โซนี่ประกาศขายกิจการบริษัทลูก Gracenote เจ้าของฐานข้อมูลเพลงขนาดใหญ่ของโลก (iTunes และ Amazon ก็ซื้อข้อมูลจากที่นี่มาใช้งาน) ให้กับ Tribune Company บริษัทสื่อรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา คิดเป็นมูลค่า 170 ล้านดอลลาร์
Tribune Company ระบุว่าจะนำ Gracenote ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฐานข้อมูลรายการทีวี-ภาพยนตร์ Tribune Media Services เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลด้านสื่อบันเทิงที่ใหญ่ที่สุดในโลก
Gracenote เดิมใช้ชื่อว่า CDDB เริ่มต้นจากการเป็นฐานข้อมูลเพลงโดยอิงตามแผ่นซีดี ก่อนจะขายกิจการให้โซนี่ในปี 2008 ในราคา 260 ล้านดอลลาร์ (รอบนี้โซนี่ขายขาดทุน แต่ก็ได้เงินสดกลับเข้ามาในระยะสั้น และปลดกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักออกไปตามแผนการพลิกฟื้นบริษัท)
ออราเคิลยังเดินหน้าช็อปปิ้งต่อไปไม่มีหยุดยั้ง ล่าสุดประกาศซื้อบริษัท Responsys ผู้สร้างซอฟต์แวร์ด้านการตลาดที่อยู่บนกลุ่มเมฆ โดยมีลูกค้าเป็นบริษัทหรือห้างร้านที่อยากได้โซลูชันด้านการตลาดสำหรับผู้บริโภคในยุคออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ อีเมล โฆษณา โซเชียล และโมบาย
ซอฟต์แวร์ของ Responsys จะถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของชุด Oracle Marketing Cloud โดยการซื้อกิจการรอบนี้มีมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์
ARM ประกาศเข้าซื้อบริษัท Geomerics ผู้พัฒนา Enlighten เอนจินสำหรับสร้างแสงเสมือนจริงในเกม ซึ่งถูกใช้ในเกมชื่อดังอย่าง Battlefield 4 และ Need for Speed: The Run
การเข้าซื้อครั้งนี้ ARM ไม่ได้ระบุว่าจะนำเทคโนโลยีของ Geomerics มาใช้อย่างไรบ้าง บอกคร่าวๆ เพียงแค่ Geomerics จะช่วยนำประสบการณ์ของกราฟิกเกมสมัยใหม่มายังแพลตฟอร์มอุปกรณ์พกพา นี่อาจบอกเป็นนัยว่าการเข้าซื้อครั้งนี้น่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของจีพียู ARM ซีรีส์ Mali หรือปรับแต่งชิปซีพียูให้รันเกมดีขึ้นก็เป็นได้
ทั้งนี้ทั้งนั้น ARM บอกว่า Geomerics จะยังดำเนินธุรกิจแยกกัน และให้บริการกับลูกค้าต่อไป
กูเกิลเปิดเผยว่าได้ซื้อบริษัท Boston Dynamics เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา บริษัท Boston Dynamics เป็นบริษัทวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ทางการทหารให้แก่เพนตากอน และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากหุ่นยนต์ที่สามารถทรงตัวได้อย่างน่าประทับใจ เช่นหุ่นสองขาชื่อ Petman หุ่นสี่ขาชื่อ BigDog รวมถึงหุ่นยนต์ชื่อ Cheetah ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกในขณะนี้
บริษัทนี้เป็นหนึ่งในแปดบริษัทเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่กูเกิลได้เข้าซื้อในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดคำถามว่ากูเกิลมีแผนที่จะใช้หุ่นยนต์เหล่านี้ทำอะไรกันแน่
ที่มา: The New York Times
