ผมเชื่อว่าคนอ่านของเรารู้จัก Sonic the Hedgehog กันทุกคน หลังจาก Sonic ภาคหลังๆ ทำได้ค่อนข้างแย่จนแฟนๆ เริ่มเซ็ง ข่าวล่าสุดที่ประกาศออกมาเมื่อเดือนมิถุนายนก็คือ Sonic ภาค RPG ที่จะลง Nintendo DS และพัฒนาโดยเจ้าพ่อเกม RPG อย่าง Bioware
จากบทสัมภาษณ์ซีอีโอและประธานของ Bioware ทางทีมงานสัญญาว่าจะรวมเอาความเร็วที่เป็นเอกลักษณ์ของ Sonic มาผสมกับเนื้อเรื่องที่ลุ่มลึกแบบ RPG ให้ได้ นอกจากนี้เกมยังไม่ต้องเล่นต่อเนื่อง สามารถเล่นๆ หยุดๆ บนรถเมล์ตามแบบฉบับเกม DS ได้เช่นกัน
ที่มา - Wired
Fedora 7 เพิ่งออกได้ไม่นาน โครงการ Fedora ก็เตรียมเสนอฟีเจอร์ใหม่ใน Fedora 8 กันแล้ว รายการนี้ยังเป็นแค่รายการที่นำเสนอการอนุมัติ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเข้าไปอยู่ใน Feodra 8 ทั้งหมด
คัดมาให้ดูบางส่วน
ช่วงหลังๆ Solaris หรือ OpenSolaris เป็นระบบปฏิบัติการที่มีฟีเจอร์ก้าวหน้าหลายอย่าง เช่น ZFS หรือ DTrace แต่ก็น่าเสียดายที่ยังมีความเป็นซัน (แปลว่าใช้ยากและไม่น่าดึงดูดใจ) อยู่มาก ทำให้คนใช้ OpenSolaris น้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับเป้าหมายของซัน
หลังจากจ้าง Ian Murdock ไปอยู่ด้วย (ข่าวเก่า) เราก็เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง โดยซันใช้ชื่อว่าโครงการ Indiana
Indiana มีเป้าหมายคือทำให้ OpenSolaris เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานได้ง่าย และเป็นที่คุ้นเคยสำหรับคนที่เคยใช้ลินุกซ์มาก่อน ตัวอย่าง
แอปเปิลกับไมโครซอฟท์เปิดตัว iPhone กับ Surface กันไปแล้ว ฝั่งลินุกซ์ก็ไม่น้อยหน้ามี MPX หรือ Multi-Pointer X มาให้ใช้
MPX คือ X Window System ที่เพิ่มการป้อนข้อมูลด้วยอุปกรณ์หลายชิ้นพร้อมๆ กัน (เช่น เมาส์ 2 อัน 2 พอยเตอร์) เราสามารถลองเล่น MPX โดยใช้อุปกรณ์ธรรมดาอย่างเมาส์หรือคีย์บอร์ดก็ได้ หรือไม่อย่างนั้นก็ต่อโต๊ะแบบมัลติทัช เหมือนกับของไมโครซอฟท์ก็ได้เช่นกัน
สิ่งที่ MPX เหนือกว่า Surface คือมันสามารถแยกแยะการสัมผัสของผู้ใช้แต่ละคน (ที่แตะโต๊ะพร้อมๆ กัน) ได้ด้วย
ในลิงก์มีวิดีโอสาธิตการใช้งานแต่ดันอยู่บน YouTube ถ้าใครเข้าไม่ได้ ก็ลองดาวน์โหลดวิดีโออื่นๆ จากเว็บของ MPX โดยตรง
ลืมชุดอวกาศตัวใหญ่ๆ แบบเก่าไปได้เลย เพราะ MIT กำลังสร้างชุดอวกาศแบบใหม่ที่รัดรูป กระชับ และเน้นความคล่องตัวมากขึ้น
ศาสตราจารย์ Dava Newman แห่งภาควิชาวิศวกรรมอวกาศ MIT ออกแบบชุดอวกาศที่เรียกว่า BioSuit ที่มีขนาดเล็กและช่วยให้นักบินอวกาศเคลื่อนที่ได้คล่องตัวมากขึ้น Dava กล่าวว่าปัจจุบันชุดอวกาศหนักประมาณ 300 ปอนด์ (130 กิโล) และพลังงานประมาณ 70-80% ของมนุษย์อวกาศสิ้นเปลืองไปกับออกแรงต้านชุดอวกาศเสียเอง
