ผมชอบอ่านหนังสือ จำได้ว่าเมื่อตอนวัยรุ่นสมัยเรียนมัธยมผมจะพกหนังสือติดตัวตลอดและอ่านทุกครั้งที่มีเวลาว่าง (ซึ่งมีเหลือเฟือเมื่อเทียบกับตอนนี้) แต่นั่นเป็นความประทับใจในอดีต เพราะปัจจุบันหาเวลาอ่านหนังสือได้ยากเต็มที นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้อ่านหนังสือไม่ได้ เช่น หนังสือที่ชอบอ่านไม่สามารถพกพาไปได้สะดวก อย่างนิยายเล่มล่าสุดของ Stephen King อย่าง Under The Dome ที่หนากว่า 1,000 หน้า ต้องหาเวลานั่งอ่านเป็นเรื่องเป็นราว ทำให้อ่านไม่ถึงไหน
หลังจากที่ Amazon ยอมให้สำนักพิมพ์ Macmilan ตั้งราคาขายอีบุ๊กสูงกว่า 9.99 ดอลลาร์ ทาง Amazon ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า "จะให้ผู้บริโภคเป็นคนตัดสินเองว่า ราคาของ Macmilan นั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ และหวังว่าสำนักพิมพ์อื่นๆ จะไม่ดำเนินรอยตาม Macmilan"
แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเป็นไปในทางตรงข้าม เพราะสำนักพิมพ์ใหญ่อีก 2 แห่งคือ HarperCollins กับ Hachette ได้ประกาศขึ้นราคาแล้ว โดย Hachette ประกาศว่าราคาหนังสือจะอยู่ระหว่าง 5.99-14.99 ดอลลาร์ และถ้าเป็นหนังสือใหม่จะอยู่ที่ 12.99-14.99 ดอลลาร์
แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นจากโครงสร้างราคาของ iBookstore แปลว่า iPad ยังไม่ออก แต่แอปเปิลก็เอาชนะ Amazon ไปได้ก่อนแล้วหนึ่งยก
คุณ Mike Nash รองประธานฝ่าย Windows Platform Strategy เตรียมลาออกจากไมโครซอฟท์ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ แล้วไปทำงานในส่วน Kindle ของอะเมซอนแทน
คุณ Nash ทำงานกับไมโครซอฟท์มา 19 ปี ปัจจุบันดูแลกลยุทธ์ของวินโดวส์ในภาคธุรกิจ เขายังเคยเป็นผู้จัดการโครงการคนแรกของทีมการตลาดของวินโดวส์ NT และเคยเป็นรองประธานฝ่าย Security Technology
หนังสือพิมพ์ New York Times รายงานว่า Amazon ได้ซื้อกิจการบริษัท Touchco ซึ่งเป็นบริษัทหน้าใหม่ที่พัฒนาจอสัมผัสโดยเฉพาะ
เดิมที Touchco เป็นโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เทคโนโลยีเด่นของบริษัทนี้คือใช้วัสดุที่เรียกว่า interpolating force-sensitive resistance สร้างจอสัมผัสแบบใส มองทะลุได้ จับการเคลื่อนไหวได้ไม่จำกัดจุด และมีราคาเพียงแค่จอละ 10 ดอลลาร์เท่านั้น ซึ่งเทียบกับจอของ iPad/iPhone แล้วเหนือกว่ามากทั้งในแง่ฟีเจอร์และราคา
Amazon จะรวม Touchco เข้ากับฝ่ายฮาร์ดแวร์ของ Kindle เราอาจได้เห็น Kindle รุ่นจอสีมัลติทัชได้ในอีกไม่นานเกินรอ ภาพของจอแบบใสดูได้ตามลิงก์
ความขัดแย้งระหว่าง Amazon กับสำนักพิมพ์ Macmilan (เปิด สงคราม e-Book: Amazon หยุดจำหน่าย e-Book ของสำนักพิมพ์ Macmillan) จบลงอย่างรวดเร็ว เมื่อ Amazon ออกมาประกาศว่ายอมขายหนังสือของ Macmilan แล้ว
ในแถลงการณ์ของ Amazon บอกว่าบริษัทยัง "ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง" กับการตั้งราคา 12.99-14.99 ดอลลาร์ต่อเล่มของ Macmilan แต่ไม่มีทางเลือก เพราะว่า Macmilan นั้น "ผูกขาด" การขายหนังสือยอดนิยมอยู่เป็นจำนวนมาก ทาง Amazon จึงยอมให้ Macmilan ตั้งราคาหนังสือได้ตามต้องการ และกลับมาขายหนังสือของ Macmilan ดังเดิม