เว็บไซต์ Business Insider ได้รับรายงานจากแหล่งข่าวใกล้ชิดรายหนึ่งระบุว่า Yahoo! กำลังเจรจาเพื่อเข้าซื้อกิจการ Imgur เว็บไซต์แชร์ภาพถ่ายยอดนิยมของผู้ใช้ Reddit และเหล่าบรรดา internet meme โดยแหล่งข่าวไม่ได้ระบุว่า Yahoo! เสนอเข้าซื้อกิจการ Imgur ในราคาเท่าไรกันแน่ (แต่เว็บไซต์ Business Insider คาดว่าอยู่ราว ๆ 100-500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
Imgur เป็นบริการแชร์ภาพถ่ายที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2009 จากนักศึกษาของมหาวิทยาลัยโอไฮโอชื่อ Alan Schaaf โดยในตอนที่ Imgur ก่อตั้งขึ้น Schaaf บอกว่า นี่คือของขวัญที่จะให้กับผู้ใช้ Reddit อันเนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้ใช้ Reddit ต่างก็หงุดหงิดในปัญหาด้านการแชร์รูปถ่าย
Intuit บริษัทซอฟต์แวร์ด้านการเงิน-ภาษีรายใหญ่ของโลก (โปรแกรมที่ชื่อดังหน่อยคือ Quicken) ประกาศเข้าซื้อกิจการเว็บแชร์ไฟล์เอกสาร Docstoc (แนวเดียวกับ Scribd) โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
Docstoc เริ่มกิจการเมื่อปี 2007 ปัจจุบันมีพนักงาน 50 คน บริการด้านการแชร์เอกสารออนไลน์ของบริษัทได้รับความนิยมในหมู่ธุรกิจขนาดเล็ก (SME) โดยมีสมาชิกลงทะเบียน 40 ล้านคนและคนเข้าเว็บ 16 ล้านคนต่อเดือน
Intuit ตั้งใจซื้อ Docstoc ไปเพื่อขยายฐานลูกค้าฝั่ง SME โดยเสริมทัพสายคอนเทนต์คู่ไปกับซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจ SME ของตัวเอง หลังกระบวนการซื้อกิจการเสร็จแล้ว Docstoc จะยังบริหารงานเป็นอิสระแยกจากบริษัทแม่ โดยผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Jason Nazar ก็จะยังอยู่กับบริษัทต่อไป
หลัง OCZ มีปัญหากับเจ้าหนี้จนกระทั่งต้องประกาศล้มละลาย ตอนนี้โตชิบาก็เข้ามาซื้อบริษัทตามที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้เป็นมูลค่า 35 ล้านดอลลาร์ โดยยังให้เงินทุนเพื่อให้ OCZ ดำเนินกิจการต่อไปได้
การซื้อครั้งนี้ทำให้โตชิบาได้ทรัพย์สินของ OCZ ไปทั้งหมด ทั้งแบรนด์, ช่องทางขาย, เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
บอร์ดของ OCZ อนุมัติการขายกิจการแล้ว กระบวนการทั้งหมดน่าจะจบลงใน 60 วัน
ที่มา - OCZ
มีรายงานข่าวอย่างไม่เป็นทางการออกมาว่าแอปเปิลเข้าซื้อบริษัท Topsy ซึ่งดูดข้อความทวีตจำนวนมากมาเก็บไว้เพื่อให้ค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลได้ โดยราคาที่ข่าวรายงานคือ "มากกว่า 200 ล้านดอลลาร์"
Topsy ระบุว่าตัวเองมีข้อความทวีตมากกว่า 4.2 แสนล้านข้อความนับตั้งแต่ปี 2006 และทำธุรกิจทั้งการขายข้อความทวีตตรงๆ กับการขายเครื่องมือวิเคราะห์แนวโน้มโลกโซเชียล
ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าแอปเปิลซื้อ Topsy ไปทำไม (นักข่าวต่างประเทศเดากันว่าน่าจะเสริมระบบค้นหาของ iTunes หรือไม่ก็ระบบโฆษณา iAd) และแอปเปิลเองก็ยังไม่ยืนยันข่าวนี้ครับ
Akamai ผู้ให้บริการ CDN ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ไม่นับบริษัทที่สร้าง CDN ใช้เอง) ครองทราฟิกอินเทอร์เน็ตทั้งโลกเกือบ 20% เข้าซื้อบริษัทให้บริการป้องกันการโจมตีออนไลน์ Prolexic Technologies ผู้ให้บริการป้องกัน DDoS ด้วยมูลค่าประมาณ 370 ล้านดอลลาร์ เป็นเงินสด
