สมาคมโฆษณาออนไลน์ Interactive Advertising Bureau (IAB) เตรียมรับมือซอฟต์แวร์บล็อคโฆษณา (ad blocker) ที่กำลังมาแรงในช่วงหลัง โดยตั้งทีมเทคนิคพัฒนาซอฟต์แวร์สคริปต์เพื่อให้เว็บไซต์ตรวจสอบว่าผู้ชมใช้ ad blocker หรือไม่
สคริปต์ดังกล่าวช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถแจ้งเตือนผู้ชมที่ใช้ ad blocker ขอให้ปลดการบล็อคโฆษณา หรืออาจบีบให้จ่ายเงินสมัครสมาชิกเพื่อเข้าชมเว็บก็ได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีความเป็นไปได้ที่ ad blocker จะบล็อคข้อความเหล่านี้ไปด้วยพร้อมกัน ซึ่งทาง IAB ก็ระบุว่าจะหาทางแก้ไขต่อไป
ในอีกด้าน IAB ก็เตรียมออกคำแนะนำเรื่องโฆษณาที่เหมาะสม ไม่ทำให้หน้าเว็บรก ไม่มีขนาดใหญ่จนเปลืองปริมาณข้อมูล เป็นต้น
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ให้แพลตฟอร์มโฆษณาของตัวเอง (Search, Gmail, YouTube) โดยออกสุดยอดฟีเจอร์สำหรับนักโฆษณา (แต่สุดสะพรึงสำหรับผู้ใช้) ชื่อว่า Customer Match ที่เปิดให้ผู้ลงโฆษณาระบุตัวตนของคนที่อยากให้เห็นโฆษณา ได้ละเอียดระดับอีเมล
วิธีการใช้งานคือผู้ลงโฆษณาสามารถอัพโหลดรายการอีเมลของกลุ่มเป้าหมายตอนสร้างแคมเปญ เพื่อเจาะจงการแสดงโฆษณาให้กับผู้ใช้ (ที่ล็อกอินบัญชีของกูเกิลอยู่) แบบรายตัวได้เลย
กูเกิลยกตัวอย่างฟีเจอร์นี้ว่าเหมาะสำหรับบริษัทที่มีฐานลูกค้าของตัวเองอยู่แล้ว (เช่น สมาชิกแบบสะสมแต้ม) และต้องการออกโปรโมชั่นใหม่สำหรับลูกค้ากลุ่มนี้ ก็สามารถใช้ Customer Match เพื่อให้การแสดงโฆษณามีประสิทธิภาพมากขึ้น
วันนี้มีผู้ใช้ Chrome จำนวนหนึ่งรายงานว่าส่วนขยายสำหรับบล็อคโฆษณา ไม่สามารถบล็อคโฆษณาประเภทวิดีโอบน YouTube ได้ โดยเกิดกับส่วนขยายที่ใช้บล็อคโฆษณาทุกตัว ไม่จำกัดแค่ตัวดังๆ อย่าง AdBlock หรือ AdBlock Plus เท่านั้น
อาการที่เกิดขึ้นคือ YouTube จะเช็คว่าเรามีส่วนขยายบล็อคโฆษณาติดตั้งอยู่หรือไม่ ถ้าติดตั้งอยู่จะแสดงโฆษณาวิดีโอแบบ pre-roll (วิดีโอโฆษณาก่อนเริ่มวิดีโอจริง) แถมยังไม่สามารถกดข้ามโฆษณาได้อีกด้วย ทางแก้คือปิดการทำงานของ AdBlock หรือเพิ่ม YouTube ใน whitelist ของระบบให้แสดงโฆษณา
อิทธิพลของ Material Design ไม่ได้อยู่แค่แอพของกูเกิลเท่านั้น แต่ยังลามไปถึง "โฆษณา" ในระบบของ AdMob และ DoubleClick ด้วย
กูเกิลประกาศปรับฟอร์แมตของโฆษณาแอพแบบเต็มหน้าจอ (full-screen ads) ใหม่ โดยปรับหน้าตาโฆษณาให้สะอาดขึ้น ใช้ปุ่มติดตั้งเป็นวงกลมแบบเดียวกับ Material Design แถมแถบสีด้านล่างและสีของปุ่มยังปรับเปลี่ยนอัตโนมัติ จากภาพ cover ของแอพนั้นด้วย