ในตอนนี้ไม่ว่าใครก็คงจะทุ่มความสนใจให้กับ iPad ของ Apple ที่เพิ่งเปิดตัวไป หนึ่งในสิ่งที่หลายคนอยากเห็นคือการใช้ iPad อ่าน e-Book ที่จำหน่ายบนร้านออนไลน์ใหม่ iBooks ของ Apple เอง แต่เจ้าตลาดอย่าง Amazon ที่เปิดจำหน่าย e-Book สำหรับเครื่องอ่าน Kindle มาก่อนก็เริ่มเปิดสงครามก่อนที่ iBooks จะเปิดบริการจริงๆ เสียแล้วครับ
Kindle นับเป็นเรือธงที่ Amazon ทำได้ โดยตอนนี้ประมาณการกันว่า Kindle ครองตลาดอยู่เกือบครึ่งหนึ่ง ของปริมาณรวมประมาณ 1,000,000 เครื่องทั่วสหรัฐฯ (จาก cleantech) โดยตัว SDK จะรองรับทั้ง Kindle และ Kindle DX มีให้ดาวน์โหลดทั้ง Windows, Mac และ Linux (สงสัยว่าจะเป็น Eclipse)
ในตอนนี้ยังไม่มีการเปิดให้ดาวน์โหลดตัว SDK แต่มีการประกาศอัตราส่วนแบ่งรายได้ออกมาเรียบร้อย เป็น 70% เข้านักพัฒนา 30% เข้า Amazon โดย Amazon จะคิดค่าส่งข้อมูลไปยัง Kindle อีก 0.15 ดอลลาร์ต่อเมกกะไบต์ ยกเว้นแต่ซอฟต์แวร์ฟรีจะไม่มีค่าใช้จ่ายการส่งข้อมูล
อีกหนึ่งความพ่ายแพ้ของการจำกัดสิทธิในการใช้งานด้วยเทคโนโลยี DRM เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อแฮกเกอร์จากอิสราเอลและสหรัฐฯ สามารถแกะเอาไฟล์ของ Kindle แล้วแปลงให้เป็นไฟล์ .mobi แบบไม่มีข้อจำกัดใดๆ ทำให้สามารถนำไฟล์ไปใช้งานกับเครื่องอื่นๆ ที่รองรับฟอร์มแมตเดียวกันนี้ได้
แฮกเกอร์อาศัยการ reverse engineer ซอฟต์แวร์ของ Kindle บนพีซีโดยเจาะจงไปที่การทำงานของซอฟต์แวร์ขณะที่กำลังถามรหัสผ่านจากผู้ใช้ แล้วขโมยรหัสผ่าน PC1 ที่ใช้ในการถอดรหัสไฟล์ออกมา
เทศกาลคริสตมาสนอกจากจะเป็นเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองแล้ว ยังเป็นเทศกาลแห่งการจับจ่าย แต่ปีนี้ก็มีสถิติที่น่าสนใจคือยอดขายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในช่วงเทศกาลที่ผ่านมาได้แซงหน้าหนังสือปรกติไปเรียบร้อยแล้ว
ถ้าจำกันได้ Amazon เปิดตัวมาครั้งแรกเพื่อขายหนังสือเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งขยายกิจการมาเป็นการขายสินค้าสารพัด ขายพลังประมวลผลซีพียู ขายพื้นที่วางไฟล์ จนกระทั้งมาขายเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่าง Kindle ที่ครองตลาดในสหรัฐฯ ถึงร้อยละ 60 ในที่สุด
ที่มา - PhysOrg
Amazon Web Services (AWS) หรือกลุ่มบริการ cloud computing จากอเมซอนกำลังขยายฐานของศูนย์ข้อมูลไปยังทวีปเอเชียภายในปีหน้า โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปีหน้า อเมซอนจะเปิด Availability Zone* ของบริการ AWS หลายแห่งในประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศแรก และหลังจากนั้น อเมซอนจะเพิ่ม Availability Zone ไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย
จากข่าวเก่า Amazon เตรียมปล่อย Kindle สำหรับ Windows วันนี้รุ่นเบต้ามาแล้วครับ
ชื่ออย่างเป็นทางการของมันคือ Kindle for PC ทำงานได้บน Windows XP, Vista และ 7 (ถ้าใช้กับ Windows 7 จะสามารถใช้มัลติทัชได้ด้วย) โปรแกรมนี้ช่วยให้เราซื้อหนังสือจาก Kindle Store ได้โดยไม่ต้องมี Kindle แต่ก็สามารถใช้งานควบคู่กันได้ด้วย เช่น ถ้าอ่านหนังสือผ่านพีซีด้วย Kindle for PC แล้วย้ายไปเปิดหนังสือเล่มเดียวกันบนเครื่อง Kindle มันจะเปิดหน้าที่เราอ่านค้างไว้ให้บนพีซี (เพราะข้อมูลจะถูกเก็บบนเซิร์ฟเวอร์ของ Amazon)