การเข้าซื้อครั้งนี้มีเหตุผลชัดเจน คือ Akamai ต้องการเทคโนโลยีต่อสู้กับ DDoS ของ Prolexic เพื่อมาประกอบเข้ากับบริการ CDN ของตัวเอง ให้บริการเว็บประสิทธิภาพสูงแก่ลูกค้า แบบเดียวกับ CloudFlare ทุกวันนี้
OCZ Technology บริษัทผลิต SSD ที่บ้านเรารู้จักกันดี มีปัญหาสัญญาเงินกู้กับเจ้าหนี้ คือ Hercules Technology Growth Capital ทำให้ทาง Hercules เข้ายึดบัญชีเงินฝากทั้งหมด และเตรียมเข้าจัดการกับทรัพย์สินต่อไป
ตอนนี้ทางโตชิบากำลังเจรจาขอซื้อกิจการทั้งหมด เพื่อให้กิจการของ OCZ เดินต่อไปได้ รวมถึงจะไม่ต้องเลิกจ้างพนักงาน ตอนนี้ข้อเสนอซื้อของโตชิบากำลังเสนอให้กับศาลล้มละลายสหรัฐฯ โดยยังติดเอกสารขั้นสุดท้ายกันอยู่ โดยหากไม่สามารถตกลงกับโตชิบาได้จริงๆ คาดว่าจะยื่นขอเลิกกิจการและขายทรัพย์สินทอดตลาดในที่สุด
ที่มา - MarketWatch
Kristin Huguet โฆษกของแอปเปิล ออกมายืนยันกับเว็บไซต์ AllThingsD ว่าข่าวลือที่ว่าแอปเปิลเข้าซื้อกิจการ PrimeSense เจ้าของเทคโนโลยีบน Kinect บน Xbox 360 นั้น เป็นเรื่องจริง โดยโฆษกของแอปเปิลได้ให้ความเห็นว่า บริษัทได้เข้าซื้อกิจการบริษัทเล็ก ๆ หลายบริษัทในบางเวลา และโดยทั่วไปแล้ว ทางบริษัทจะไม่เปิดเผยถึงรายละเอียดของการเข้าซื้อกิจการว่าจะเอาไปทำอะไรกันแน่
ทั้งนี้แอปเปิลเปิดเผยว่า มูลค่าของการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้อยู่ที่ 360 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 11.460 พันล้านบาท)
ที่มา: AllThingsD
สำนักข่าว Financial Times (ต้องสมัครสมาชิก) รายงานว่าผู้ถือหุ้นใหญ่ของโนเกียอนุมัติเรื่องการเข้าซื้อกิจการในส่วนของอุปกรณ์และบริการให้กับไมโครซอฟท์ โดยนักลงทุนที่มาประชุมประมาณ 5,000 คนนั้นกว่า 99.7% เห็นด้วยและอนุมัติให้ไมโครซอฟท์เข้าซื้อกิจการในส่วนนี้
แม้ว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั้นเห็นด้วยกับดีลในครั้งนี้ แต่ต้องไม่ลืมว่าดีลนี้ยังมีโอกาสล่มได้ ถ้าหากรัฐบาลประเทศใดประเทศหนึ่งไม่อนุมัติดีลครั้งนี้ครับ
รายงานจากหนังสือพิมพ์ Calcalist จากประเทศอิสราเอล ระบุว่าแอปเปิลกำลังเจรจาเข้าซื้อกิจการของ PrimeSense บริษัทเทคโนโลยีจากประเทศอิสราเอลที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวสามมิติ ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ Kinect โดยเชื่อว่าแอปเปิลต้องการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในโทรทัศน์ของตัวเอง
ข่าวลือการเข้าซื้อบริษัท PrimeSense มีมานาน ตอนนี้ยังไม่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการว่ามีบริษัทใดเสนอซื้อในราคาเท่าใดบ้าง แต่ตอนนี้ก็มีข่าวจาก Calcalist หนังสือพิมพ์การเงินในอิสราเอล (PrimeSense เป็นบริษัทอิสราเอล) ว่าแอปเปิลกำลังอยู่ระหว่างขั้นสุดท้ายในการเสนอซื้อ PrimeSense ด้วยเงิน 345 ล้านดอลลาร์ โดยคาดว่าจะเปิดเผยข้อมูลการซื้อครั้งนี้ในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า
เงินทุนก่อนหน้านี้ที่ลงทุนใน PrimeSense คือ 85 ล้านดอลลาร์ จากบริษัทลงทุนทั้งในอิสราเอลเองและบริษัทในสหรัฐฯ