กูเกิลบอกว่าทดสอบโฆษณารูปแบบต่างๆ มาถึง 10 แบบกว่าจะลงตัวว่าโฆษณาแบบไหนสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้มากที่สุด และมีอัตราการคลิกเพิ่มขึ้น ตอบโจทย์ผู้ลงโฆษณาไปพร้อมกัน
ที่มา - Inside AdWords
ชะตากรรมของ Flash เริ่มถูกทอดทิ้งมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดเป็น Amazon ที่ปรับเงื่อนไขการลงโฆษณาบนเว็บ Amazon.com และเครือข่าย Amazon Advertising Platform แบบเงียบๆ ว่าไม่รองรับโฆษณาแบบ Flash แล้ว
เหตุผลของ Amazon เป็นเรื่องความปลอดภัยของ Flash ที่เว็บเบราว์เซอร์เริ่มบล็อคเนื้อหาจาก Flash กันแล้ว (ทั้ง Chrome, Firefox, Safari) ทำให้โฆษณารูปแบบ Flash มีโอกาสถูกเห็นโดยผู้ใช้น้อยลง การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2015 เป็นต้นไป บริษัทแนะนำให้ใช้โฆษณาเป็นภาพหรือ HTML แทน
ปัจจุบัน Amazon มีส่วนแบ่งตลาดโฆษณาออนไลน์ 3% ถึงแม้จะไม่ใหญ่ขนาด Google/Facebook แต่นโยบายการเลิกใช้ Flash ย่อมส่งผลสะเทือนต่อวงการไม่น้อย
วันสองวันนี้มีประเด็นเรื่องโฆษณาชุด "มือถืออะไรก็ได้มาแลกเป็น iPhone 6" ของค่าย dtac ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่านำเสนอประเด็นการใช้มือถือยี่ห้ออื่นที่ไม่ใช่ iPhone นั้นเป็นเรื่องน่าอายจนต้องซ่อนโทรศัพท์ไม่ให้ใครเห็น (รายละเอียดดูใน "ใครไม่ใช้ iPhone เป็นเรื่องน่าอาย" โฆษณาดี๊ดีจาก Dtac ที่ DroidSans)
ล่าสุดทาง dtac ออกแถลงการณ์เรื่องนี้แล้ว โดยขออภัยที่ภาพยนตร์โฆษณาดังกล่าวทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ และสั่งถอดภาพยนตร์โฆษณาดังกล่าวแล้ว
ชี้แจงเรื่องภาพยนต์โฆษณาเครืองเก่าแลก iPhone 6
บริษัทความปลอดภัย Malwarebytes รายงานว่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (นับตั้งแต่ 28 ก.ค.) มีแฮ็กเกอร์ใช้เครือข่ายโฆษณาของ Yahoo เผยแพร่มัลแวร์ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์วงการไอที
Malwarebytes ตรวจสอบพบว่าแฮ็กเกอร์รายนี้เช่าเซิร์ฟเวอร์ Azure บวกกับเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง แล้วลงโฆษณาผ่านระบบของ Yahoo ให้อยู่ในรูปไฟล์ Flash โดยฝังโค้ดประสงค์ร้ายไว้ในโฆษณา ถ้าหากผู้ใช้ที่โชคร้ายเปิดมาพบโฆษณาชุดนี้ และ Flash Player ในเครื่องไม่ได้อัพเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุด ก็จะโดนเจาะผ่านช่องโหว่ของ Flash ทันที
ความร้ายแรงของการแพร่มัลแวร์รอบนี้อาศัยช่องโหว่ที่ผู้ใช้จำนวนมากไม่ยอมอัพเดต Flash บวกกับเครือข่ายโฆษณาของ Yahoo ที่เข้าถึงเว็บใหญ่ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้มีคนที่ได้รับผลกระทบในวงกว้าง