ผลการสำรวจจากบริษัท XiTiMonitor สัญชาติฝรั่งเศส โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 96,000 เว็บไซต์ในรอบ 4 เดือนล่าสุด พบว่าช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานี้ Firefox มีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 27.8% (อันนี้ยุโรปทั้งทวีป) เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมประมาณ 3.7% ส่วน IE มี 66.5% และเบราว์เซอร์อื่นๆ รวมกันได้ประมาณ 5.7%
ในบางประเทศ Firefox มีส่วนแบ่งตลาดสูงมาก เช่น สโลวีเนีย (47.9%) ฟินแลนด์ (45.4%) สำหรับตัวเลขของประเทศอื่นๆ เข้าไปดูกันเองตามลิงก์
ผลการสำรวจอีกอันหนึ่งของบริษัทเดียวกัน พบว่าผู้ใช้ IE6 เปลี่ยนไปใช้ IE7 กันน้อย คือประมาณหนึ่งในสามเท่านั้น เทียบกับผู้ใช้ Firefox 85% ใช้เวอร์ชันล่าสุด
ยักษ์ใหญ่วงการเว็บเริ่มทยอยรุกทำตลาดในเมืองไทยกันมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจาก MSN, eBay และกูเกิล ก็ถึงคิวของ Yahoo! บ้าง
ผมได้ข้อมูลจากคุณจักรพงษ์ คงมาลัย ผู้ดูแลตลาดประเทศไทยใน Yahoo! ภูมิภาคอาเซียน ว่าผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ Yahoo! เอาเข้ามาเปิดตัวคือ Yahoo! Answer หรือชื่อแปลไทยว่า "Yahoo! รู้รอบ"
รายละเอียดอื่นๆ นอกเหนือจากในเว็บหลัก ดูได้ที่บล็อกของทีมงาน Yahoo! แถมมีโฆษณาให้ดูอีก 1 อัน ใครมีข้อเสนอแนะอะไรก็ติดต่อไปทีมงานได้ครับ อย่างผมนี่เชียร์ให้อันที่สองเป็น Flickr
รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศว่าการประมูลหรือเสนอราคาโซลูชันคอมพิวเตอร์ให้กับหน่วยงานรัฐบาล จะนำเรื่องการใช้กับมาตรฐานเปิดมาพิจารณาด้วย บริษัทไหนสนับสนุนมาตรฐานเปิด (เช่น OpenDocument) จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
ญี่ปุ่นถือว่าเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ออกมาสนับสนุนมาตรฐานเปิด หลังจากหลายรัฐในอเมริกา ประเทศในยุโรปและอเมริกาใต้ได้ออกมาประกาศเรื่องนี้กันซักพัก
ใครที่เพิ่งติดตาม Blognone และไม่รู้เรื่องมาตรฐานเปิดมากนัก แนะนำให้อ่าน ภาพถ่ายครอบครัวกับ ODF จะให้ข้อมูลว่าทำไมเราควรสนับสนุนมาตรฐานเปิด
ที่มา - Slashdot
ผู้ถูกสัมภาษณ์รอบนี้คือ ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ GotoKnow และเว็บไซต์พี่น้องอย่าง Learners.in.th และอีกหลายเว็บ ทั้งหมดใช้เอนจิน KnowledgeVolution ซึ่งทีมงานของอาจารย์พัฒนาขึ้นมาเองด้วย Ruby on Rails
ผลวิจัยล่าสุดจาก Trinity College Dublin พบว่าชาวสหราชอาณาจักร 25% (เฉพาะที่สำรวจ) ไม่สามารถจำเบอร์โทรศัพท์บ้านได้ และ 33% จำวันเกิดคนใกล้ชิดได้น้อยกว่า 3 คน