แอพพลิเคชั่นสำหรับส่งข้อความและรูปภาพ Snapchat ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงของเด็กรุ่นใหม่ ได้ปฏิเสธข้อเสนอการเข้าซื้อกิจการจาก Facebook โดยแหล่งข่าวจาก The Wall Street Journal รายงานว่า Facebook ได้เสนอเข้าซื้อ Snapchat ด้วยมูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐหรืออาจจะสูงกว่า แต่ Evan Spiegel ซึ่งเป็น CEO และผู้ร่วมก่อตั้งวัย 23 ปี ได้ปฏิเสธข้อเสนอและเลือกที่จะรอไปจนกว่าจะถึงปี 2014 ด้วยความหวังว่ามูลค่าของ Snapchat จะดีกว่าปัจจุบัน
Google เข้าซื้อกิจการขนาดเล็กเพื่อสั่งสมทีมงานสำหรับการพัฒนา Android อีกขั้น โดยครั้งนี้เป็นการเข้าซื้อกิจการชื่อ FlexyCore ผู้พัฒนาแอพเร่งประสิทธิภาพ Android
FlexyCore เป็นบริษัทจากประเทศฝรั่งเศส ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 5 ปีก่อน มีผลงานแอพสำหรับอุปกรณ์ Android ที่มีชื่อว่า DroidBooster ซึ่งเป็นแอพที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยปรับแต่งการทำงานของระบบปฏิบัติการ Android ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Google ใช้เงิน 23.1 ล้านดอลลาร์ สำหรับการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ และแน่นอนว่าทีมงานของ FlexyCore จะถูกย้ายมาทำงานในส่วนของ Android นั่นเอง
ที่มา - SlashGear
Yahoo! เข้าซื้อกิจการอีกครั้งหนึ่ง โดยคราวนี้เป็นบริษัทที่มีชื่อว่า LookFlow ซึ่งทำงานด้านเทคโนโลยีการรู้จำและจำแนกรูปภาพ ทั้งนี้มูลค่าในการเข้าซื้อกิจการไม่เป็นที่เปิดเผย
เดิมที LookFlow เป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ใน Mountain View รัฐ California ของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี 2009 ทำงานด้านเทคโนโลยีการรู้จำและจำแนกรูปภาพ และนับจากนี้ไปทีมงานของ LookFlow ซึ่งประกอบด้วยวิศวกร 5 คน จะเข้าไปร่วมงานกับทีม Flickr ของ Yahoo! เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ใช้งานให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ค้นพบรูปภาพที่น่าสนใจได้ดียิ่งขึ้น
ถ้ายังจำกันได้ SoftBank ยักษ์ไอที-โทรคมนาคมจากญี่ปุ่น เพิ่งซื้อกิจการ Sprint เสร็จสิ้นไปเมื่อกลางปี ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวล่าสุดของ SoftBank ในการบุกอเมริกาแล้ว
นอกจากกิจการของ Sprint ที่เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายมือถือแล้ว ทาง SoftBank ยังประกาศเข้าถือหุ้น 57% ใน Brightstar Corp. บริษัทผู้จัดจำหน่ายตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือในสหรัฐหลากหลายยี่ห้อ (รวมอุปกรณ์เสริมด้วย) มูลค่าการซื้อหุ้นครั้งนี้อยู่ที่ 1.26 พันล้านดอลลาร์
การซื้อหุ้นครั้งนี้ทำให้ Brightstar กลายเป็นผู้จัดจำหน่ายและดูแลซัพพลายเชนของอุปกรณ์มือถือให้กับ SoftBank/Sprint เพียงรายเดียว ซึ่งก็น่าจะช่วยให้แนวรบของ SoftBank ในอเมริกาสมบูรณ์ขึ้นอีกมาก
Facebook เข้าซื้อกิจการบริษัทอิสราเอล Onavo ซึ่งเป็นบริษัททำแอพบน iOS/Android ด้านการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งาน mobile data ไม่ให้เกินแพ็กเกจที่ซื้อไว้ และบีบอัดข้อมูลให้ประหยัดปริมาณ mobile data มากขึ้น