กูเกิลเคยประกาศไว้ในงาน Google I/O 2015 ว่าแอพใน Google Play สามารถลงโฆษณาเพื่อให้แอพของตัวเองเด่นๆ ในหน้าแสดงรายการแอพได้ วันนี้มันมาแล้วครับ
หน้าตาของโฆษณาใน Google Play จะคล้ายกับ AdWords ของกูเกิล นั่นคือแสดงเป็นอันดับแรกในผลการค้นหา และมีคำว่า Ad แปะอยู่เพื่อให้รู้ว่าเป็นโฆษณา (ดูภาพประกอบ)
สำหรับคนที่อยากลงโฆษณาใน Google Play ก็สามารถใช้งานได้จากหน้า AdWords โดยเลือกประเภทเป็น Search Ads on Google Play
ที่มา - Inside AdWords
กูเกิลเผยสถิติของการโปรโมทแอพมือถือไว้บนหน้าแรกของเว็บแบบเต็มหน้า (interstitial) เพื่อชักจูงให้คนเข้าเว็บหันไปโหลดแอพ พบว่าไม่ได้ผลและทำให้ประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้แย่ลงมาก
กูเกิลทดลองโปรโมทแอพ Google+ ของตัวเอง และพบว่ามีผู้ใช้งานเพียง 9% เท่านั้นที่กดปุ่ม Get App บนหน้าเว็บ ในทางกลับกัน ผู้ใช้อีก 69% เจอหน้าโปรโมทแอพแล้วเลิกเข้าชมเว็บไปเสียเลย
จากนั้นกูเกิลทดลองทำสิ่งที่กลับกันคือเอาหน้าโปรโมทแอพออก แล้วเปลี่ยนมาโฆษณาผ่านแบนเนอร์ที่ไม่เกะกะแทน ผลคือคนเข้าเว็บเพิ่มขึ้นถึง 17% ในขณะที่ยอดผู้ใช้แอพไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
IAB (The Interactive Advertising Bureau) สมาคมด้านโฆษณาอินเทอร์แอคทีฟ เกิดจากเอเจนซี่ต่างประเทศรวมตัวกันกำหนดแนวทางวางโฆษณาในระบบดิจิทัล เช่น ขนาดแบนเนอร์มาตรฐานที่ยึดใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป โฆษณารูปแบบใหม่ๆ มีมากขึ้น IAB จึงกำหนดแนวทางของโฆษณาประเภทต่างๆ ที่แสดงบนฟีดของ social network และเว็บไซต์ทุกประเภท เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า ผู้ซื้อและผู้ขายโฆษณาสามารถคาดหวังอะไรได้บ้าง
นิยามของคำว่า "ฟีด" (feed) ที่ IAB แยกประเภทออกมามี 3 ประเภทด้วยกันคือ
ไมโครซอฟท์ออกวิดีโอโฆษณาตัวแรกของ Windows 10 ชื่อว่า The Future Starts Now คลิปวิดีโอนี้เป็นเรื่องราวของเด็กๆ ทั่วโลก (มีไทยด้วย)
คลิปโฆษณานี้นำเสนอประเด็นว่าเด็กเหล่านี้จะเติบโตขึ้นในยุคที่คอมพิวเตอร์มีจอสัมผัสได้ พูดคุยได้ (Cortana) รู้จักใบหน้าของเรา (Windows Hello) เขียนหน้าจอได้ (Edge) และมีความเป็นมนุษย์มากกว่าที่เคย (a more human way to do)
ที่มา - Microsoft News
ซีรีส์ "สัมภาษณ์คนไทยในซิลิคอนวัลเลย์" มาถึงตอนที่ห้าแล้วนะครับ ตอนนี้เราจะมาคุยกับคุณวิทวัส กาญจนฉัตร วิศวกรคนไทยจากบริษัทโฆษณาออนไลน์ Turn Inc. ที่จะมาแนะนำข้อมูลของวงการเทคโนโลยีโฆษณา (Ad Tech)