อเมซอนเปิดตัวบริการ cloud computing บริการใหม่ชื่อ Amazon Relational Database Service หรือ Amazon RDS ทั้งนี้ อเมซอนกล่าวว่า Amazon RDS จะเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าในการติดตั้งและดูแลระบบฐานข้อมูล MySQL อีกทั้งลูกค้ายังสามารถเข้าไปจัดการฐานข้อมูลได้โดยตรงเสมือนว่าลูกค้ามีเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล MySQL เป็นของตนเอง และเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลนี้ยังมีความยืดหยุ่นในการรองรับภาระการประมวลผลและขนาดข้อมูลที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ อีกทั้งรองรับการสำรองข้อมูลแบบอัตโนมัติอีกด้วย โดยค่าเช่าเวลาประมวลผลเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลของ Amazon RDS มีราคาเริ่มต้นที่ 0.11 เหรียญต่อชั่วโมง ซึ่งขณะนี้ Amazon RDS ยังเป็นเวอร์ชันเบต้าอยู่
หลังจากที่ผลิต Kindle สำหรับไอโฟนและไอพอดทัชแล้ว (ข่าวเก่า) วันนี้ที่งานเปิดตัว Windows 7 ของไมโครซอฟท์ ก็ได้มีการประกาศว่า Amazon นั้นจะทำโปรแกรมสำหรับอ่านหนังสือที่ขายใน Kindle Store บน Windows แล้วครับ
สัปดาห์นี้ Amazon เพิ่งเริ่มวางขาย Kindle หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของตนในยุโรป ในขณะเดียวกัน บริษัทอื่นๆ ต่างก็พยายามที่จะแข่งกัน Amazon เพื่อเป็นผู้นำด้านการเผยแพร่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยในตลาดนี้ การเป็นผู้นำไม่ได้ขึ้นอยู่กับการจำหน่ายอุปกรณ์อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยการพัฒนารูปแบบการเผยแพร่สินค้า ซึ่งเป็นหัวสำคัญของการครองตลาด ดังที่สินค้าด้านวัฒนธรรมอื่นๆ อาทิ เพลง รายการทีวี หรือวีดิทัศน์ ได้แสดงให้เห็นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
แล้วใครจะเป็นผู้นำตลาดด้านนี้ในอนาคต ?
หลาย ๆ คนอาจจะไม่นึกว่ามันจะมาเร็วขนาดนี้! วันนี้อเมซอนเปิดตัว Kindle ที่สามารถใช้ได้ทั่วโลก โดยทุกอย่างเหมือนกับ Kindle เวอร์ชั่นปัจจุบันนี้หมด โดยวางขายที่ราคา 279 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 9,300 บาท ส่วน Kindle รุ่นปกติที่ใช้ได้เฉพาะภายในสหรัฐและคู่กับเครือข่าย Sprint ลดราคาลงมาจาก 299 ดอลลาร์เหลือ 239 ดอลลาร์
คาดว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้หมายความว่าอเมซอนได้เปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี GSM แทนที่ CDMA ของ Sprint แล้ว โดย Engadget ได้บอกว่าผู้ใช้เมื่อท่องเที่ยวไปต่างประเทศสามารถที่จะดาวน์โหลดหนังสือผ่าน Kindle Store ได้แต่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น 1.99 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น
อยู่ดี ๆ Kindle ก็น่าสอยทันที :D