Onavo ประกาศว่าเป้าหมายของบริษัทคือช่วยให้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น (ในราคาที่ถูกลงจากแพ็กเกจเน็ตที่ประหยัดกว่าเดิม) ซึ่งเป็นเป้าหมายเดียวกับที่ Facebook อยากทำและตั้ง Internet.org ทำให้ Onavo หวังว่าจะใช้ความเชี่ยวชาญของตัวเองช่วยผลักดันเรื่องนี้ได้
ตัวแอพ Onavo จะยังให้บริการต่อไปในชื่อเดิม ส่วนสำนักงานของ Onavo ในเมืองเทลอาวีฟ จะกลายเป็นสำนักงานของ Facebook ที่อิสราเอล
Synaptics เจ้าพ่อแห่งทัชแพด ประกาศซื้อกิจการบริษัท Validity ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องสแกนลายนิ้วมือสำหรับสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ต-โน้ตบุ๊กใต้แบรนด์ Natural ID
มูลค่าการซื้อกิจการครั้งนี้ประมาณ 255 ล้านดอลลาร์ โดยแบ่งเป็นทั้งเงินสดและจ่ายเป็นหุ้น ส่วนเหตุผลที่ซื้อกิจการทาง Synaptics ประกาศชัดว่าตลาดนี้จะเติบโตอีกมาก และ Synaptics ก็ไม่อยากพลาดโอกาสทางธุรกิจนี้
Wall Street Journal ได้เอกสารภายในของซัมซุงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ เผยแผนการของบริษัทในการเสริมทัพด้านซอฟต์แวร์ของตัวเองผ่านการซื้อกิจการบริษัทหลายแห่ง ที่มีรายชื่อได้แก่
เว็บไซต์ TechCrunch รายงานข่าวว่าแอปเปิลเข้าซื้อกิจการบริษัท Cue ซึ่งทำแอพอ่านอีเมลของผู้ใช้เพื่อสร้างตารางนัดหมายอัตโนมัติ (ลักษณะเดียวกับ Google Now อ่าน Gmail/Google Calendar)
มูลค่าของการซื้อกิจการครั้งนี้ยังไม่แน่ใจ โดยแหล่งข่าวหนึ่งบอก 35 ล้านดอลลาร์ แต่อีกแหล่งบอก 50-60 ล้านดอลลาร์ คาดว่าแอปเปิลจะนำฟีเจอร์ของ Cue ไปเพิ่มเป็นฟีเจอร์แจ้งเตือนในส่วนตารางงานประจำวัน (Today ใน Notification Center) ของ iOS
กลายเป็นเรื่องปกติของวงการไอทีไปแล้ว ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ประกาศเข้าซื้อบริษัทหน้าใหม่ โดยคราวนี้บริษัทที่ถูก Google ซื้อมีชื่อว่า Flutter เป็นบริษัทที่พัฒนาระบบควบคุมคอมพิวเตอร์แบบ Gesture ด้วยการใช้เว็บแคม โดยสามารถควบคุมโปรแกรมชื่อดังต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น Spotify, VLC หรือ iTunes เป็นต้น และยังใช้ได้ทั้ง Windows และ Mac
Navneet Dalal ซึ่งเป็นซีอีโอของบริษัท Flutter ได้กล่าวประโยคสั้นๆ เกี่ยวกับทิศทางของบริษัทของเขาไว้ว่า "ผมอยากให้ซอฟต์แวร์ของบริษัทเป็นเหมือนตาของเครื่องคอมพิวเตอร์ เหมือนอย่างที่ Siri หรือ Google Now เป็นเสมือนหูของคอมพิวเตอร์"
ที่มา - Endgadget
Braintree เป็นบริษัทจากชิคาโกที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2007 โดยผลิตภัณฑ์หลักคือการให้บริการประมวลผลบัตรเครดิตผ่านเว็บไซต์และ API ซึ่งมีสตาร์ทอัพที่เป็นที่รู้จักกันดีหลายบริษัทใช้บริการอยู่ เช่น Airbnb, Github, LivingSocial, Rovio เป็นต้น ซึ่งรวมทั้งหมดแล้วปัจจุบันมีบริษัทที่ใช้บริการจาก Braintree กว่า 4000 ราย โดยปัจจุบัน Braintree มีภาพรวมการใช้บริการต่อปีอยู่ที่ 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคิดเป็นการใช้บริการผ่าน mobile กว่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