ศาสตราจารย์ Ian Robertson ผู้ทำการสำรวจนี้ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันเรามีสิ่งที่ต้องจำเพิ่มขึ้น (เช่น รหัสผ่าน เบอร์โทร เลขประชาชน เลขบัญชีธนาคาร ทะเบียนรถ) ซึ่งแก้ไขโดยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ พีดีเอ มือถือและอุปกรณ์พกพาต่างๆ ช่วยเก็บข้อมูลได้ แต่ยิ่งใช้สมองส่วนความจำน้อยเท่าไร ประสิทธิภาพของมันก็ลดลงเท่านั้น
Robertson อ้างผลวิจัยอีกหลายชิ้น ที่บ่งบอกว่าคนอายุ 50 ปีขึ้นไป มีความจำในภาพรวมดีกว่าคนรุ่นอายุต่ำกว่า 30 ปี เนื่องจากโตมาสมัยที่เทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้า และไม่พึ่งพาเทคโนโลยีมากนัก
โครงการ PHP ประกาศหยุดพัฒนา PHP4 และหยุดให้การสนับสนุนตั้งแต่สิ้นปี (31 ธ.ค. 2007) เป็นต้นไป
เหตุผลก็คือ PHP5 ออกมาได้สามปีแล้ว และ PHP6 กำลังจะตามมาในอีกไม่นาน ดังนั้นก็ย้ายไปใช้ PHP5 กันเสียโดยดี ใครเตรียมจะย้ายก็ควรอ่านคู่มือ Migrating from PHP 4 to PHP 5 ประกอบ
ข่าวเก่าที่เกี่ยวข้อง: CMS และเว็บโฮสติ้งผนึกกำลังผลัก PHP5
โฮสติ้งสัญชาติไทยเจ้าไหนใช้ PHP5.2 เป็นดีฟอลต์ มาโฆษณาไว้ได้เลย
ที่มา - Slashdot
จากข่าวคราวก่อนเรื่อง ร่างประกาศกระทรวงไอซีที (เสริม พ.ร.บ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์) ให้เก็บเลขประชาชน 13 หลัก และกระทรวงได้จัดงานสัมมนาเกี่ยวกับ พ.ร.บ. เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม (ศุกร์ที่ผ่านมา)
ผมได้ข้อมูลจากผู้ที่ได้ไปร่วมงานสัมมนาว่า ตอนนี้ในร่างฉบับล่าสุดได้เลิกบังคับให้ผู้บริการประเภทเนื้อหา (เว็บไซต์ต่างๆ) เก็บเลขประชาชน 13 หลักแล้ว
ตามกฏหมายลิขสิทธิ์ (ซึ่งมีผลมาจาก Berne Convention) เมื่อเราสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาแล้ว ลิขสิทธิ์ในผลงานนั้นๆ จะเป็นของผู้สร้างอัตโนมัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (แปรตามกฎหมายแต่ละประเทศ และชนิดของผลงาน แต่ส่วนมากก็ 50 ปีขึ้นไป) จากนั้นลิขสิทธิ์จะขาด กลายเป็นของสาธารณชน (public domain)
เรื่องนี้ถูกวิจารณ์มาเยอะว่าเป็นระยะเวลาที่นานไป คนอื่นต้องรอกันนานมากกว่าจะนำผลงานเหล่านี้ไปใช้ได้ ปัญหามีอยู่ว่าระยะเวลาที่เหมาะสมเป็นเท่าไรกันแน่ ที่จะดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิ์เจ้าของ และการให้คนอื่นนำไปใช้ต่อ
ทีมจากกูเกิลค้นพบรูรั่วสำคัญใน JRE และ JDK ทุกรุ่น มีผลกับทุกแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็นพีซี เบราว์เซอร์ หรือมือถือ