ใครที่เดินห้างโมเดิร์นเทรดบ่อยๆ น่าจะเคยเห็นสินค้าที่เรียกว่า "เฮาส์แบรนด์" หรือสินค้าที่ผลิตในแบรนด์ของห้างเองและมีจำหน่ายที่ห้างนั้นเท่านั้น (เช่น SuperSave หรือ คุ้มค่า ฯลฯ) การที่ใช้แบรนด์เล็กๆ ไม่ดังทำให้ลดต้นทุนค่าการตลาดลงไปได้มาก ไม่ต้องผ่านคนกลางหลายชั้น ทำให้ขายถูกตัดราคากับสินค้าแบรนด์ทั่วไปได้
ห้างออนไลน์อย่าง Amazon เองก็มีเฮาส์แบรนด์ ตัวอย่างเช่น เครื่องครัว Pinzon, เฟอร์นิเจอร์แบรนด์ Strathwood กับ Pike Street, อุปกรณ์ช่าง Denali เป็นต้น ตอนนี้เฮาส์แบรนด์ของ Amazon กำลังเริ่มรุกเข้าสู่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยแบรนด์ AmazonBasics
ความล่าช้าในการขนส่งข้อมูลขนาดใหญ่ถือว่าเป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ทำให้ผู้ใช้ส่วนหนึ่งไม่อยากฝากระบบไอทีไว้กับ cloud computing ซึ่งสาเหตุหนึ่งของปัญหานี้เกิดจากกระบวนการที่ฟุ่มเฟือยของโปรโตคอล TCP และเพื่อจัดการกับปัญหานี้ บริษัท Aspera จึงได้พัฒนาโปรโตคอลชื่อ Fast and Secure Protocol หรือมีชื่อย่อว่า FASP เพื่อตัดขั้นตอนบางขั้นตอนของ TCP ออกไป ทั้งนี้ ข้อมูลจากแหล่งข่าวได้ยกตัวอย่างการขนส่งข้อมูลข้ามสหรัฐอเมริกาผ่านแบนด์วิธขนาด 100 Mbps ว่า ถ้าหากใช้โปรโตคอล TCP แล้ว ความเร็วที่ได้จริงอ
สำหรับคนที่จำได้กรณีที่อเมซอนได้ทำการลบหนังสือเรื่อง Nineteen Eighty-Four จากเครื่อง Kindle ทุกเครื่องแล้วบริษัทได้ออกมาขอโทษอย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม แต่หลังจากเหตุการณ์นั้นอเมซอนนั้นได้ตกอยู่ในที่นั่งลำบากหลังจากมีกรณีฟ้องร้องโดยนักศึกษาที่ไม่สามารถทำการบ้านได้หลังจากหนังสือที่ตัวเองเป็นเจ้าของ (โดยการซื้อจาก Kindle Store) ถูกลบออกไป
หลังจากอเมซอนรุกเข้าตลาด cloud computing ด้วย EC2, S3 และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในตระกูล Amazon Web Services จนเป็นผู้นำในตลาด ตอนนี้ได้เวลาขยายผลิตภัณฑ์ของตัวเอง จากที่ต้องทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ของอเมซอนร่วมกับคนอื่นๆ ก็กลายเป็นต่อเชื่อมกับ EC2 ผ่าน VPN เพื่อเป็นโซลูชัน cloud computing ภายในองค์กรได้ บริการนี้มีชื่อว่า Virtual Private Cloud หรือ VPC
อเมซอน ไมโครซอฟท์ และยาฮูเตรียมเข้าร่วมกับ Open Book Alliance ซึ่งมีหน่วยงานที่จัดสร้างและดูแลห้องสมุดดิจิตอลออนไลน์โดยไม่หวังผลกำไรอย่าง Internet Archive เป็นแกนนำ ซึ่งเป็นความพยายามในป้องกันการผูกขาดการค้นหาหนังสือดิจิตอลออลไลน์อย่าง Google Books
ในขณะนี้ได้มีหน่วยงานเข้าร่วมเป็นพันธมิตรแล้วหลายราย รวมถึงไมโครซอฟท์และยาฮู แต่ทางอเมซอนยังสงวนท่าทีเนื่องจาก Open Book Alliance ยังไม่ได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ สำหรับวันสิ้นสุดการตอบรับการร่วมเป็นพันธมิตรดังกล่าวคือวันที่ 4 ก.ย.ที่จะถึงนี้
หลังจากที่เป็นข่าวครึกโครมไปเมื่อไม่นานมานี้ สำหรับกรณีที่อเมซอนถอดถอนหนังสือหลายๆ เล่มที่ผิดลิขสิทธิ์ออกจากร้านขายออนไลน์รวมไปจนถึง Kindle ของผู้ใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต (ถึงจะโอนเงินคืนเต็มจำนวนเข้าแอคเคานท์ของผู้ซื้อแล้วก็ตาม) ทำให้หลายๆ คนไม่พอใจเกี่ยวกับสิทธิของตนเอง วันนี้คุณ Jeff Bezos ซึ่งเป็น CEO ของอเมซอน ได้ออกมาขอโทษเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้วครับ