ในบทสัมภาษณ์นี้ยังเล่าประสบการณ์และเทคนิคการสัมภาษณ์กับบริษัทไอทีชื่อดังหลายแห่ง ข้อมูลเรื่องวีซ่า การเสียภาษี การลดหย่อนภาษี และค่าใช้จ่ายสำหรับการอยู่อาศัยในอเมริกา รวมถึงประเด็นเรื่อง "ภาษาจีน" ในซิลิคอนวัลเลย์ที่อาจสำคัญกว่าหลายคนคิด
กูเกิลประกาศโฆษณารูปแบบใหม่ชุดใหญ่สำหรับการช็อปปิ้งบนอุปกรณ์พกพา ที่สำคัญคือเพิ่มฟีเจอร์ Purchases on Google กดซื้อของได้จากหน้าเว็บ-แอพของกูเกิลโดยตรง ไม่ต้องเข้าเว็บหรือแอพของผู้ขายเลยด้วยซ้ำ
ของใหม่อย่างแรกเริ่มจากโฆษณาแบบใหม่บน Google Search เวอร์ชันอุปกรณ์พกพา ถ้าเราค้นหาด้วยคำที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้า กูเกิลจะแสดงข้อมูลเบื้องต้นของสินค้านั้นให้ด้วย เช่น สเปกคร่าวๆ, คะแนนรีวิว, สินค้ายอดนิยมในหมวดนั้นๆ
ไมโครซอฟท์โอนสิทธิการขายโฆษณาแบบแบนเนอร์ (display ads) บนเว็บไซต์และบริการออนไลน์ของตัวเอง (เช่น MSN, Skype, Xbox) ใน 9 ประเทศให้กับ AOL โดยพนักงานไมโครซอฟท์ประมาณ 1,200 คนที่อยู่ในส่วนนี้จะย้ายไปเป็นพนักงานของ AOL ด้วย
ฝั่งของ AOL จะเปลี่ยนเอนจินค้นหาบนเว็บของตัวเองจากกูเกิลเป็น Bing โดยข้อตกลงนี้มีระยะเวลา 10 ปี
ส่วนการขายโฆษณาในอีก 10 ประเทศ (ที่ไม่อยู่ใน 9 ประเทศข้างต้น) ไมโครซอฟท์จะโอนสิทธิการขายให้บริษัทโฆษณา AppNexus แทน
กูเกิลประกาศปรับวิธีดักจับการแตะ (หรือ "คลิก") ของแบนเนอร์บนอุปกรณ์พกพา เพื่อลดโอกาสคลิกไปโดนโดยไม่ตั้งใจของผู้ใช้งาน
กูเกิลบอกว่าการปรับวิธีนับคลิกแบบนี้เป็นประโยชน์ทั้งผู้ใช้และผู้ลงโฆษณา เพราะเมื่อโอกาสคลิกพลาดลดลง ก็จะทำให้อัตรา conversion rate ของโฆษณาสูงขึ้นตามไปด้วย (สถิติของกูเกิลคือดีขึ้น 15%)
จากที่เคยมีข่าวลือว่า HTC เตรียมใส่โฆษณาลงไปใน BlinkFeed ล่าสุดข่าวจริงมาแล้วครับ
โฆษณาใน BlinkFeed จะเริ่มแสดงให้เห็นใน 5 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี ไต้หวัน และจีน โดย HTC จะดึงโฆษณาจากพันธมิตรเครือข่ายโฆษณาคือ Yahoo, Twitter, Appia มาแสดงบนฟีดข่าวของ BlinkFeed เลย
HTC บอกว่าในอนาคตจะมีตัวเลือกให้ปิดโฆษณาได้ด้วย แต่ตอนนี้ยังต้องโดนบังคับดูโฆษณาต่อไปครับ
ที่มา - HTC Blog
ตัวอย่างโฆษณาของ HTC ในหน้า BlinkFeed
แม้ว่าจะยังมาไม่ถึงวงการสมาร์ทโฟน แต่การพัฒนาของหน้าจอ OLED โปร่งใสก็ยังเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดซัมซุงออกมาโชว์ผลการพัฒนาตัวใหม่ที่ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์จริงๆ สำหรับเน้นแสดงสินค้าแล้ว