Chris Gatford ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยให้ความเห็นว่ารูรั่วนี้ค่อนข้างอันตราย และถ้ามีคนเขียนโค้ดประสงค์ร้ายที่ใช้รูรั่วนี้เร็วพอ จะมีผลต่อองค์กรจำนวนมาก
ในแหล่งข่าวมีรายละเอียดของรูรั่วค่อนข้างน้อย แต่จุดสำคัญอยู่ที่ว่าถึงแม้จะมีแพตช์ออกมา (ซึ่งต้องมีอยู่แล้ว) แต่เราจะตามไล่แพตช์ทุกอุปกรณ์ที่มี JRE ติดตั้งอยู่ได้แค่ไหนกัน
ที่มา - ZDNet Asia
Gigabyte ออกเมนบอร์ดรุ่น GA-N680SLI-DQ6 ซึ่งโฆษณาว่าเป็น "A Mother Of A Motherboard" ดูสเปกก่อนเชื่อ
ที่ไม่ธรรมดาก็คือฮีตซิงก์ซึ่งฝังติดกับบอร์ด และมีท่อส่งผ่านความร้อนระหว่างฮีตซิงก์แต่ละตัว (ของซีพียูกับของชิปเซ็ตอีก 2 ตัว - รูป)
ประสิทธิภาพที่ได้ก็ดีเยี่ยม คงนับว่าเป็นเมนบอร์ดไฮเอนด์อันดับหนึ่งของตอนนี้ ราคาก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน 285 เหรียญ
มหกรรมโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์แห่งชาติ ครั้งที่ 7 กลับมาแล้ว งานนี้จัดวันที่ 2-3 สิงหาคม 2550 ที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
ในงานจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือสัมมนาหลัก, สัมมนา CMS และเวิร์คช็อป OOo
ส่วนสัมมนาหลักดูกำหนดการได้ที่นี่ ที่น่าสนใจ (สำหรับผมนะ) มีคนจาก OOo/Sun มาพูดเรื่อง OOo 3.0, เรื่องมาตรฐานเอกสารแบบเปิด, ดร. ธวัชชัยจาก Gotoknow มาพูดเรื่อง RoR และประสบการณ์การนำโอเพนซอร์สมาใช้ในองค์กรของการบินไทย, การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
สตีฟ บัลเมอร์ ซีอีโอของไมโครซอฟท์เปิดเผยทิศทางใหม่ของบริษัท ที่จะพ่วงบริการไปกับซอฟต์แวร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในชื่อ software-plus-services
บัลเมอร์บอกว่า software-plus-services นั้นต่างไปจากแนวคิด software-as-services หรือ web 2.0 โดยคำนิยามสั้นๆ ของ software-plus-services คือการเปลี่ยนแปลงทั้ง "ส่วนติดต่อผู้ใช้และการประมวลผล" (user interface and computational changes) อย่างไรก็ตามในแผน software-plus-services จะมีบริการที่มีอยู่แล้วในวงการ software-as-services อย่างพวก CRM เป็นต้น
software-as-services จะเป็นการสร้างชุดของบริการซึ่งใช้ได้กับเซิร์ฟเวอร์ ไคลเอนต์ และอุปกรณ์พกพาอื่นๆ โดยอิงอยู่บนฐานของ Windows Live Core ที่บริษัทกำลังพัฒนาอยู่
ตอบสัมภาษณ์คุณ apples ผู้พัฒนาโปรแกรม AppServ (คำถาม)
iake: Apple นี่ชื่อใครหรือครับ ชื่อตัวเอง หรือชื่อคนอื่น?
ชื่อผมเอง เมื่อก่อนเล่น irc สมัย irc.au.ac.th โน่นครับ ตั้งชื่อ apple แล้วมันชอบซ้ำกับชาวบ้าน เลยเติม s ไปอีกตัวกลายเป็น apples จนถึงทุกวันนี้
iake: เป็นคนเชียงใหม่ ใช่ไหม?