"ขอโทษสำหรับวิธีที่เราจัดการเรื่องอีบุ๊กผิดลิขสิทธิ์ที่ผ่านมา ผมยอมรับว่า "การแก้ปัญหา" แบบนั้นมันโง่เง่า, ไร้ความคิด และล้ำเส้นไปจากหลักปฏิบัติของเรามาก และที่โดนตำหนิติเตียนนั้นก็สมควรแล้ว เราสัญญาว่าความเจ็บปวดจากการผิดพลาดครั้งนี้ จะทำให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นในอนาคต"
ความเข้าใจที่ว่า "เราเป็นเจ้าของสิ่งที่เราซื้อ" คงจะไม่จริงเสมอไปสำหรับลูกค้า Kindle หลังจากที่ทางอเมซอนได้ทำการถอดถอนหนังสือของ George Orwell เรื่อง Animal Farm กับ Nineteen Eighty-Four ออกจากร้านขายหนังสือของ Kindle และเครื่อง Kindle ทุกเครื่อง โดยได้ทำการคืนเงินให้กับลูกค้าทุก ๆ คนที่ได้ทำการซื้อหนังสือเล่มดังกล่าวไปแล้ว
ดูเหมือนว่าจะมีปัญหาในการเปิดตัว Kindle นอกสหรัฐในประเทศเยอรมนีแล้ว เนื่องจากการที่อเมซอนยังตกลงกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไม่ได้
แต่ดูเหมือนว่าปัญหาหลักของ Kindle จะเป็นบริการติดต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้เช็คอีเมลหรือซื้อหนังสือเพิ่มภายใต้ชื่อ "Whispernet" ของอเมซอน โดยขณะนี้ทั้ง Vodafone และ T-Mobile ผู้ให้บริการมือถือของประเทศเยอรมนีต่างยังไม่ยอมรับข้อตกลงจากอเมซอน แต่ดูเหมือนว่าอเมซอนคงต้องจ่ายเงินมากพอสมควรเพื่อที่จะให้บริการ Whispernet ได้
Engadget ยังได้รายงานอีกว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่ T-Mobile ไม่ค่อยอยากจะทำธุรกิจกับอเมซอนเนื่องจากบริษัทแม่ Deutsche Telekom นั้นกำลังจะทำเครื่อง eBook เป็นของตัวเอง
สัปดาห์ที่ผ่านมา Microsoft และคู่ค้าได้เปิดให้ลูกค้าที่สนใจ สั่งจอง Windows 7 ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น โดยได้ราคาที่ถูกลงถึง 58% ทำให้ยอดสั่งจอง Windows 7 พุ่งทะยานขึ้นติดอันดับบนสุดของ bestseller ของ Amazon.com
Microsoft ได้ประกาศให้สั่งจองล่วงหน้าตั้งแต่วันพฤหัสที่ผ่านมา แต่มีข่าวออกมาตั้งแต่ต้นเดือนเนื่องจาก engadget ระบุถึงข้อมูลที่รั่วออกมาจาก bestbuy เกี่ยวกับรายละเอียดของราคา และวันที่เริ่มให้สั่งจองได้
โดย promotion ดังกล่าวจะสิ้นสุด ณ วันที่ 11 ก.ค. นี้ -- หรือจนกว่าสินค้าจะหมด -- (ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา) ส่วนที่ญี่ปุ่นจะสิ้นสุดวันที่ 5 ก.ค. และลูกค้าในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมัน จะได้เริ่มสั่งจองกันวันที่ 15 ก.ค. นี้
หลังจากที่มีการถกเถียงกันและได้ใจความส่วนหนึ่งมาว่าเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กโทรนิกส์ควรมีหน้าจอสี แต่ทว่า Jeff Bezos ซีอีโอของอเมซอนได้ออกมากล่าวว่า
"Kindle รุ่นหน้าจอสีจะไม่มีการดำเนินการในเร็วๆ นี้ คงต้องใช้เวลาอีกหลายปี แต่ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าหลายปีนี่คือกี่ปี"
แต่ถึงแม้ว่าจะมีการออกมาพูดแบบนี้ แต่อาจจะมีอะไรให้ประหลาดใจอีกก็ได้ ดีไม่ดี ปีหน้าอเมซอนอาจจะออกรุ่นหน้าจอสีก็ได้ ว่าแต่ จำเป็นไหมที่จะต้องมีการแสดงผลนอกเหนือจากสีขาวดำ?
เพิ่มเติม : หน้าจอแบบ E-Ink ที่แสดงผลเป็นสีได้มีการผลิตแล้วโดย Phillips