หน้าจอ OLED รุ่นใหม่มีสองโมเดล ตัวแรกเป็นหน้าจอที่ทำระดับความโปร่งใสได้ถึง 40% (หน้าจอ LCD ปกติทำได้ราว 10%) โดยการมาของจอภาพ OLED ช่วยให้ขับสี และแสดงผลได้มุมมองกว้างขึ้น ส่วนอีกตัวเป็นกระจกที่พ่วงมาพร้อมกับหน้าจอ OLED โดยนอกจากจะสามารถสะท้อนแสงได้ 75% แล้ว ยังให้คอนทราสต์ที่สูง และตอบสนองกับการสั่งงานได้อย่างรวดเร็ว
Minions ตัวละครดังจากภาพยนตร์ชุด Despicable Me เริ่มบุกบ้านชาวอเมริกาแล้วเมื่ออาทิตย์ก่อนผ่านทางกล่องพัสดุ บนกล่องจะมีรูปเจ้า Minions อยู่ 3 แบบ 3 ตัวละคร (Stuart, Kevin และ Bob) ซึ่งแตกต่างกันตามขนาดของกล่อง โดยมีกำหนดการฉายภาพยนตร์และลิงก์พิเศษของทาง Amazon ปรากฏอยู่ด้วย
นี่เป็นครั้งแรกที่โฆษณาจากภายนอกปรากฏอยู่บนกล่องพัสดุของ Amazon แต่ Amazon เคยโฆษณาบริการของตัวเองผ่านกล่องพัสดุมาก่อนหน้านี้ เช่น Amazon Prime ที่มีบริการสตรีมมิงเพลงและวิดีโอปรากฏอยู่บนเทปปิดผนึกพัสดุ และการปิดโฆษณาบนตู้ล็อกเกอร์ประจำจุดส่งของ
นอกจากตัวระบบปฏิบัติการ Android และเครื่องมืออื่นๆ สำหรับนักพัฒนาแล้ว กูเกิลยังเพิ่มความสามารถให้ Google Play Developer Console เพื่อสนับสนุนแอพของนักพัฒนาให้ทำรายได้-มีผู้ใช้งานมากขึ้น
ฟีเจอร์แรกคือกูเกิลผนวกเอาระบบโฆษณาของตัวเอง มาอยู่ใน Google Play Developer Console เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นนักพัฒนาสามารถซื้อโฆษณาแบบ install ads ได้จาก Google Play Developer Console เลย การใช้งานก็เพียงแค่ตั้งงบประมาณที่ต้องการจ่ายเท่านั้น ที่เหลือกูเกิลจะกระจายโฆษณาไปยัง AdWords, AdMob, YouTube รวมถึง search ads บนหน้า Google Play ที่จะเริ่มใช้ในเร็วๆ นี้ด้วย
เมื่อต้นปีที่แล้ว Mozilla ประกาศแผนการหารายได้เพิ่มเติมของ Firefox ว่าจะเริ่มมีโฆษณาในหน้า New Tab โดยเริ่มจากโฆษณาแบบ Directory Tiles พรีโหลด thumbnail ที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้
คราวนี้ Mozilla เปิดตัวโฆษณาแบบที่สอง Suggested Tiles ซึ่งมีลักษณะคล้ายแบนเนอร์เต็มรูปแบบ กระบวนการแสดงโฆษณาจะส่งผ่าน ad server ของ Mozilla เอง และปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมการเข้าเว็บและความสนใจของผู้ใช้งานแต่ละคน
YouTube เผยข้อมูลของโฆษณาแบบใหม่ที่เรียกว่า TrueView for Shopping หน้าที่ของมันคือแสดงรูปภาพและข้อมูลของสินค้าโดยตรง
เป้าหมายของ TrueView for Shopping คือวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้วต้องการมีปุ่มให้ผู้ชมกดเพื่อเข้าไปดูข้อมูลสินค้า และสามารถสั่งซื้อสินค้าได้จากหน้าเว็บทันที กูเกิลอ้างสถิติของร้านเครื่องสำอาง Sephora และร้านขายอุปกรณ์ภายในบ้าน Wayfair ที่ทดสอบโฆษณาแบบนี้แล้วพบว่าอัตราการสนใจซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