เป็นคน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอนโดยกำเนิดครับ อิอิ
eak: เรียนจบสาขาอะไร, เรียนจบจากที่ไหนครับ
จบ Computer Science จากราชภัฏเชียงใหม่ครับ
iake, narok119: แล้วเป็นอาจารย์ หรือเคยเป็นอาจารย์มาก่อน?
เว็บไซต์ Mac News Online นำเสนอ GUI 5 จุดที่เพิ่มเข้ามาใน Mac OS X 10.5 Leopard แล้วทำให้ชีวิตแย่ลงกว่าเดิม
ภาพประกอบดูกันเองตามลิงก์ และ Leopard เวอร์ชันที่วิจารณ์ยังเป็นแค่เบต้า
ที่มา - Mac News Online
IBM ประกาศว่าคนทั่วไปสามารถใช้งานสิทธิบัตรกว่า 200 รายการได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่เสียค่าใช้จ่าย ตราบเท่าที่การใช้งานนั้นเป็นไปในทางส่งเสริมมาตรฐานเปิด และการทำงานข้ามกันได้ระหว่างระบบ (interoperable)
IBM สนับสนุนมาตรฐานเปิดมานานแล้ว และสิทธิบัตรเหล่านี้ได้แจกให้ใช้ฟรีอยู่ก่อนแล้วเช่นกัน เพียงแต่ผู้ใช้ต้องร้องขอไปยัง IBM ก่อนซึ่งมีกระบวนการเอกสารพอสมควร ทาง IBM จึงตัดสินใจเปลี่ยนวิธีการเป็นเปิดให้ใช้ได้อย่างเสรี
นอกจาก 3 ค่ายหลักแล้ว ค่ายเกมอื่นๆ ก็แถลงข่าวกันถ้วนหน้า แต่ผมคงลงแค่สามอันนี้เท่านั้นนะครับ
คนแถลงคือ Reggie Fils-Aime ประธานของนินเทนโดอเมริกา และ Satoru Iwata ประธานใหญ่ของนินเทนโด
ผมกับลิ่วตัดสินใจว่าต่อไปนี้ กระบวนการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ของ Blognone (ที่เกี่ยวกับตัวเว็บ และเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น BTD3) จะย้ายจาก IM ที่คุยกันสองคนไปไว้ใน mailing list เพื่อความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของสมาชิก
ดังนั้นขอเชิญสมาชิกระดับ Writer เข้ามาสมัคร Blognone mailing list เพื่อรับทราบข้อมูลและร่วมตัดสินใจด้วยกัน สำหรับท่านอื่นที่สนใจก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด สมัครเข้ามาได้เลย
สำหรับเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับทิศทางของเว็บ คุยกันใน Forum เหมือนเดิม
ช่วงนี้งาน E3 เริ่มแล้วมีข่าวเกมเยอะหน่อย ข่าวแรกสรุปแถลงการณ์ของไมโครซอฟท์จาก Joystiq
ไมโครซอฟท์ประกาศวันวางขาย Windows Server 2008 หรือโค้ดเนม Longhorn Server เดิม เป็นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2008
นอกจาก Windows Server 2008 แล้วก็ยังมี Visual Studio 2008 (Orcas) และ SQL Server 2008 (Katmai) วางจำหน่ายในวันเดียวกันด้วย
ข่าวนี้ทำให้เซียนที่เคยฟันธงว่า Windows Server 2008 จะออกมาช่วงปลายปี 2007 ปากกาหักกันเป็นแถว และทำให้วันออก Windows Vista SP1 ที่มีข่าวว่าจะออกมาปลายปีช่วงเดียวกับ Windows Server 2008 เริ่มไม่แน่นอนขึ้นมาว่าจะออกเมื่อไรกันแน่
สำหรับฟีเจอร์ของ Windows Server 2008 ลองย้อนอ่านข่าวเก่าในหมวด Windows ดูกันเองนะครับ