Mali G78AE และองค์ประกอบอื่นๆ เช่น Video Codec Unit, หน่วยความจำ, I/O, Ethernet
AMD เปิดตัว Ryzen Pro ซีพียูสำหรับตลาดองค์กร โดยมีทั้งเวอร์ชันโน้ตบุ๊ก Ryzen Pro 8040 และเวอร์ชันเดส์ท็อป Ryzen Pro 8000G ซึ่งเป็นภาคต่อของ Ryzen Pro 7000 ที่ออกช่วงกลางปี 2023
ซีพียูทั้งสองซีรีส์เป็นเวอร์ชันองค์กรของ Ryzen 8040 (Hawk Point) และ Ryzen 8000G แบบมีจีพียูในตัว ที่วางขายเวอร์ชันคอนซูเมอร์ไปก่อนแล้ว ซีพียูทั้งสองซีรีส์ใช้แกน Zen 4, กระบวนการผลิต 4nm, จีพียู RDNA 3 และเกือบทุกรุ่นย่อยมีชิป NPU ในตัว รองรับชุดฟีเจอร์ Ryzen AI
AMD ออกเบนช์มาร์คเปรียบเทียบสมรรถนะของชิป NPU ใน Ryzen Mobile 7040/8040 เทียบกับคู่แข่ง Intel Core Ultra
AMD NPU มีสมรรถนะตามสเปกที่ 16 TOPS ในขณะที่ NPU ของอินเทลทำได้ 10 TOPS แต่รอบนี้ AMD ลองนำมารันโมเดล LLM ยอดนิยมในตลาดอย่าง Llama 2 และ Mistral เปรียบเทียบให้ดูว่าได้ผลเป็นอย่างไร
คะแนนเบนช์มาร์คแยกเป็น จำนวน token ต่อวินาที ที่ชิปของ AMD เหนือกว่าราว 14-17% แต่ถ้าวัดเป็นระยะเวลารอคอยคำตอบ token แรก ในเคสของ Llama 2 ทำเวลาได้เร็วกว่า 71% และเคสของ Mistral ทำได้เร็วกว่า 41%
มีรายงานจาก The Financial Times ว่าทางการจีนได้ออกแนวทาง มีเป้าหมายลดการพึ่งพาซีพียูจากสหรัฐอเมริกามีผลทั้ง Intel และ AMD ตลอดจนครอบคลุมถึงระบบปฏิบัติการ Windows และโปรแกรมฐานข้อมูลที่ผลิตโดยบริษัทต่างชาติ
แนวทางนี้ระบุว่ามีผลกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในหน่วยงานรัฐบาล รวมทั้งเซิร์ฟเวอร์ โดยบอกว่าเงื่อนไขในการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้งานต้องมีเรื่องความปลอดภัยนี้ด้วย นอกจากนี้ยังมีรายชื่อซีพียูและซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัยประกอบการพิจารณา ซึ่งทั้งหมดมาจากบริษัทในจีน
หน่วยงานด้านสารสนเทศของจีน, Intel และ AMD ยังไม่ได้ออกมาให้ความเห็นต่อรายงานนี้
Lisa Su ซีอีโอของ AMD ไปพูดที่งาน AI PC Summit ที่ปักกิ่ง เลยเปิดเผยข้อมูลของ Ryzen Mobile รุ่นใหม่โค้ดเนม Strix Point ว่าจะออกในปี 2024
ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่มีอะไรน่าแปลกใจนัก เพราะ Ryzen Desktop ซีรีส์ 8000 รุ่นถัดไปก็ใช้แกน Zen 5 / RDNA 3+ เช่นกัน จุดต่างของรุ่นโน้ตบุ๊กคืออัพเกรดชิป NPU จากเดิม XDNA ที่ใช้ใน Ryzen Mobile 8040 ตัวปัจจุบัน (Hawk Point) มาเป็น XDNA 2 ที่ใหม่ขึ้นแทน