TrueView for Shopping มีทั้งการแสดงข้อมูลขึ้นมาทับบนวิดีโอ และการแสดงข้อมูลในรูปแบบ card ด้านล่างของวิดีโอ (ตามภาพท้ายข่าว)
กูเกิลเปิดเผยข้อมูลของ "ทีมลับ" ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบขบวนการอาชญากรรม ที่สร้าง botnet เพื่อหารายได้จากการคลิกโฆษณาออนไลน์บนเว็บไซต์ต่างๆ (ad fraud)
ทีมลับ antifraud นี้มีพนักงานมากกว่า 100 คน นั่งทำงานอยู่ที่กรุงลอนดอน ทำหน้าที่ตรวจหาแพทเทิร์นของ botnet ที่มาคลิกโฆษณา
กระบวนการทำงานของกลุ่ม ad fraud คือเจาะระบบพีซีผ่านช่องโหว่ต่างๆ ติดตั้งซอฟต์แวร์ควบคุม ใช้เป็น botnet กระจายตัวอยู่ทั่วโลก ไม่ให้จับได้ง่ายๆ ว่าเป็นคนหรือเป็นบ็อต โดยเครื่องที่ถูกควบคุมจะรันเว็บเบราว์เซอร์ (ส่วนใหญ่เป็น IE) แบบซ่อนหน้าต่าง แล้วคลิกเมาส์แบบสุ่มเพื่อให้โดนโฆษณา
ปีที่แล้ว Blognone ได้สัมภาษณ์คุณกษมาช นีรปัทมะ แห่งดิจิทัลเอเยนซี่ Phoinikas เกี่ยวกับภาพรวมของการตลาดดิจิทัลในบ้านเรา
เวลาผ่านมาหนึ่งปี เรากลับมาคุยกับคุณกษมาชอีกครั้ง เพื่อดูว่าแวดวงการตลาดดิจิทัลมีอะไรเปลี่ยนไปบ้างในรอบปีที่ผ่านมา และแนวโน้มของการตลาดดิจิทัลในปี 2015 นี้เป็นอย่างไรบ้าง
กูเกิลออกรายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับสถิติของโฆษณาในรูปแบบวิดีโอออนไลน์ โดยสนใจประเด็นว่าวิดีโอเหล่านี้มีอัตราการถูกเห็น (viewability) มากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของตัวโฆษณาในสายตาของเจ้าของโฆษณาด้วย
นิยามของคำว่า viewability ตามมาตรฐานของสมาคมโฆษณาดิจิทัลสหรัฐ (IAB) คือ 50% ของพิกเซลโฆษณาจะต้องปรากฏบนหน้าจออย่างน้อย 2 วินาที กูเกิลเก็บสถิติของวิดีโอบนอินเทอร์เน็ต และวิดีโอโฆษณาบน YouTube มาเปรียบเทียบกัน พบว่า YouTube มีอัตรา viewability เยอะกว่าอย่างชัดเจน
จากข่าว กูเกิลเปิดศึกกับโฆษณาฝังเว็บเพจ (Ad Injector) โดยแบนส่วนเสริมบางตัวของ Chrome วันนี้กูเกิลออกมาเผยผลการศึกษาเรื่องวงการ Ad Injector ที่ร่วมกับมหาวิทยาลัย University of California, Berkeley และ Santa Barbara
วิธีเก็บสถิติของกูเกิลคือฝังโค้ดตรวจจับว่าผู้ใช้โดน Ad Injector หรือไม่ลงในเว็บเพจของกูเกิลเอง และได้ข้อมูลของ Ad Injector เป็นหลักสิบล้านรายไปวิเคราะห์ ผลออกมาว่าผู้ใช้เน็ตกลุ่มตัวอย่าง 5.5% โดน Ad Injector เข้าแล้ว (ถ้าแยกตามระบบปฏิบัติการคือ 5.1% ของเพจวิวจากผู้ใช้ Windows และ 3.4% จากแมค โดนฝังโฆษณา)